Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 กุมภาพันธ์ 2556 โฆษณาตลาดสมาร์ทโฟน(ในไทย) ดุ !!! Samsungใช้งบ 319 ล้านบาท // Nokia 159 ล้านบาท (จับตา ราคา 3,000-4,500 จากฟีเจอร์โฟนเป็นสมาร์ทโฟน )


ประเด็นหลัก



ส่งให้ซัมซุงเป็นแชมป์ในการโฆษณาโดยใช้งบทั้งปีไปทั้งสิ้นราว 319 ล้านบาท ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ใช้งบไปถึง 91 ล้านบาทหรือประมาณ 35% ของงบทั้งปีเพื่อโปรโมต ซัมซุง สมาร์ทโฟน รุ่น S III ที่ตั้งใจออกมาต่อกรกับไอโฟน 5 ซึ่งจากแรงโปรโมต และทุ่มโฆษณาอย่างหนักก่อนไอโฟน 5 เปิดตัวทำให้ซัมซุง S III สามารถตีกันยอดขายของไอโฟน 5 ได้อย่างไม่ยากเย็น

    ที่น่าสนใจอีกแบรนด์ก็คือ Nokia ซึ่งก้าวเข้ามาสู่ตลาดสมาร์ทโฟนแบบเต็มตัว โดยใช้งบโฆษณาทั้งปี 2012 มาเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 159 ล้านบาท โดยแบ่งงบไปประมาณ 40% ในช่วง 6 เดือนแรกเพื่อ     โปรโมตโทรศัพท์ประเภทฟีเจอร์โฟนที่โนเกียถนัด และมาเริ่มโปรโมตหนักอีกครั้งด้วยงบ 60% กับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแบบวินโดว์สที่เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งโนเกียหวังว่าระบบนี้จะสามารถแข่งขันกับ OS และ Android แล้วช่วยทำให้โนเกียกลับเข้ามาสู่วงโคจรการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือได้อีกครั้ง


   บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 คือ แบล็คเบอร์รี่ ด้วยงบโฆษณารวม 44 ล้านบาท โดยสังเกตได้ว่าในเดือนสิงหาคม และกันยายนมีการใช้งบโฆษณาที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากการโปรโมตสมาร์ทโฟนที่เป็นจอทัชสกรีนรุ่นใหม่ ตามมาด้วย 2 สมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์จากจีน แบรนด์ OPPO ที่ใช้งบ  39 ล้านบาท และ I Mobile ซึ่งใช้ไปเกือบ 38 ล้านบาท เพื่อโปรโมตสมาร์ทโฟนรุ่นประหยัดแบบต่อเนื่อง

    อย่างไรก็ตามผู้สันทัดกรณีเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนมองว่า เมื่อมีการเปิดใช้ 3G อย่างเป็นทางการจะเป็นการกระตุ้นให้ตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตยิ่งขึ้น โดยสมาร์ทโฟนที่มีระดับราคาหลักพันบาทจะมีสัดส่วนมากที่สุดในแง่ยอดขาย โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยจีเอฟเคระบุว่า 80% ของโทรศัพท์มือถือที่จำหน่ายในไทยมีราคาต่ำกว่า 4,500 บาท ส่วนเทรนด์ที่น่าจับตามองคือ โทรศัพท์มือถือระดับราคา 3,000-4,500 บาท จะเปลี่ยนจากฟีเจอร์โฟนมาเป็น "แอฟฟอร์เดเบิล สมาร์ทโฟน" หรือสมาร์ทโฟนราคาถูกมากขึ้น



________________________________________



เจาะกลยุทธ์โฆษณาตลาดสมาร์ทโฟน






เพราะโทรศัพท์มือถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับคนไทยในยุคดิจิตอล แล้วยิ่งการก้าวเข้าสู่ยุค 3G ยิ่งทำให้ผู้คนต่างขวนขวายหาสมาร์ทโฟนมาใช้สักเครื่องเพื่อมาท่องอินเตอร์เน็ต อ่านอี-เมล์ เล่นเกมออนไลน์ เล่นหุ้น ฯลฯ

อีกทั้งการก้าวเข้ามาสู่ตลาดสมาร์ทโฟนของโนเกียซึ่งเป็นแบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยกันอย่างดีแบบเต็มตัว ต่างส่งผลให้ตลาดสมาร์ทโฟนของไทยเติบโตแบบรวดเร็ว ทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative จึงต้องขอตามกระแสนำข้อมูลมาแจกแจงให้ผู้อ่านคอลัมน์เห็นกันว่า แต่ละแบรนด์ทุ่มทุนโฆษณากันขนาดไหน และเล่นสื่อประเภทไหนกันบ้าง

    ตารางแรกเป็นการใช้งบโฆษณาโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2012 ที่ได้มาจาก เอซี นีลเส็น จะเห็นได้ว่า สมาร์ทโฟนสุดฮิตอย่าง Apple IPhone ซึ่งได้เปิดตัวไอโฟน 5 ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ไม่ได้ใช้งบประมาณในการโฆษณาใดๆ เลย นั่นเป็นเพราะความแข็งแกร่งของแบรนด์ อีกทั้งการสร้างกระแสของ Apple IPhone ที่สร้างมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงทำให้สาวกไอโฟนที่เป็นคนไทยต่างตั้งตารอ และติดตามข่าวคราวของผลิตภัณฑ์ใหม่จากค่ายนี้ปีละครั้งโดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ  โดยผู้ลงทุนโฆษณาให้ไอโฟนกลับเป็นผู้จำหน่ายหลักๆ และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่เกาะกระแสความฮิตของไอโฟน ในขณะที่โทรศัพท์มือถือจากเกาหลี ซัมซุง ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีหลากหลายราคา หลากหลายรุ่นจนจำกันไม่หวาดไม่ไหว และมีคู่แข่งอยู่รอบด้านจึงต้องทุ่มโฆษณาเพื่อรักษายอดขายทั้งในกลุ่มสมาร์ทโฟน และกลุ่มฟีเจอร์โฟน ส่งให้ซัมซุงเป็นแชมป์ในการโฆษณาโดยใช้งบทั้งปีไปทั้งสิ้นราว 319 ล้านบาท ซึ่งหากสังเกตจะเห็นว่าในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ใช้งบไปถึง 91 ล้านบาทหรือประมาณ 35% ของงบทั้งปีเพื่อโปรโมต ซัมซุง สมาร์ทโฟน รุ่น S III ที่ตั้งใจออกมาต่อกรกับไอโฟน 5 ซึ่งจากแรงโปรโมต และทุ่มโฆษณาอย่างหนักก่อนไอโฟน 5 เปิดตัวทำให้ซัมซุง S III สามารถตีกันยอดขายของไอโฟน 5 ได้อย่างไม่ยากเย็น

    ที่น่าสนใจอีกแบรนด์ก็คือ Nokia ซึ่งก้าวเข้ามาสู่ตลาดสมาร์ทโฟนแบบเต็มตัว โดยใช้งบโฆษณาทั้งปี 2012 มาเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 159 ล้านบาท โดยแบ่งงบไปประมาณ 40% ในช่วง 6 เดือนแรกเพื่อ     โปรโมตโทรศัพท์ประเภทฟีเจอร์โฟนที่โนเกียถนัด และมาเริ่มโปรโมตหนักอีกครั้งด้วยงบ 60% กับสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแบบวินโดว์สที่เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งโนเกียหวังว่าระบบนี้จะสามารถแข่งขันกับ OS และ Android แล้วช่วยทำให้โนเกียกลับเข้ามาสู่วงโคจรการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือได้อีกครั้ง


    บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 คือ แบล็คเบอร์รี่ ด้วยงบโฆษณารวม 44 ล้านบาท โดยสังเกตได้ว่าในเดือนสิงหาคม และกันยายนมีการใช้งบโฆษณาที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากการโปรโมตสมาร์ทโฟนที่เป็นจอทัชสกรีนรุ่นใหม่ ตามมาด้วย 2 สมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์จากจีน แบรนด์ OPPO ที่ใช้งบ  39 ล้านบาท และ I Mobile ซึ่งใช้ไปเกือบ 38 ล้านบาท เพื่อโปรโมตสมาร์ทโฟนรุ่นประหยัดแบบต่อเนื่อง





    เมื่อพิจารณาถึงการใช้สื่อโฆษณาแบบแยกประเภท ค่ายซัมซุงเน้นการใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลักด้วยสัดส่วนราว 64% หรือประมาณ 207 ล้านบาท ตามมาด้วยสื่อประเภท Outdoor ด้วยงบกว่า 40 ล้านบาท และอีก 33 ล้านบาทไปลงในสื่อหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังกระจายงบไปยังทุกๆ สื่ออีกด้วย โดยพิจารณาจากการลงทุนทางด้านสื่อทั้งหมดวิเคราะห์ได้ว่า ด้วยเหตุที่ ซัมซุง มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเจาะกลุ่มผู้บริโภคในทุกระดับจึงจำเป็นต้องกระจายสื่อให้ครอบคลุมที่สุด ส่วน โนเกีย เองก็เน้นการใช้สื่อโทรทัศน์เช่นกันโดยใช้เป็นสัดส่วน 66% หรือประมาณ 105 ล้านบาท เพื่อโปรโมตทั้งสมาร์ทโฟนรุ่นประหยัด และวินโดว์สโฟนที่ถือเป็นเรือธงของโนเกียในปีนี้ แต่ดูเหมือนว่าโนเกียจะเน้นการเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่น และวัยเริ่มทำงานมากกว่าแบรนด์อื่นๆ โดยสังเกตได้จากการทุ่มทุนไปลงสื่อฮอตฮิตสำหรับกลุ่มนี้คือ โรงภาพยนตร์ที่ใช้งบไปกว่า 33 ล้านบาท และอินเตอร์เน็ตอีกเกือบ 7 ล้านบาท ในขณะที่แบล็คเบอร์รี่ที่ใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 3 เน้นการใช้สื่อแมสโดยให้ความสำคัญกับสื่อโทรทัศน์เป็นหลักเช่นกันด้วยการเทงบกว่า 68% และตามมาด้วยสื่อเคลื่อนที่เป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วน 18%



    อย่างไรก็ตามผู้สันทัดกรณีเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนมองว่า เมื่อมีการเปิดใช้ 3G อย่างเป็นทางการจะเป็นการกระตุ้นให้ตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตยิ่งขึ้น โดยสมาร์ทโฟนที่มีระดับราคาหลักพันบาทจะมีสัดส่วนมากที่สุดในแง่ยอดขาย โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยจีเอฟเคระบุว่า 80% ของโทรศัพท์มือถือที่จำหน่ายในไทยมีราคาต่ำกว่า 4,500 บาท ส่วนเทรนด์ที่น่าจับตามองคือ โทรศัพท์มือถือระดับราคา 3,000-4,500 บาท จะเปลี่ยนจากฟีเจอร์โฟนมาเป็น "แอฟฟอร์เดเบิล สมาร์ทโฟน" หรือสมาร์ทโฟนราคาถูกมากขึ้น
    แต่ที่แน่ๆ ยิ่งสมาร์ทโฟนมีจำนวนมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีช่องทางในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคก็ยิ่งมีมากขึ้นตามไปด้วย แต่จะมีวิธีอย่างไรให้การโฆษณาเข้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างแยบยล และไม่กวนใจผู้บริโภคถือเป็นการบ้านที่นักการตลาด และนักสื่อโฆษณาต้องมานั่งขบคิดร่วมกัน

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=166563:2013-02-01-09-25-34&catid=106:-marketing&Itemid=456

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.