Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 พฤศจิกายน 2555 (บทความ) แผนรับมือสัมปทานหมดอายุไม่คืบ แจกไลเซนส์3Gหลอนกสทช.ผวาประมูลคลื่น2G

ประเด็นหลัก



นาง เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ในฐานะคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม ระบบเซลลูลาร์ ดิจิทัล 1800 MHz ซึ่งตั้งโดย กสทช.ว่า มีการประชุมร่วมกันไปแล้ว 4 ครั้ง และมีความเห็นตรงกันว่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือดีพีซี ได้สิทธิใช้รายละ 12.5 MHz ตามสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่กำลังจะหมดสัมปทานในเดือน ก.ย. 2556 นี้ โดย กสทช.ต้องนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีประมูล ตาม พ.ร.บ.กสทช.

สำหรับ รายละเอียดอื่น ๆ ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยเฉพาะแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทั้ง 2 รายที่มีอยู่ราว 17 ล้านเลขหมาย ว่าจะมีมาตรการเปลี่ยนผ่านระหว่างผู้ให้บริการรายเก่าและรายใหม่อย่างไร เนื่องจากกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในกรณีคล้ายคลึงกัน ในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปในมิติของการคุ้ม ครองผู้บริโภค แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ควรเริ่มเตรียมการประมูลไว้ได้แล้ว เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า การจัดสรรคลื่นต้องใช้การประมูลเท่านั้น ขณะเดียวกันการจะออกประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลต้องใช้เวลาหลายเดือนตามที่กฎหมายระบุไว้ ไม่สามารถเร่งได้ กทค.จึงควรเตรียมการไว้ล่วงหน้า









________________________



แผนรับมือสัมปทานหมดอายุไม่คืบ แจกไลเซนส์3Gหลอนกสทช.ผวาประมูลคลื่น2G


พิษ ประมูล 3G หลอน "กสทช." แตะเบรกประมูลคลื่น 1800 MHz ขณะที่สัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี" จ่อคิวหมดอายุ "ก.ย." ปีหน้า หวั่นเอกชนไม่เข้าประมูลโดนด่าอีกรอบ แผนเยียวยาลูกค้าไม่คืบ นักวิชาการขาประจำกระทุ้ง "กทค." เร่งเจรจา "ดีแทค" ขอคืนคลื่น ก่อนตีกรอบประมูลใหม่หวังสร้างจูงใจค่ายมือถือให้เข้าประมูล

นาง เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ในฐานะคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม ระบบเซลลูลาร์ ดิจิทัล 1800 MHz ซึ่งตั้งโดย กสทช.ว่า มีการประชุมร่วมกันไปแล้ว 4 ครั้ง และมีความเห็นตรงกันว่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือดีพีซี ได้สิทธิใช้รายละ 12.5 MHz ตามสัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่กำลังจะหมดสัมปทานในเดือน ก.ย. 2556 นี้ โดย กสทช.ต้องนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีประมูล ตาม พ.ร.บ.กสทช.

สำหรับ รายละเอียดอื่น ๆ ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยเฉพาะแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทั้ง 2 รายที่มีอยู่ราว 17 ล้านเลขหมาย ว่าจะมีมาตรการเปลี่ยนผ่านระหว่างผู้ให้บริการรายเก่าและรายใหม่อย่างไร เนื่องจากกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานในกรณีคล้ายคลึงกัน ในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปในมิติของการคุ้ม ครองผู้บริโภค แต่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ควรเริ่มเตรียมการประมูลไว้ได้แล้ว เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า การจัดสรรคลื่นต้องใช้การประมูลเท่านั้น ขณะเดียวกันการจะออกประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลต้องใช้เวลาหลายเดือนตามที่กฎหมายระบุไว้ ไม่สามารถเร่งได้ กทค.จึงควรเตรียมการไว้ล่วงหน้า

"สิ่งแรกที่ควร ทำคือการเจรจากับดีแทค เพื่อขอคลื่นความถี่ 1800 MHz บางส่วนที่อยู่ติดกับคลื่นของทรูมูฟและดีพีซี เพราะคลื่นของทั้ง 2 บริษัท มีส่วนที่ดีแทคใช้งานคั่นอยู่ตรงกลาง หากไม่เจรจากับดีแทค คลื่น 1800 MHz ที่นำมาประมูลครั้งนี้จะเป็นคลื่นแบบฟันหลอ คือมีสลอตละ 12.5 MHz แยกกันอาจไม่ดึงดูดใจ และทำให้การจัดสรรคลื่นไม่มีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา

ดี แทคก็เคยบอกว่ายินดีคืนคลื่นบางส่วน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องนำคลื่นดังกล่าวออกมาประมูล ไม่ใช่นำไปให้บริษัทอื่นใช้ จึงเป็นเรื่องที่ กทค.ต้องเข้าไปเจรจาได้เลย เพราะคณะอนุกรรมการไม่มีอำนาจอยู่แล้ว"

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แทบไม่มีความคืบหน้าในการเตรียมการรับมือกับสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซี ที่จะหมดอายุในอีก 10 เดือนข้างหน้า เหตุเพราะยังมีหลายประเด็นที่ กทค.ตัดสินใจไม่ได้ เนื่องจากการประมูลใบอนุญาต 3G ที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนก่อน ทำให้ กสทช.โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อต้องเตรียมการสำหรับการประมูลคลื่น 1800 MHz จึงมีความกังวลมาก เพราะ บมจ.กสท โทรคมนาคม เจ้าของสัมปทานคลื่น 1800 MHz ต้องการยืดเวลาการใช้คลื่นออกไป ขณะที่คลื่นความถี่ที่จะหมดอายุแบ่งเป็น 2 สลอต สลอตละ 12.5 MHz และไม่ได้อยู่ติดกัน

"คลื่น 1800 MHz ทำเป็น 4G LTE ได้ แต่แถบคลื่นแค่ 12.5 MHz และไม่ได้อยู่ติดกัน จึงกังวลว่าจะมีแค่ทรูมูฟที่เป็นผู้ประกอบการรายเดิมเท่านั้นที่เข้าประมูล ซึ่งอาจทำให้ กสทช.ต้องโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เหมือนตอนประมูล 3G ก็ได้ การตัดสินใจใด ๆ จึงจำเป็นต้องทบทวนมาก ๆ"

นอกจากนี้ในการ ประมูลคลื่นที่ผ่านมา การกำหนดเพดานขั้นสูงในการถือครองคลื่นความถี่ (สเป็กตรัมแคป) เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายหยิบยกขึ้นมาวิจารณ์มาก และพยายามผลักดันให้มีการกำหนดสเป็กตรัมแคปของการถือครองคลื่นทุกย่านความ ถี่ โดยคณะทำงานของ กสทช.เคยเสนอให้กำหนดไว้ที่ 60 MHz แต่เชื่อว่าหากประกาศใช้จริงจะกระทบกับ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือแม้แต่ดีแทคแน่นอน อาจส่งผลถึงจำนวนผู้เข้าประมูลคลื่นที่ กสทช.จะจัดต่อไป เนื่องจากผู้ประกอบการจะเลือกเข้าประมูลเฉพาะครั้งที่มีแถบความถี่มากพอใน การประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพ ทำให้กระทบกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่มีสลอตคลื่นกว้างแค่ 12.5 MHz เพราะมีไม่มากพอที่จะรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1352650874&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.