12 พฤศจิกายน 2555 CAT ล็อบบี้เอาคลื่น 1800 คืนมาอ้างเพื่อประโยชน์ประชาชน // เศรษฐพงค์ ไล่แล้วสัญญา CAT TRUE ละที่อ้างว่าเสร็จอยู่ไหน
ประเด็นหลัก
รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือดังกล่าวไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เนื่องจากทั้งกสทและกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยกสทแจ้งว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์มือถือระบบอื่น
อีกทั้งกสท เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ฉะนั้นกทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้กสทช.แล้ว กสทในฐานะหน่วยงานรัฐวิสหากิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
แหล่งข่าวจากคณะอนุฯ ด้านกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า การหารือดังกล่าว กสท ต้องการขอความชัดเจน เนื่องจาก กสท จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากต้องคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จึงต้องการให้ กสทช.กำหนดกรอบและเวลาที่ชัดเจน โดย กสท จะขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้เข้าหารือ กับ กสทช.อีกครั้ง เนื่องจากนโยบายไอซีที ต้องการให้กสท บริหารโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปหลังสิ้นสุดสัมปทาน
“การใช้เหตุผลการนำคลื่นกลับไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐ เหตุผลดังกล่าวที่กสท จะนำมาเป็น
ข้อต่อรอง กสท ก็สามารถยื่นมาที่เราได้ ซึ่งก็แล้วแต่การพิจารณา ว่าบอร์ด กทค.จะรับพิจารณาหรือไม่ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่า การแก้ไขสัญญา 3จีของกสท และกลุ่มทรูฯ กทค.เองไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยการหารือร่วมกับซีอีโอ กสทก็มีสอบถามไปแล้ว เพราะตามจริงต้องครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. แต่ทางกสท ก็ยืนยันว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะแจ้งมายังสำนักงาน กสทช.ว่าจะส่งให้ได้เมื่อไร
ส่วนการเจราขอใช้คลื่น 1800 ต่อนั้น ในเบื้องต้นต้องหาข้อสรุปช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน การเยียวยาลูกค้าเดิม (ทรานซิชั่น พีเรียด) ซึ่งได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสำหรับวางแผนการบริหารคลื่นความถี่ในอนาคต (สเปคตรัม เอ้าท์ลุค) ซึ่งจะเป็นโรดแมพ ซึ่งเป็นแผนในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ว่า จะมีคลื่นใดที่จะหมดสัมปทานสิ้นสุดลงบ้าง ซึ่งก็จะนำมาพิจราณาร่วมกัน
______________________________________
บอร์ดกสท ถก กทค.แผนใช้คลื่น 1800
"กิตติศักดิ์" ดอดถก "กทค."อ้อนขอใช้คลื่น1800 ต่อ แต่ไร้ข้อสรุป เหตุความเห็นต่างกันสุดขั้ว ส่วนสัญญา 3จีเอชเอสพีเอคู่ทรู ส่อแววไม่คืบ
"กิตติศักดิ์" ดอดถก "กทค."อ้อนขอใช้คลื่น1800 ต่อ แต่ไร้ข้อสรุป เหตุความเห็นต่างกันสุดขั้ว ส่วนสัญญา 3จีเอชเอสพีเอคู่ทรูฯส่อแววไม่คืบ หลังต้องแก้รานละเอียดขอตอบทีหลังจะส่งสำนักงานฯได้เมื่อไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหาร บมจ. กสท โทรคมนาคม นำโดยนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เข้าพบหารือกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธาน เกี่ยวกับเรื่องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์
โดยการขอใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อจะดำเนินการ ต่อไปหลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างกสทกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด สิ้นสุดลงในเดือนก.ย.2556 โดยกสท ได้สอบถามเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการคืนคลื่น มาตาการเยียวยาลูกค้า ซึ่งกทค.แจ้งว่าอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือดังกล่าวไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เนื่องจากทั้งกสทและกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยกสทแจ้งว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์มือถือระบบอื่น
อีกทั้งกสท เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ฉะนั้นกทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้กสทช.แล้ว กสทในฐานะหน่วยงานรัฐวิสหากิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
ขณะที่ กทค.ก็ยืนยันว่าคลื่นต้องส่งคืนกสทช.เพื่อนำมาจัดสรรและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อีกทั้งยังได้ตั้งคณะทำงานหลายชุด เช่น คณะทำงานหามาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการที่มีอยู่กว่า 20 ล้านราย คณะทำงานการวางแผนเพื่อการใช้งานคลื่นในอนาคต
พร้อมกันนี้ ในวันที่ 13 พ.ย.จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับผลตรวจสอบการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ3จีด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ ระหว่างกสท กับกลุ่มบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ทั้งในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปดำเนินการสอบสวนสัญญาดังกล่าว
อีกทั้ง ผลการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบสัญญา3จี ของคณะกรรมการกสทช.ที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าในวันที่ 13 พ.ย.นี้ คณะกรรมการสอบสวนสัญญา3จี จะส่งผลสรุปมาให้พิจารณา นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญา3จีดังกล่าว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเฝ้าติดตามผลการตรวจสอบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่า การแก้ไขสัญญา 3จีของกสท และกลุ่มทรูฯ กทค.เองไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยการหารือร่วมกับซีอีโอ กสทก็มีสอบถามไปแล้ว เพราะตามจริงต้องครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. แต่ทางกสท ก็ยืนยันว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะแจ้งมายังสำนักงาน กสทช.ว่าจะส่งให้ได้เมื่อไร
ส่วนการเจราขอใช้คลื่น 1800 ต่อนั้น ในเบื้องต้นต้องหาข้อสรุปช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน การเยียวยาลูกค้าเดิม (ทรานซิชั่น พีเรียด) ซึ่งได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสำหรับวางแผนการบริหารคลื่นความถี่ในอนาคต (สเปคตรัม เอ้าท์ลุค) ซึ่งจะเป็นโรดแมพ ซึ่งเป็นแผนในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ว่า จะมีคลื่นใดที่จะหมดสัมปทานสิ้นสุดลงบ้าง ซึ่งก็จะนำมาพิจราณาร่วมกัน
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20121112
/477636/%BA%CD%C3%EC%B4%A1%CA%B7-%B6%A1-
%A1%B7%A4.%E1%BC%B9%E3%AA%E9%A4%C5%D7%E8%B9
-1800.html
________________________________________
‘ผู้บริหาร กสท’ยกทีมเข้าล็อบบี้‘เศรษฐพงค์’ ยื้อคืนคลื่นมือถือให้กสทช.
“บอร์ด กทค.” ปัดข้อเสนอ “กสท” ที่ขอยื้อคืนคลื่นมือถือให้ กสทช.ไปจัดสรรใหม่ ชี้หากส่งคืนในปีหน้าจะกระทบรายได้ขององค์กรอย่างหนัก
มีรายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการ(บอร์ด) และผู้บริหาร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบหารือกับ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มี พันเอก เศรษฐพงค์?มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธาน กทค.
โดยได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ กสท ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2556 ซึ่งตามระเบียบ กสท ต้องคืนคลื่นดังกล่าวให้กับสำนักงาน กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ โดยกสท ได้สอบถามเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการคืนคลื่น มาตรการเยียวยาลูกค้า ขณะที่ กทค.แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด
“การหารือยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เพราะทั้ง กสท และกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดย กสทยืนยันว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี 2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอื่น”
นอกจากนี้ผู้บริหาร กสท เป็นหน่วยงานของรัฐ มีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ดังนั้น กทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียด และให้รอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้ กสทช.แล้ว กสท ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
ขณะที่ กทค.ก็ยืนยันว่าคลื่นต้องส่งคืนกสทช.เพื่อนำมาจัดสรรและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.
กสทช.) อีกทั้งยังได้ตั้งคณะทำงานหลายชุด?เช่น คณะทำงานหามาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการของทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน ที่มีอยู่กว่า 20 ล้านราย คณะทำงานการวางแผนเพื่อการใช้งานคลื่นในอนาคต เป็นต้น
“กสท กับ กทค. ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะต่างฝายต่างมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้ต้องกลับไปพิจารณารายละเอียดกันอีกครั้ง” แหล่งข่าว กล่าว
ด้านพันเอกเศรษฐพงค์ กล่าวยอมรับว่า นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และบอร์ด กสท ได้เข้ามาหารือเรื่องดังกล่าวจริง โดยได้สอบถามถึงแผนการคืนคลื่นความถี่ พร้อมทั้งกรอบการเรียกคืนคลื่นมาประมูลใหม่ และระยะเวลาช่วงเปลี่ยนผ่าน (ทรานซิชั่น พีเรียด) จะต้องดำเนินการรูปแบบ และวิธีการคืนอย่างไร คืนเมื่อไหร่ ซึ่งขณะนี้ กทค. ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมรับคลื่นความถี่ หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด
ขณะเดียวกันยังได้สอบถามถึงกรณีที่ กสทช.ได้ออกร่างประกาศ การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (อินฟาร์สตรัคเจอร์แชร์ริ่ง) นั้น กสท จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากประกาศดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ ของ กสท ในอนาคต ซึ่ง กทค.ก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเช่นกัน
แหล่งข่าวจากคณะอนุฯ ด้านกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า การหารือดังกล่าว กสท ต้องการขอความชัดเจน เนื่องจาก กสท จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากต้องคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จึงต้องการให้ กสทช.กำหนดกรอบและเวลาที่ชัดเจน โดย กสท จะขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้เข้าหารือ กับ กสทช.อีกครั้ง เนื่องจากนโยบายไอซีที ต้องการให้กสท บริหารโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปหลังสิ้นสุดสัมปทาน
“การใช้เหตุผลการนำคลื่นกลับไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐ เหตุผลดังกล่าวที่กสท จะนำมาเป็น
ข้อต่อรอง กสท ก็สามารถยื่นมาที่เราได้ ซึ่งก็แล้วแต่การพิจารณา ว่าบอร์ด กทค.จะรับพิจารณาหรือไม่ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว
ด้านนาวาเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)กล่าวว่า ในส่วนของ บริษัท
ทีโอที จำกัด(มหาชน) ที่ผ่านมาได้ให้สัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2558 ก็ให้ ทีโอทีได้เตรียมแผนการรองรับไว้แล้ว แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ คงต้องรอความชัดเจนจากการหารือกับ กสทช. ก่อน จึงจะสามารถสรุปได้ว่าจะสามารถใช้คลื่นความถี่ต่อไปได้หรือไม่ หลังสัมปทานสิ้นสุดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในสัปดาห์นี้น่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับผลตรวจสอบการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3จี ภายใต้เทคโนโลยี HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
โดยก่อนหน้านี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เคยกล่าวว่าในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ คณะกรรมการสอบสวนสัญญา 3จี จะส่งผลสรุปมาให้พิจารณา นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญา 3จี ดังกล่าว
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1527380
___________________________________
กสท โทรคมนาคม จัดประชุมคณะกรรมการ กสท
ด้วยในวัน พุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ กสท ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ อาคารบริหาร 2 ชั้น 1 CAT หลักสี่
ThaiPR.net
http://www.ryt9.com/s/prg/1527868
รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือดังกล่าวไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เนื่องจากทั้งกสทและกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยกสทแจ้งว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์มือถือระบบอื่น
อีกทั้งกสท เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ฉะนั้นกทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้กสทช.แล้ว กสทในฐานะหน่วยงานรัฐวิสหากิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
แหล่งข่าวจากคณะอนุฯ ด้านกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า การหารือดังกล่าว กสท ต้องการขอความชัดเจน เนื่องจาก กสท จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากต้องคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จึงต้องการให้ กสทช.กำหนดกรอบและเวลาที่ชัดเจน โดย กสท จะขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้เข้าหารือ กับ กสทช.อีกครั้ง เนื่องจากนโยบายไอซีที ต้องการให้กสท บริหารโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปหลังสิ้นสุดสัมปทาน
“การใช้เหตุผลการนำคลื่นกลับไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐ เหตุผลดังกล่าวที่กสท จะนำมาเป็น
ข้อต่อรอง กสท ก็สามารถยื่นมาที่เราได้ ซึ่งก็แล้วแต่การพิจารณา ว่าบอร์ด กทค.จะรับพิจารณาหรือไม่ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่า การแก้ไขสัญญา 3จีของกสท และกลุ่มทรูฯ กทค.เองไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยการหารือร่วมกับซีอีโอ กสทก็มีสอบถามไปแล้ว เพราะตามจริงต้องครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. แต่ทางกสท ก็ยืนยันว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะแจ้งมายังสำนักงาน กสทช.ว่าจะส่งให้ได้เมื่อไร
ส่วนการเจราขอใช้คลื่น 1800 ต่อนั้น ในเบื้องต้นต้องหาข้อสรุปช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน การเยียวยาลูกค้าเดิม (ทรานซิชั่น พีเรียด) ซึ่งได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสำหรับวางแผนการบริหารคลื่นความถี่ในอนาคต (สเปคตรัม เอ้าท์ลุค) ซึ่งจะเป็นโรดแมพ ซึ่งเป็นแผนในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ว่า จะมีคลื่นใดที่จะหมดสัมปทานสิ้นสุดลงบ้าง ซึ่งก็จะนำมาพิจราณาร่วมกัน
______________________________________
บอร์ดกสท ถก กทค.แผนใช้คลื่น 1800
"กิตติศักดิ์" ดอดถก "กทค."อ้อนขอใช้คลื่น1800 ต่อ แต่ไร้ข้อสรุป เหตุความเห็นต่างกันสุดขั้ว ส่วนสัญญา 3จีเอชเอสพีเอคู่ทรู ส่อแววไม่คืบ
"กิตติศักดิ์" ดอดถก "กทค."อ้อนขอใช้คลื่น1800 ต่อ แต่ไร้ข้อสรุป เหตุความเห็นต่างกันสุดขั้ว ส่วนสัญญา 3จีเอชเอสพีเอคู่ทรูฯส่อแววไม่คืบ หลังต้องแก้รานละเอียดขอตอบทีหลังจะส่งสำนักงานฯได้เมื่อไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหาร บมจ. กสท โทรคมนาคม นำโดยนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เข้าพบหารือกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธาน เกี่ยวกับเรื่องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์
โดยการขอใช้คลื่นดังกล่าว เพื่อจะดำเนินการ ต่อไปหลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างกสทกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด สิ้นสุดลงในเดือนก.ย.2556 โดยกสท ได้สอบถามเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการคืนคลื่น มาตาการเยียวยาลูกค้า ซึ่งกทค.แจ้งว่าอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือดังกล่าวไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เนื่องจากทั้งกสทและกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดยกสทแจ้งว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์มือถือระบบอื่น
อีกทั้งกสท เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ฉะนั้นกทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้กสทช.แล้ว กสทในฐานะหน่วยงานรัฐวิสหากิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
ขณะที่ กทค.ก็ยืนยันว่าคลื่นต้องส่งคืนกสทช.เพื่อนำมาจัดสรรและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) อีกทั้งยังได้ตั้งคณะทำงานหลายชุด เช่น คณะทำงานหามาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการที่มีอยู่กว่า 20 ล้านราย คณะทำงานการวางแผนเพื่อการใช้งานคลื่นในอนาคต
พร้อมกันนี้ ในวันที่ 13 พ.ย.จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับผลตรวจสอบการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ3จีด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ ระหว่างกสท กับกลุ่มบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ทั้งในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปดำเนินการสอบสวนสัญญาดังกล่าว
อีกทั้ง ผลการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบสัญญา3จี ของคณะกรรมการกสทช.ที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าในวันที่ 13 พ.ย.นี้ คณะกรรมการสอบสวนสัญญา3จี จะส่งผลสรุปมาให้พิจารณา นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญา3จีดังกล่าว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเฝ้าติดตามผลการตรวจสอบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่า การแก้ไขสัญญา 3จีของกสท และกลุ่มทรูฯ กทค.เองไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยการหารือร่วมกับซีอีโอ กสทก็มีสอบถามไปแล้ว เพราะตามจริงต้องครบกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. แต่ทางกสท ก็ยืนยันว่ากำลังดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และจะแจ้งมายังสำนักงาน กสทช.ว่าจะส่งให้ได้เมื่อไร
ส่วนการเจราขอใช้คลื่น 1800 ต่อนั้น ในเบื้องต้นต้องหาข้อสรุปช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน การเยียวยาลูกค้าเดิม (ทรานซิชั่น พีเรียด) ซึ่งได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสำหรับวางแผนการบริหารคลื่นความถี่ในอนาคต (สเปคตรัม เอ้าท์ลุค) ซึ่งจะเป็นโรดแมพ ซึ่งเป็นแผนในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ว่า จะมีคลื่นใดที่จะหมดสัมปทานสิ้นสุดลงบ้าง ซึ่งก็จะนำมาพิจราณาร่วมกัน
กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20121112
/477636/%BA%CD%C3%EC%B4%A1%CA%B7-%B6%A1-
%A1%B7%A4.%E1%BC%B9%E3%AA%E9%A4%C5%D7%E8%B9
-1800.html
________________________________________
‘ผู้บริหาร กสท’ยกทีมเข้าล็อบบี้‘เศรษฐพงค์’ ยื้อคืนคลื่นมือถือให้กสทช.
“บอร์ด กทค.” ปัดข้อเสนอ “กสท” ที่ขอยื้อคืนคลื่นมือถือให้ กสทช.ไปจัดสรรใหม่ ชี้หากส่งคืนในปีหน้าจะกระทบรายได้ขององค์กรอย่างหนัก
มีรายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการ(บอร์ด) และผู้บริหาร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบหารือกับ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มี พันเอก เศรษฐพงค์?มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธาน กทค.
โดยได้หารือเกี่ยวกับเรื่องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ กสท ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2556 ซึ่งตามระเบียบ กสท ต้องคืนคลื่นดังกล่าวให้กับสำนักงาน กสทช. เพื่อจัดสรรใหม่ โดยกสท ได้สอบถามเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการคืนคลื่น มาตรการเยียวยาลูกค้า ขณะที่ กทค.แจ้งให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด
“การหารือยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้ กสท ใช้คลื่นต่อไปได้หรือไม่ เพราะทั้ง กสท และกทค.ต่างมีจุดยืนที่แตกต่างกัน โดย กสทยืนยันว่ามีสิทธิ์ใช้คลื่นต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตตามที่ได้รับอนุญาตคือสิ้นสุดในปี 2568 หรือสามารถใช้คลื่นความถี่ในช่วงระยะเวลาการเยียวยาผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอื่น”
นอกจากนี้ผู้บริหาร กสท เป็นหน่วยงานของรัฐ มีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานแล้วนั้น จะใช้คลื่นความถี่ใดมาใช้ในการให้บริการลูกค้าที่ได้รับโอนตามสัญญาสัมปทานเช่นกัน ดังนั้น กทค.ควรพิจารณาอย่างละเอียด และให้รอบคอบ และหากต้องคืนความถี่ไปให้ กสทช.แล้ว กสท ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและไม่เป็นภาระของรัฐ
ขณะที่ กทค.ก็ยืนยันว่าคลื่นต้องส่งคืนกสทช.เพื่อนำมาจัดสรรและประมูลใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.
กสทช.) อีกทั้งยังได้ตั้งคณะทำงานหลายชุด?เช่น คณะทำงานหามาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการของทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน ที่มีอยู่กว่า 20 ล้านราย คณะทำงานการวางแผนเพื่อการใช้งานคลื่นในอนาคต เป็นต้น
“กสท กับ กทค. ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะต่างฝายต่างมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้ต้องกลับไปพิจารณารายละเอียดกันอีกครั้ง” แหล่งข่าว กล่าว
ด้านพันเอกเศรษฐพงค์ กล่าวยอมรับว่า นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และบอร์ด กสท ได้เข้ามาหารือเรื่องดังกล่าวจริง โดยได้สอบถามถึงแผนการคืนคลื่นความถี่ พร้อมทั้งกรอบการเรียกคืนคลื่นมาประมูลใหม่ และระยะเวลาช่วงเปลี่ยนผ่าน (ทรานซิชั่น พีเรียด) จะต้องดำเนินการรูปแบบ และวิธีการคืนอย่างไร คืนเมื่อไหร่ ซึ่งขณะนี้ กทค. ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมรับคลื่นความถี่ หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด
ขณะเดียวกันยังได้สอบถามถึงกรณีที่ กสทช.ได้ออกร่างประกาศ การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (อินฟาร์สตรัคเจอร์แชร์ริ่ง) นั้น กสท จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากประกาศดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ ของ กสท ในอนาคต ซึ่ง กทค.ก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเช่นกัน
แหล่งข่าวจากคณะอนุฯ ด้านกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า การหารือดังกล่าว กสท ต้องการขอความชัดเจน เนื่องจาก กสท จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากต้องคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จึงต้องการให้ กสทช.กำหนดกรอบและเวลาที่ชัดเจน โดย กสท จะขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้เข้าหารือ กับ กสทช.อีกครั้ง เนื่องจากนโยบายไอซีที ต้องการให้กสท บริหารโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปหลังสิ้นสุดสัมปทาน
“การใช้เหตุผลการนำคลื่นกลับไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐ เหตุผลดังกล่าวที่กสท จะนำมาเป็น
ข้อต่อรอง กสท ก็สามารถยื่นมาที่เราได้ ซึ่งก็แล้วแต่การพิจารณา ว่าบอร์ด กทค.จะรับพิจารณาหรือไม่ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว
ด้านนาวาเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)กล่าวว่า ในส่วนของ บริษัท
ทีโอที จำกัด(มหาชน) ที่ผ่านมาได้ให้สัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2558 ก็ให้ ทีโอทีได้เตรียมแผนการรองรับไว้แล้ว แต่ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ คงต้องรอความชัดเจนจากการหารือกับ กสทช. ก่อน จึงจะสามารถสรุปได้ว่าจะสามารถใช้คลื่นความถี่ต่อไปได้หรือไม่ หลังสัมปทานสิ้นสุดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในสัปดาห์นี้น่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับผลตรวจสอบการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3จี ภายใต้เทคโนโลยี HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
โดยก่อนหน้านี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เคยกล่าวว่าในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ คณะกรรมการสอบสวนสัญญา 3จี จะส่งผลสรุปมาให้พิจารณา นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญา 3จี ดังกล่าว
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1527380
___________________________________
กสท โทรคมนาคม จัดประชุมคณะกรรมการ กสท
ด้วยในวัน พุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการ กสท ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ อาคารบริหาร 2 ชั้น 1 CAT หลักสี่
ThaiPR.net
http://www.ryt9.com/s/prg/1527868
ไม่มีความคิดเห็น: