26 มกราคม 2555 ( ถึงเวลาต้องสอน จริยธรรม )วงเสวนา ระบุ สื่อออนไลน์ทรงอิทธิพล สร้างความเปลี่ยนแปลงรวด&เร็ว ชี้ต้องระวังและรู้เท่าทัน
( ถึงเวลาต้องสอน จริยธรรม )วงเสวนา ระบุ สื่อออนไลน์ทรงอิทธิพล สร้างความเปลี่ยนแปลงรวด&เร็ว ชี้ต้องระวังและรู้เท่าทัน
ประเด็นหลัก
ศจ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราฟังแต่สื่อกระแสหลักเพียงอย่างเดียว แต่วันนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลสูง สร้างแรงจูงใจ ใครตั้งประเด็นอะไรแล้วมีใครนำไปขยายต่อประเด็นนั้นก็จะแผ่ขยายไป อย่างรวดเร็วและเป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามโลกของ โซเซียลมีเดียผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะสิ่งที่โพสต์ลงไปอาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ที่จะใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ ดั้งนั้นการใช้จะต้องรู้สิทธิและหน้าของตนเอง และต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากใช้สื่อออนไลน์ทั้งถ่ายคลิป โพสต์ข้อความ ดังนั้นอาจารย์ต้องสอนและทำความเข้าใจ รู้จักใช้ เพราะสิ่งที่ท้าทายขณะนี้ในโลกออนไลน์ คือ จริยธรรม
__________________________________________________________
วงเสวนา ระบุ สื่อออนไลน์ทรงอิทธิพล สร้างความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ชี้ต้องระวังและรู้เท่าทัน
ที่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เสวนาในหัวข้อ “สื่อออนไลน์กับนักสิทธิมนุษยชน”โดยมีศจ.ดร.ปาริชาต สถา ปิตานนท์ อ.คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) และนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการคนค้นคน
ศจ.ดร.ปา ริชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราฟังแต่สื่อกระแสหลักเพียงอย่างเดียว แต่วันนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลสูง สร้างแรงจูงใจ ใครตั้งประเด็นอะไรแล้วมีใครนำไปขยายต่อประเด็นนั้นก็จะแผ่ขยายไป อย่างรวดเร็วและเป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามโลกของ โซเซียลมีเดียผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะสิ่งที่โพสต์ลงไปอาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ที่จะใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ ดั้งนั้นการใช้จะต้องรู้สิทธิและหน้าของตนเอง และต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากใช้สื่อออนไลน์ทั้งถ่ายคลิป โพสต์ข้อความ ดังนั้นอาจารย์ต้องสอนและทำความเข้าใจ รู้จักใช้ เพราะสิ่งที่ท้าทายขณะนี้ในโลกออนไลน์ คือ จริยธรรม
นายสุทธิ พงษ์ กล่าวว่า ตนใช้นิวมีเดียในการใช้งานสั่งงานพนักงานงบริษัทมากกว่าการใช้ โทรศัพท์ ซึ่งถือว่าสะดวกทำได้ตลอดเวลา ในขณะที่สื่อกระแสหลักมีข้อจำกัด อย่างในช่วงน้ำท่วมตนก็ใช้นิวมีเดียในการขอความร่วมมือบริจาคสิ่งของ ขอแรงมาช่วยกัน ซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคนที่ต้องการความช่วยเหลือและที่ให้ ความช่วยเหลือ โดยปกติหากปัจจุบันไม่มีนิวมีเดียทุกคนก็จะสื่อสารกันลำบาก ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน แต่เมื่อปัจจุบันนิวมีเดียมีการพัฒนาก้าวล้ำมากขึ้นก็มีส่วนช่วยให้ ทุกคน สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวก แต่ความง่ายและความสะดวกสบายก็มีส่วนทำให้มนษย์ขาดการไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจ ในการที่จะแสดงความคิดเห็นต่อพื้นที่สาธารณะ
นาย สุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ตนใช้สื่อออนไลน์เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกของตัวเองด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ต้องการที่จะจับผิด แต่เป็นการทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของลูก รวมทั้งทำให้เห็นว่าสังคมที่ลูกกำลังอยู่นั้นเป็นแบบใด หากอยู่ในสังคมที่ดีก็ถือว่าโชคดีไปแต่หากเห็นว่าสังคมที่ลูกกำลัง อยู่นั้น ไม่น่าไว้ใจ เราก็สามารถใช้โอกาสนี้เข้าไปแนะนำหรือให้คำปรึกษาได้ทันที ดังนั้นผู้ปกครองอย่าวางเฉย ควรศึกษาและช่วยกันพิจารณาเพราะช่องทางดังกล่าวก็มีส่วนช่วยทำให้เรา และลูกใกล้ชิดกัน
น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า อิทธิพลของสื่อออนไลน์มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงปี 2554 ในเหตุการณ์ต่างๆในต่างประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงในโลกอาหรับหลายประเทศ การจลาจลในประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเพราะสื่อออนไลน์ที่คนใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารซึ่งส่งผล ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง บางเรื่องสื่อกระแสหลักไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่สื่อออนไลน์เข้าถึงได้ อย่างเช่น ใช้สื่อออนไลน์พูดถึง กม.บางมาตราที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น แม้ว่าเราจะเล่นในเฟซ มือถือ ซึ่งเป็นของส่วนตัว แต่เมื่อโพสต์ข้อความถูกเซฟเก็บไว้กลายเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง ต่อศาลได้ เพราะเมื่อโพสต์ข้อความไปก็กลายเป็นข้อความสาธารณะมีคนนำไปแสวงหา ผลประโยชน์
น.พ.ประวิทย์ กล่าวอีกว่า หลักง่ายๆ ของผู้ใช้สื่อออนไลน์คือทุกคนต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยน แปลงไป เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์เวลาโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นสิ่ง ใดนั้นก็ จะแพร่กระจายไปยังพื้นที่สาธารณะโดยเร็ว ซึ่งบางครั้งก็จะเกิดผลในทางลบ ยกกรณีสาวซีวิค เมื่อปี 2553 ที่ขับรถชนรถตู้จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ภายในระยะเวลา 1 วัน โลกออนไลน์กลับทำให้มีคนเกลียดผู้หญิงคนนี้มากกว่า 1 แสน คน ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วมาก โดยที่บางคนยังไม่รู้ข้อเท็จจริงเลยว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือใครเป็น ฝ่ายถูก ฉะนั้นผู้ใช้สื่อนิวมีเดียบนโลกสังคมออนไลน์เวลาคิดหรือแสดงความ คิดเห็นสิ่ง ใดต้องคิดให้ดีก่อนแม้จะคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่เราได้แสดงความคิดเห็นไปนั้นก็ต้องเผย แพร่สู่ พื้นที่สาธารณะจนได้ ดังนั้นขอเตือนและเน้นย้ำว่า ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบและระมัดระวังกับการใช้เทคโนโลยีรวมทั้ง ต้องเคารพบุคคลที่เล่นสื่อนิวมีเดียบนสื่อออนไลน์ด้วย
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1330613
ประเด็นหลัก
ศจ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราฟังแต่สื่อกระแสหลักเพียงอย่างเดียว แต่วันนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลสูง สร้างแรงจูงใจ ใครตั้งประเด็นอะไรแล้วมีใครนำไปขยายต่อประเด็นนั้นก็จะแผ่ขยายไป อย่างรวดเร็วและเป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามโลกของ โซเซียลมีเดียผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะสิ่งที่โพสต์ลงไปอาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ที่จะใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ ดั้งนั้นการใช้จะต้องรู้สิทธิและหน้าของตนเอง และต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากใช้สื่อออนไลน์ทั้งถ่ายคลิป โพสต์ข้อความ ดังนั้นอาจารย์ต้องสอนและทำความเข้าใจ รู้จักใช้ เพราะสิ่งที่ท้าทายขณะนี้ในโลกออนไลน์ คือ จริยธรรม
__________________________________________________________
วงเสวนา ระบุ สื่อออนไลน์ทรงอิทธิพล สร้างความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ชี้ต้องระวังและรู้เท่าทัน
ที่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เสวนาในหัวข้อ “สื่อออนไลน์กับนักสิทธิมนุษยชน”โดยมีศจ.ดร.ปาริชาต สถา ปิตานนท์ อ.คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) และนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการคนค้นคน
ศจ.ดร.ปา ริชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราฟังแต่สื่อกระแสหลักเพียงอย่างเดียว แต่วันนี้สื่อออนไลน์มีอิทธิพลสูง สร้างแรงจูงใจ ใครตั้งประเด็นอะไรแล้วมีใครนำไปขยายต่อประเด็นนั้นก็จะแผ่ขยายไป อย่างรวดเร็วและเป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามโลกของ โซเซียลมีเดียผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวัง เพราะสิ่งที่โพสต์ลงไปอาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ที่จะใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ ดั้งนั้นการใช้จะต้องรู้สิทธิและหน้าของตนเอง และต้องรู้เท่าทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากใช้สื่อออนไลน์ทั้งถ่ายคลิป โพสต์ข้อความ ดังนั้นอาจารย์ต้องสอนและทำความเข้าใจ รู้จักใช้ เพราะสิ่งที่ท้าทายขณะนี้ในโลกออนไลน์ คือ จริยธรรม
นายสุทธิ พงษ์ กล่าวว่า ตนใช้นิวมีเดียในการใช้งานสั่งงานพนักงานงบริษัทมากกว่าการใช้ โทรศัพท์ ซึ่งถือว่าสะดวกทำได้ตลอดเวลา ในขณะที่สื่อกระแสหลักมีข้อจำกัด อย่างในช่วงน้ำท่วมตนก็ใช้นิวมีเดียในการขอความร่วมมือบริจาคสิ่งของ ขอแรงมาช่วยกัน ซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างคนที่ต้องการความช่วยเหลือและที่ให้ ความช่วยเหลือ โดยปกติหากปัจจุบันไม่มีนิวมีเดียทุกคนก็จะสื่อสารกันลำบาก ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน แต่เมื่อปัจจุบันนิวมีเดียมีการพัฒนาก้าวล้ำมากขึ้นก็มีส่วนช่วยให้ ทุกคน สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวก แต่ความง่ายและความสะดวกสบายก็มีส่วนทำให้มนษย์ขาดการไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจ ในการที่จะแสดงความคิดเห็นต่อพื้นที่สาธารณะ
นาย สุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ตนใช้สื่อออนไลน์เชื่อมความสัมพันธ์กับลูกของตัวเองด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ต้องการที่จะจับผิด แต่เป็นการทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของลูก รวมทั้งทำให้เห็นว่าสังคมที่ลูกกำลังอยู่นั้นเป็นแบบใด หากอยู่ในสังคมที่ดีก็ถือว่าโชคดีไปแต่หากเห็นว่าสังคมที่ลูกกำลัง อยู่นั้น ไม่น่าไว้ใจ เราก็สามารถใช้โอกาสนี้เข้าไปแนะนำหรือให้คำปรึกษาได้ทันที ดังนั้นผู้ปกครองอย่าวางเฉย ควรศึกษาและช่วยกันพิจารณาเพราะช่องทางดังกล่าวก็มีส่วนช่วยทำให้เรา และลูกใกล้ชิดกัน
น.พ.ประวิทย์ กล่าวว่า อิทธิพลของสื่อออนไลน์มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงปี 2554 ในเหตุการณ์ต่างๆในต่างประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงในโลกอาหรับหลายประเทศ การจลาจลในประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเพราะสื่อออนไลน์ที่คนใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารซึ่งส่งผล ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง บางเรื่องสื่อกระแสหลักไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่สื่อออนไลน์เข้าถึงได้ อย่างเช่น ใช้สื่อออนไลน์พูดถึง กม.บางมาตราที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น แม้ว่าเราจะเล่นในเฟซ มือถือ ซึ่งเป็นของส่วนตัว แต่เมื่อโพสต์ข้อความถูกเซฟเก็บไว้กลายเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง ต่อศาลได้ เพราะเมื่อโพสต์ข้อความไปก็กลายเป็นข้อความสาธารณะมีคนนำไปแสวงหา ผลประโยชน์
น.พ.ประวิทย์ กล่าวอีกว่า หลักง่ายๆ ของผู้ใช้สื่อออนไลน์คือทุกคนต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยน แปลงไป เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์เวลาโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นสิ่ง ใดนั้นก็ จะแพร่กระจายไปยังพื้นที่สาธารณะโดยเร็ว ซึ่งบางครั้งก็จะเกิดผลในทางลบ ยกกรณีสาวซีวิค เมื่อปี 2553 ที่ขับรถชนรถตู้จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ภายในระยะเวลา 1 วัน โลกออนไลน์กลับทำให้มีคนเกลียดผู้หญิงคนนี้มากกว่า 1 แสน คน ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วมาก โดยที่บางคนยังไม่รู้ข้อเท็จจริงเลยว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือใครเป็น ฝ่ายถูก ฉะนั้นผู้ใช้สื่อนิวมีเดียบนโลกสังคมออนไลน์เวลาคิดหรือแสดงความ คิดเห็นสิ่ง ใดต้องคิดให้ดีก่อนแม้จะคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่เราได้แสดงความคิดเห็นไปนั้นก็ต้องเผย แพร่สู่ พื้นที่สาธารณะจนได้ ดังนั้นขอเตือนและเน้นย้ำว่า ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบและระมัดระวังกับการใช้เทคโนโลยีรวมทั้ง ต้องเคารพบุคคลที่เล่นสื่อนิวมีเดียบนสื่อออนไลน์ด้วย
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1330613
ไม่มีความคิดเห็น: