18 กุมภาพันธ์ 2556 ศึกชิงคลื่น 1800 +++ CAT แรงสุด ดึงการเมืองรัฐบาล!! อ้างสิทธิ์ พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 82-83-84 (อ้างบริหารจัดการออกไปอีก 2 ปี เพื่อดูแลลูกค้า)
ประเด็นหลัก
*** กสท ยื้อขอเจรจา
เรื่องของการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ราบรื่นเสียแล้วเพราะทาง แคท เองและทางฝ่ายการเมืองก็ไม่ต้องการให้คลื่นความถี่ตกไปอยู่กับ กสทช.เนื่องจากว่าเป็นขุมทรัพย์ก้อนโตของกลุ่มก๊วนการเมืองเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แคท เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือไปยัง กสทช. ขอใช้คลื่นความถี่ 1800 ต่อไปก่อนตามบทเฉพาะกาล มาตรา 82 ของพ.ร.บ.กสทช.เกี่ยวกับความจำเป็นในใช้คลื่น เพราะหากส่งคลื่นคืนไปยังสำนักงานกสทช.ทันที จะกระทบต่อลูกค้าที่ใช้โครงข่ายเดิมอย่างแน่นอน
แม้กสทช.จะยืนยันว่า เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดจะต้องโอนคืนคลื่นความถี่มายัง กสทช. เพื่อนำไปประมูลตามกฎหมายกำหนด แต่ กสทช. ก็ไม่ชัดเจนว่าจะเปิดประมูลเมื่อใด และจะเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการอยู่อย่างไร
*** พึ่งรัฐทวงสิทธิ์
ไม่เพียงเท่านี้ กิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติม เรื่องสัญญาสัมปทานหมดอายุนั้นคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีเรื่องของ กสทช. เข้ามาเกี่ยวเพราะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งนี้มาตรา 84 พ.ร.บ.กสทช. กำหนดไว้ว่า การคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. มีสิทธิ์กำหนดได้หนึ่งครั้งให้มีทางออกแก้ปัญหาสัมปทาน เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบ
นอกจากทาง แคท ได้ทำจดหมายไปยัง กสทช. อ้างสิทธิ์ พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 82-83-84 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลแนบท้ายซึ่งผู้เขียนร่างกฎหมายทราบเป็นอย่างดีว่าการคืนคลื่นกลับไปยัง กสทช.นั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะในปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 70 ล้านราย เพราะฉะนั้น แคท ยังได้สิทธิ์ในบริหารจัดการออกไปอีก 2 ปี เพื่อดูแลลูกค้า
"เราต้องชี้แจงเหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ต่อไป ตามระยะเวลาการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่จะสิ้นสุดในปี 2568 เพราะ กสท มีลูกค้าที่ใช้บริการที่ต้องดูแลมากกว่า 18 ล้านราย"
นอกจากนี้ แคท อ้าง พ.ร.บ.กสทช. ตามาตรา 82-83-84 ไม่เพียงเท่านี้ "กิตติศักดิ์" ยังประสานโดยตรงไปยัง นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เพื่อที่จะให้ประสานต่อไปยังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อนำคลื่นความถี่กลับมาบริหารซึ่ง แคท มีแผนการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับนโยบาย Smart Thailand ของกระทรวงไอซีที ที่ต้องการให้เครือข่ายบรอดแบนด์ครอบคลุมประชากร 80% ในปี 2558 อีกด้วย
ศึกเรื่องชิงคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ คงจะไม่จบง่าย ๆ และ จะกลายเป็นศึกสามเส้าระหว่าง กสทช.-แคท และ รัฐบาล เพราะคลื่นความถี่ถือได้ว่าเป็นขุมทรัพย์มหาศาลสำหรับกลุ่มก๊วนการเมือง
_____________________________________________
จับตาศึกชิงคลื่น1800แคทยื้อกทค.ลูกค้าระทึก!
มติบอร์ด กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) และ ในฐานะประธาน กทค. มีมติชัดเจนแล้วว่า บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท
ผู้ที่ครอบครองสัญญาสัมปทานในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต้องส่งคลื่นความถี่กลับมายังสำนักงาน กสทช.
