05 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G)(ปฏิบัติการให้รัฐรับเงินถือว่ายอมรับตามกม.) กสทช.ส่งหนังสือถามคลังส่งเงิน3G(ชี้ป.ป.ช.ได้เพียงตรวจสอบ )
ประเด็นหลัก
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เนื่องจากในตอนนี้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบว่าการประมูลดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) หรือไม่ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค.และประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายฐากร กล่าวว่า ในกรณีป.ป.ช.นั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุติผลการประมูลแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบเฉพาะประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าข่ายกระทำความผิดเท่านั้น ส่วนกรณีสมาชิกวุฒิสภาให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประเด็นหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลนั้นซึ่งหากผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษดังกล่าว ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจ หน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นสำนักงานกสทช.ก็มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G เช่นเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีระยะเวลาภายใน15 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 10 พ.ย. นี้แต่ล่าสุดคาดว่าคณะทำงานจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลาจึงอาจจะขอขยายเวลากับสำนักงานกสทช.ออกไปอีก 7-10 วัน
'หากส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทันที แต่หากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช.จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ซึ่งเราจำเป็นต้องหารือกับคลังเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฎิบัติ'
นอกจากนี้ ทางเอกชนยังได้เสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูล วงเงิน 1,350 ล้านบาท ในอัตราวันละ 3 แสนบาท และหากคิดเป็นวงเงินที่ กสทช.ได้รับไว้งวดแรกแล้ว เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงต้องส่งหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังโดยเร็วที่สุด
__________________________________
กสทช.ส่งหนังสือถามคลังเงินงวดแรก3G ให้ส่งเลยหรือไม่
ภาพประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมไทย โดย 3 ผู้บริหารโอเปอเรเตอร์ไทยจับมือกันระหว่างการประมูลคลื่น 3G เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
'ฐากร' ระบุมีเพียงคำสั่งศาลกับบอร์ดกสทช.หรือกทค. เท่านั้นที่สามารถสั่งล้มประมูล 3G ส่งหนังสือถามคลังจะจัดการเงินค่าประมูลงวดแรกกว่า 2 หมื่นล้านบาทอย่างไร ให้ส่งเลยหรือรอกระบวนการตรวจสอบจากป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าวว่าในตอนนี้สาเหตุที่จะสามารถยกเลิกหรือเพิกถอนผลการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz (3G) ที่มีการประมูลไปเมื่อวันที่16ต.ค.55ได้นั้นมีเพียง 2 หน่วยงานเท่านั้นที่ทำได้คือ 1.คณะกรรมการกสทช.หรือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล กับ2.ศาลปกครองมีคำสั่งหรือวินิจฉัย ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนการประมูล
ทั้งนี้หากกสทช.ไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3ให้แก่ผู้ชนะการประมูลภายใน 90 วันหรือในวันที่ 18 ม.ค.56 ได้ ผู้ประกอบได้ให้ข้อมูลแล้วว่าจะทำให้เกิดความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท และหากคิดวงเงินทั้งหมดที่สำนักงาน กสทช.ได้รับงวดแรกจำนวน 22,269.375 ล้านบาท เอกชนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณวันละ 4,948,750 บาท
'หากกสทช.ออกใบอนุญาตช้ากว่ากำหนดภายใน90วันหรือประมาณวันที่ 18 ม.ค.56 เราเชื่อว่าผู้ประกอบการเอกชนทั้ง3รายจะต้องฟ้องร้องต่อกสทช.แน่นอนเนื่องจากทำให้เอกชนเสียหายจำนวนมาก'
ขณะเดียวกันในวันที่ 5 พ.ย. สำนักงานกสทช.ได้ส่งหนังสือหารือไปยังนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อสอบถามถึงเงินที่กสทช.ได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz งวดแรกจำนวน 50% เมื่อวันที่16ต.ค.55 จากผู้เข้าประมูลทั้ง3รายคือบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ ,บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ รวมเป็นเงิน 22,269.375 ล้านบาท (โดยเงินจำนวนดังกล่าวรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) ทันทีเลยหรือไม่ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.พ.ศ.2553
