Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กุมภาพันธ์ 2555 ฉะ! โฆษณาผ่านสื่อโอเว่อร์-เร่ง กสทช.ออกหลักเกณฑ์ ดึงปฉะ! โฆษณาผ่านสื่อโอเว่อร์-เร่ง กสทช.ออกหลักเกณฑ์ ดึงปชช.มีส่วนร่วม

ฉะ! โฆษณาผ่านสื่อโอเว่อร์-เร่ง กสทช.ออกหลักเกณฑ์ ดึงปฉะ! โฆษณาผ่านสื่อโอเว่อร์-เร่ง กสทช.ออกหลักเกณฑ์ ดึงปชช.มีส่วนร่วม

ประเด็นหลัก

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ในปี 2553 คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ระบุถึงการศึกษาโฆษณาสินค้าและบริการในวิทยุขนาดเล็ก 12 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีการโฆษณาแฝงและโฆษณาโดยตรง โดยโฆษณาแฝงเป็นการกล่าวถึงกลุ่มผู้สนับสนุนสถานีและผู้สนับสนุนรายการ ส่วนการโฆษณาโดยตรงจะเป็นการเปิดสปอตโฆษณา โดยกลุ่มสินค้าที่ปรากฏมากที่สุด คือสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพร้อยละ 57 รองลงมาคือสินค้าทางการเกษตร ปัจจุบันวิทยุขนาดเล็กได้รับสิทธิ์ทดลองออกอากาศภายใต้มาตรการชั่วคราวของ กสทช. 6,604 รายในปี 2554 ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับใบอนุญาต 2 ราย และมีผู้ยื่นขอประกอบกิจการ เคเบิล ภายใต้มาตรการชั่วคราวจำนวน 1,042 ใบ อยู่ในกระบวนการพิจารณา 955 ใบ ในจำนวนนี้ ได้รับใบอนุญาตแล้ว 113 ใบ ส่วน ทีวีดาวเทียม ปัจจุบันมีผู้ติดตั้งจานดาวเทียมในระบบ Ku Band และ C-Band รวมกัน 5 ล้านจาน


________________________________________________________


ฉะ! โฆษณาผ่านสื่อโอเว่อร์-เร่ง กสทช.ออกหลักเกณฑ์ ดึงปชช.มีส่วนร่วม


กสทช. เปิดเวทีเสวนาแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค กสทช. รอบ 2 ดึงหาทางออกร่วม ด้านองค์กรและภาคประชาชนระบุโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ขณะที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เร่ง กสทช. ออกหลักเกณฑ์ พร้อมดึง ปชช.มีส่วนร่วม...

เมื่อวันที่ 29 ก.พ. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวในเวทีเสวนา NBTC PUBLIC FORUM : แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในโฆษณาวิทยุและโทรทัศน์ยุค กสทช. จัดขึ้น เป็นครั้งที่ 2 ว่า เวทีนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาคประชาชนกลุ่ม วิชาชีพ ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่สนใจ ในประเด็นสถานการณ์สื่อโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์ที่เอาเปรียบและละเมิดสิทธิ์ ผู้บริโภคตามกฎหมายที่กำหนด

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อต้องการระดมความคิดเห็นในประเด็นของสังคมต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก โฆษณาในสื่อใหม่ๆ อาทิ ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ตลอดจนวิทยุชุมชนในภูมิภาคต่างๆ โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาระดมความคิดเห็นและหาแนวทางออกร่วมกัน ขณะเดียวกัน กสทช. ยังไม่มีเกณฑ์ และกติกาในการกำกับดูแลผู้ประกอบการในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ แต่ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ จำเป็นต้องมีมาตรการในการเยียวยา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนจนกว่าจะเข้าสู่กติกาและเกณฑ์ให้ใบอนุญาต่างๆ ของ กสทช.จะเสร็จสิ้นต่อไป

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ในปี 2553 คณะกรรมการการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ระบุถึงการศึกษาโฆษณาสินค้าและบริการในวิทยุขนาดเล็ก 12 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีการโฆษณาแฝงและโฆษณาโดยตรง โดยโฆษณาแฝงเป็นการกล่าวถึงกลุ่มผู้สนับสนุนสถานีและผู้สนับสนุนรายการ ส่วนการโฆษณาโดยตรงจะเป็นการเปิดสปอตโฆษณา โดยกลุ่มสินค้าที่ปรากฏมากที่สุด คือสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพร้อยละ 57 รองลงมาคือสินค้าทางการเกษตร ปัจจุบันวิทยุขนาดเล็กได้รับสิทธิ์ทดลองออกอากาศภายใต้มาตรการชั่วคราวของ กสทช. 6,604 รายในปี 2554 ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับใบอนุญาต 2 ราย และมีผู้ยื่นขอประกอบกิจการ เคเบิล ภายใต้มาตรการชั่วคราวจำนวน 1,042 ใบ อยู่ในกระบวนการพิจารณา 955 ใบ ในจำนวนนี้ ได้รับใบอนุญาตแล้ว 113 ใบ ส่วน ทีวีดาวเทียม ปัจจุบันมีผู้ติดตั้งจานดาวเทียมในระบบ Ku Band และ C-Band รวมกัน 5 ล้านจาน

ด้านองค์กรและภาคประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อ โฆษณาในสื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบันว่า พบเห็นการโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงเป็นเวลานานและบ่อยครั้งระหว่างการออกอากาศ อาทิ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว กาแฟลดความอ้วน ยาบำรุงเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยารักษาโรค เครื่องรางของขลัง ใบ้หวยและรูปแบบรายการเข้าข่ายไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้ กสทช.ออกมาตรการในการควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

ขณะที่ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ ต้องการเรียกร้องการออกกฎหมายให้ผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่แค่การรับฟังเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงผุ้บริโภคด้วย นอกจากนี้ ยังต้องการให้ กสทช. เร่งดำเนินการในการออกหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะยิ่งช้า ผู้บริโภคจะเสียเปรียบ ขณะที่ วิทยุชุมชนเป็นสื่อที่กลางกลับหลอกลวงผู้บริโภคมากที่สุด ซึงผิดกับสื่อ ทางเลือกที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับผู้บริโภคเลย

ทั้งนี้ วิทยากรนำเสนอประเด็นเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (มีเดียมอนิเตอร์ ) นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นายพิชัย อารยิกานนท์ สมาคมองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) นางสาวสิรินนา เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ และผู้แทนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ บริโภค (ปคบ.).

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/242055

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.