เหตุผลก็เนื่องจากตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ต้องส่งคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ภายหลังจากบริษัทที่ได้รับสัญญาสัมปทานหมดอายุ
อย่างไรก็ตามคลื่นความถี่ดังกล่าวมีบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ที่เปิดให้บริการปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน 17 ล้านราย และ ดีพีซี อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสัญญาสัมปทานจะหมดอายุพร้อมกันวันที่ 16 กันยายนนี้ เมื่อคืนมาจะใช้เปิดประมูลใบอนุญาต โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ด้วยเทคโนโลยี LTE
ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยี LTE หรือ Long-Term Evolution เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูงเพื่อใช้กับอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน หรือเครื่องที่รองรับสัญญาณได้ โดยเทคโนโลยีนี้ออกมาเพื่อทลายข้อจำกัดความเร็วของเทคโนโลยีที่เราใช้อยู่ปัจจุบันอย่าง GSM/GPRS/EDGE หรือแม้กระทั่ง 3G ให้มีประสิทธิภาพในและความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก โดยมีความเร็วการรับข้อมูลสูงสุดที่ 100Mbps
*** ลั่นกด4จีปุ่มปี 57
ไม่เพียงเท่านี้ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการเปิดประมูลใบอนุญาต 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ได้กำหนดเปิดประมูลปลายปี 2557 โดยกลางปีนี้ จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์ประมูลคลื่นดังกล่าว
เนื่องจากคลื่นจำนวน 25 เมกะเฮิตรซ์ ที่ แคท ต้องส่งคืนให้ กสทช. แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือสลอตแรก 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของ ทรูมูฟ ช่วงที่ 2 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นตามสัญญาสัมปทานของดีแทค และช่วงที่ 3 จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของ ดีพีซี
***แบ่งคลื่น 5 สลอต
นอกจากนี้แล้ว กทค. เตรียมแผนการเปิดประมูล 4จี จำนวนคลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 4 สลอต สลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้มีสิทธิ์ได้ใบอนุญาตเพียง 2 ราย รายละ 10 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ส่วนที่เหลือข้างละ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ ไว้รอประมูลหลังสัมปทาน ดีแทค สิ้นสุดปี 2561 หรือจะเจรจากับดีแทค เพื่อนำคลื่นตามสิทธิ์ของดีแทคมาเปิดประมูลก่อน เพราะดีแทคไม่ได้ใช้คลื่นช่วงดังกล่าว
*** เตรียมแผนมาตรการเยียวยา
นอกจากนี้แล้ว กสทช. เตรียมแผนมาตรการเยียวยาลูกค้าภายหลังหมดอายุสัญญาสัมปทาน และ เรื่องบริการคงสิทธิเลขหมาย ต้องเตรียมการประชาสัมพันธ์เรื่องการโอนย้ายที่จะหมดสัญญาสัมปทาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกให้เสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดสัญญาสัมปทานที่จะหมดลง และระยะที่ 2 แจ้งให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค
นอกจากนี้ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เสนอแนะความคิดเห็นการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของการสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดย กสทช. ต้องมีมาตรการในการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการรักษาเลขหมายเดิม (number portability) โดยดำเนินการให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถของบริการโอนย้ายเลขหมายให้เพิ่มจากในปัจจุบันที่ 4,000 เลขหมายต่อวันเป็น 40,000 เลขหมายต่อวัน ตามศักยภาพของ clearing house เพื่อรองรับจำนวนลูกค้าของ ทรูมูฟ จำนวน 17 ล้านรายที่จะได้รับผลกระทบจากการโอนย้าย (หากโอนย้ายได้วันละ 40,000 เลขหมายจะยังคงใช้เวลา 425 วัน) ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อแจ้งให้ทราบและให้แสดงเจตจำนงในการย้ายเครือข่าย
*** กสท ยื้อขอเจรจา
เรื่องของการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่ราบรื่นเสียแล้วเพราะทาง แคท เองและทางฝ่ายการเมืองก็ไม่ต้องการให้คลื่นความถี่ตกไปอยู่กับ กสทช.เนื่องจากว่าเป็นขุมทรัพย์ก้อนโตของกลุ่มก๊วนการเมืองเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แคท เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือไปยัง กสทช. ขอใช้คลื่นความถี่ 1800 ต่อไปก่อนตามบทเฉพาะกาล มาตรา 82 ของพ.ร.บ.กสทช.เกี่ยวกับความจำเป็นในใช้คลื่น เพราะหากส่งคลื่นคืนไปยังสำนักงานกสทช.ทันที จะกระทบต่อลูกค้าที่ใช้โครงข่ายเดิมอย่างแน่นอน
แม้กสทช.จะยืนยันว่า เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดจะต้องโอนคืนคลื่นความถี่มายัง กสทช. เพื่อนำไปประมูลตามกฎหมายกำหนด แต่ กสทช. ก็ไม่ชัดเจนว่าจะเปิดประมูลเมื่อใด และจะเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการอยู่อย่างไร
*** พึ่งรัฐทวงสิทธิ์
ไม่เพียงเท่านี้ กิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติม เรื่องสัญญาสัมปทานหมดอายุนั้นคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีเรื่องของ กสทช. เข้ามาเกี่ยวเพราะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งนี้มาตรา 84 พ.ร.บ.กสทช. กำหนดไว้ว่า การคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. มีสิทธิ์กำหนดได้หนึ่งครั้งให้มีทางออกแก้ปัญหาสัมปทาน เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบ
นอกจากทาง แคท ได้ทำจดหมายไปยัง กสทช. อ้างสิทธิ์ พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 82-83-84 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลแนบท้ายซึ่งผู้เขียนร่างกฎหมายทราบเป็นอย่างดีว่าการคืนคลื่นกลับไปยัง กสทช.นั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะในปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 70 ล้านราย เพราะฉะนั้น แคท ยังได้สิทธิ์ในบริหารจัดการออกไปอีก 2 ปี เพื่อดูแลลูกค้า
"เราต้องชี้แจงเหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ต่อไป ตามระยะเวลาการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่จะสิ้นสุดในปี 2568 เพราะ กสท มีลูกค้าที่ใช้บริการที่ต้องดูแลมากกว่า 18 ล้านราย"
นอกจากนี้ แคท อ้าง พ.ร.บ.กสทช. ตามาตรา 82-83-84 ไม่เพียงเท่านี้ "กิตติศักดิ์" ยังประสานโดยตรงไปยัง นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เพื่อที่จะให้ประสานต่อไปยังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อนำคลื่นความถี่กลับมาบริหารซึ่ง แคท มีแผนการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับนโยบาย Smart Thailand ของกระทรวงไอซีที ที่ต้องการให้เครือข่ายบรอดแบนด์ครอบคลุมประชากร 80% ในปี 2558 อีกด้วย
ศึกเรื่องชิงคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ คงจะไม่จบง่าย ๆ และ จะกลายเป็นศึกสามเส้าระหว่าง กสทช.-แคท และ รัฐบาล เพราะคลื่นความถี่ถือได้ว่าเป็นขุมทรัพย์มหาศาลสำหรับกลุ่มก๊วนการเมือง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=169041:1800&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: