26 พฤศจิกายน 2555 อนุดิษฐ์ พุ่งชน กสทช.!!! ดึง TRUEMOVE GSM1800 ให้ CAT ดูแลต่ออ้างปชช.เดือนร้อน!! // ขีดกรอบ TOT3G ต้องมีผลงานภายใน3ด.
ประเด็นหลัก
รมว.ไอซีที ห่วงผู้ใช้บริการโทรศัพท์ทั้งของทีโอที-กสท-เอไอเอส-ทรูมูฟ เดือดร้อน เล็งเจรจากสทช.อีกรอบ เพื่อขยายเวลาใช้คลื่นความถี่เดิมออกไป แม้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแล้ว พร้อมขีดเส้นบอร์ดใหม่ “ทีโอที” ในระยะเวลา 3 เดือน ต้องมีผลงานชัดเจน ในเรื่องขยายการโครงข่ายระบบ 3G การหารายได้เสริม
“ตอนนี้การหารือยังไม่มีความคืบหน้าอย่างใดมากนัก เพราะทีโอที เพิ่งจะได้บอร์ดชุดใหม่ อีกทั้งกระทรวงไอซีที กับ กสทช. เองก็มีจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องของกฎหมาย แต่อยากให้นึกถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้งโดยเฉพาะประชาชนกว่า 10 ล้านคน ที่อาจได้รับผลกระทบ”
ทั้งนี้ ทีโอที ต้องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz) ต่อไป เนื่องจากถ้าหากทีโอทีสามารถใช้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่าน จะทำให้ลูกค้าของทีโอทีที่มีอยู่ รวมไปถึงผู้บริโภคที่ใช้บริการของ เอไอเอสและประชาชนไม่ต้องเดือดร้อนในการที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
นอกจากนี้ยังมีลูกค้า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) บนคลื่น 1800 MHz ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนกันยายนปี 2556 นี้ อยากให้มีการขยายเวลาการใช้คลื่นต่อไปก่อนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าผู้ใช้บริการในปัจจุบัน
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการกำหนดดัชนีชี้วัดผลงาน บอร์ดทีโอที ในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ว่า จะมี 3 เรื่องหลัก คือ?1.โครงการติดตั้งโครงข่ายระบบ 3G ระยะ (เฟส) 1ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเร่งให้ไปดำเนินการติดตั้งสถานีฐานที่เหลือ 1,000 กว่าสถานีให้ครบ?5,320 สถานีฐานให้ได้โดยเร็ว 2.การปรับเปลี่ยนแผนการตลาดที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในทุกๆ ส่วน อาทิ ในส่วนโทรศัพท์พื้นฐานที่ทีโอทีมีลูกค้ากว่า 3.6 ล้านเลขหมาย จะต้องเร่งสร้างบริการเสริมเพื่อสร้างรายได้ จากปัจจุบันมีรายได้มาจากการบำรุงรักษาเลขหมายเพียงเดือนละ 107 บาท ต่อเดือนเท่านั้น ดังนั้นหากมีบริการเสริมอื่นๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับทีโอทีอย่างแน่นอน
3.การนำทรัพยากร หรือโครงข่ายที่มีศักยภาพอย่างธุรกิจอินเตอร์เนตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้ทีโอทีอย่างต่อเนื่องนำมาปรับปรุงคุณภาพให้บริการและเพิ่มความเร็ว ก็จะสามารถสร้างรายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ใน 3 เรื่องดังกล่าวไอซีทีต้องการให้บอร์ดทีโอทีเร่งขับเคลื่อนองค์กรภายในเพื่อที่จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา3 เดือน
______________________________________
‘อนุดิษฐ์’ เร่งบอร์ดทีโอทีลุย 3G
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
‘อนุดิษฐ์’ ให้เวลาบอร์ดใหม่ทีโอที 3 เดือนกำหนด KPI 3 เรื่อง ที่สำคัญต้องเร่ง 3G เฟสแรกให้เสร็จและเดินหน้าติดตั้งเฟส 2 อีก 1.5 หมื่นไซต์ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ‘โครงการโทรศัพท์มือถือยุคใหม่’ ก้าวสู่ 4G LTE ย้ำแค่สานงานต่อไม่น่าล่าช้า พร้อมพลิกแผนการตลาดและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพบริการ
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้บอร์ดชุดใหม่ของบริษัททีโอที และกำหนดตัวชี้วัดผลงาน (KPI) ให้เร่งดำเนินการให้เสร็จภายในเวลา 3 เดือนใน 3 เรื่องหลัก คือ 1. การให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 1 ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเร่งให้ไปดำเนินการติดตั้งสถานีฐานที่เหลือ 1,000 กว่าสถานีฐานให้ครบ 5,320 สถานีฐานโดยเร็ว หลังจากนั้นบอร์ดทีโอทีจะต้องเดินหน้าขยายสถานีฐานต่อทันทีเพื่อรองรับการเปิดให้บริการในส่วนของ 3G เฟส 2 ซึ่งจะต้องขยายโครงข่ายถึง 15,000 สถานีฐาน
โดยจะเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการโทรศัพท์มือถือยุคใหม่ เนื่องจากจะไม่จำกัดแค่เทคโนโลยี 3G เท่านั้นแต่จะมองไปถึงการให้บริการ 4G (LTE) ด้วย พร้อมทั้งจะสนับสนุนให้ทีโอทีแสวงหาพันธมิตรในทุกด้าน ทั้งเรื่องความรู้ และการใช้เทคโนโลยีที่เต็มศักยภาพด้วย
‘เราเชื่อว่าบอร์ดชุดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการดำเนินการต่อขยายในส่วนของ 3G เฟส 2 เนื่องจากแผนการดำเนินงาานทั้งหมดบอร์ดชุดเก่าทำค้างไว้อยู่แล้วจึงสามารถสานต่อได้ทันที ทำให้ลดระยะเวลาการทำงานลงไปได้’
โดยหากทีโอทีส่งแผน 3G เฟส 2 มาให้กระทรวงไอซีทีเมื่อไหร่ก็จะนำเข้าสู่วาระที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบทันที ซึ่งจะต้องทำควบคู่ไปกับเสนอแผนรายละเอียดโครงการไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ด้วย
2. การปรับเปลี่ยนแผนการตลาดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในทุกๆ ส่วน อาทิโทรศัพท์พื้นฐานที่ทีโอทีมีลูกค้ากว่า 3.6 ล้านเลขหมาย จะต้องเร่งสร้างบริการเสริมเพื่อสร้างรายได้ จากปัจจุบันมีรายได้มาจากการบำรุงรักษาเลขหมายเพียงเดือนละ 107 บาทต่อเดือนเท่านั้น ฉะนั้นหากมีบริการเสริมอื่นๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ทีโอทีอย่างแน่นอน และ 3. การนำทรัพยากร หรือโครงข่ายที่มีศักยภาพอย่างธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้ทีโอทีอย่างต่อเนื่อง นำมาปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ และเพิ่มความเร็วก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
‘ทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวไอซีทีต้องการให้บอร์ดทีโอทีเร่งขับเคลื่อนองค์กรภายในเพื่อที่จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ตั้งไว้’
ส่วนแผนรองรับหลังสัญญาสัมปทานเอไอเอสสิ้นสุดลงในเดือน ก.ย. 2558 นั้น ในเบื้องต้นเห็นว่าทีโอทีกำลังศึกษารายละเอียด ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการขอใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ต่อไป เนื่องจากหากทีโอทีสามารถใช้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านจะทำให้ลูกค้าของทีโอทีที่มีอยู่ รวมไปถึงผู้บริโภคและประชาชนไม่ต้องเดือดร้อนในการที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รวมไปถึงการขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3 GHz ด้วย
อย่างไรก็ตาม คงต้องรอความชัดเจนในการหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อน จึงจะสามารถสรุปได้ว่าจะสามารถใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อไปอีกกี่ปี ซึ่งในตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เนื่องจากทีโอทีเพิ่งจะได้บอร์ดชุดใหม่ อีกทั้งกระทรวงไอซีทีกับ กสทช.เองก็มีจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องของกฎหมาย แต่อยากให้นึกถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะประชาชนกว่า 10 ล้านคนที่อาจได้รับผลกระทบ
น.อ.อนุดิษฐ์ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองมีการไต่สวนฉุกเฉินกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องสำนักงาน กสทช. โดยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อระงับการออกใบอนุญาต 2.1 GHz (3G) ให้แก่ผู้ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ในความเห็นส่วนตัวอยากเห็นศาลพิจารณาคดีดังกล่าวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพราะหากศาลมีคำตัดสินให้มีการคุ้มครองชั่วคราวขึ้นมาจะทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการใช้บริการ 3G และประเทศจะต้องรอ 3G ต่อไปอีก ซึ่งปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านต่างทยอยเปิดให้บริการ 3G กันจะหมดแล้ว
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000144024
________________________
อนุดิษฐ์’ยกเหตุผลผู้ใช้ฮัลโหลนับล้านเดือดร้อน ยื้อคืนคลื่นมือถือให้กสทช.
รมว.ไอซีที ห่วงผู้ใช้บริการโทรศัพท์ทั้งของทีโอที-กสท-เอไอเอส-ทรูมูฟ เดือดร้อน เล็งเจรจากสทช.อีกรอบ เพื่อขยายเวลาใช้คลื่นความถี่เดิมออกไป แม้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแล้ว พร้อมขีดเส้นบอร์ดใหม่ “ทีโอที” ในระยะเวลา 3 เดือน ต้องมีผลงานชัดเจน ในเรื่องขยายการโครงข่ายระบบ 3G การหารายได้เสริม
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่าไอซีทีจะมอบนโยบายให้กับ คณะกรรมการ (บอร์ด)บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชุดใหม่ศึกษาแผนการรองรับ หลังจากสัญญาสัมปทานของทีโอที ที่ให้กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2558 ในเบื้องต้นทราบว่า ทีโอทีอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด
อย่างไรก็ดีเรื่องนี้คงต้องรอความชัดเจนจากการหารือกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อน จึงจะสามารถสรุปได้ว่า หากสัญญาสิ้นสุดลง ทีโอที จะสามารถขอใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ต่อไปได้หรือไม่ หรือใช้ได้อีกกี่ปี
“ตอนนี้การหารือยังไม่มีความคืบหน้าอย่างใดมากนัก เพราะทีโอที เพิ่งจะได้บอร์ดชุดใหม่ อีกทั้งกระทรวงไอซีที กับ กสทช. เองก็มีจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องของกฎหมาย แต่อยากให้นึกถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นตัวตั้งโดยเฉพาะประชาชนกว่า 10 ล้านคน ที่อาจได้รับผลกระทบ”
ทั้งนี้ ทีโอที ต้องการใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz) ต่อไป เนื่องจากถ้าหากทีโอทีสามารถใช้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวต่อไปอีกระยะหนึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่าน จะทำให้ลูกค้าของทีโอทีที่มีอยู่ รวมไปถึงผู้บริโภคที่ใช้บริการของ เอไอเอสและประชาชนไม่ต้องเดือดร้อนในการที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
นอกจากนี้ยังมีลูกค้า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) บนคลื่น 1800 MHz ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนกันยายนปี 2556 นี้ อยากให้มีการขยายเวลาการใช้คลื่นต่อไปก่อนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าผู้ใช้บริการในปัจจุบัน
“เราเชื่อว่า กสทช.จะยินยอมให้ กสท และ ทีโอทีใช้คลื่นต่อไปได้ระยะหนึ่งภายหลังหมดสัญญาสัมปทานลง เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอน แต่ในระยะหนึ่งที่ว่านั้นคงต้องรอได้ข้อสรุปกับทางกสทช.ก่อน ซึ่งในตอนนี้คงยังไม่เหมาะที่จะไปพูดเรื่องดังกล่าว เพราะกสทช.ยังมีปัญหาในหนักใจเรื่องการฟ้องร้องภายหลังจากการจัดการประมูล 21.GHz อยู่ในขณะนี้”
รมว.ไอซีที ยังแสดงความเห็นกรณี ศาลปกครองกลาง มีการไต่สวนฉุกเฉิน กรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้อง สำนักงานกสทช.ขอให้ระงับการออกใบอนุญาต 2.1GHz (3G) ให้กับผู้ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ว่า หากศาลปกครองกลาง มีคำตัดสินให้มีการคุ้มครองชั่วคราวคงทำให้บริการ 3G ล่าช้าออกไป
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมถึงการกำหนดดัชนีชี้วัดผลงาน บอร์ดทีโอที ในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ว่า จะมี 3 เรื่องหลัก คือ?1.โครงการติดตั้งโครงข่ายระบบ 3G ระยะ (เฟส) 1ที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยเร่งให้ไปดำเนินการติดตั้งสถานีฐานที่เหลือ 1,000 กว่าสถานีให้ครบ?5,320 สถานีฐานให้ได้โดยเร็ว 2.การปรับเปลี่ยนแผนการตลาดที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรในทุกๆ ส่วน อาทิ ในส่วนโทรศัพท์พื้นฐานที่ทีโอทีมีลูกค้ากว่า 3.6 ล้านเลขหมาย จะต้องเร่งสร้างบริการเสริมเพื่อสร้างรายได้ จากปัจจุบันมีรายได้มาจากการบำรุงรักษาเลขหมายเพียงเดือนละ 107 บาท ต่อเดือนเท่านั้น ดังนั้นหากมีบริการเสริมอื่นๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับทีโอทีอย่างแน่นอน
3.การนำทรัพยากร หรือโครงข่ายที่มีศักยภาพอย่างธุรกิจอินเตอร์เนตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้ทีโอทีอย่างต่อเนื่องนำมาปรับปรุงคุณภาพให้บริการและเพิ่มความเร็ว ก็จะสามารถสร้างรายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ใน 3 เรื่องดังกล่าวไอซีทีต้องการให้บอร์ดทีโอทีเร่งขับเคลื่อนองค์กรภายในเพื่อที่จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา3 เดือนที่ตนตั้งธงไว้ในระยะแรก แต่หากไม่สามารถเสร็จทันได้จริงคงต้องกลับมาดูว่ามีอุปสรรค หรือเหตุผลอะไร แต่หากไม่มีคงต้องพิจารณากันอีกทีว่าจะทำอย่างไรต่อไป
แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1537572
ไม่มีความคิดเห็น: