29 กรกฎาคม 2555 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 29 / 07 / 2555
ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 29 / 07 / 2555
By So Magawn ( โส มกร )
1..... DTAC เป็นของ คนไทย แล้ว (ตะลึงใช้เงิน 1,000-2,000 ลบ. ถือหุ้นใหญ่ 51% ในนามบีซีทีเอ็น)) กลุ่ม เบญจรงคกุล ล้างภาพต่างชาติ
2..... ICTเห็นชอบCATฉีกสัญญาTRUEMOVE H แฉหากใช้สัญญาเดิม TRUE ลงทุน2.3หมื่นแต่ได้กำไรโครงการนี้198,800ลบ.CATแบกรับภาระ6,200ลบ.
3..... สิงเทล - สตาร์ฮับ ดีเดย์เปิดบริการมือถือ 4 G // ดีบีเอส วิคเกอร์ส ผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์ 12GB ราคา 240-360 บาท
เริ่มเรื่อง
DTAC เป็นของ คนไทย แล้ว (ตะลึงใช้เงิน 1,000-2,000 ลบ. ถือหุ้นใหญ่ 51% ในนามบีซีทีเอ็น)) กลุ่ม เบญจรงคกุล ล้างภาพต่างชาติ
ไทย รัฐ รายงานว่า ในที่สุดก็ต้องปรบมือให้ เทเลนอร์ รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่แห่งประเทศนอร์เวย์ ที่ตัดสินใจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ดีแทค เสียใหม่ เพื่อลบล้างข้อหาตั้ง ‘นอมินี’ ขึ้นมาเป็นคนถือหุ้นแทน แม้จะเป็นการซื้อ-ขายหุ้นแบบงุบงิบ กรุบกริบกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้ง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ดีแทค อยู่ก็ตาม
การปรับโครง สร้างผู้ถือหุ้นใหม่ในครั้งนี้ ทำขึ้นในบริษัท ไทย เทลโก้ โฮลดิ้ง ซึ่งถือหุ้นในดีแทคอยู่ประมาณ 23% โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มเทเลนอร์ ถือหุ้นตรงและอ้อมไปอ้อมมาในไทยเทลโก้อยู่ถึง 80% (จากการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการสื่อสารฯ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี กลุ่มทรู หนุนหลังอยู่อย่างประเจิดประเจ้อ) นอกจากการถือหุ้นตรงอยู่ใน ดีแทค 42% อันเป็นผลให้ ดีแทค ถูกร้องเรียนให้มีการตรวจสอบสัญชาติที่แท้จริงเรื่อยมา
เท เลนอร์ จึงตัดสินใจดึง กลุ่มเบญจรงคกุล ผู้ถือหุ้นเดิมเข้ามาถือหุ้นร่วมกันในไทยเทลโก้ ภายใต้โครงสร้างใหม่ จากที่นายบุญชัย เคยถือหุ้นไทยเทลโก้อยู่ 10% ปรับเพิ่มเป็น 51% ในนาม บีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง ซึ่งหากไล่เรียงขึ้นไปตามโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เป็นทอด ทอด ทอด ทอด ก็จะพบว่าบริษัทแม่ของบีซีทีเอ็นคือ บีซีเอช โฮลดิ้ง หรือ กลุ่มเบญจจินดา อันมี 3 พี่น้อง บุญชัย สมชาย วิชัย เบญจรงคกุล ถือหุ้นอยู่รวมกัน 100% นั่นเอง---เฮ้อ ขอตัวไปทายาหม่อง แก้มึน
ทีนี้ ก็มาถึงประเด็นเรื่องราคาหุ้นที่ซื้อขายระหว่างกัน อันเป็นเรื่องที่คนนอกอย่างดิฉัน ออกจะอยาก “เจ๋อ” อยู่ไม่น้อย เพราะตอน กลุ่มเบญจรงคกุล ขายหุ้น ดีแทค ให้ เทเลนอร์ เมื่อปี 2548 นั้น รับเงินไปราว 9,000 ล้านบาท พออีตอนหอบเงินไปซื้อคืน มันจะเป็นเงินเท่าไรหนอ ถ้าลองคำนวณแบบเซ่อๆ โดยดูจากทุนจดทะเบียนของ 3 บริษัทใหม่ที่ถือหุ้นเป็นทอด ทอด ทอด ทอด ในไทยเทลโก้แล้ว พบว่ามีทุนจดทะเบียนรวมกันราว 1 หมื่นล้านบาท กลุ่มคนไทยถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่งแต่ถือเป็นทอด ทอด ทอด ทอด ช่วยลดภาระการลงทุนลงไปอีก จึงขอทำนายทายทักว่าการลงทุนใหม่ของกลุ่มเบญจรงคกุล ในงวดนี้น่าจะอยู่ที่หลัก 1,000-2,000 ล้านบาท
คงจะบังเอิญ ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นปุ๊บ ดีแทค ก็ปรับโครงสร้างงานการตลาดปั๊บ โดยโยก ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ เข้ามาดูกิจการทั้งพรีเพด-โพสต์เพด แทน อมฤต ศุขะวณิช ที่ย้ายไปทำงานให้กับออฟฟิศของ ซิคเว่ เบรกเก้ แห่ง เทเลนอร์เอเชีย ขณะที่ วรรษิษฐ์ ไสยวรรณ สละสายสะพาย ‘ขวัญใจสื่อ’ ไปสวมเสื้อเซลส์ลูกค้าองค์กร
หาก มาดูข่าวเก่าที่ เคยนำเสนอ ....((เจาะลึก)) DTAC เป็นบริษัทต่างด้าว ++++ มากถึง66.5%สูงสุด71%ที่ถือหุ้นหลังรวบรวมเอกสารมากว่า 3 ปีมีหลักฐานมัดแน่น
สัดส่วนนิติบุคคลต่างด้าวที่เป็นผู้ถือหุ้น 1.บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย จำกัด (สิงคโปร์) 39.58% 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% 3. NORTRUST NOMINEES LIMITED - NTGS 3.46% 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PLE.LTD. 1.24% 5. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 0.98% 6.HSBC (SINGAPORE) NORMINEES PTE LTD. 0.54% รวมหุ้นต่างด้าวถืออยู่ร้อยละ 71.35
((((( มาดู 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% มีความผิดปกติ )))
โดย บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ มีคนต่างด้าวถือหุ้น 80.20% และบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้น 19.80% โดยคนต่างด้าวที่ถือหุ้นนอกจาก Telenor Asia Pte Ltd. ซึ่งถือหุ้น 49% ยังมีบริษัท โบเลโร ถือหุ้น 26.20% บริษัท เพทรูส ถือหุ้น 1.5% บริษัท อมาโรนี่ ถือหุ้น 1.5% และบริษัท แซนดัลวูต โฮลดิ้งส์ ถือหุ้น 2% จึงถือเป็นบริษัทต่างด้าว
เมื่อรวม บ.1 และ บ.2 รวมหุ้นต่างด้าวถืออยู่ร้อยละ 66.5%
http://www.thairath.co.th/column/tech/movement/279489
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=15-06-2011&group=3&gblog=8
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=12-07-2011&group=10&gblog=13
________________________________________
ICTเหตุชอบCATฉีกสัญญาTRUEMOVE H แฉหากใช้สัญญาเดิม TRUE ลงทุน2.3หมื่นแต่ได้กำไรโครงการนี้198,800ลบ.CATแบกรับภาระ6,200ลบ.
บ้าน เมือง แนวหน้า ไทยโพสต์ รายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีมติเห็นชอบให้ กสท ยกเลิกสัญญาทำการตลาดรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการมือถือ 3 จีที่มีอยู่กับกลุ่มบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น
ตามข้อเสนอของคณะทำงาน มีมติให้ร่างสัญญา 3 จีขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นสัญญามาตรฐาน และเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำตลาดได้ และมีสิทธิ์ขอเข้าทำตลาดให้บริการขายต่อบริการ (MVNO) หรือทำตลาดขายส่งได้ แต่เนื่องจากที่มาของสัญญาที่ฝ่ายบริหาร กสท ส่วนใหญ่เห็นว่ามีข้อผิดพลาดตั้งแต่ต้น จึงทำให้บอร์ดและฝ่ายบริหาร กสท ต้องยกเลิกสัญญาดังกล่าว
ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. และ กทค. สรุปว่ามีการดำเนินงานขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 หรือมาตรา 46 ของ พ.ร.บ. กสทช. ปี 2553 จึงเห็นว่า กสท น่าจะยกเลิกสัญญาดังกล่าวและดำเนินการซื้อคืนโครงข่ายเพื่อมาดำเนินการเอง
"สัญญา เดิมแม้จะอ้างว่ากสทจะมีรายได้มากกว่า 170,000 ล้านบาท มีรายจ่าย 139,800 ล้านบาท ทำให้ กสท มีกำไรอยู่ร่วม 30,000 ล้าน แต่ข้อเท็จจริงกลับหมกเม็ดให้กสท ต้องแบกรับภาระจ่ายค่าคลื่นความถี่ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกกว่า 37,000 ล้านบาท ทำให้ท้ายที่สุดแล้วกสทต้องขาดทุนมากกว่า 6,200 ล้านบาท ขณะบริษัททรูกลับจะมีรายได้และกำไรจากโครงการนี้ 198,800 ล้านบาท และยังได้โครงข่ายทรัพย์สิทั้งหมดไปด้วย”
http://www.thaipost.net/news/280712/60212
http://www.ryt9.com/s/nnd/1455299
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1455193
_________________________________________
สิงเทล - สตาร์ฮับ ดีเดย์เปิดบริการมือถือ 4 G // ดีบีเอส วิคเกอร์ส ผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์ 12GB ราคา 240-360 บาท
กรุงเทพ ธุรกิจ รายงานว่า "การเปิดตัวเครือข่าย 4 จี จะช่วยให้สตาร์ฮับขายเนื้อหาของบริษัทได้ ขณะที่อุปกรณ์พกพาจะทำรายได้ให้บริษัทได้อย่างมั่นคง" นายเกรกอรี่ ยัพ นักวิเคราะห์บริษัทเมย์แบงก์ คิม เอ็ง ซีเคียวริตี้ส์ กล่าว
เครือ ข่ายรุ่นใหม่ใช้มาตรฐานที่เรียกว่า "แอลทีอี" สามารถดาวน์โหลดและอัพโหลดได้เร็วขึ้น ซึ่งระยะเวลาตอบสนองจะเร็วกว่าความเร็วเฉลี่ยของเทคโนโลยีก่อนหน้านี้ถึง 3 เท่า
สำหรับ "สิงเทล" นั้นได้เปิดให้บริการ 4 จี ในสิงคโปร์แล้วเช่นกัน โดยให้บริการบนมือถือ 3 รุ่น คือ วันเอ็กซ์แอลของเอชทีซี ออพติมัส แอลทีอีของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ และกาแล็กซี่ เอส 2 แอลทีอีของซัมซุง
ส่วนบริการข้อมูลสำหรับองค์กร ธุรกิจของสตาร์ฮับนั้น พร้อมให้บริการในอาคารสำนักงานกว่า 1,100 แห่งในเขตธุรกิจ ที่ซึ่งบริษัทสร้างเครือข่ายใยแก้วนำแสงของตัวเอง บริการบรอดแบนด์ใหม่จะช่วยให้ผู้ให้บริการมือถือเบอร์ 2 ของสิงคโปร์เข้าถึงลูกค้าใหม่ในอาคารพาณิชย์ 20,000 อาคารทั่วเกาะ
รายงาน ข่าว ระบุด้วยว่า หุ้นของสตาร์ฮับในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปีนี้พุ่งขึ้น 20% แซงหน้าคู่แข่งรายใหญ่ อย่างสิงเทล 8.7% และคู่แข่งรายเล็ก เช่น เอ็มวัน 1.6% สตาร์ฮับ ถือเป็นบริษัทให้บริการมือถือที่มีราคาแพงมากที่สุด เพราะมีอัตราเงินปันผลตอบแทนนักลงทุนราว 5.7% ดีกว่าตัวเลขเฉลี่ย 3.7% ของบริษัทที่จดทะเบียนในดัชนีสเตรตส์ ไทมส์ 30 แห่ง
ดีบี เอส วิคเกอร์ส ยังระบุด้วยว่า บริษัทผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์มีบริการข้อมูล 12 กิกะไบต์ในราคา 10-15 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 240-360 บาท/เดือน) ซึ่งทำรายได้ดีกว่ารายได้จากบริการข้อความและบริการเสียง นอกจากบริการข้อมูลสำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว รายได้จากมือถือจะยังคงเพิ่มขึ้นด้วยการนำเนื้อหาจากบริการเพย์ทีวีไปให้ บริการบนมือถือและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/20120
711/460941/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A
3%E0%B9%8C%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%9A-
%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%
A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B
8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0
%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD
%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD-4-
%E0%B8%88%E0%B8%B5.html
So Magawn ( โส มกร ) รายงาน
By So Magawn ( โส มกร )
1..... DTAC เป็นของ คนไทย แล้ว (ตะลึงใช้เงิน 1,000-2,000 ลบ. ถือหุ้นใหญ่ 51% ในนามบีซีทีเอ็น)) กลุ่ม เบญจรงคกุล ล้างภาพต่างชาติ
2..... ICTเห็นชอบCATฉีกสัญญาTRUEMOVE H แฉหากใช้สัญญาเดิม TRUE ลงทุน2.3หมื่นแต่ได้กำไรโครงการนี้198,800ลบ.CATแบกรับภาระ6,200ลบ.
3..... สิงเทล - สตาร์ฮับ ดีเดย์เปิดบริการมือถือ 4 G // ดีบีเอส วิคเกอร์ส ผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์ 12GB ราคา 240-360 บาท
เริ่มเรื่อง
DTAC เป็นของ คนไทย แล้ว (ตะลึงใช้เงิน 1,000-2,000 ลบ. ถือหุ้นใหญ่ 51% ในนามบีซีทีเอ็น)) กลุ่ม เบญจรงคกุล ล้างภาพต่างชาติ
ไทย รัฐ รายงานว่า ในที่สุดก็ต้องปรบมือให้ เทเลนอร์ รัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่แห่งประเทศนอร์เวย์ ที่ตัดสินใจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ดีแทค เสียใหม่ เพื่อลบล้างข้อหาตั้ง ‘นอมินี’ ขึ้นมาเป็นคนถือหุ้นแทน แม้จะเป็นการซื้อ-ขายหุ้นแบบงุบงิบ กรุบกริบกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้ง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ดีแทค อยู่ก็ตาม
การปรับโครง สร้างผู้ถือหุ้นใหม่ในครั้งนี้ ทำขึ้นในบริษัท ไทย เทลโก้ โฮลดิ้ง ซึ่งถือหุ้นในดีแทคอยู่ประมาณ 23% โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มเทเลนอร์ ถือหุ้นตรงและอ้อมไปอ้อมมาในไทยเทลโก้อยู่ถึง 80% (จากการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการสื่อสารฯ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี กลุ่มทรู หนุนหลังอยู่อย่างประเจิดประเจ้อ) นอกจากการถือหุ้นตรงอยู่ใน ดีแทค 42% อันเป็นผลให้ ดีแทค ถูกร้องเรียนให้มีการตรวจสอบสัญชาติที่แท้จริงเรื่อยมา
เท เลนอร์ จึงตัดสินใจดึง กลุ่มเบญจรงคกุล ผู้ถือหุ้นเดิมเข้ามาถือหุ้นร่วมกันในไทยเทลโก้ ภายใต้โครงสร้างใหม่ จากที่นายบุญชัย เคยถือหุ้นไทยเทลโก้อยู่ 10% ปรับเพิ่มเป็น 51% ในนาม บีซีทีเอ็น โฮลดิ้ง ซึ่งหากไล่เรียงขึ้นไปตามโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เป็นทอด ทอด ทอด ทอด ก็จะพบว่าบริษัทแม่ของบีซีทีเอ็นคือ บีซีเอช โฮลดิ้ง หรือ กลุ่มเบญจจินดา อันมี 3 พี่น้อง บุญชัย สมชาย วิชัย เบญจรงคกุล ถือหุ้นอยู่รวมกัน 100% นั่นเอง---เฮ้อ ขอตัวไปทายาหม่อง แก้มึน
ทีนี้ ก็มาถึงประเด็นเรื่องราคาหุ้นที่ซื้อขายระหว่างกัน อันเป็นเรื่องที่คนนอกอย่างดิฉัน ออกจะอยาก “เจ๋อ” อยู่ไม่น้อย เพราะตอน กลุ่มเบญจรงคกุล ขายหุ้น ดีแทค ให้ เทเลนอร์ เมื่อปี 2548 นั้น รับเงินไปราว 9,000 ล้านบาท พออีตอนหอบเงินไปซื้อคืน มันจะเป็นเงินเท่าไรหนอ ถ้าลองคำนวณแบบเซ่อๆ โดยดูจากทุนจดทะเบียนของ 3 บริษัทใหม่ที่ถือหุ้นเป็นทอด ทอด ทอด ทอด ในไทยเทลโก้แล้ว พบว่ามีทุนจดทะเบียนรวมกันราว 1 หมื่นล้านบาท กลุ่มคนไทยถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่งแต่ถือเป็นทอด ทอด ทอด ทอด ช่วยลดภาระการลงทุนลงไปอีก จึงขอทำนายทายทักว่าการลงทุนใหม่ของกลุ่มเบญจรงคกุล ในงวดนี้น่าจะอยู่ที่หลัก 1,000-2,000 ล้านบาท
คงจะบังเอิญ ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นปุ๊บ ดีแทค ก็ปรับโครงสร้างงานการตลาดปั๊บ โดยโยก ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ เข้ามาดูกิจการทั้งพรีเพด-โพสต์เพด แทน อมฤต ศุขะวณิช ที่ย้ายไปทำงานให้กับออฟฟิศของ ซิคเว่ เบรกเก้ แห่ง เทเลนอร์เอเชีย ขณะที่ วรรษิษฐ์ ไสยวรรณ สละสายสะพาย ‘ขวัญใจสื่อ’ ไปสวมเสื้อเซลส์ลูกค้าองค์กร
หาก มาดูข่าวเก่าที่ เคยนำเสนอ ....((เจาะลึก)) DTAC เป็นบริษัทต่างด้าว ++++ มากถึง66.5%สูงสุด71%ที่ถือหุ้นหลังรวบรวมเอกสารมากว่า 3 ปีมีหลักฐานมัดแน่น
สัดส่วนนิติบุคคลต่างด้าวที่เป็นผู้ถือหุ้น 1.บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย จำกัด (สิงคโปร์) 39.58% 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% 3. NORTRUST NOMINEES LIMITED - NTGS 3.46% 4.THE CENTRAL DEPOSITORY PLE.LTD. 1.24% 5. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 0.98% 6.HSBC (SINGAPORE) NORMINEES PTE LTD. 0.54% รวมหุ้นต่างด้าวถืออยู่ร้อยละ 71.35
((((( มาดู 2.บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ 25.59% มีความผิดปกติ )))
โดย บริษัท ไทยเทลโค โฮลดิ้งส์ มีคนต่างด้าวถือหุ้น 80.20% และบุคคลและนิติบุคคลไทยที่เป็นผู้ถือหุ้น 19.80% โดยคนต่างด้าวที่ถือหุ้นนอกจาก Telenor Asia Pte Ltd. ซึ่งถือหุ้น 49% ยังมีบริษัท โบเลโร ถือหุ้น 26.20% บริษัท เพทรูส ถือหุ้น 1.5% บริษัท อมาโรนี่ ถือหุ้น 1.5% และบริษัท แซนดัลวูต โฮลดิ้งส์ ถือหุ้น 2% จึงถือเป็นบริษัทต่างด้าว
เมื่อรวม บ.1 และ บ.2 รวมหุ้นต่างด้าวถืออยู่ร้อยละ 66.5%
http://www.thairath.co.th/column/tech/movement/279489
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=15-06-2011&group=3&gblog=8
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thailandinthepresentday&month=12-07-2011&group=10&gblog=13
________________________________________
ICTเหตุชอบCATฉีกสัญญาTRUEMOVE H แฉหากใช้สัญญาเดิม TRUE ลงทุน2.3หมื่นแต่ได้กำไรโครงการนี้198,800ลบ.CATแบกรับภาระ6,200ลบ.
บ้าน เมือง แนวหน้า ไทยโพสต์ รายงานว่า แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีมติเห็นชอบให้ กสท ยกเลิกสัญญาทำการตลาดรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการมือถือ 3 จีที่มีอยู่กับกลุ่มบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น
ตามข้อเสนอของคณะทำงาน มีมติให้ร่างสัญญา 3 จีขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นสัญญามาตรฐาน และเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำตลาดได้ และมีสิทธิ์ขอเข้าทำตลาดให้บริการขายต่อบริการ (MVNO) หรือทำตลาดขายส่งได้ แต่เนื่องจากที่มาของสัญญาที่ฝ่ายบริหาร กสท ส่วนใหญ่เห็นว่ามีข้อผิดพลาดตั้งแต่ต้น จึงทำให้บอร์ดและฝ่ายบริหาร กสท ต้องยกเลิกสัญญาดังกล่าว
ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. และ กทค. สรุปว่ามีการดำเนินงานขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 หรือมาตรา 46 ของ พ.ร.บ. กสทช. ปี 2553 จึงเห็นว่า กสท น่าจะยกเลิกสัญญาดังกล่าวและดำเนินการซื้อคืนโครงข่ายเพื่อมาดำเนินการเอง
"สัญญา เดิมแม้จะอ้างว่ากสทจะมีรายได้มากกว่า 170,000 ล้านบาท มีรายจ่าย 139,800 ล้านบาท ทำให้ กสท มีกำไรอยู่ร่วม 30,000 ล้าน แต่ข้อเท็จจริงกลับหมกเม็ดให้กสท ต้องแบกรับภาระจ่ายค่าคลื่นความถี่ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกกว่า 37,000 ล้านบาท ทำให้ท้ายที่สุดแล้วกสทต้องขาดทุนมากกว่า 6,200 ล้านบาท ขณะบริษัททรูกลับจะมีรายได้และกำไรจากโครงการนี้ 198,800 ล้านบาท และยังได้โครงข่ายทรัพย์สิทั้งหมดไปด้วย”
http://www.thaipost.net/news/280712/60212
http://www.ryt9.com/s/nnd/1455299
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1455193
_________________________________________
สิงเทล - สตาร์ฮับ ดีเดย์เปิดบริการมือถือ 4 G // ดีบีเอส วิคเกอร์ส ผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์ 12GB ราคา 240-360 บาท
กรุงเทพ ธุรกิจ รายงานว่า "การเปิดตัวเครือข่าย 4 จี จะช่วยให้สตาร์ฮับขายเนื้อหาของบริษัทได้ ขณะที่อุปกรณ์พกพาจะทำรายได้ให้บริษัทได้อย่างมั่นคง" นายเกรกอรี่ ยัพ นักวิเคราะห์บริษัทเมย์แบงก์ คิม เอ็ง ซีเคียวริตี้ส์ กล่าว
เครือ ข่ายรุ่นใหม่ใช้มาตรฐานที่เรียกว่า "แอลทีอี" สามารถดาวน์โหลดและอัพโหลดได้เร็วขึ้น ซึ่งระยะเวลาตอบสนองจะเร็วกว่าความเร็วเฉลี่ยของเทคโนโลยีก่อนหน้านี้ถึง 3 เท่า
สำหรับ "สิงเทล" นั้นได้เปิดให้บริการ 4 จี ในสิงคโปร์แล้วเช่นกัน โดยให้บริการบนมือถือ 3 รุ่น คือ วันเอ็กซ์แอลของเอชทีซี ออพติมัส แอลทีอีของแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ และกาแล็กซี่ เอส 2 แอลทีอีของซัมซุง
ส่วนบริการข้อมูลสำหรับองค์กร ธุรกิจของสตาร์ฮับนั้น พร้อมให้บริการในอาคารสำนักงานกว่า 1,100 แห่งในเขตธุรกิจ ที่ซึ่งบริษัทสร้างเครือข่ายใยแก้วนำแสงของตัวเอง บริการบรอดแบนด์ใหม่จะช่วยให้ผู้ให้บริการมือถือเบอร์ 2 ของสิงคโปร์เข้าถึงลูกค้าใหม่ในอาคารพาณิชย์ 20,000 อาคารทั่วเกาะ
รายงาน ข่าว ระบุด้วยว่า หุ้นของสตาร์ฮับในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปีนี้พุ่งขึ้น 20% แซงหน้าคู่แข่งรายใหญ่ อย่างสิงเทล 8.7% และคู่แข่งรายเล็ก เช่น เอ็มวัน 1.6% สตาร์ฮับ ถือเป็นบริษัทให้บริการมือถือที่มีราคาแพงมากที่สุด เพราะมีอัตราเงินปันผลตอบแทนนักลงทุนราว 5.7% ดีกว่าตัวเลขเฉลี่ย 3.7% ของบริษัทที่จดทะเบียนในดัชนีสเตรตส์ ไทมส์ 30 แห่ง
ดีบี เอส วิคเกอร์ส ยังระบุด้วยว่า บริษัทผู้ให้บริการมือถือในสิงคโปร์มีบริการข้อมูล 12 กิกะไบต์ในราคา 10-15 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 240-360 บาท/เดือน) ซึ่งทำรายได้ดีกว่ารายได้จากบริการข้อความและบริการเสียง นอกจากบริการข้อมูลสำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว รายได้จากมือถือจะยังคงเพิ่มขึ้นด้วยการนำเนื้อหาจากบริการเพย์ทีวีไปให้ บริการบนมือถือและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/20120
711/460941/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A
3%E0%B9%8C%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%9A-
%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%
A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B
8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0
%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD
%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD-4-
%E0%B8%88%E0%B8%B5.html
So Magawn ( โส มกร ) รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น: