Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ( บทความ ) 3 ยุคการจัดสรรความถี่ ย้อนอดีตสัมปทานถึงการประมูลคลื่น

(เกาะติดประมูล3G) ( บทความ ) 3 ยุคการจัดสรรความถี่ ย้อนอดีตสัมปทานถึงการประมูลคลื่น


ประเด็นหลัก

เมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 2540 นิยามคลื่นความถี่เปลี่ยนไปจากการเป็นสมบัติชาติกลายเป็นทรัพยากรสาธารณะ การจัดสรรจึงมุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ผ่านองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ตั้งแต่ยุค กทช.มาจนถึงยุคที่มี กสทช. เป็นผู้กำกับดูแล


"วันนี้ดีใจมากที่ในที่สุดก็มีองค์กรที่มี หน้าที่ครบถ้วน มาเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในการอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่ และยุคสัมปทานกำลังจะสิ้นสุดลง ประชาชนไม่ต้องแบกต้นทุนสัมปทาน 20-30% เชื่อว่ารัฐจะได้ประโยชน์ทางอ้อมมหาศาลมากกว่ารายได้ทางตรงจากสัมปทาน"

"พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. กล่าวว่า การประมูล 3G หนที่ต้องหยุดไป ไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นฐานในการนำมาปรับปรุงเพื่อเดินต่อ ปิดช่องโหว่ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

"โจทย์ของการจัดสรรคลื่น ครั้งนี้คือสร้างสมดุลในการหารายได้เข้ารัฐ ประชาชนได้ประโยชน์และเอกชนต้องอยู่รอด ปัญหาเงินเริ่มต้นประมูล ฝั่งหนึ่งบอกว่าถูกไป อีกฝั่ง บอกว่าแพงไป หรือการกำหนดเพดานคลื่นจะทำให้เกิดการฮั้วประมูลได้ โดยส่วนตัวมองว่าในการทำงานหนนี้ทุกขั้นตอนมีหลักวิชาการรองรับครบถ้วนก็น่า จะยอมรับกันได้ ควรคิดถึงประโยชน์ในภาพรวม ถ้ามีคลื่นแต่ไม่ใช้ก็ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาส 2 ปีที่ผ่านมาเชื่อว่าประเทศได้สูญเสียเป็นแสนล้านแล้ว"



____________________________________


3 ยุคการจัดสรรความถี่ ย้อนอดีตสัมปทานถึงการประมูลคลื่น



เหลือ อีกไม่ถึง 1 เดือนสำหรับการเคาะราคาประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในวันที่ 16 ต.ค. เพื่อก้าวไปสู่การให้บริการ 3G แต่นี่ไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ครั้งแรกของประเทศ บนเวทีเสวนา "คลื่นความถี่ : ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" ของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา "เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์" อดีตกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และอดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่ง 30 กว่าปีก่อนเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารคลื่นความถี่ของประเทศ ย้อนอดีตว่า แนวคิดการจัดสรรคลื่นความถี่ของไทย เมื่อก่อนตีความว่า คลื่นเป็นสมบัติชาติ การใช้งานจึงผูกติดกับความมั่นคงของรัฐ ทหารคือผู้ใช้เป็นหลัก และการจัดสรรยังอยู่ในรูปแบบ "ใครขอก่อนได้ก่อน" เมื่อปัญหาความมั่นคงคลี่คลาย เริ่มมีเอกชนต้องการนำคลื่นความถี่ไปใช้งานทางธุรกิจด้วย

สมัยนั้น การจัดสรรคลื่นมีผู้คุมอยู่คือ กบถ. (คณะกรรมการประสานงานการจัด และบริหารความถี่วิทยุ) คอยจัดการคลื่นธุรกิจโทรคมนาคม และ กบว. (คณะกรรมการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์) จัดการคลื่นธุรกิจกระจายเสียง การขออนุญาตใช้งานลำบากมาก ทุกอย่างจำกัดและควบคุมไว้ที่จุดเดียว คนที่ได้สิทธิ์ใช้คลื่นยังเป็นหน่วยงานรัฐในรูปรัฐวิสาหกิจ และเปิดให้เอกชนใช้ในรูปแบบการได้รับสัมปทานที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน



เมื่อ มีรัฐธรรมนูญปี 2540 นิยามคลื่นความถี่เปลี่ยนไปจากการเป็นสมบัติชาติกลายเป็นทรัพยากรสาธารณะ การจัดสรรจึงมุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายใต้การแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ผ่านองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ตั้งแต่ยุค กทช.มาจนถึงยุคที่มี กสทช. เป็นผู้กำกับดูแล

ย้อนไปในปี 2553 ประเทศไทยเกือบมีเทคโนโลยี 3G ใช้ เมื่อ กทช. องค์กรกำกับดูแลโทรคมฯในขณะนั้น เดินหน้าจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz โดยมี "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" ที่วันนี้เป็นรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ดูแลด้านบรอดแคสต์ของไทย แต่ ณ เวลานั้นคือกรรมการ กทช. เป็นหัวเรือใหญ่จัดประมูล 3G แต่มีอันต้องสะดุดหยุดลงด้วยคำสั่งศาลปกครอง เนื่องจากมีองค์ประกอบด้านกฎหมายไม่ครบในการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ได้

"พ.อ.นที" ย้อนเวลาให้ฟังว่า วันนั้นถ้ามอง 3G ว่าเป็นแค่มือถือ การจัดประมูลก็ไม่จำเป็น แต่ 3G คือบรอดแบนด์ที่สร้างโอกาสข้อมูลข่าวสาร 1 สถานีฐานสร้างโอกาสให้ประชาชน 1-2,000 ครัวเรือน

กระบวนการจัดการ ประมูลจึงเกิดขึ้น บนแนวคิดที่คลื่นเป็นทรัพยากรของทุกคน ที่ต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์สาธารณะ และหารายได้เข้ารัฐให้ได้มาก เพื่อให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้ 3G ได้อานิสงส์จากการนำเงินประมูลไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ดังนั้นการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลจึงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งโชคดีที่กทช.ทำงานวิจัย 8-9 ฉบับที่เกี่ยวกับมูลค่าคลื่นไว้อยู่แล้ว

"วัน นั้น กทช.ตัดสินใจเลือกใช้ราคาเริ่มต้นประมูลที่สูงสุดจากผลการศึกษาเพื่อให้ทุก ฝ่ายพอใจ เนื่องจากหลายคนเห็นตรงกันว่า การหามูลค่าคลื่นในไทยไม่ง่าย มีเรื่องสัมปทานเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีในประเทศอื่นแล้ว ดังนั้นมูลค่าคลื่นที่แท้จริงควรเป็นราคาที่ผู้เข้าประมูลที่จะเป็นคนใช้ ประโยชน์จากคลื่นยินดีจ่าย สิ่งที่ กทช.ต้องทำคือ สร้างบรรยากาศการแข่งขัน เปิดให้คนที่มีศักยภาพเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้ามา"

เมื่อ 2 ปีก่อนหลายคนมองว่า ไทยไม่จำเป็นต้องมี 3G จึงเป็นเรื่องตลกที่ไทยใช้โซเชียลมีเดียติดอันดับต้น ๆ ของโลก
มี คนยอมจ่ายเงินซื้อ แต่ไม่มีคลื่นให้บริการ ทางออกจึงต้องนำคลื่นเดิมที่ใช้ให้บริการเสียงทำให้ทุกคนได้เห็นว่าไม่ สามารถขัดขวางดีมานด์และกระแสโลกได้

"วันนี้ดีใจมากที่ในที่สุดก็มี องค์กรที่มีหน้าที่ครบถ้วน มาเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในการอนุญาตให้เอกชนใช้ความถี่ และยุคสัมปทานกำลังจะสิ้นสุดลง ประชาชนไม่ต้องแบกต้นทุนสัมปทาน 20-30% เชื่อว่ารัฐจะได้ประโยชน์ทางอ้อมมหาศาลมากกว่ารายได้ทางตรงจากสัมปทาน"

"พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. กล่าวว่า การประมูล 3G หนที่ต้องหยุดไป ไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นฐานในการนำมาปรับปรุงเพื่อเดินต่อ ปิดช่องโหว่ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

"โจทย์ของการจัดสรรคลื่น ครั้งนี้คือสร้างสมดุลในการหารายได้เข้ารัฐ ประชาชนได้ประโยชน์และเอกชนต้องอยู่รอด ปัญหาเงินเริ่มต้นประมูล ฝั่งหนึ่งบอกว่าถูกไป อีกฝั่ง บอกว่าแพงไป หรือการกำหนดเพดานคลื่นจะทำให้เกิดการฮั้วประมูลได้ โดยส่วนตัวมองว่าในการทำงานหนนี้ทุกขั้นตอนมีหลักวิชาการรองรับครบถ้วนก็น่า จะยอมรับกันได้ ควรคิดถึงประโยชน์ในภาพรวม ถ้ามีคลื่นแต่ไม่ใช้ก็ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาส 2 ปีที่ผ่านมาเชื่อว่าประเทศได้สูญเสียเป็นแสนล้านแล้ว"

การจัดสรร คลื่นความถี่ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กสทช.เตรียมเดินหน้าเต็มที่ เพราะกฎหมายระบุชัดเจนว่าให้ส่งคืนคลื่นกลับมาให้จัดสรรใหม่เมื่อหมดสัมปทาน โดยคลื่น 1800 MHz จะเป็นคลื่นแรกที่จะหมดสัมปทาน ก.ย.ปีหน้า กสทช.ตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดกระบวนการคืนคลื่นที่จะไม่กระทบกับประชาชน

ขณะ ที่ กสทช.กำลังเคร่งเครียดกับการจัดประมูล 3G ฝั่งโอเปอเรเตอร์ทั้งเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เห็นตรงกันว่า กระบวนการบริหารจัดการหลังประมูลสำคัญไม่น้อยไปกว่าการประมูลทำให้ "โลกเก่า" ในระบบสัมปทานกับ "โลกใหม่" ในระบบใบอนุญาตต้องชัดเจนว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร

เงื่อนไขการใช้ โครงข่ายร่วมกันระหว่างทรัพย์สินที่เป็นสัมปทานกับโครงข่ายใหม่จะกำหนดอย่าง ไร เป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนขยายโครงข่าย 3G การกำหนดเพดานการถือครองคลื่นทั้งหมดของผู้ประกอบการที่จะมีส่วนในการแข่ง ขัน หรือมีการนำคลื่นที่ไม่ได้ใช้งานมาจัดสรรใหม่ รวมถึงการบริหารคลื่นหลังหมดสัมปทาน โดยเฉพาะคลื่น 1800 MHz ที่เหลือเวลาไม่ถึงปีจะดูแลลูกค้าและใช้คลื่นอย่างไรต่อเพราะความถี่ที่จะ ใช้ 4G ได้ต้องมีแถบความถี่ตั้งแต่ 15 MHz ขึ้นไป แต่คลื่น 1800 MHz แบ่งเป็น 2 สลอต สลอตละ 12.5 MHz หากจะนำมาให้บริการ 4G อาจจะต้องมีแผนการแบ่งคลื่น 1800 MHz ที่อยู่ติดกันมาจัดสรรใหม่ด้วย

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1348724074&grpid=&catid=06&subcatid=0600


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.