Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มกราคม 2555 ( เตรียมตัว ประมูลคลื่นความถี่ดาวเทียม ทั้ง 3 ประเภท) ประเภทหนึ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.คลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

( เตรียมตัว ประมูลคลื่นความถี่ดาวเทียม ทั้ง 3 ประเภท) ประเภทหนึ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.คลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553


ประเด็นหลัก

นายสุทธิพล ทวีชัย​การ กรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียงกิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่ง ชาติ ​หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. ตั้งคณะอนุกรรม​การ​เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่​เกี่ยวข้อง​ในด้าน​เทคนิค​ เกี่ยวกับกิจ​การดาว​เทียม หาก​ผู้ประกอบ​การต้อง​การนำคลื่น​ความถี่จากดาว​เทียม​ไป​ใช้ประ​โยชน์ จะต้องขออนุญาต กสทช. ก่อน ​เพื่อ​เข้าสู่กระบวน​การประมูล พร้อมออก​ใบอนุญาต​ให้​ใช้คลื่น​ได้ตาม พ.ร.บ.คลื่น​ความถี่ฯ พ.ศ.2553 ​เนื่องจากคลื่น​ความถี่ดังกล่าว​เป็นคลื่น​ความถี่อีกประ​เภทหนึ่งที่​เป็น สาธารณประ​โยชน์ ​จึงต้อง​เปิด​โอกาส​ให้มี​การ​แข่งขัน

กระบวน​การ ที่​เกี่ยวข้องกับกิจ​การดาว​เทียมนั้น​แบ่งออก​เป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.​การขอตำ​แหน่งวง​โคจรจากทาง​ไอทียู ​ซึ่งกระทรวง​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ ​และ​การสื่อสาร จะ​เป็น​ผู้ดู​แล​ในส่วนงานอำนวย​การ ​โดย กสทช.จะ​เป็น​ผู้ดู​แล​ในด้าน​การประสานงาน 2.ขั้นตอน​การหาดาว​เทียม​เพื่อมาประจำตำ​แหน่ง​ในวง​โคจรนั้น ​เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราช​การที่​เกี่ยวข้อง​ใน​การติดต่อหาดาว​เทียมมา วาง ณ ตำ​แหน่งดังกล่าว 3.​การขอ​ใช้คลื่น​ความถี่ที่ส่งมาจากดาว​เทียม​เพื่อ​ใช้ประ​โยชน์ ​เป็นหน้าที่ของ กสทช.​ใน​การออก​ใบอนุญาต​ให้​ใช้คลื่น​ความถี่​เหล่านั้น​ในประ​เทศ​ไทย


_______________________________________________________

กสทช.เข้มสั่งล้อมคอกธุรกิจดาวเทียม


นาย สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านเทคนิคเกี่ยว กับกิจการดาวเทียม ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการนำคลื่นความถี่จากดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในประเทศ ไทย ก็จะต้องขออนุญาตกับทาง กสทช. ก่อน เพื่อเข้าสู่กระบวนการประมูลและออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ต่อไป เนื่องจากคลื่นความถี่จากดาวเทียมสื่อสารถือเป็นคลื่นความถี่อีกประเภทหนึ่ง ที่เป็นสาธารณประโยชน์ จึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม กัน

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วยการขอตำแหน่งวงโคจรจากทางไอทียู ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเป็นผู้ดูแลในส่วนของงานอำนวยการ โดย กสทช. จะเป็นผู้ดูแลในด้านการประสานงาน ขณะที่ขั้นตอนการหาดาวเทียมเพื่อมาประจำตำแหน่งในวงโคจรนั้น จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการติดต่อหาดาวเทียมมาวาง ณ ตำแหน่งดังกล่าว และสุดท้ายคือการขอใช้คลื่นความถี่ที่ส่งมาจากดาวเทียมเพื่อใช้ประโยชน์นั้น เป็นหน้าที่ของ กสทช. ในการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เหล่านั้นในประเทศไทย ซึ่งรายได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายนั้น กสทช. ก็จะนำส่งเข้ารัฐ

เนื่อง จากคลื่นความถี่ดาวเทียมสื่อสารจะมีลักษณะที่ต่างจากคลื่นความถี่ประเภทอื่น อย่างคลื่นความถี่ของโทรศัพท์มือถือ คือสามารถใช้พร้อมกันได้หลายราย จึงไม่สามารถบังคับห้ามผู้ประกอบการรายอื่นในการใช้คลื่นความถี่ร่วมกันได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องทางเทคนิคที่จะต้องนำมาพิจารณากันว่าจะออกแบบการ ประมูลคลื่นความถี่ดาวเทียมสาธารณะอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชาติมากที่สุด จึงต้องตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านเทคนิค ดังกล่าว

moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Moneylinenews/tabid/89/newsid491/167299/Default.aspx

____________________________________________________

สทช.ตั้งคณะอนุฯ ล้อมคอกกฎหมายดาว​เทียม

กสทช.ตั้ง คณะอนุกรรม​การพิจารณาข้อกฎหมาย​เกี่ยวกับกิจ​การดาว​เทียม ตรวจสอบขั้นตอน ​การขอ​ใบอนุญาตประกอบกิจ​การดาว​เทียม​ในประ​เทศ​ไทย

นายสุทธิพล ทวีชัย​การ กรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียงกิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่ง ชาติ ​หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. ตั้งคณะอนุกรรม​การ​เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่​เกี่ยวข้อง​ในด้าน​เทคนิค​ เกี่ยวกับกิจ​การดาว​เทียม หาก​ผู้ประกอบ​การต้อง​การนำคลื่น​ความถี่จากดาว​เทียม​ไป​ใช้ประ​โยชน์ จะต้องขออนุญาต กสทช. ก่อน ​เพื่อ​เข้าสู่กระบวน​การประมูล พร้อมออก​ใบอนุญาต​ให้​ใช้คลื่น​ได้ตาม พ.ร.บ.คลื่น​ความถี่ฯ พ.ศ.2553 ​เนื่องจากคลื่น​ความถี่ดังกล่าว​เป็นคลื่น​ความถี่อีกประ​เภทหนึ่งที่​เป็น สาธารณประ​โยชน์ ​จึงต้อง​เปิด​โอกาส​ให้มี​การ​แข่งขัน

กระบวน​การ ที่​เกี่ยวข้องกับกิจ​การดาว​เทียมนั้น​แบ่งออก​เป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1.​การขอตำ​แหน่งวง​โคจรจากทาง​ไอทียู ​ซึ่งกระทรวง​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ ​และ​การสื่อสาร จะ​เป็น​ผู้ดู​แล​ในส่วนงานอำนวย​การ ​โดย กสทช.จะ​เป็น​ผู้ดู​แล​ในด้าน​การประสานงาน 2.ขั้นตอน​การหาดาว​เทียม​เพื่อมาประจำตำ​แหน่ง​ในวง​โคจรนั้น ​เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราช​การที่​เกี่ยวข้อง​ใน​การติดต่อหาดาว​เทียมมา วาง ณ ตำ​แหน่งดังกล่าว 3.​การขอ​ใช้คลื่น​ความถี่ที่ส่งมาจากดาว​เทียม​เพื่อ​ใช้ประ​โยชน์ ​เป็นหน้าที่ของ กสทช.​ใน​การออก​ใบอนุญาต​ให้​ใช้คลื่น​ความถี่​เหล่านั้น​ในประ​เทศ​ไทย

ส่วน ราย​ได้จาก​การประมูลหลังหักค่า​ใช้จ่าย กสทช. จะนำส่ง​เข้ารัฐ อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เนื่องจากคลื่น​ความถี่ดาว​เทียมสื่อสารจะมีลักษณะที่ต่างจากคลื่น​ความถี่ ประ​เภทอื่น อย่างคลื่น​ความถี่ของ​โทรศัพท์มือถือ คือ สามารถ​ใช้พร้อมกัน​ได้หลายราย ​จึง​ไม่สามารถบังคับห้าม​ผู้ประกอบ​การรายอื่น​ใน​การ​ใช้คลื่น​ความถี่ ร่วมกัน​ได้ ​เรื่องนี้ถือ​เป็น​เรื่องทาง​เทคนิคที่จะต้องนำมาพิจารณากันว่าจะออก​แบบ​ การประมูลคลื่น​ความถี่ดาว​เทียมสาธารณะอย่าง​ไร​เพื่อ​ให้​เกิดประ​โยชน์ ต่อประ​เทศมากที่สุด ​จึงต้องตั้งคณะอนุกรรม​การ​เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่​เกี่ยวข้อง​ในด้าน​ เทคนิคดังกล่าว

RYT9.COM
http://www.ryt9.com/s/iqry/1332719

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.