22 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เริ่ดๆๆ เล็งเซ็ต Set-top-Box เพื่อผู้พิการ-ผู้สูงอายุ ( การออกแบบ การมีตัววิ่งเพิ่ม )
ประเด็นหลัก
โดยภาพรวมแบ่งออกได้ 5 ด้าน ได้แก่
1. การกำหนดมาตราการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้คนพิการ คนสูงอายุ หรือ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงรับรู้ และใช้ประโยชน์
2. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาค เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
3. การส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์จัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
4. การพัฒนาศักยภาพคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสให้มีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้
5. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
“เรื่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ในวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการลองพิจารณา เรื่องการออกแบบ การมีตัววิ่งเพิ่ม มีเสียงบรรยาย บริการสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ และยังรวมไปถึงเพื่อการเตือนภัยพิบัติ ในอนาคตด้วย” นางสาวสุภิญญา กล่าว
“ในปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน 1.2 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีระบบรองรับเพื่อให้คนพิการเข้าถึงทีวี ดิจิตอล เพราะเป็นการเปลี่ยนของโทรทัศน์ของไทยครั้งสำคัญจากระบบอนาลอคสู่ดิจิตอล และในปัจจุบันมีสื่อที่เสนอให้แก่คนพิการน้อย แตกต่างจากต่างประเทศ ทั้งสหรัฐ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ก็มีโทรทัศน์รองรับคนพิการไว้ทั้งหมด”
_____________________________
กสทช. เล็งเซ็ต Set-top-Box เพื่อผู้พิการ-ผู้สูงอายุ
“สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. เล็งเพิ่มเทคโนโลยีแบบมีตัววิ่ง-เสียงบรรยาย ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์ รองรับการเข้าชมของผู้พิการ และผู้สูงอายุ ย้ำผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มต้นทุนมาก เพราะแค่เพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ตแวร์เดิม ขณะที่เตรียมเปิดเวทีฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการกลุ่มย่อยวันที่ 27 ก.พ. ก่อนชงเข้าบอร์ด กสท. 4 มี.ค.นี้...
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการคระกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วานนี้ (21 ก.พ.) สำนักงาน กสทช. ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง)แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาศในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งตนเป็นประธาน โดยภาพรวมแบ่งออกได้ 5 ด้าน ได้แก่ 1. การกำหนดมาตราการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้คนพิการ คนสูงอายุ หรือ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงรับรู้ และใช้ประโยชน์ 2. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาค เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 3. การส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์จัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 4. การพัฒนาศักยภาพคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสให้มีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ 5. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอต่อผู้ประกอบการให้จัดแบ่งสัดส่วนรายการต่างๆ อย่างเหมาะสม และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาและบริการที่ให้ความรู้และสามารถตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ชม เช่น มีการพัฒนาอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ เซ็ตท็อปบ็อกซ์ (Set-top box) สำหรับทุกบริการ โดยให้สามารถรองรับบริการต่างๆ สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสได้ รวมทั้งให้มี ฮาร์ดดิส เพื่อเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง หรือปรับบริการคำบรรยายใต้ภาพให้ช้าหรือเร็วตามความต้องการของผู้ใช้บริการ อีกทั้งมาตรฐานทางด้านเนื้อหาและบริการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงสำหรับกลุ่มคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ก่อนที่จะเปิดให้ผู้ผลิตจำหน่าย และผู้ประกอบการนำเข้า
“เรื่องเซ็ตท็อบบ็อกซ์ในวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการลองพิจารณา เรื่องการออกแบบ การมีตัววิ่งเพิ่ม มีเสียงบรรยาย บริการสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ และยังรวมไปถึงเพื่อการเตือนภัยพิบัติ ในอนาคตด้วย” นางสาวสุภิญญา กล่าว
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การเพิ่มเทคโนโลยีประเภทตัววิ่ง และเสียงบรรยายเข้าไป ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์เข้าไป สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก เพราะเป็นการเพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ดแวร์เดิม ซึ่งในทางเทคนิคไม่เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวการประชุมกลุ่มย่อย เรื่องเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในวันที่ 27 ก.พ. 2556 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท. เพื่อพิจารณาในวันที่ 4 มี.ค.นี้
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้พิการในประเทศไทยที่ลงทะเบียนจำนวน 1.2 ล้านคน แยกออกมาจากกลุ่มผู้ที่มีความพิการ ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเป็นระบบดิจิตอลครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญ ซึ่งจะส่งเสริมให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้ พร้อมทั้งผลักดันให้มีโทรทัศน์สาธารณะที่บริการคนพิการทุกประเภท
ต่อข้อถามถึงการมีช่องสำหรับผู้พิการ ของช่องบริการสาธารณะจำนวน 12 ช่องนั้น นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องมีคนมาขอ นอกจากนี้ ยังต้องคุยถึงเรื่องแนวทาง และต้องดูว่าใครเป็นคนที่จะมาขอ และใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากมีเสนอเข้ามา กสทช.ก็ต้องพิจารณา ขณะที่ ในต่างประเทศมีช่องสำหรับผู้พิการเฉพาะในระบบทีวีดาวเทียม แต่ฟรีทีวียังเข้าไม่ถึง.
http://www.thairath.co.th/content/tech/328347
__________________________________
กสทช.เปิดช่องทีวีเพื่อคนด้อยโอกาส
เสนอเปิดช่องสาธารณะ 1 ช่องให้คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาส 1.2 ล้านคน ชมทีวี ดิจิตอลเท่าเทียม
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า อยากเสนอให้มีการทำทีวี ดิจิตอล ช่องสาธารณะ 1 ช่อง ที่มีเนื้อหารายการ รูปแบบรายการ เพื่อคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสในสังคม สามารถรับชมทีวี ดิจิตอล ได้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งในปัจจุบันไม่มีผู้ประกอบการรายใดสนใจเรื่องนี้
ขณะเดียวกันอยากเสนอให้ผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตโทรทัศน์ ดิจิตอล กล่องรับสัญญาณ (เซต ท็อป บอกซ์) หรือผู้ประกอบการโทรทัศน์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาส รับชมทีวีดิจิตอลได้ ทั้งบริการเสียงบรรยายภาพ บรรยายใต้ภาพ และจอล่าม หรือมีรายการ ส่วนต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตกล่อง เซต ท็อป บอกซ์ จะสูงขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากเป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับภายใน
ทั้งนี้จะเสนอแนวทางดังกล่าวไปยัง คณะกรรมการ กสท.พิจารณาต่อไป รวมทั้งจะเสนอไปยังการประชุมกลุ่มย่อย (อินดัส ตรี้ ฟอรั่ม) เรื่องเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เพื่อให้ผู้ผลิตกล่องเซต ทอป บ็อกซ์ และผู้ผลิตโทรทัศน์ มีระบบรองรับให้คนกลุ่มคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาส
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ ยูโซ กล่าวว่า อยากเสนอให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ และผู้ผลิตกล่องเซต ท็อป บอกซ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับกลุ่มคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงทีวี ดิจิตอล โดยหากผู้ประกอบการรายใดสนใจทำระบบดังกล่าว กองทุนฯ ก็จะเสนอสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจ ให้สามารถลดหย่อนค่าธรรมเนียมได้ด้วย
“ในปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน 1.2 ล้านคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีระบบรองรับเพื่อให้คนพิการเข้าถึงทีวี ดิจิตอล เพราะเป็นการเปลี่ยนของโทรทัศน์ของไทยครั้งสำคัญจากระบบอนาลอคสู่ดิจิตอล และในปัจจุบันมีสื่อที่เสนอให้แก่คนพิการน้อย แตกต่างจากต่างประเทศ ทั้งสหรัฐ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ก็มีโทรทัศน์รองรับคนพิการไว้ทั้งหมด”
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B
8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/206412/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%
B8%8A-
%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B
8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%
E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8
%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA
ไม่มีความคิดเห็น: