10 มกราคม 2555 กสทช.(หมอลี่) กังวล"ซิมดับ" จำนวน 10 ล้านรายแน่นอน เมื่อ TRUEMOVE GSM1800หมดสัปทาน // ชี้ 2ค่ายต้องคืนคลื่นให้ กสทช. เท่านั้น
ประเด็นหลัก
หมอลี่: สำหรับปีนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดของ กสทช. คือสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จะหมดอายุภายในเดือนกันยายน 2556 (หมายถึง: บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้รับสัมปทานจาก บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี) ซึ่งประเด็นตรงนี้ กสทช.ต้องเตรียมแผนรับมือเพราะเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุอาจจะเกิดกรณีที่ผมเรียกว่า "ซิมดับ" จำนวน 10 ล้านราย เพราะเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุคลื่นความถี่ทั้งหมดก็ต้องส่งกลับมายัง กสทช.เพื่อนำคลื่นความถี่มาประมูล
นอกจากนี้ในแง่ของรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 ก็ได้เขียนระบุไว้ว่าเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุลงผู้ประกอบการต้องคืนคลื่นความถี่กลับมายัง กสทช.เพื่อทำการเปิดประมูลใหม่ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในส่วนของ แคท หรือ ไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) มีความคิดเห็นเรื่องการคืนคลื่นความถี่ไม่ตรงกันเพราะฉะนั้นทั้งสามส่วนก็ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน
______________________________
'สิทธิพล-หมอลี่' การันตีปีมะเส็ง
การประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ผ่านคลื่นมรสุมไปอย่างสะบักสะบอม จนที่สุด กสทช.ได้ออกใบอนุญาตระยะเวลา 15 ปีให้กับบรรดาผู้ชนะการประมูลไปแล้วนั้น
หากแต่ในปีนี้ กสทช. ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่าจะให้ปีนี้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ กรรมการ กสทช. ทั้ง 2 คนจาก 11 คน อัน ได้แก่ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ และ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา (หมอลี่) เกี่ยวกับแผนงานของ กสทช.ในปี 2556
**สิ่งที่ต้องทำในปีนี้
หมอลี่: สำหรับปีนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดของ กสทช. คือสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จะหมดอายุภายในเดือนกันยายน 2556 (หมายถึง: บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้รับสัมปทานจาก บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี) ซึ่งประเด็นตรงนี้ กสทช.ต้องเตรียมแผนรับมือเพราะเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุอาจจะเกิดกรณีที่ผมเรียกว่า "ซิมดับ" จำนวน 10 ล้านราย เพราะเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุคลื่นความถี่ทั้งหมดก็ต้องส่งกลับมายัง กสทช.เพื่อนำคลื่นความถี่มาประมูล
ไม่เพียงเรื่องของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จะหมดอายุแล้วยังมีประเด็นเรื่องของบริการที่เกิดใหม่ คือ การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประกวดราคาทั้ง 3 ราย ซึ่ง กสทช.ได้ประกาศในเรื่องคุณภาพบริการจะต้องมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 30 เท่า เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ กสทช.ต้องกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับอัตราค่าบริการของ 3 จีจะต้องถูกลงถึง 15%
ดร.สุทธิพล; สำนักงาน กสทช.ได้ประกาศออกมาแล้วปีนี้จะเป็นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะเมล็ดที่ กสทช.หว่านไปเมื่อปีที่แล้วเริ่มจะออกผลในปีนี้แม้ในช่วงปีที่ผ่านมาจะต้องชี้แจงเรื่องการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีก็ตาม แต่ในปีนี้ กฎระเบียบกติกาต่างที่เรารับผิดชอบในส่วนนี้ คือ การวางระบบเรื่องการรับเรื่องร้องเรียน ควบคู่ไปกับการปรับปรุงตัวประกาศรับเรื่องร้องเรียน,การจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ , การออกประกาศการใช้ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม , การออกประกาศการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม และ การวางจริยธรรมการทำงานของกรรมการ กสทช.
** รับมือสัมปทานหมดอายุอย่างไร
หมอลี่: เรื่องสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่หมดอายุนั้นเป็นเรื่องที่ กสทช.ต้องเตรียมดำเนินการอย่างเร่งด่วนซึ่งในขณะนี้เหลือเวลาเพียง 8 เดือนเท่านั้น และ มีแนวโน้มว่า แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนคม จำกัด (มหาชน) จะตัดสินใจให้บริการต่อโดยไม่คืนสิทธิให้ กสทช.ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดการฟ้องร้องเรื่องสิทธิในการใช้คลื่นเพื่อล้มการประมูลเหมือนกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้
ดร.สิทธิพล: เรื่องนี้เราเป็นกรรมการต้องระมัดระวังเพราะถ้าหากเราไปบอกว่าสัมปทานหมดอายุให้ลูกค้าย้ายเครือข่ายนั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลต้องทำหน้าที่เป็นกลาง เพราะถ้าหากผู้ใช้บริการตัดสินใจย้ายค่ายไปอีกระบบหนึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายเพราะธุรกิจโทรคมนาคมมีผู้ให้บริการหลายรายอาจจะทำให้เกิดการได้เปรียบและเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม กสทช.ก็ได้ทำโรดแมปการคืนคลื่นความถี่เมื่อสัญญาสัมปทานหมดจริงจะคืนคลื่นอย่างไร
นอกจากนี้ในแง่ของรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 ก็ได้เขียนระบุไว้ว่าเมื่อสัญญาสัมปทานหมดอายุลงผู้ประกอบการต้องคืนคลื่นความถี่กลับมายัง กสทช.เพื่อทำการเปิดประมูลใหม่ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในส่วนของ แคท หรือ ไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) มีความคิดเห็นเรื่องการคืนคลื่นความถี่ไม่ตรงกันเพราะฉะนั้นทั้งสามส่วนก็ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน
"พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯกำหนดให้เราคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะเราก็ต้องมากำหนดทำอย่างไรไม่ให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากสัญญาสัมปทานที่หมดอายุลง เราอาจจะให้เอกชนดำเนินการต่อไปสักระยะหนึ่งแต่ต้องมีเงื่อนไขห้ามเชิญลูกค้าใหม่เข้ามาในระบบและหลังจากนั้นเรามีความพร้อมก็เปิดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว"
**ปมความขัดแย้งระหว่างบอร์ด
หมอลี่: ผมเชื่อว่ากฎหมายที่กำหนดออกมานั้นมีหลายส่วน การแสดงความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ ต้องใช้เหตุและผลเท่านั้นไม่ได้ใช้จำนวนมือที่ยกขึ้นมาโหวตเพราะฉะนั้นก็จะเป็นแบบนี้ไปอีก 5 ปี พอสุดท้ายเมื่อถูกสังคมตำหนิก็นั่งกลับมาทบทวน ดังนั้นจะต้องมีการปรับตัวเข้าหากันระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างนอกจะต้องรอบคอบและคิดถึงสังคมมากขึ้น
ดร.สุทธิพล: เราก็ต้องมีการคุยกันมากขึ้น ที่ผ่านมาบอร์ดทุกคนก็มีความเห็นแตกต่าง เราต้องมีการตกลงความคิดกำหนดกฎกติการ่วมกัน แต่อย่าเอาข้อมูลที่ถกในที่ประชุมไปบิดเบือนสู่สังคมภายนอกจนทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของคณะกรรมการบอร์ด กสทช. เพราะหน้าที่ของบอร์ด กสทช.คือเป็นกรรมการไม่ใช่ทำหน้าที่ตรวจสอบ หากบอร์ดทำหน้าที่ตรวจสอบก็ต้องไปทำงานที่เกี่ยวกับผู้ตรวจสอบหรือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือออกไปเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.
** การแต่งตั้งซูเปอร์บอร์ด
หมอลี่: เป็นเรื่องที่ดีนะครับ..เพราะจะได้มีการตรวจสอบ แต่ปัญหาคือคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมานั้นมาจากกลุ่มไหนบ้าง ตรงนี้คือคำถาม
ดร.สุทธิพล: ผมก็ว่าดีนะครับ..แต่ตอนนี้การแต่งตั้งซูเปอร์บอร์ด กสทช.วุฒิสภาได้มีการชะลอแต่งตั้งออกไป ซึ่งการแต่งตั้งซูเปอร์บอร์ดนั้นทำหน้าที่ตรวจสอบคณะกรรมการได้โดยตรง และ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน ในขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการออกระเบียบหรือประกาศ ประมวลจริยธรรมของกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติในบอร์ดชุดนี้ โดยการประชุมในแต่ละครั้งคณะกรรมการทุกคนจะต้องเคารพในที่ประชุม
** หนักใจอะไรมากที่สุด
ดร.สุทธิพล : เรื่องวิธีการทำงาน ตอนแรกคิดว่าการทำงานทางด้านกฎหมายจะมีปัญหาแต่กลับไม่ใช่ในเรื่องนี้เพราะวิธีการทำงานเราสามารถเรียนรู้ได้ แต่เรื่องสำคัญที่สุด คือ "จิตมนุษย์ยากแท้หยั่งถึง" ซึ่งเรื่องนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากที่สุด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=162745:2013-01-08-07-14-
34&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: