Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กุมภาพันธ์ 2556 CAT อ้างความมั่นคงของชาติ(ตัดสินใจยื่นICTยึดคลื่น1800ถึงปี68)เดินหน้าประมูล4Gพร้อมโอนย้านลูกค้า17ล้านคนที่หมดสป.ไปสู่MY(คลื่น3G850)


ประเด็นหลัก



นาวาอากาศโทสมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27กุมภาพันธ์2556ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการของ CATในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่นความถี่1800 MHz โดยยังคงยืนยันสิทธิในการขอปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อดูแลลูกค้าบนเครือข่ายทรูมูฟและดีพีซี ให้สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่องภายหลังการหมดสัมปทานในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ระยะเวลาที่ขอขยายพิจารณาจากจำนวนลูกค้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยในส่วนของทรูมูฟซึ่งมีลูกค้าถึง17ล้านเลขหมาย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2568ขณะที่ส่วนของดีพีซีซึ่งมีลูกค้า80,000ราย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2559

นอกจากการรองรับลูกค้าแล้ว คณะกรรมการฯ ยังมองว่าคลื่น1800 MHzกำลังเป็นที่สนใจเพราะในระยะยาวคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่จะรองรับการสื่อสารของประชาชนจำนวนมาก การจะปล่อยให้คลื่นถูกนำไปประมูลโดยเอกชนทั้งหมด หากเกิดภาวะฉุกเฉินแล้วไม่มีหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องในจุดที่บริหารจัดการได้ อาจเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นหาก CATซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้สิทธิ์ในการปรับปรุงคลื่นความถี่จะสามารถมุ่งเน้นการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีความพร้อมในการตอบสนองนโยบายรัฐทั้งด้านสังคม ความมั่นคง ตลอดจนการให้บริการประชาชน

“อีกประการหนึ่งคือCATยังได้ลงทุนอินฟราสตรักเจอร์บนคลื่น1800 MHz เป็นเงินของรัฐหลายหมื่นล้านบาทที่มาจากเงินภาษีของประชาชน คลื่นความถี่ 1800จึงถือเป็นสมบัติของชาติและการใช้งานควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ขณะนี้ปัญหาสัมปทานคลื่นความถี่ที่กำลังจะทยอยหมดสัมปทานทั้งของCATและTOTจึงไม่ใช่เรื่องระหว่างหน่วยงานเท่านั้น แต่ถือเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติที่รัฐบาลควรให้ความใส่ใจ ซึ่งการดำเนินการต่อไปCATจะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเพื่อขอความสนับสนุนจากกระทรวงฯ ในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่น1800โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ”

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ ได้พิจารณามาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับลูกค้าในกรณีที่CATไม่ได้รับสิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ โดยมีแนวทางที่จะโอนย้ายลูกค้าทรูมูฟทั้ง17ล้านเลขหมายไปยังโครงข่ายHSPAบนคลื่น850 MHzของCATภายใต้แบรนด์“มาย” ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิคที่จะต้องพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมองถึงมาตรการระยะยาว เช่น การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่4Gเป็นต้น



     อนึ่งก่อนหน้านี้ นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับ แคท นั้นได้เตรียมแผนพลิกฟื้นธุรกิจภายใต้สัญญาสัมปทานหมดอายุในปี 2556 ด้วยการจัดตั้งบริษัท Tower Co จำกัด ด้วยการนำเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้รับสัมปทานส่งมอบจำนวน 1หมื่น สถานี เข้ามาเช่าใช้และให้เอกชนเข้ามาทำการตลาดและขายในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มทรูมูฟ เอช












_______________________


CAT ชี้แจงเหตุเดินหน้าขอขยายเวลาคลื่น1800 MHz

วานนี้(27กุมภาพันธ์2556)เวลา18.00น. บอร์ดCATมีมติเห็นชอบให้เดินหน้าแผนการขอขยายเวลาบริหารคลื่น1800 MHz พร้อมชงเรื่องสู่ประเด็นระดับชาติหวังพึ่งแรงหนุนจากกระทรวงไอซีทีโดยยึดเหตุผลความมั่นคงและผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

นาวาอากาศโทสมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27กุมภาพันธ์2556ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการของ CATในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่นความถี่1800 MHz โดยยังคงยืนยันสิทธิในการขอปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อดูแลลูกค้าบนเครือข่ายทรูมูฟและดีพีซี ให้สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่องภายหลังการหมดสัมปทานในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ระยะเวลาที่ขอขยายพิจารณาจากจำนวนลูกค้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยในส่วนของทรูมูฟซึ่งมีลูกค้าถึง17ล้านเลขหมาย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2568ขณะที่ส่วนของดีพีซีซึ่งมีลูกค้า80,000ราย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2559

นอกจากการรองรับลูกค้าแล้ว คณะกรรมการฯ ยังมองว่าคลื่น1800 MHzกำลังเป็นที่สนใจเพราะในระยะยาวคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่จะรองรับการสื่อสารของประชาชนจำนวนมาก การจะปล่อยให้คลื่นถูกนำไปประมูลโดยเอกชนทั้งหมด หากเกิดภาวะฉุกเฉินแล้วไม่มีหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องในจุดที่บริหารจัดการได้ อาจเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นหาก CATซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้สิทธิ์ในการปรับปรุงคลื่นความถี่จะสามารถมุ่งเน้นการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีความพร้อมในการตอบสนองนโยบายรัฐทั้งด้านสังคม ความมั่นคง ตลอดจนการให้บริการประชาชน

“อีกประการหนึ่งคือCATยังได้ลงทุนอินฟราสตรักเจอร์บนคลื่น1800 MHz เป็นเงินของรัฐหลายหมื่นล้านบาทที่มาจากเงินภาษีของประชาชน คลื่นความถี่ 1800จึงถือเป็นสมบัติของชาติและการใช้งานควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ขณะนี้ปัญหาสัมปทานคลื่นความถี่ที่กำลังจะทยอยหมดสัมปทานทั้งของCATและTOTจึงไม่ใช่เรื่องระหว่างหน่วยงานเท่านั้น แต่ถือเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติที่รัฐบาลควรให้ความใส่ใจ ซึ่งการดำเนินการต่อไปCATจะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเพื่อขอความสนับสนุนจากกระทรวงฯ ในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่น1800โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ”

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ ได้พิจารณามาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับลูกค้าในกรณีที่CATไม่ได้รับสิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ โดยมีแนวทางที่จะโอนย้ายลูกค้าทรูมูฟทั้ง17ล้านเลขหมายไปยังโครงข่ายHSPAบนคลื่น850 MHzของCATภายใต้แบรนด์“มาย” ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิคที่จะต้องพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมองถึงมาตรการระยะยาว เช่น การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่4Gเป็นต้น


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171449:cat-1800-mhz&catid=176:2009-06-
25-09-26-02&Itemid=524


________________________________________________-


'ทีโอที'จับมือแคทลุยสร้างโครงข่าย

"ทีโอที-แคท" ปักธงเป็นผู้สร้างโครงข่าย  ด้านการตลาดมือถือผ่องถ่ายให้เอกชนที่สนใจเข้ามาบริหารแทน ล่าสุด ทีโอที  ให้ "สามารถ" ตัวแทนจำหน่ายในเฟสสอง ขณะที่ "แคท" เตรียมแผนเพิ่มเอกชนเข้ามาทำตลาดเช่นกัน

    นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.)  กล่าวว่า ฝ่ายบริหารบมจ.ทีโอทีได้สรุปรายละเอียดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้าร่วมทำตลาดบนบริการขายต่อและขายส่งในโครงข่ายเสมือน  (เอ็มวีเอ็นโอ) โดยได้สรุปให้บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)(บมจ.)  ผู้ทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอได้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งรอเพียงแก้ไขถ้อยคำและรายละเอียดเล็กน้อย ซึ่งสามารถ ไอ-โมบายยอมลดส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับลงจากเดิมที่สัญญาระบุไว้ในอัตรา 60% เป็นของเอกชน และ 40% เป็นของทีโอที แต่บอร์ดได้ปรับให้มีการแก้ไขซึ่งล่าสุดสรุปแล้วเป็นเอกชนในอัตรา 55% และทีโอที 45%
    ทั้งนี้ เอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าทำตลาดผ่านช่องทางการขาย 10% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ดังนั้นเอกชนจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ 38% และทีโอที ได้รับ 45% ซึ่ง บมจ.สามารถ ไอ-โมบาย   รับข้อเสนอในเรื่องนี้แล้ว และ คาดว่าจะลงนามได้ในเดือนมีนาคมนี้
    นายยงยุทธ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า อย่างไรก็ตามในช่วงรอยต่อของ 3 จี ทีโอทีระยะ (เฟส)  1 จำนวน 5,320 สถานีฐานซึ่งจะครบจำนวนสถานีฐานในเดือนมีนาคมนี้ด้วย ดังนั้น บมจ. ทีโอที จะใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์สำหรับทดสอบเทคโนโลยีแอลทีอี หรือ 4 จี จำนวน 100 สถานีฐาน ซึ่งจะเป็นช่วงรอยต่อก่อนที่จะร่างสัญญา 3 จี เฟสที่ 2 จำนวน 1หมื่น - 1.5หมื่นแห่ง โดยในเฟส 2 กำลังอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาเป็นผู้เขียนรายละเอียด  และแนวทางการทำตลาดก่อน รวมทั้งงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการด้วย
    นอกจากนี้ บมจ.ทีโอทีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ.)หรือแคท ในการใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอที 3 จี และ มาย ของบมจ.กสท ซึ่งเบื้องต้นจะมีการทำสัญญากันปีต่อปี มีคาปาซิตีสามารถโรมมิ่งกันทั้งขาไปและกลับไป 4 แสนเลขหมาย คิดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายนาทีละ 0.50 บาท
    สำหรับลูกค้าบมจ.ทีโอที 3 จี ที่ปัจจุบันมีอยู่ 2.2 แสนราย ก็สามารถโรมมิ่งใช้ดาต้าของบมจ.กสทได้ และลูกค้ามายของบมจ.กสท ก็สามารถโรมมิ่งมาใช้บริการเสียง (วอยซ์) และดาต้าได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจากเอ็มโอยูดังกล่าวจะทำให้ทีโอทีมีโครงข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 หมื่นแห่ง แบ่งเป็นของทีโอทีจำนวน 5 พันสถานี และ แคท จำนวน 7 พันสถานีฐาน
     อนึ่งก่อนหน้านี้ นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับ แคท นั้นได้เตรียมแผนพลิกฟื้นธุรกิจภายใต้สัญญาสัมปทานหมดอายุในปี 2556 ด้วยการจัดตั้งบริษัท Tower Co จำกัด ด้วยการนำเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้รับสัมปทานส่งมอบจำนวน 1หมื่น สถานี เข้ามาเช่าใช้และให้เอกชนเข้ามาทำการตลาดและขายในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มทรูมูฟ เอช

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171038:2013-02-26-11-03-
36&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

_________________________________



CATเล่นแง่ดึงคืนคลื่น1800 ขอไอซีทีหนุนหลังยืด12ปี ลูกจ้างกสทช.ขอปรับสถานะ



  บอร์ด CAT มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าแผนการขอขยายเวลาบริหารคลื่น 1800 MHz หวังกระทรวงไอซีทีหนุนให้บริการต่อ พนักงานยื่นหนังสือถึงบอร์ด กสทช. เรียกร้องปรับพนักงานเป็นลูกจ้าง
    นาวาอากาศโทสมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ บมจ. กสท โทรคมนาคม หรือ CAT เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการของ CAT ในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz โดยยังคงยืนยันสิทธิในการขอปรับปรุงคลื่นความถี่ เพื่อดูแลลูกค้าบนเครือข่ายทรูมูฟและดีพีซีให้สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการหมดสัมปทานในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ขอขยายพิจารณาจากจำนวนลูกค้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยในส่วนของทรูมูฟซึ่งมีลูกค้าถึง 17 ล้านเลขหมาย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2568 ขณะที่ส่วนของดีพีซีซึ่งมีลูกค้า 80,000ราย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2559
    การจะปล่อยให้คลื่นถูกนำไปประมูลโดยเอกชนทั้งหมด หากเกิดภาวะฉุกเฉินแล้วไม่มีหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องในจุดที่บริหารจัดการได้ อาจเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น หาก CAT ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้สิทธิ์ในการปรับปรุงคลื่นความถี่ จะสามารถมุ่งเน้นการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังมีความพร้อมในการตอบสนองนโยบายรัฐทั้งด้านสังคม ความมั่นคง ตลอดจนการให้บริการประชาชน
    "อีกประการหนึ่งคือ CAT ยังได้ลงทุนอินฟราสตรัคเจอร์บนคลื่น 1800 MHz เป็นเงินของรัฐหลายหมื่นล้านบาท ที่มาจากเงินภาษีของประชาชน คลื่นความถี่ 1800 จึงถือเป็นสมบัติของชาติ และการใช้งานควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ซึ่งแผนต่อไปคือ CAT จะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที เพื่อขอความสนับสนุนในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่น 1800"
    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณามาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับลูกค้าในกรณีที่ CAT ไม่ได้รับสิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ โดยมีแนวทางที่จะโอนย้ายลูกค้าทรูมูฟทั้ง 17 ล้านเลขหมาย ไปยังโครงข่าย HSPA บนคลื่น 850 MHz ของ CAT ภายใต้แบรนด์ “มาย” ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิคที่จะต้องพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมองถึงมาตรการระยะยาว เช่น การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 4G เป็นต้น
    ก่อนหน้านี้ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ออกมายืนยันชัดเจนว่า CAT ไม่สามารถปรับปรุงการใช้คลื่นได้ เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจนว่า คลื่นที่จะนำมาปรับปรุงจะต้องเป็นคลื่นที่ยังมีอายุสัญญาสัมปทานอยู่เท่านั้น แต่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานภายในปีนี้ จึงไม่สามารถปรับปรุงคลื่นได้
    ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว(@supinya) โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาการปรับสถานะลูกจ้างมาเป็นพนักงาน ที่มีลูกจ้างหลายคน พยายามเรียกร้องปรับสถานะ ให้เป็นพนักงาน
    แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า แม้ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นอำนาจของพล.อ.อ. ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) แต่ถ้าบุคลากรภายในองค์กรเกิดปัญหา บอร์ด กสทช.ทั้ง 11 คน ต้องออกมาประชุมเพื่อหาข้อสรุป
    อย่างไรก็ตาม พนักงานและลูกจ้างได้ส่งหนังสือถึงประธาน กสทช. และกรรมการ กสทช.ทุกท่านแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเข้าประชุมบอร์ด กสทช. ในช่วงเดือน มี.ค.นี้.
- See more at: http://www.thaipost.net/news/010313/70249#sthash.CaPKvU6L.dpuf


http://www.thaipost.net/news/010313/70249


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.