Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2556 ยอดขายสมาร์ทโฟนจะแซงหน้าฟีเจอร์โฟน ไตรมาสแรก ( ตึงโตกระโดด 40% ในทุกไตรมาส )


 ประเด็นหลัก



โดยข้อมูลจาก "การ์ทเนอร์" บ่งชี้ว่า ยอดขายโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะแซงหน้าฟีเจอร์โฟนในไตรมาสแรกปี 2556 นี้ ขณะที่การเติบโตของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอสจะทำให้แบล็คเบอร์รี่และวินโดวส์โฟนต้องแข่งกันเพื่อแย่งตำแหน่งเบอร์ 3 ในตลาด ซึ่งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ทิ้งห่างอยู่หลายช่วงตัว "การ์ทเนอร์" บริษัทวิจัยตลาดชื่อดังเปิดเผยผลสำรวจล่าสุดว่า สมาร์ทโฟนจะกินส่วนแบ่งยอดส่งโทรศัพท์มือถือทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยข้อมูลที่เก็บในไตรมาสสุดท้ายของ

ปี 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ายอดส่งสมาร์ทโฟนทุบสถิติเดิมด้วยการกินสัดส่วนจากยอดส่งโทรศัพท์มือถือทั่วโลกที่มีจำนวน 472 ล้านเครื่อง มากถึงกว่า 44%

ปัจจัยจากเรื่องจำนวนสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 40% ในทุกไตรมาส หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ผนวกกับจำนวนยอดส่งโทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนที่ลดลงประมาณ 20% ในทุกไตรมาส

ส่งผลให้ยอดส่งสมาร์ทโฟนจะแซงหน้าฟีเจอร์โฟนด้วยจำนวน 286 ล้านเครื่อง/211 ล้านเครื่อง ภายในไตรมาสแรกปีนี้

สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัทคานาลิส อีกบริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดระบุว่า สมาร์ทโฟนกินสัดส่วนยอดส่งโทรศัพท์มือถือในประเทศจีนมากถึง 73% ในไตรมาสไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว และในจำนวนยอดส่งสมาร์ทโฟนทั้งหมด คิดเป็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถึง 90% บางเครื่องใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ไม่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล

ข้อมูลจากบริษัทวิจัย "สตราติจี้ อะนาไลติคส์" ระบุว่า แอปเปิลยังเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 โดยครองส่วนแบ่งตลาด 34% มียอดขาย 17.7 ล้านเครื่อง ส่วนซัมซุงครองส่วนแบ่งตลาด 32% ด้วยยอดขาย 16.8 ล้านเครื่อง














______________________________



ตลาดโทรศัพท์มือถือโลก เกมพลิก "สมาร์ทโฟน" แซง "ฟีเจอร์โฟน"


ถึงแม้ในปัจจุบันโทรศัพท์กึ่งคอมพิวเตอร์อย่าง "สมาร์ทโฟน" จะเติบโตก้าวกระโดดอย่างมาก แต่ในภาพรวมโทรศัพท์มือถือธรรมดา ๆ หรือที่เรียกว่า "ฟีเจอร์โฟน" ยังคงกินส่วนแบ่งตลาดมากกว่าอยู่ดีในแง่จำนวนเครื่อง เพราะระดับราคาย่อมเยาจึงเข้าถึงคนจำนวนมากได้

อย่างไรก็ตามไม่แน่ว่าตลาดรวมโทรศัพท์มือถือทั่วโลกกำลังถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในปีนี้ ด้วยว่าบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่หลายรายต่างออกมาคาดการณ์ว่าสมาร์ทโฟนมีโอกาสแซงหน้าฟีเจอร์โฟนในแง่ยอดขายก็เป็นได้



สำนักข่าวเดอะการ์เดี้ยนรายงานผลสำรวจ และวิเคราะห์ตลาดโทรศัพท์มือถือทั่วโลกของบริษัทวิจัยรายใหญ่ที่ระบุว่า แอปเปิลและซัมซุงจะเป็นเจ้าตลาดโทรศัพท์มือถือโลกในที่สุด เนื่องจากยอดขายฟีเจอร์โฟนจะมีจำนวนน้อยกว่าสมาร์ทโฟนภายในปีนี้อย่างแน่นอน

โดยข้อมูลจาก "การ์ทเนอร์" บ่งชี้ว่า ยอดขายโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะแซงหน้าฟีเจอร์โฟนในไตรมาสแรกปี 2556 นี้ ขณะที่การเติบโตของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอสจะทำให้แบล็คเบอร์รี่และวินโดวส์โฟนต้องแข่งกันเพื่อแย่งตำแหน่งเบอร์ 3 ในตลาด ซึ่งเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ทิ้งห่างอยู่หลายช่วงตัว "การ์ทเนอร์" บริษัทวิจัยตลาดชื่อดังเปิดเผยผลสำรวจล่าสุดว่า สมาร์ทโฟนจะกินส่วนแบ่งยอดส่งโทรศัพท์มือถือทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยข้อมูลที่เก็บในไตรมาสสุดท้ายของ

ปี 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ายอดส่งสมาร์ทโฟนทุบสถิติเดิมด้วยการกินสัดส่วนจากยอดส่งโทรศัพท์มือถือทั่วโลกที่มีจำนวน 472 ล้านเครื่อง มากถึงกว่า 44%

ปัจจัยจากเรื่องจำนวนสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 40% ในทุกไตรมาส หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ผนวกกับจำนวนยอดส่งโทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนที่ลดลงประมาณ 20% ในทุกไตรมาส

ส่งผลให้ยอดส่งสมาร์ทโฟนจะแซงหน้าฟีเจอร์โฟนด้วยจำนวน 286 ล้านเครื่อง/211 ล้านเครื่อง ภายในไตรมาสแรกปีนี้

สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัทคานาลิส อีกบริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดระบุว่า สมาร์ทโฟนกินสัดส่วนยอดส่งโทรศัพท์มือถือในประเทศจีนมากถึง 73% ในไตรมาสไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว และในจำนวนยอดส่งสมาร์ทโฟนทั้งหมด คิดเป็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถึง 90% บางเครื่องใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ไม่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล

ส่วน "ไอโฟน" ของยักษ์แอปเปิลยังเป็นผู้นำในตลาดสหรัฐอเมริกา เนื่องจากระบบการจัดการต้นทุนของโอเปอเรเตอร์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ไม่ได้มีราคาถูกกว่าไอโฟนแบบผูกสัญญาการให้บริการเสมอไป

ข้อมูลจากบริษัทวิจัย "สตราติจี้ อะนาไลติคส์" ระบุว่า แอปเปิลยังเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 โดยครองส่วนแบ่งตลาด 34% มียอดขาย 17.7 ล้านเครื่อง ส่วนซัมซุงครองส่วนแบ่งตลาด 32% ด้วยยอดขาย 16.8 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม ซัมซุงถือเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนระดับโลก (ในแง่ยอดส่งสินค้า) ด้วยยอดส่งสินค้าทั้งหมดประมาณ 107 ล้านเครื่องทั่วโลกในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่งสมาร์ทโฟนประมาณ 64 ล้านเครื่อง มี "โนเกีย" ยังคงยืนตำแหน่งอันดับ 2 หากนับจากยอดส่งโทรศัพท์มือถือทั่วโลก โดยมีจำนวนอยู่ที่ 85 ล้านเครื่อง ส่วนแอปเปิลตามมาเป็นอันดับ 3 ด้วยยอดส่งสินค้า 43.4 ล้านเครื่อง

"การ์ทเนอร์" ให้ข้อมูลว่า หากนับเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาจะพบว่า แอปเปิลและซัมซุงครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่า 52% เพิ่มขึ้นจาก 46.4% ในไตรมาสที่ 3

นอกจากนี้สงครามการแย่งกันเป็นแบรนด์อันดับที่ 3 ในตลาดสมาร์ทโฟน ก็ดุเดือดและผลัดกันหายใจรดต้นคออีกฝ่ายหนึ่งเลยทีเดียว

โดย "แบล็คเบอร์รี่" และ "วินโดวส์โฟน" ของไมโครซอฟท์ มีส่วนแบ่งตลาดต่างกันเพียงครึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้นในช่วงไตรมาสที่ 4

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าแบรนด์ผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนทั้งสองยังไม่มีปัจจัยให้กังวลมากนัก หากดูจากผลสำรวจสัดส่วนของระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน โดยสินค้าที่มีการจัดส่งในไตรมาส 4 ปี 2555 กว่า 90% ขับเคลื่อนโดยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิลและไอโอเอสของแอปเปิล ในขณะที่ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี่มีสัดส่วนแค่ 3.5% และระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีสัดส่วนอยู่ที่ 3.0%

นอกจากนี้หากเทียบจากยอดส่งสินค้าทั่วโลกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 จะพบว่าโทรศัพท์แบล็คเบอร์รี่ทำยอดได้ประมาณ 7.3 ล้านเครื่อง ส่วนโทรศัพท์วินโดวส์โฟนทำยอดได้ประมาณ 6.2 ล้านเครื่อง ซึ่งยังห่างจากยอดส่งสินค้าไอโฟนที่ทำได้ 43.4 ล้านเครื่อง และแอนดรอยด์ที่ทำได้ 144.7 ล้านเครื่องมากนัก เฉพาะโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กินสัดส่วนยอดการส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ถึง 70% ในจำนวนนี้น่าจะเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์ "ซัมซุง" ถึง 62 ล้านเครื่อง

นั่นหมายความว่า ซัมซุงมีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เกือบกึ่งหนึ่งจากยอดส่งสินค้าทั่วโลก ซึ่งบ่งชี้ว่าบริษัทผู้ผลิตสินค้าไอทีสัญชาติเกาหลีใต้รายนี้จะมีบทบาทมากขึ้นในตลาดแอนดรอยด์ นอกจากการเป็นเจ้าตลาดแล้วยังเป็นผู้กำหนดทิศทางของตลาดแอนดรอยด์สมาร์ทโฟนต่อจากนี้ด้วย

"แอนชุล กุปตา" นักวิเคราะห์จากการ์ทเนอร์ กล่าวถึงภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปีนี้ว่า ปี 2556 จะเป็นปีที่เกิดระบบนิเวศในอุตสาหกรรมลำดับที่ 3 ขึ้นในตลาด เนื่องจากการต่อสู้ระหว่างระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี่ 10 ล่าสุด และระบบปฏิบัติการวินโดวส์สำหรับโทรศัพท์มือถือจะยิ่งรุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ในเวลาที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกำลังได้รับแรงกดดันจากการที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ระบบปฏิบัติการทางเลือกอย่างเช่น ไทเซน, ไฟร์ฟอกซ์, อูบันตู และโจลล่า จะใช้เรื่องนี้เป็นโอกาสด้วยการวางจุดยืนตัวเองให้เป็นตัวเลือกอื่นที่สามารถทำกำไรได้

"เดอะ การ์เดี้ยน" ยังมองด้วยว่า ความท้าทายของโอเปอเรเตอร์หลายรายต่อจากนี้ คือการหาซัพพลายเออร์โทรศัพท์มือถือและซอฟต์แวร์ที่สามารถทำให้พวกเขามีจุดยืนแตกต่างไปจากบรรดาโอเปอเรเตอร์ค่ายคู่แข่งที่ต่างก็นำเสนอสายผลิตภัณฑ์โทรศัพท์แบบเดียวกัน

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361431997&grpid=&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.