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เนื่องจากในตอนนี้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบว่าการประมูลดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) หรือไม่ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค.และประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายฐากร กล่าวว่า ในกรณีป.ป.ช.นั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุติผลการประมูลแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบเฉพาะประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าข่ายกระทำความผิดเท่านั้น ส่วนกรณีสมาชิกวุฒิสภาให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประเด็นหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลนั้นซึ่งหากผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษดังกล่าว ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจ หน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นสำนักงานกสทช.ก็มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G เช่นเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีระยะเวลาภายใน15 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 10 พ.ย. นี้แต่ล่าสุดคาดว่าคณะทำงานจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลาจึงอาจจะขอขยายเวลากับสำนักงานกสทช.ออกไปอีก 7-10 วัน
'หากส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทันที แต่หากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช.จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ซึ่งเราจำเป็นต้องหารือกับคลังเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฎิบัติ'
นอกจากนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ส่งหนังสือถึง พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค.เพื่อขอข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ทั้งหมด (ล็อคไฟล์) ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการประมูล 3Gเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภายในวันที่ 7 พ.ย. 2555 นี้
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135189&Keyword=3g
__________________________________________
กสทช.เตรียมถกคลังหาแนวทางส่งเงินค่าใบอนุญาต 3G เข้ารัฐ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวชี้แจงถึงความคืบหน้าการประมูล 3G ว่า วันนี้จะส่งหนังสือขอหารือกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับเงินประมูล 3G งวดแรก ซึ่งขณะนี้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 3 ราย ได้ชำระเงินจำนวนร้อยละ 50 ของเงินที่ประมูลได้ เป็นเงินจำนวน 22,269.37 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนให้ตรวจสอบการประมูล 3G ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาว่ารายได้จากการประมูลจะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินทันที หรือต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบของทั้งสองหน่วยงาน
นอกจากนี้ ทางเอกชนยังได้เสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูล วงเงิน 1,350 ล้านบาท ในอัตราวันละ 3 แสนบาท และหากคิดเป็นวงเงินที่ กสทช.ได้รับไว้งวดแรกแล้ว เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงต้องส่งหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังโดยเร็วที่สุด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135159&Keyword=3g
____________________________________________
กสทช.ร่อนหนังสือถามคลังเรื่องเงินประมูล3G ฟากเอกชน 3 ค่ายตบเท้าชี้แจงผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช) เปิดเผยว่า ในวันนี้(5 พ.ย.) จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการนำส่งเงินรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่2.1GHz ตามมาตรา 45 พ.ร.บ. กสทช. ที่ระบุให้ กสทช. ต้องนำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 3 รายได้นำส่งเงินงวดแรกจำนวน 50% ของเงินประมูล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 22,269.375 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) มาให้สำนักงาน กสทช. แล้ว
แต่เนื่องจากยังมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)และผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา ทำให้เกิดปัญหาว่าเงินรายได้ดังกล่าว กสทช. จะต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อรอผลตรวจสอบให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะหากผลสอบมีผลให้ต้องเพิกถอนการประมูลและคืนเงินให้เอกชน
ฟากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จะเดินทางไปยื่นเอกสารชี้แจงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภาในช่วงบ่ายวันนี้ด้วย
(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352101455&grpid=03&catid=03
______________________________________________
กสทช.หารือคลัง จ่อส่งเงินค่าประมูล 3 จี 2.2 หมื่นล้าน
เลขาฯ กสทช. เผยเซ็นชื่อทำหนังสือส่งกระทรวงการคลัง เพื่อหารือการส่งเงินประมูล 3จี ยอด 22,269.375 ล้านบาท พร้อมส่งล็อกไฟล์ประมูล 3จี วันที่ 16 ต.ค.ให้ สตง.รับทราบภายในวันที่ 7 พ.ย.นี้ ลั่นศาลปกครองและ กทค. เท่านั้นที่ล้มประมูลได้...
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อสอบถามว่าสามารถรับเงินค่าประมูลใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์ 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เอกชนทั้ง 3 ราย จ่ายงวดแรกแล้ว 50% รวมมูลค่า 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) และได้รับดอกเบี้ยจากการฝากธนาคารประมาณวันละ 5 ล้านบาท ดังนั้น จึงอยากให้คลังรับเงินส่วนนี้ไป เพราะถือเป็นรายได้ของประเทศ โดยมี เลขาฯ กสทช.เป็นผู้เซ็นชื่อในเอกสาร ขณะที่สิ้นสุดวันมอบไลเซ่นส์ 3จี วันที่ 18 ม.ค.2556 หรือ 90 วัน นับจากวันที่ประมูล 3จี
ต่อข้อถามถึงเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.บันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือล็อกไฟล์การประมูล 3จี เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เพื่อใช้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมในการตรวจสอบการประมูลครั้งนี้ โดย กสทช. ต้องส่งให้ภายในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว แต่ถ้าใครจะขอก็สามารถทำหนังสือเข้ามาขอได้ โดย กสทช. ยินดีจะส่งให้ แต่ กสทช. จะไม่เดินสายเอาไปให้
เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า บอร์ด กสทช. เกี่ยวข้องเฉพาะการประกาศหลักเกณฑ์การประมูล แต่ขั้นตอนหลังจากนั้น เป็นอำนาจของบอร์ด กทค. ส่วนการส่งเรื่องเข้าบอร์ด กสทช. รับทราบนั้น บอร์ดสามารถไม่รับทราบได้ ทั้งนี้ มีกระแสข่าวระบุว่า หากนำเรื่องเข้าบอร์ด กสทช. แล้ว กสทช. บางรายไม่มีการลงมติรับทราบ จะไม่สามารถดำเนินการ 3จี ต่อได้นั้น เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของบอร์ด กทค. แต่แค่เป็นการนำเข้าบอร์ด กสทช. เพื่อให้รับทราบเท่านั้น
“ศาลปกครอง และ กทค. เท่านั้นที่จะสั่งระงับการประมูลครั้งนี้ได้ และหากเกิดปัญหาใดๆ กทค. ทั้ง 4 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกับบอร์ดคนอื่นๆ และการยืนยันอำนาจดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย กสทช. และกทค.จะรายงานที่ประชุมเพื่อรับทราบเท่านั้น และ กทค.ยืนยันอำนาจชัดเจนและประธานกสทช.ไม่มีสิทธิ์บังคับได้” นายฐากร กล่าว
รายงานข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ได้รวมตัวกันทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เพื่อยืนยันว่าการรับรองผลและการให้ใบอนุญาตให้บริการ หรือไลเซ่นส์ 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เป็นอำนาจของบอร์ด กสทช. โดยมี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ งามสง่า และนายธวัชชัย จิตรภาษนันท์ ซึ่งเมื่อรวมกับเสียงของ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ทำให้ขณะนี้มี 5 เสียงใน กสทช. ที่เห็นว่าบอร์ดใหญ่มีอำนาจ ส่วน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. ไม่ขอแสดงความเห็นในเรื่องนี้
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/303817
____________________________________
ล้ม 3 จี ต้องฟังคำสั่ง "กทค.-ศาลปกครอง" เท่านั้น
กสทช.ยัน เพิกถอนประมูล 3 จี ผู้ที่มีสิทธิ์คือ “กทค. – ศาลปกครอง” เปรยใบอนุญาต ยังไม่สามารถให้ได้ เหตุต้องรอผลสอบของกรรมการตรวจสอบการประมูล3จี
วันนี้ (5พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงานกสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จี เมื่อวันที่ 16 ต.ค.55 จะยกเลิกหรือ เพิกถอนการประมูลได้มี 2กรณีคือ 1. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ต้องได้รับผลการไต่สวนจาก คณะกรรมการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้ร่วมประมูล ซึ่งสำนักงานแต่งตั้ง เพื่อตรวจสอบความผิดปกติการเสนอราคาของเอกชน และ 2.ศาลปกครองมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ให้ยกเลิก หรือเพิกถอน ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย
นายฐากร ระบุต่อว่า ดังนั้นกระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ต้องรอผลดำเนินการจากคณะทำงานตรวจสอบก่อน โดยคาดว่าจะขยายกรอบระยะเวลาออกไปประมาณ 7-10 วันจากเดิมที่วางกรอบเพียง 15 วัน ทำให้ขณะนี้ไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ แต่ต้องไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 ม.ค.56
ขณะเดียวกันวันที่ 1 พ.ย.55 ที่ผ่านมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ส่งหนังสือถึง พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค. เพื่อขอให้จัดส่งข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ทั้งหมด(ล็อคไฟล์) ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเคาะราคาประมูล 3จี ในวันที่ 16 ต.ค.55 ไปให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภายในวันที่ 7 พ.ย.55
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/164890
______________________________________
กสทช.ส่งหนังสือถามคลังส่งเงินประมูล3Gระหว่างยังไม่สรุปตรวจสอบความโปร่งใส
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ชี้แจงความคืบหน้าการประมูลคลื่น 3 จีว่า
1. ขณะนี้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3 รายคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้ชำระเงินจำนวนร้อยละห้าสิบของเงินที่ประมูลได้เป็นเงิน 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) โดยสำนักงาน กสทช. มีหน้าที่จะต้องนำเงินที่ได้จากการประมูลดังกล่าวหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตามความใน มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
แต่เนื่องจากได้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ปปช. เพื่อให้ตรวจสอบว่า การประมูล มีกรณีเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว และมีผู้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้พิจารณาว่าการประมูลเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเสนอเรื่องต่อศาลปกครองวินิจฉัยเพิกถอนการประมูล ซึ่งทั้งสองกรณีอยู่ระหว่างการดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาว่า เงินรายได้จากการประมูลดังกล่าวที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้จะต้องนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน หรือจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อรอผลการดำเนินการของทั้งสองหน่วยงานจนเสร็จสิ้น เพราะหากผล การพิจารณาดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช. จะต้องคืนเงินรายได้ที่รับไว้คืนผู้ประมูลต่อไป ประกอบกับปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐว่า ผู้ประมูลจะต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูลของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท เอกชนต้องได้รับความเสียหายเพราะธุรกิจรอไม่ได้
สำนักงาน กสทช. เห็นว่าเงินรายได้จากการประมูลที่สำนักงาน กสทช. ได้รับมาไว้จำนวน 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) ซึ่งกรณียังมีปัญหาว่า จะต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นได้เลยหรือไม่ นั้น เพราะหากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช. จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ประกอบกับเอกชนเสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท วงเงินที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้จำนวน 22,269.375 ล้านบาท เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาการนำเงินส่งการทรวงการคลังเป็นรายได้ของรัฐ จึงได้มีหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวโดยด่วนที่สุดแล้ว เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
2. การบวนการออกใบอนุญาต 3 จี ให้กับผู้ประมูล โดยที่ปรากฏว่า ได้มี ผู้ร้องกล่าวโทษต่อ ปปช. และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ทั้งสองหน่วยงานยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร สำนักงาน กสทช. ขอยืนยันว่า การประมูลดังกล่าวได้ดำเนินการไปตามกระบวนการที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้ว และสำนักงาน กสทช. ขอเรียนว่า
2.1 การร้องกล่าวโทษต่อ ปปช. เป็นการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ไม่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต 3 จี ซึ่งกสทช. และ กทค. ก็พร้อมที่จะชี้แจงเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายด้วยความสุจริต โปร่งใส และยุติธรรม ไม่ได้กระทำการเพื่อประโยชน์ผู้หนึ่งผู้ใด หรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่ได้ดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐสูงสุดอันได้แก่ประโยชน์ของประชาชน และรัฐบาลในสัดส่วนที่มีความสมดุลย์ มิให้เกิดภาระแก่ประชานซึ่งเป็นผู้บริโภค
2.2 การร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เป็นการร้องกล่าวโทษเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค. และประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษ ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจหน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่ง กสทช. และ กทค. ก็พร้อมที่จะชี้แจงว่ากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดว่า ได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยความสุจริต และโปร่งใส เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐบาล
ดังนั้น การที่จะยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูลดังกล่าว ก็จะกระทำได้ใน สองกรณี คือ
(1) กสทช. หรือ กทค. มีมติให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล ซึ่งใน เรื่องนี้ก็จะต้องมีความชัดเจนจากการสอบสวนของคณะกรรมการฯ สำนักงาน กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการประมูล ว่า การประมูลเป็นไปโดยมิชอบ เพราะกรณีนี้ผู้ประมูลทุกรายมีเกิดความเสียหายเกิดขึ้นแล้วซึ่งสำนักงาน กสทช. จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น หากมีการยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูลไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อผลการสอบสวนมีความชัดเจนและเสร็จสิ้นแล้ว สำนักงาน กสทช. ก็จะได้พิจารณา นำเสนอ กทค. เพื่อพิจารณาว่า จะสมควรดำเนินการต่อไปประการใด
(2) ศาลปกครองมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=152307:3g&catid=176:20
09-06-25-09-26-02&Itemid=524
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เนื่องจากในตอนนี้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบว่าการประมูลดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) หรือไม่ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค.และประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายฐากร กล่าวว่า ในกรณีป.ป.ช.นั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุติผลการประมูลแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบเฉพาะประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าข่ายกระทำความผิดเท่านั้น ส่วนกรณีสมาชิกวุฒิสภาให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประเด็นหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลนั้นซึ่งหากผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษดังกล่าว ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจ หน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นสำนักงานกสทช.ก็มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G เช่นเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีระยะเวลาภายใน15 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 10 พ.ย. นี้แต่ล่าสุดคาดว่าคณะทำงานจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลาจึงอาจจะขอขยายเวลากับสำนักงานกสทช.ออกไปอีก 7-10 วัน
'หากส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทันที แต่หากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช.จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ซึ่งเราจำเป็นต้องหารือกับคลังเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฎิบัติ'
นอกจากนี้ ทางเอกชนยังได้เสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูล วงเงิน 1,350 ล้านบาท ในอัตราวันละ 3 แสนบาท และหากคิดเป็นวงเงินที่ กสทช.ได้รับไว้งวดแรกแล้ว เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงต้องส่งหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังโดยเร็วที่สุด
__________________________________
กสทช.ส่งหนังสือถามคลังเงินงวดแรก3G ให้ส่งเลยหรือไม่
ภาพประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมไทย โดย 3 ผู้บริหารโอเปอเรเตอร์ไทยจับมือกันระหว่างการประมูลคลื่น 3G เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
'ฐากร' ระบุมีเพียงคำสั่งศาลกับบอร์ดกสทช.หรือกทค. เท่านั้นที่สามารถสั่งล้มประมูล 3G ส่งหนังสือถามคลังจะจัดการเงินค่าประมูลงวดแรกกว่า 2 หมื่นล้านบาทอย่างไร ให้ส่งเลยหรือรอกระบวนการตรวจสอบจากป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าวว่าในตอนนี้สาเหตุที่จะสามารถยกเลิกหรือเพิกถอนผลการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz (3G) ที่มีการประมูลไปเมื่อวันที่16ต.ค.55ได้นั้นมีเพียง 2 หน่วยงานเท่านั้นที่ทำได้คือ 1.คณะกรรมการกสทช.หรือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล กับ2.ศาลปกครองมีคำสั่งหรือวินิจฉัย ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนการประมูล
ทั้งนี้หากกสทช.ไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3ให้แก่ผู้ชนะการประมูลภายใน 90 วันหรือในวันที่ 18 ม.ค.56 ได้ ผู้ประกอบได้ให้ข้อมูลแล้วว่าจะทำให้เกิดความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท และหากคิดวงเงินทั้งหมดที่สำนักงาน กสทช.ได้รับงวดแรกจำนวน 22,269.375 ล้านบาท เอกชนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณวันละ 4,948,750 บาท
'หากกสทช.ออกใบอนุญาตช้ากว่ากำหนดภายใน90วันหรือประมาณวันที่ 18 ม.ค.56 เราเชื่อว่าผู้ประกอบการเอกชนทั้ง3รายจะต้องฟ้องร้องต่อกสทช.แน่นอนเนื่องจากทำให้เอกชนเสียหายจำนวนมาก'
ขณะเดียวกันในวันที่ 5 พ.ย. สำนักงานกสทช.ได้ส่งหนังสือหารือไปยังนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อสอบถามถึงเงินที่กสทช.ได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz งวดแรกจำนวน 50% เมื่อวันที่16ต.ค.55 จากผู้เข้าประมูลทั้ง3รายคือบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ ,บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ รวมเป็นเงิน 22,269.375 ล้านบาท (โดยเงินจำนวนดังกล่าวรวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) ทันทีเลยหรือไม่ ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.พ.ศ.2553
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เนื่องจากในตอนนี้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบว่าการประมูลดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) หรือไม่ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค.และประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายฐากร กล่าวว่า ในกรณีป.ป.ช.นั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งยุติผลการประมูลแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบเฉพาะประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าข่ายกระทำความผิดเท่านั้น ส่วนกรณีสมาชิกวุฒิสภาให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประเด็นหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลนั้นซึ่งหากผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษดังกล่าว ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจ หน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นสำนักงานกสทช.ก็มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G เช่นเดียวกัน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวมีระยะเวลาภายใน15 วันซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 10 พ.ย. นี้แต่ล่าสุดคาดว่าคณะทำงานจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลาจึงอาจจะขอขยายเวลากับสำนักงานกสทช.ออกไปอีก 7-10 วัน
'หากส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดินทันที แต่หากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช.จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ซึ่งเราจำเป็นต้องหารือกับคลังเพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฎิบัติ'
นอกจากนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ส่งหนังสือถึง พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค.เพื่อขอข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ทั้งหมด (ล็อคไฟล์) ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการประมูล 3Gเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภายในวันที่ 7 พ.ย. 2555 นี้
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135189&Keyword=3g
__________________________________________
กสทช.เตรียมถกคลังหาแนวทางส่งเงินค่าใบอนุญาต 3G เข้ารัฐ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวชี้แจงถึงความคืบหน้าการประมูล 3G ว่า วันนี้จะส่งหนังสือขอหารือกับกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับเงินประมูล 3G งวดแรก ซึ่งขณะนี้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 3 ราย ได้ชำระเงินจำนวนร้อยละ 50 ของเงินที่ประมูลได้ เป็นเงินจำนวน 22,269.37 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนให้ตรวจสอบการประมูล 3G ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาว่ารายได้จากการประมูลจะนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินทันที หรือต้องเก็บรักษาไว้จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบของทั้งสองหน่วยงาน
นอกจากนี้ ทางเอกชนยังได้เสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ย ในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูล วงเงิน 1,350 ล้านบาท ในอัตราวันละ 3 แสนบาท และหากคิดเป็นวงเงินที่ กสทช.ได้รับไว้งวดแรกแล้ว เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงต้องส่งหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังโดยเร็วที่สุด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135159&Keyword=3g
____________________________________________
กสทช.ร่อนหนังสือถามคลังเรื่องเงินประมูล3G ฟากเอกชน 3 ค่ายตบเท้าชี้แจงผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช) เปิดเผยว่า ในวันนี้(5 พ.ย.) จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการนำส่งเงินรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่2.1GHz ตามมาตรา 45 พ.ร.บ. กสทช. ที่ระบุให้ กสทช. ต้องนำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 3 รายได้นำส่งเงินงวดแรกจำนวน 50% ของเงินประมูล รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 22,269.375 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) มาให้สำนักงาน กสทช. แล้ว
แต่เนื่องจากยังมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)และผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา ทำให้เกิดปัญหาว่าเงินรายได้ดังกล่าว กสทช. จะต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อรอผลตรวจสอบให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะหากผลสอบมีผลให้ต้องเพิกถอนการประมูลและคืนเงินให้เอกชน
ฟากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จะเดินทางไปยื่นเอกสารชี้แจงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภาในช่วงบ่ายวันนี้ด้วย
(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352101455&grpid=03&catid=03
______________________________________________
กสทช.หารือคลัง จ่อส่งเงินค่าประมูล 3 จี 2.2 หมื่นล้าน
เลขาฯ กสทช. เผยเซ็นชื่อทำหนังสือส่งกระทรวงการคลัง เพื่อหารือการส่งเงินประมูล 3จี ยอด 22,269.375 ล้านบาท พร้อมส่งล็อกไฟล์ประมูล 3จี วันที่ 16 ต.ค.ให้ สตง.รับทราบภายในวันที่ 7 พ.ย.นี้ ลั่นศาลปกครองและ กทค. เท่านั้นที่ล้มประมูลได้...
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้ กสทช. ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อสอบถามว่าสามารถรับเงินค่าประมูลใบอนุญาต หรือไลเซ่นส์ 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เอกชนทั้ง 3 ราย จ่ายงวดแรกแล้ว 50% รวมมูลค่า 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) และได้รับดอกเบี้ยจากการฝากธนาคารประมาณวันละ 5 ล้านบาท ดังนั้น จึงอยากให้คลังรับเงินส่วนนี้ไป เพราะถือเป็นรายได้ของประเทศ โดยมี เลขาฯ กสทช.เป็นผู้เซ็นชื่อในเอกสาร ขณะที่สิ้นสุดวันมอบไลเซ่นส์ 3จี วันที่ 18 ม.ค.2556 หรือ 90 วัน นับจากวันที่ประมูล 3จี
ต่อข้อถามถึงเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.บันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือล็อกไฟล์การประมูล 3จี เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เพื่อใช้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมในการตรวจสอบการประมูลครั้งนี้ โดย กสทช. ต้องส่งให้ภายในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว แต่ถ้าใครจะขอก็สามารถทำหนังสือเข้ามาขอได้ โดย กสทช. ยินดีจะส่งให้ แต่ กสทช. จะไม่เดินสายเอาไปให้
เลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า บอร์ด กสทช. เกี่ยวข้องเฉพาะการประกาศหลักเกณฑ์การประมูล แต่ขั้นตอนหลังจากนั้น เป็นอำนาจของบอร์ด กทค. ส่วนการส่งเรื่องเข้าบอร์ด กสทช. รับทราบนั้น บอร์ดสามารถไม่รับทราบได้ ทั้งนี้ มีกระแสข่าวระบุว่า หากนำเรื่องเข้าบอร์ด กสทช. แล้ว กสทช. บางรายไม่มีการลงมติรับทราบ จะไม่สามารถดำเนินการ 3จี ต่อได้นั้น เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของบอร์ด กทค. แต่แค่เป็นการนำเข้าบอร์ด กสทช. เพื่อให้รับทราบเท่านั้น
“ศาลปกครอง และ กทค. เท่านั้นที่จะสั่งระงับการประมูลครั้งนี้ได้ และหากเกิดปัญหาใดๆ กทค. ทั้ง 4 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกับบอร์ดคนอื่นๆ และการยืนยันอำนาจดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย กสทช. และกทค.จะรายงานที่ประชุมเพื่อรับทราบเท่านั้น และ กทค.ยืนยันอำนาจชัดเจนและประธานกสทช.ไม่มีสิทธิ์บังคับได้” นายฐากร กล่าว
รายงานข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ได้รวมตัวกันทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เพื่อยืนยันว่าการรับรองผลและการให้ใบอนุญาตให้บริการ หรือไลเซ่นส์ 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เป็นอำนาจของบอร์ด กสทช. โดยมี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ งามสง่า และนายธวัชชัย จิตรภาษนันท์ ซึ่งเมื่อรวมกับเสียงของ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ทำให้ขณะนี้มี 5 เสียงใน กสทช. ที่เห็นว่าบอร์ดใหญ่มีอำนาจ ส่วน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. ไม่ขอแสดงความเห็นในเรื่องนี้
ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/303817
____________________________________
ล้ม 3 จี ต้องฟังคำสั่ง "กทค.-ศาลปกครอง" เท่านั้น
กสทช.ยัน เพิกถอนประมูล 3 จี ผู้ที่มีสิทธิ์คือ “กทค. – ศาลปกครอง” เปรยใบอนุญาต ยังไม่สามารถให้ได้ เหตุต้องรอผลสอบของกรรมการตรวจสอบการประมูล3จี
วันนี้ (5พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงานกสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จี เมื่อวันที่ 16 ต.ค.55 จะยกเลิกหรือ เพิกถอนการประมูลได้มี 2กรณีคือ 1. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ต้องได้รับผลการไต่สวนจาก คณะกรรมการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้ร่วมประมูล ซึ่งสำนักงานแต่งตั้ง เพื่อตรวจสอบความผิดปกติการเสนอราคาของเอกชน และ 2.ศาลปกครองมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ให้ยกเลิก หรือเพิกถอน ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย
นายฐากร ระบุต่อว่า ดังนั้นกระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ต้องรอผลดำเนินการจากคณะทำงานตรวจสอบก่อน โดยคาดว่าจะขยายกรอบระยะเวลาออกไปประมาณ 7-10 วันจากเดิมที่วางกรอบเพียง 15 วัน ทำให้ขณะนี้ไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ แต่ต้องไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 ม.ค.56
ขณะเดียวกันวันที่ 1 พ.ย.55 ที่ผ่านมา สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ส่งหนังสือถึง พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกทค. เพื่อขอให้จัดส่งข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ทั้งหมด(ล็อคไฟล์) ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเคาะราคาประมูล 3จี ในวันที่ 16 ต.ค.55 ไปให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภายในวันที่ 7 พ.ย.55
เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/164890
______________________________________
กสทช.ส่งหนังสือถามคลังส่งเงินประมูล3Gระหว่างยังไม่สรุปตรวจสอบความโปร่งใส
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ชี้แจงความคืบหน้าการประมูลคลื่น 3 จีว่า
1. ขณะนี้ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3 รายคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้ชำระเงินจำนวนร้อยละห้าสิบของเงินที่ประมูลได้เป็นเงิน 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) โดยสำนักงาน กสทช. มีหน้าที่จะต้องนำเงินที่ได้จากการประมูลดังกล่าวหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินตามความใน มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
แต่เนื่องจากได้มีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ปปช. เพื่อให้ตรวจสอบว่า การประมูล มีกรณีเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ซึ่งคณะกรรมการ ปปช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว และมีผู้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้พิจารณาว่าการประมูลเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเสนอเรื่องต่อศาลปกครองวินิจฉัยเพิกถอนการประมูล ซึ่งทั้งสองกรณีอยู่ระหว่างการดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้เกิดปัญหาว่า เงินรายได้จากการประมูลดังกล่าวที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้จะต้องนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน หรือจะต้องเก็บรักษาไว้เพื่อรอผลการดำเนินการของทั้งสองหน่วยงานจนเสร็จสิ้น เพราะหากผล การพิจารณาดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช. จะต้องคืนเงินรายได้ที่รับไว้คืนผู้ประมูลต่อไป ประกอบกับปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐว่า ผู้ประมูลจะต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนของเงินค้ำประกันการประมูลของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท เอกชนต้องได้รับความเสียหายเพราะธุรกิจรอไม่ได้
สำนักงาน กสทช. เห็นว่าเงินรายได้จากการประมูลที่สำนักงาน กสทช. ได้รับมาไว้จำนวน 22,269.375 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย) ซึ่งกรณียังมีปัญหาว่า จะต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นได้เลยหรือไม่ นั้น เพราะหากการร้องกล่าวโทษดังกล่าวมีผลให้เพิกถอนการประมูล สำนักงาน กสทช. จะต้องนำเงินดังกล่าวคืนผู้ประมูลตามที่ได้รับมา ประกอบกับเอกชนเสนอข่าวว่ามีความเสียหายจากอัตราดอกเบี้ยของวงเงิน 1,350 ล้านบาทในอัตราวันละ 300,000บาท วงเงินที่สำนักงาน กสทช. ได้รับไว้จำนวน 22,269.375 ล้านบาท เอกชนจะได้รับความเสียหายประมาณวันละ 4,948,750 บาท ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาการนำเงินส่งการทรวงการคลังเป็นรายได้ของรัฐ จึงได้มีหนังสือขอหารือกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวโดยด่วนที่สุดแล้ว เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
2. การบวนการออกใบอนุญาต 3 จี ให้กับผู้ประมูล โดยที่ปรากฏว่า ได้มี ผู้ร้องกล่าวโทษต่อ ปปช. และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ทั้งสองหน่วยงานยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร สำนักงาน กสทช. ขอยืนยันว่า การประมูลดังกล่าวได้ดำเนินการไปตามกระบวนการที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนแล้ว และสำนักงาน กสทช. ขอเรียนว่า
2.1 การร้องกล่าวโทษต่อ ปปช. เป็นการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ไม่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต 3 จี ซึ่งกสทช. และ กทค. ก็พร้อมที่จะชี้แจงเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายด้วยความสุจริต โปร่งใส และยุติธรรม ไม่ได้กระทำการเพื่อประโยชน์ผู้หนึ่งผู้ใด หรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่ได้ดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของรัฐสูงสุดอันได้แก่ประโยชน์ของประชาชน และรัฐบาลในสัดส่วนที่มีความสมดุลย์ มิให้เกิดภาระแก่ประชานซึ่งเป็นผู้บริโภค
2.2 การร้องกล่าวโทษต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของสมาชิวุฒสภา เป็นการร้องกล่าวโทษเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กทค. และประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประมูลตามที่ประกาศกำหนดมีมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นด้วยกับการร้องกล่าวโทษ ก็จะส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาซึ่งเป็นกระบวนการและขั้นตอนตามอำนาจหน้าที่ปกติของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่ง กสทช. และ กทค. ก็พร้อมที่จะชี้แจงว่ากระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดว่า ได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยความสุจริต และโปร่งใส เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและรัฐบาล
ดังนั้น การที่จะยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูลดังกล่าว ก็จะกระทำได้ใน สองกรณี คือ
(1) กสทช. หรือ กทค. มีมติให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล ซึ่งใน เรื่องนี้ก็จะต้องมีความชัดเจนจากการสอบสวนของคณะกรรมการฯ สำนักงาน กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของการประมูล ว่า การประมูลเป็นไปโดยมิชอบ เพราะกรณีนี้ผู้ประมูลทุกรายมีเกิดความเสียหายเกิดขึ้นแล้วซึ่งสำนักงาน กสทช. จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้น หากมีการยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูลไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อผลการสอบสวนมีความชัดเจนและเสร็จสิ้นแล้ว สำนักงาน กสทช. ก็จะได้พิจารณา นำเสนอ กทค. เพื่อพิจารณาว่า จะสมควรดำเนินการต่อไปประการใด
(2) ศาลปกครองมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ให้ยกเลิก หรือเพิกถอนการประมูล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=152307:3g&catid=176:20
09-06-25-09-26-02&Itemid=524
ไม่มีความคิดเห็น: