Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2555 ( SUPER แหล่งข่าวละเอียดดังตาเห็น ว่า ++ ผิด ++ ) อนุกรรมการฯ ฟันธงสัญญา 3G CAT TRUE ละเมิดม.46 พ.ร.บ.

( SUPER แหล่งข่าวละเอียดดังตาเห็น ว่า ++ ผิด ++ ) อนุกรรมการฯ ฟันธงสัญญา 3G CAT TRUE ละเมิดม.46 พ.ร.บ.


ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวกล่าวว่าหากกสทช.มีมติอะไรออกไป กสทในฐานะผู้รับใบอนุญาตจำเป็นต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่สามารถนิ่งเฉยหรือไม่ปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะ 7 เรื่องที่คณะอนุกรรมการฯ ชี้ประเด็นว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข หากไม่แก้ไข ก็เท่ากับละเมิดหรือกระทำผิดตามมาตรา 46 ซึ่งโทษรุนแรงสูงสุดถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต


1.กสท ต้องสามารถนำคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (Band V) ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้

2.กสท ต้องควบคุมดูแลและบริหารจัดการ network operation center (NOC) อย่างสมบูรณ์

3.ข้อมูลการใช้งาน (call detail record หรือCDR) ต้องอยู่ในความครอบครองของกสท

4.อำนาจ ของคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervision Committee) ตามสัญญา ต้องมีความชัดเจน โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของกสทโดยชัดแจ้ง

5.กระบวน การสร้างและจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จะต้องแสดงให้เห็นว่ากสทเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการตัดสินใจใน เรื่อง frequency planning, network roll-out และ operation อย่างสมบูรณ์

6.กสท ต้องเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการเจรจาการให้บริการข้ามโครงข่ายภาย ในประเทศ (inbound domestic roaming) และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น และ

7.ความ จุตามสัญญา ต้องแสดงให้เห็นว่ากสทเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมการใช้คลื่นความถี่อย่าง สมบูรณ์ และควรให้เรื่องความจุตามสัญญาเป็นไปตามกลไกตลาด
________________________________________________


ฟันสัญญา 3G กสท/ทรู ผิดม.46 กสทช.



อนุกรรมการฯ ฟันธงสัญญา 3G กสท/ทรู ละเมิดม.46 พ.ร.บ.กสทช. ต้องแก้ไข 7 ประเด็นหลัก ด้าน 'เศรษฐพงค์' ชี้กทค.จะใช้เวลาพิจารณา 2 สัปดาห์หลังรับรายงานจากอนุกรรมการฯ พร้อมส่งต่อบอร์ดกสทช.ชุดใหญ่ออกเป็นมติให้กสทต้องปฎิบัติ ยันที่ผ่านมากทค.มักเห็นด้วยกับแนวทางอนุกรรมการฯ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าคณะอนุกรรมการฯ ที่พิจารณาสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ของบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรู ในประเด็นการปฎิบัติตามมาตรา 46 ของพ.ร.บ.กสทช.ที่ห้ามโอนสิทธิการใช้ความถี่ให้คนอื่น ได้ข้อสรุปออกมาแล้วว่าสัญญาดังกล่าวส่อละเมิดและผิดกม.ตามมาตรา 46

โดยระบุว่าคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า ในทางปฏิบัติ กสท ซึ่งเป็นผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ ไม่สามารถควบคุมการใช้งานคลื่นความถี่ (control) และรับผิดชอบ (responsible) ต่อการกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคลื่นความถี่ได้อย่างสมบูรณ์ตามนัยมาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2553 จึงมีความจำเป็นที่ กสท จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องดังต่อไปนี้

1.กสท ต้องสามารถนำคลื่นความถี่ย่าน 800 MHz (Band V) ไปใช้กับเครื่องและอุปกรณ์ของตนเองหรือของบริษัทอื่นได้ 2.กสท ต้องควบคุมดูแลและบริหารจัดการ network operation center (NOC) อย่างสมบูรณ์ 3.ข้อมูลการใช้งาน (call detail record หรือCDR) ต้องอยู่ในความครอบครองของกสท 4.อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Supervision Committee) ตามสัญญา ต้องมีความชัดเจน โดยแสดงให้เห็นถึงอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของกสทโดยชัดแจ้ง

5.กระบวนการสร้างและจัดหาความจุของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จะต้องแสดงให้เห็นว่ากสทเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการตัดสินใจใน เรื่อง frequency planning, network roll-out และ operation อย่างสมบูรณ์ 6.กสทต้องเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการเจรจาการให้บริการข้ามโครง ข่ายภายในประเทศ (inbound domestic roaming) และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่น และ7.ความจุตามสัญญา ต้องแสดงให้เห็นว่ากสทเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมการใช้คลื่นความถี่อย่าง สมบูรณ์ และควรให้เรื่องความจุตามสัญญาเป็นไปตามกลไกตลาด

ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะว่ากสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล สมควรอาศัยอำนาจตามมาตรา 47 แห่งพ.ร.บ.กสทช. 2553 มีคำสั่งเร่งรัดให้กสท ในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาต ดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับ มาตรา 46 แห่งพ.ร.บ.กสทช. 2553

'อนุกรรมการฯ เห็นว่าสัญญาดังกล่าวน่าจะละเมิดมาตรา 46 และเสนอแนวทางแก้ไขไปให้ ซึ่งข้อเสนอแนะจะถูกนำเข้าที่ประชุมกทค.พิจารณาต่อไป'

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าคาดว่าคณะอนุกรรมการฯ พิจารณามาตรา 46 จะส่งเรื่องเข้ามายังกทค.ในเร็วๆนี้ หลังจากนั้นกทค.คงใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์แล้วส่งเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช. เพื่อออกเป็นมติแล้วส่งให้กสทนำไปปฎิบัติต่อไป

'กทค.จะพิจารณาว่าสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ ลงมติ และมีความเห็นต่างๆนั้น อยู่บนเหตุผลอะไร มีความถูกต้องชัดเจนรอบด้านมากแค่ไหน แต่ที่ผ่านมากทค. มักไม่ค่อยมีความเห็นที่แตกต่างกับคณะอนุกรรมการฯ มากนัก เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามอยากให้เข้าใจตรงกันว่ามติต่างๆของกสทช.จะผูกพันกับบริษัท ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างกสทเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับบริษัทเอกชนคู่สัญญาของกสท'

แหล่งข่าวกล่าวว่าหากกสทช.มีมติอะไรออกไป กสทในฐานะผู้รับใบอนุญาตจำเป็นต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่สามารถนิ่งเฉยหรือไม่ปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะ 7 เรื่องที่คณะอนุกรรมการฯ ชี้ประเด็นว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข หากไม่แก้ไข ก็เท่ากับละเมิดหรือกระทำผิดตามมาตรา 46 ซึ่งโทษรุนแรงสูงสุดถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000065124

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.