28 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) จับตา(รายเล็กลำบากลงทุน) รายใหญ่ช่อง 5 MCOT NBT THAIpbs จับมือลงทุนร่วมลดลงทุน!! ด้านฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการโครงข่าย
ประเด็นหลัก
นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสโพรไวเดอร์ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ประมาณการเงินลงทุนโครงข่ายสำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินที่รวบรวมช่องรายการ (Multiplexer) ตามนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลของ กสทช. พบว่าผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกหรือฟรีทีวีเดิม เช่น ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสต้องใช้เงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท ถ้าเป็นรายใหม่ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมนำมาแชร์ใช้ได้บางส่วนอาจต้องลงทุนหลักหมื่นล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการโครงข่ายแล้ว ทั้งยังต้องลงทุนเพิ่มขึ้นปีต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ตามเงื่อนไขอีกด้วย จึงเชื่อว่าแม้ กสทช.จะตั้งใจออกใบอนุญาตโครงข่าย 5 ใบ สุดท้ายจะมีแต่ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีศักยภาพทำได้ จากปัจจุบันกลุ่มฟรีทีวีเดิมมีความเป็นไปได้สูงสุดในการเป็นผู้รวบรวมช่องรายการ
"มัลติเพล็กเซอร์ไม่ว่าจะทำ 100 ช่อง หรือ 50 ช่องก็ลงทุนเท่ากัน เทคโนโลยีปัจจุบัน 1 มัลติเพล็กเซอร์สามารถรองรับช่องรายการได้ 50 ช่อง SD (ความละเอียดปกติ) ถ้า กสทช.ให้ใบอนุญาตช่องรายการแค่ 48 ช่องจะคุ้มทุนได้ยาก เพราะแต่ละโครงข่ายจะหาช่องทีวีเข้ามาใช้ยาก ทางแก้คือ กสทช.ควรลดจำนวนโครงข่ายลงเพื่อให้สามารถหาช่องรายการมาใช้บริการได้มากขึ้น จำนวนที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 3 มัลติเพล็กเซอร์"
โดยต้นทุนในการทำช่องรายการทีวีดิจิทัล พบว่าหากรวมฮาร์ดแวร์และโอเปอเรชั่นจะมากกว่าทำช่องรายการทีวีดาวเทียมที่มีต้นทุนต่อเดือน 530,000 บาทถึง 4 เท่าสำหรับรายการแบบ SD แต่ถ้าเป็นช่อง HD จะสูงกว่า 8 เท่า ข้อมูลที่ได้ไม่ได้อิงเฉพาะการนำเทคโนโลยีของซิสโก้มาใช้เท่านั้น
แต่นำข้อมูลของพาร์ตเนอร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมที่ต้องใช้อุปกรณ์ทรานมิสเตอร์ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันยากมากที่จะกดต้นทุนให้ต่ำกว่าที่บริษัทประเมินไว้
"ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ไทยพีบีเอส เห็นตรงกันว่า ถ้ามาลงทุนร่วมกันจะลดต้นทุนได้เยอะ เพราะโครงข่ายของไทยพีบีเอสเพิ่งสร้างใหม่รองรับการใช้คลื่น UHF เมื่อร่วมกับการใช้โครงข่ายทีโอทีเป็น Gap filler ต้นทุนน่าจะใกล้เคียงทีวีดาวเทียม แต่ทีวีดิจิทัลสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า คงต้องหาโมเดลที่เหมาะสมเพื่อเป็น 1 network 1 set-top-box 1 nation ให้ได้ แนวทางนี้ทำให้การขยายโครงข่ายเป็นไปตามเงื่อนไข กสทช. ทำให้ช่องทีวีชุมชนเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่ต้องรับภาระที่สูงมากเกินไป"
_______________________
"มัลติเพล็กเซอร์"ดิจิทัลทีวีแพงหูฉี่ รายเล็กหมดสิทธิ์-ฟรีทีวีหาโมเดลแชร์ใช้โครงข่าย
นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสโพรไวเดอร์ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ประมาณการเงินลงทุนโครงข่ายสำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินที่รวบรวมช่องรายการ (Multiplexer) ตามนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลของ กสทช. พบว่าผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกหรือฟรีทีวีเดิม เช่น ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสต้องใช้เงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท ถ้าเป็นรายใหม่ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมนำมาแชร์ใช้ได้บางส่วนอาจต้องลงทุนหลักหมื่นล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการโครงข่ายแล้ว ทั้งยังต้องลงทุนเพิ่มขึ้นปีต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ตามเงื่อนไขอีกด้วย จึงเชื่อว่าแม้ กสทช.จะตั้งใจออกใบอนุญาตโครงข่าย 5 ใบ สุดท้ายจะมีแต่ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีศักยภาพทำได้ จากปัจจุบันกลุ่มฟรีทีวีเดิมมีความเป็นไปได้สูงสุดในการเป็นผู้รวบรวมช่องรายการ
หรือหากมีถึง 5 ราย ก็อาจมีปัญหาว่าจะอยู่รอดได้หรือไม่ เนื่องจาก กสทช.ให้ใบอนุญาตช่องรายการเพียง 48 ช่อง ในจำนวนนี้มี 24 ช่องรายการเท่านั้นที่เป็นช่องธุรกิจที่หารายได้ได้อย่างเต็มที่
"มัลติเพล็กเซอร์ไม่ว่าจะทำ 100 ช่อง หรือ 50 ช่องก็ลงทุนเท่ากัน เทคโนโลยีปัจจุบัน 1 มัลติเพล็กเซอร์สามารถรองรับช่องรายการได้ 50 ช่อง SD (ความละเอียดปกติ) ถ้า กสทช.ให้ใบอนุญาตช่องรายการแค่ 48 ช่องจะคุ้มทุนได้ยาก เพราะแต่ละโครงข่ายจะหาช่องทีวีเข้ามาใช้ยาก ทางแก้คือ กสทช.ควรลดจำนวนโครงข่ายลงเพื่อให้สามารถหาช่องรายการมาใช้บริการได้มากขึ้น จำนวนที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 3 มัลติเพล็กเซอร์"
โดยต้นทุนในการทำช่องรายการทีวีดิจิทัล พบว่าหากรวมฮาร์ดแวร์และโอเปอเรชั่นจะมากกว่าทำช่องรายการทีวีดาวเทียมที่มีต้นทุนต่อเดือน 530,000 บาทถึง 4 เท่าสำหรับรายการแบบ SD แต่ถ้าเป็นช่อง HD จะสูงกว่า 8 เท่า ข้อมูลที่ได้ไม่ได้อิงเฉพาะการนำเทคโนโลยีของซิสโก้มาใช้เท่านั้น
แต่นำข้อมูลของพาร์ตเนอร์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมที่ต้องใช้อุปกรณ์ทรานมิสเตอร์ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันยากมากที่จะกดต้นทุนให้ต่ำกว่าที่บริษัทประเมินไว้
สำหรับในต่างประเทศเกือบทั้งหมดไม่ได้เปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจเดิมเหมือนในประเทศไทย เช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย ให้รายเดิมได้รับอนุญาตทำทีวีดิจิทัล และเป็นผู้ให้บริการ 1 มัลติเพล็กเซอร์ด้วยทำให้บริหารเงินลงทุนได้ง่าย เพราะมีรายได้จากช่องรายการแอนะล็อกมาสนับสนุน และย้ายเรตติ้งคนดูจากแอนะล็อกมาดิจิทัลได้ด้วย
"กฎเกณฑ์ กสทช.ควรเอื้อเชิงธุรกิจด้วย เพราะงบฯที่คาดการณ์ไว้ทำให้ได้เห็นแล้วว่า ต้นทุนทีวีดิจิทัลสูงกว่าทีวีดาวเทียมหลายเท่า ในเชิงธุรกิจถ้าลงทุนแพงกว่าหมายถึงต้องมีสิ่งจูงใจดีกว่า แต่ตอนนี้ผู้ชมยังไม่แน่ใจว่าจะมีเท่าไร ความท้าทายสำคัญคือ 48 ช่องทีวีดิจิทัลพอหรือเปล่า ยิ่งมีช่องธุรกิจแค่ 24 ช่อง ขณะที่ กสทช.มีคลื่นพอทำทีวีดิจิทัลได้ 150 ช่อง SD โดยไม่กระทบแอนะล็อก"
ต้นทุนการทำช่องรายการทีวีดิจิทัลสูงกว่าทีวีดาวเทียมมาก สิ่งที่น่ากังวลคือ ช่องรายการเด็ก และช่องรายการบริการชุมชนที่กฎหมายกำหนดให้มี 12 ช่องรายการในแต่ละพื้นที่บริการาจะแบกรับต้นทุนได้หรือไม่ โดยเฉพาะทีวีชุมชนที่ไม่สามารถหารายได้จากโฆษณาได้ และให้บริการในพื้นที่จำกัดแค่ไม่กี่จังหวัด
"ช่องรายการชุมชนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเข้ามาสนับสนุนต้นทุนการดำเนินงานด้วย เพื่อให้เป็นตัวแทนชุมชนจริง ๆ ที่เข้าถึงช่องทางนี้ รวมถึงไม่ทำให้ผู้บริการโครงข่ายต้องแบกภาระหรือผลักภาระนี้ไปให้ช่องรายการธุรกิจเข้ามาแชร์ต้นทุนในส่วนนี้ไปด้วย"
ด้านนายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานวิศวกรรม บมจ.อสมท เปิดเผยว่า ต้นทุนโครงข่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของทีวีดิจิทัลที่ให้บริการแบบครอบคลุมทั่วประเทศขั้นต่ำอยู่ที่ 30 ล้านบาทต่อปี สูงกว่าต้นทุนทีวีดาวเทียมถึง 3 เท่าตัว ทำให้โอกาสที่จะเกิดทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศเป็นไปได้ยาก และสร้างภาระให้คนที่จะประมูลช่องรายการแล้วต้องมาเช่าโครงข่ายมีต้นทุนที่สูงขึ้นไปด้วย จึงต้องหาทางลดต้นทุนให้มากที่สุด อันเป็นที่มาของการทำความตกลงร่วมกับ บมจ.ทีโอที ในการใช้โครงข่ายทั้งสถานีโทรคมนาคม และเคเบิลใยแก้วนำแสงของทีโอทีที่กระจายอยู่ทั่วประเทศมาใช้เป็นสถานีเสริม (Gap filler)
"จากการทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัลตั้งแต่กลาง ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่าผลการออกอากาศไม่เป็นไปตามทฤษฎีเพราะในเมืองมีอาคารสูงบังสัญญาณ รูปแบบการติดตั้งเครื่องส่งจากเดิมที่ทดลองติดตั้งเครื่องส่งใหญ่ที่ตึกใบหยกจุดเดียว พบว่ามีปัญหาคงต้องเปลี่ยนเครื่องส่งที่มีขนาดเล็กลงแล้วติดตั้งเป็น 3 มุมยิงเข้ามาแทนจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯทั้งหมด"
การหาพื้นที่ติดตั้ง Gap filler สำคัญมาก ตามแผนที่วางไว้ต้องใช้ 146 จุด ซึ่งเสาโทรคมนาคมของทีโอทีจะเข้ามาช่วยได้มาก เพราะมีเป็นแสนจุดครอบคลุมถึงระดับหมู่บ้าน บางส่วนสร้างรองรับการติดตั้งจานไมโครเวฟอยู่แล้ว ดังนั้น นำมาใช้ติดตั้งกับอุปกรณ์ดิจิทัลได้แน่ ช่วยลดต้นทุนโครงข่ายจากที่ประเมินไว้ 3,000 ล้านบาทได้พอควร ช่วยลดต้นทุนช่องรายการด้วย
"ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ไทยพีบีเอส เห็นตรงกันว่า ถ้ามาลงทุนร่วมกันจะลดต้นทุนได้เยอะ เพราะโครงข่ายของไทยพีบีเอสเพิ่งสร้างใหม่รองรับการใช้คลื่น UHF เมื่อร่วมกับการใช้โครงข่ายทีโอทีเป็น Gap filler ต้นทุนน่าจะใกล้เคียงทีวีดาวเทียม แต่ทีวีดิจิทัลสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า คงต้องหาโมเดลที่เหมาะสมเพื่อเป็น 1 network 1 set-top-box 1 nation ให้ได้ แนวทางนี้ทำให้การขยายโครงข่ายเป็นไปตามเงื่อนไข กสทช. ทำให้ช่องทีวีชุมชนเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่ต้องรับภาระที่สูงมากเกินไป"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362024831&grpid=&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: