19 ธันวาคม 2555 TRUEVISIONS ซื้อคอนเทนต์ทั้งไทยและเทศ 5000 ลบ. สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังไม่มีพรีเมียร์ลีกพร้อมทำสงครามกุมภาพันธ์แน่นอน
ประเด็นหลัก
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ล่าสุดร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบ การเคเบิลทีวี (COA) ที่มีสมาชิกรวม 160 ราย นำ 30 ช่องรายการคุณภาพ ทั้งกีฬา ภาพยนตร์ บันเทิง สารคดี แบ่งเป็นรับชม 12 ช่องรายการฟรี ได้แก่ เอเอฟ ชาแนล, ทรู มิวสิค, ทรูไลฟ์ ทีวี เป็นต้น และ 18 ช่องสำหรับการซื้อเพิ่มยกแพ็กเกจ หวังขยายฐานผู้ชมกลุ่มแมส
นายอาณัติกล่าวต่อว่า แม้ว่าการประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถือว่าแพ้แบบมีศักดิ์ศรี เพราะได้สู้เต็มความสามารถแล้ว ขณะที่กลยุทธ์ต่อจากนี้ไป การเพิ่มแพ็กเกจให้มีความหลากหลายมากขึ้นตามจำนวนผู้ชมและพฤติกรรมการรับชมของสมาชิกหรือเรียกว่า "ไลฟ์สไตล์แพ็กเกจ" และเพิ่มมาตรฐานการรับชมแบบเอชดีให้แก่สมาชิกด้วย แนวทางดังกล่าวอยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชม ว่าต้องการรายการใดเพิ่มเข้ามา หลังจากทรูวิชั่นส์ไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
"ช่วงนี้เดินหน้าซื้อคอนเทนต์ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท รวมถึงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังไม่มีพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า น่าจะได้เห็นอุณหภูมิของผู้บริโภคว่าเป็นไปในทิศทางใด"
_________________________________
"ทรูวิชั่นส์"เปิดเกมรักษาลูกค้าเก่า เพิ่มช่องเอชดี-ผนึกเคเบิลท้องถิ่นขยายตลาดแมส
นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางจากนี้ไปเดินหน้าภายใต้ 3 กลยุทธ์หลักเพื่อสร้างรายได้ ได้แก่ การเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ โครงข่ายและทีวีดาวเทียม โดยจะเปิดแผนการตลาดและทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนในต้นปี 2556
ในแง่ของการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์นั้น ทรูวิชั่นส์คือเจ้าตลาดด้านคอนเทนต์ที่มีรายการทั้งในและต่างประเทศที่มีคุณภาพ ดังนั้นทรูฯจะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมคอนเทนต์และจัดทำรายการคุณภาพ เพื่อส่งต่อให้แก่พันธมิตรหรือผู้ที่สนใจต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ร่วมกับพีเอสไอผลิตกล่องรับสัญญาณดาวเทียม "พีเอสไอทรู" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และส่ง 9 ช่องรายการแก่พันธมิตรบริษัทเคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอชด้วย
ล่าสุดร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบ การเคเบิลทีวี (COA) ที่มีสมาชิกรวม 160 ราย นำ 30 ช่องรายการคุณภาพ ทั้งกีฬา ภาพยนตร์ บันเทิง สารคดี แบ่งเป็นรับชม 12 ช่องรายการฟรี ได้แก่ เอเอฟ ชาแนล, ทรู มิวสิค, ทรูไลฟ์ ทีวี เป็นต้น และ 18 ช่องสำหรับการซื้อเพิ่มยกแพ็กเกจ หวังขยายฐานผู้ชมกลุ่มแมส
ปัจจุบันผู้ประกอบการเคเบิลทีวีอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกไปสู่ดิจิทัล ทั้งนี้เมื่อผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นเปลี่ยนระบบเรียบร้อยแล้ว อนาคตทรูฯอาจจะนำแพ็กเกจต่าง ๆ เข้าไปร่วมด้วย ทั้งระบบการออกอากาศแบบเอชดี ปัจจุบันทรูฯเปิดให้บริการ 17 ช่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความร่วมมือของการให้บริการไฮสปีดอินเทอร์เน็ตในอนาคตด้วย
นายอาณัติกล่าวต่อว่า แม้ว่าการประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถือว่าแพ้แบบมีศักดิ์ศรี เพราะได้สู้เต็มความสามารถแล้ว ขณะที่กลยุทธ์ต่อจากนี้ไป การเพิ่มแพ็กเกจให้มีความหลากหลายมากขึ้นตามจำนวนผู้ชมและพฤติกรรมการรับชมของสมาชิกหรือเรียกว่า "ไลฟ์สไตล์แพ็กเกจ" และเพิ่มมาตรฐานการรับชมแบบเอชดีให้แก่สมาชิกด้วย แนวทางดังกล่าวอยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชม ว่าต้องการรายการใดเพิ่มเข้ามา หลังจากทรูวิชั่นส์ไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
"ช่วงนี้เดินหน้าซื้อคอนเทนต์ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท รวมถึงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังไม่มีพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า น่าจะได้เห็นอุณหภูมิของผู้บริโภคว่าเป็นไปในทิศทางใด"
ทั้งนี้ ผลจากการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์คาดว่าสัดส่วนรายได้ของคอนเทนต์และโฆษณาในปีหน้าจะเติบโต 3-5% จากปัจจุบันมาจากค่าบริการรายเดือน 80%, คอนเทนต์และโฆษณา 10% และอื่น ๆ 10%
"ปีนี้ตลาดทีวีดาวเทียมในส่วนฟรีทูแอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฐานสมาชิกระดับล่างหรือแพ็กเกจ ทรู โนว์เลจ ลดลงประมาณ 4% ขณะที่แพ็กเกจพรีเมี่ยมและโกลด์เติบโตขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากระบบการออกอากาศระบบเอชดี 17 ช่อง และการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น โอลิมปิก ยูฟ่า ส่งผลให้ไตรมาส 3 ที่ผ่านมาบริษัทเติบโต 3% เมื่อเทียบกับปีก่อน" นายอาณัติกล่าว
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?
newsid=1355895198&grpid=&catid=11&subcatid=1103
__________________
“ทรูวิชั่นส์” เปิดแผนปรับตัวสู้ หลังไม่มีพรีเมียร์ลีกปีหน้า
ASTVผู้จัดการรายวัน - ทรูวิชั่นส์เปิดแผนหลังวืดพรีเมียร์ลีก อัดเพิ่มช่องรายการรุกหนักช่อง HD เสริมแกร่งคอนเวอร์เจนต์ให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ ขยายเพิ่มแพกเกจให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ วางตัวเองเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือCOA ขายช่องรายการอีก 30 ช่อง หวังเจาะถึงแมสเพิ่มอีก 1.5 ล้านครัวเรือน
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ทรูวิชั่นส์ไม่ได้สิทธิในการถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปนั้น ยอมรับว่าเสียใจที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้ แต่ทั้งนี้ถือว่าบริษัททำดีที่สุดแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเม็ดเงินในการประมูลครั้งนี้ถือว่าสูสีและสมศักดิ์ศรีในการเข้าร่วมประมูลกับผู้ที่ได้สิทธิ์ไป ทางบริษัทเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์หลังจากที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก โดยมุ่งหาคอนเทนต์รายการดีๆ มีคุณภาพทั้งไทยและเทศ โดยต้องเป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ได้มากกว่าการรับชมพรีเมียร์ลีก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่สมาชิก
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ชู 3 กลยุทธ์สู้ศึกเคเบิลทีวี
แผนการดำเนินงานของทรูวิชั่นส์หลังจากนี้จะลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ที่เคยใช้ในแต่ละปีในการซื้อเพิ่มและพัฒนาคอนเทนต์ แบ่งเป็น 3 แนวหลัก คือ 1. จะเพิ่มช่องรายการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพทั้งไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โฟกัสไปยังช่องรายการแบบเอชดีมากขึ้น จากปัจจุบันมีอยู่ 17 ช่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายลูกค้าแพกเกจระดับพรีเมียม
2. ปรับเพิ่มแพกเกจการรับชมในลักษณะไลฟ์สไตล์แพกเกจ เช่น แพกเกจเด็กและเยาวชน หรือกีฬา แต่ไม่มีนโยบายลดราคาแพกเกจลงมา และ 3. ให้ความสำคัญต่อโครงข่าย โดยจะมุ่งสู่รูปแบบการให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ที่ร่วมกับทางทรูออนไลน์มากขึ้น จากปัจจุบันให้บริการแล้วกว่า 50 จังหวัด ปีหน้าจะมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สวมบทคอนเทนต์โพรวายเดอร์
บริษัทมีนโยบายเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นชั้นนำกว่า 150 ราย นำเสนอ True Cable Partners Pack ซึ่งเป็นแพกเกจช่องรายการส่งเสริมพันธมิตรเคเบิลไทย ที่รวบรวมช่องรายการหลากหลายกว่า 30 ช่อง เบื้องต้น 12 ช่องแรกไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ส่วนอีก 18 ช่องเป็นการซื้อเพิ่มเติม แล้วแต่ผู้ประกอบการต้องการ โดยราคาซื้อเพิ่มเติมนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ คาดว่าจะเข้าถึงจำนวนฐานผู้ชมมากกว่า และทำให้ทรูวิชั่นส์เข้าถึงกลุ่มแมสได้ถึง 1.5 ล้านครัวเรือน คาดว่าในปีหน้าจะขยายสู่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศ 300 ราย และเข้าถึงกลุ่มแมสที่ 3 ล้านครัวเรือนได้
“ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อยกระดับและช่วยให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นแข่งขันได้ในอนาคต โดยในเฟสต่อไปจะมีความร่วมมือกันในเรื่องของกล่องการรับชม รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศแบบแอนะล็อกสู่ดิจิตอล อนาคตจะมีช่องรายการแบบเอชดีมานำเสนอแก่ทางเคเบิลทีวีต่อไปด้วย”
ปัจจุบันทรูวิชั่นส์มีรายได้หลักมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ สมาชิก 80% โฆษณา 10% และอีก 10% มาจากอื่นๆ ทั้งนี้ หลังเข้าสู่การเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ มองว่าใน 3-5 ปีจากนี้จะมีรายได้โต 3-5% ขณะที่ฐานสมาชิกปัจจุบันรวมแล้วมีกว่า 2 ล้านราย แบ่งเป็นเพย์แพกเกจอย่างโกลด์และแพลทินัมกว่า 3 แสนราย ที่เหลือมาจากกลุ่มทรูโนว์เลจ และกล่องทรูแบบขายขาด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000152945
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ล่าสุดร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบ การเคเบิลทีวี (COA) ที่มีสมาชิกรวม 160 ราย นำ 30 ช่องรายการคุณภาพ ทั้งกีฬา ภาพยนตร์ บันเทิง สารคดี แบ่งเป็นรับชม 12 ช่องรายการฟรี ได้แก่ เอเอฟ ชาแนล, ทรู มิวสิค, ทรูไลฟ์ ทีวี เป็นต้น และ 18 ช่องสำหรับการซื้อเพิ่มยกแพ็กเกจ หวังขยายฐานผู้ชมกลุ่มแมส
นายอาณัติกล่าวต่อว่า แม้ว่าการประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถือว่าแพ้แบบมีศักดิ์ศรี เพราะได้สู้เต็มความสามารถแล้ว ขณะที่กลยุทธ์ต่อจากนี้ไป การเพิ่มแพ็กเกจให้มีความหลากหลายมากขึ้นตามจำนวนผู้ชมและพฤติกรรมการรับชมของสมาชิกหรือเรียกว่า "ไลฟ์สไตล์แพ็กเกจ" และเพิ่มมาตรฐานการรับชมแบบเอชดีให้แก่สมาชิกด้วย แนวทางดังกล่าวอยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชม ว่าต้องการรายการใดเพิ่มเข้ามา หลังจากทรูวิชั่นส์ไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
"ช่วงนี้เดินหน้าซื้อคอนเทนต์ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท รวมถึงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังไม่มีพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า น่าจะได้เห็นอุณหภูมิของผู้บริโภคว่าเป็นไปในทิศทางใด"
_________________________________
"ทรูวิชั่นส์"เปิดเกมรักษาลูกค้าเก่า เพิ่มช่องเอชดี-ผนึกเคเบิลท้องถิ่นขยายตลาดแมส
นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางจากนี้ไปเดินหน้าภายใต้ 3 กลยุทธ์หลักเพื่อสร้างรายได้ ได้แก่ การเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์ โครงข่ายและทีวีดาวเทียม โดยจะเปิดแผนการตลาดและทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนในต้นปี 2556
ในแง่ของการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์นั้น ทรูวิชั่นส์คือเจ้าตลาดด้านคอนเทนต์ที่มีรายการทั้งในและต่างประเทศที่มีคุณภาพ ดังนั้นทรูฯจะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมคอนเทนต์และจัดทำรายการคุณภาพ เพื่อส่งต่อให้แก่พันธมิตรหรือผู้ที่สนใจต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ร่วมกับพีเอสไอผลิตกล่องรับสัญญาณดาวเทียม "พีเอสไอทรู" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และส่ง 9 ช่องรายการแก่พันธมิตรบริษัทเคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอชด้วย
ล่าสุดร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบ การเคเบิลทีวี (COA) ที่มีสมาชิกรวม 160 ราย นำ 30 ช่องรายการคุณภาพ ทั้งกีฬา ภาพยนตร์ บันเทิง สารคดี แบ่งเป็นรับชม 12 ช่องรายการฟรี ได้แก่ เอเอฟ ชาแนล, ทรู มิวสิค, ทรูไลฟ์ ทีวี เป็นต้น และ 18 ช่องสำหรับการซื้อเพิ่มยกแพ็กเกจ หวังขยายฐานผู้ชมกลุ่มแมส
ปัจจุบันผู้ประกอบการเคเบิลทีวีอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกไปสู่ดิจิทัล ทั้งนี้เมื่อผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นเปลี่ยนระบบเรียบร้อยแล้ว อนาคตทรูฯอาจจะนำแพ็กเกจต่าง ๆ เข้าไปร่วมด้วย ทั้งระบบการออกอากาศแบบเอชดี ปัจจุบันทรูฯเปิดให้บริการ 17 ช่อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความร่วมมือของการให้บริการไฮสปีดอินเทอร์เน็ตในอนาคตด้วย
นายอาณัติกล่าวต่อว่า แม้ว่าการประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถือว่าแพ้แบบมีศักดิ์ศรี เพราะได้สู้เต็มความสามารถแล้ว ขณะที่กลยุทธ์ต่อจากนี้ไป การเพิ่มแพ็กเกจให้มีความหลากหลายมากขึ้นตามจำนวนผู้ชมและพฤติกรรมการรับชมของสมาชิกหรือเรียกว่า "ไลฟ์สไตล์แพ็กเกจ" และเพิ่มมาตรฐานการรับชมแบบเอชดีให้แก่สมาชิกด้วย แนวทางดังกล่าวอยู่ในระหว่างศึกษารายละเอียด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชม ว่าต้องการรายการใดเพิ่มเข้ามา หลังจากทรูวิชั่นส์ไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
"ช่วงนี้เดินหน้าซื้อคอนเทนต์ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบประมาณเฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท รวมถึงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังไม่มีพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า น่าจะได้เห็นอุณหภูมิของผู้บริโภคว่าเป็นไปในทิศทางใด"
ทั้งนี้ ผลจากการเป็นคอนเทนต์โพรไวเดอร์คาดว่าสัดส่วนรายได้ของคอนเทนต์และโฆษณาในปีหน้าจะเติบโต 3-5% จากปัจจุบันมาจากค่าบริการรายเดือน 80%, คอนเทนต์และโฆษณา 10% และอื่น ๆ 10%
"ปีนี้ตลาดทีวีดาวเทียมในส่วนฟรีทูแอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฐานสมาชิกระดับล่างหรือแพ็กเกจ ทรู โนว์เลจ ลดลงประมาณ 4% ขณะที่แพ็กเกจพรีเมี่ยมและโกลด์เติบโตขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากระบบการออกอากาศระบบเอชดี 17 ช่อง และการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น โอลิมปิก ยูฟ่า ส่งผลให้ไตรมาส 3 ที่ผ่านมาบริษัทเติบโต 3% เมื่อเทียบกับปีก่อน" นายอาณัติกล่าว
ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?
newsid=1355895198&grpid=&catid=11&subcatid=1103
__________________
“ทรูวิชั่นส์” เปิดแผนปรับตัวสู้ หลังไม่มีพรีเมียร์ลีกปีหน้า
ASTVผู้จัดการรายวัน - ทรูวิชั่นส์เปิดแผนหลังวืดพรีเมียร์ลีก อัดเพิ่มช่องรายการรุกหนักช่อง HD เสริมแกร่งคอนเวอร์เจนต์ให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ ขยายเพิ่มแพกเกจให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ วางตัวเองเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือCOA ขายช่องรายการอีก 30 ช่อง หวังเจาะถึงแมสเพิ่มอีก 1.5 ล้านครัวเรือน
นายองอาจ ประภากมล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายคอมเมอร์เชียล บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ทรูวิชั่นส์ไม่ได้สิทธิในการถ่ายทอดสดฟุตบอลอังกฤษพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปนั้น ยอมรับว่าเสียใจที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้ แต่ทั้งนี้ถือว่าบริษัททำดีที่สุดแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของเม็ดเงินในการประมูลครั้งนี้ถือว่าสูสีและสมศักดิ์ศรีในการเข้าร่วมประมูลกับผู้ที่ได้สิทธิ์ไป ทางบริษัทเตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์หลังจากที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก โดยมุ่งหาคอนเทนต์รายการดีๆ มีคุณภาพทั้งไทยและเทศ โดยต้องเป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ได้มากกว่าการรับชมพรีเมียร์ลีก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่สมาชิก
เมินซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก CTH เชื่อไม่คุ้มทุน
ด้านนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าทรูวิชั่นส์จะไม่ได้สิทธิ์พรีเมียร์ลีก แต่บริษัทมุ่งคอนเทนต์อื่นมาทดแทน ขณะนี้สำรวจกับสมาชิกว่าต้องการคอนเทนต์ประเภทใด แต่ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีลูกค้าที่ไม่พอใจหรือขอยกเลิกไปมากน้อยเพียงใด ทางบริษัทไม่มีนโยบายที่จะขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจากซีทีเอชเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อ เพราะเชื่อว่าไม่คุ้มในเชิงการดำเนินธุรกิจ
สำหรับการพลาดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกจะเห็นผลกระทบชัดเจนในช่วง ส.ค. 2556 โดยเฉพาะช่วงเวลาค่ำของวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า เตรียมหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มานำเสนอ พร้อมปรับกลยุทธ์ ปรับแผนและตัวเลขสมาชิกใหม่หมด โดยจะเห็นภาพชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของทรูวิชั่นส์ในก้าวต่อไปในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้
ชู 3 กลยุทธ์สู้ศึกเคเบิลทีวี
แผนการดำเนินงานของทรูวิชั่นส์หลังจากนี้จะลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ที่เคยใช้ในแต่ละปีในการซื้อเพิ่มและพัฒนาคอนเทนต์ แบ่งเป็น 3 แนวหลัก คือ 1. จะเพิ่มช่องรายการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพทั้งไทยและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โฟกัสไปยังช่องรายการแบบเอชดีมากขึ้น จากปัจจุบันมีอยู่ 17 ช่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายลูกค้าแพกเกจระดับพรีเมียม
2. ปรับเพิ่มแพกเกจการรับชมในลักษณะไลฟ์สไตล์แพกเกจ เช่น แพกเกจเด็กและเยาวชน หรือกีฬา แต่ไม่มีนโยบายลดราคาแพกเกจลงมา และ 3. ให้ความสำคัญต่อโครงข่าย โดยจะมุ่งสู่รูปแบบการให้บริการแบบทริปเปิลเพย์ที่ร่วมกับทางทรูออนไลน์มากขึ้น จากปัจจุบันให้บริการแล้วกว่า 50 จังหวัด ปีหน้าจะมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สวมบทคอนเทนต์โพรวายเดอร์
บริษัทมีนโยบายเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ล่าสุดจับมือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี หรือซีโอเอ ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นชั้นนำกว่า 150 ราย นำเสนอ True Cable Partners Pack ซึ่งเป็นแพกเกจช่องรายการส่งเสริมพันธมิตรเคเบิลไทย ที่รวบรวมช่องรายการหลากหลายกว่า 30 ช่อง เบื้องต้น 12 ช่องแรกไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ส่วนอีก 18 ช่องเป็นการซื้อเพิ่มเติม แล้วแต่ผู้ประกอบการต้องการ โดยราคาซื้อเพิ่มเติมนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกของผู้ประกอบการแต่ละราย
ทั้งนี้ คาดว่าจะเข้าถึงจำนวนฐานผู้ชมมากกว่า และทำให้ทรูวิชั่นส์เข้าถึงกลุ่มแมสได้ถึง 1.5 ล้านครัวเรือน คาดว่าในปีหน้าจะขยายสู่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีทั่วประเทศ 300 ราย และเข้าถึงกลุ่มแมสที่ 3 ล้านครัวเรือนได้
“ความร่วมมือครั้งนี้เพื่อยกระดับและช่วยให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นแข่งขันได้ในอนาคต โดยในเฟสต่อไปจะมีความร่วมมือกันในเรื่องของกล่องการรับชม รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศแบบแอนะล็อกสู่ดิจิตอล อนาคตจะมีช่องรายการแบบเอชดีมานำเสนอแก่ทางเคเบิลทีวีต่อไปด้วย”
ปัจจุบันทรูวิชั่นส์มีรายได้หลักมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ สมาชิก 80% โฆษณา 10% และอีก 10% มาจากอื่นๆ ทั้งนี้ หลังเข้าสู่การเป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ มองว่าใน 3-5 ปีจากนี้จะมีรายได้โต 3-5% ขณะที่ฐานสมาชิกปัจจุบันรวมแล้วมีกว่า 2 ล้านราย แบ่งเป็นเพย์แพกเกจอย่างโกลด์และแพลทินัมกว่า 3 แสนราย ที่เหลือมาจากกลุ่มทรูโนว์เลจ และกล่องทรูแบบขายขาด
ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000152945
ไม่มีความคิดเห็น: