Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

7 กุมภาพันธ์ 2556 จานสัม ลงุนอีก 1000 ล้านบาท!! ขยายฐานผู้ชมใหม่อีก 2 ล้านครัวเรือน ชูจุดแข็งดูฟรี 100% ทุกช่อง // รวมถึงการผลิตกล้อง รับสัญญาณแบบDigital TV


ประเด็นหลัก


“จานส้ม” ลั่นกลองรบ ลุยศึกเคเบิลทีวีแบบจานรับสัญญาณดาวเทียมเต็มกำลัง อัดงบเพิ่มอีก 1,000 ล้านหวังขยายฐานผู้ชมใหม่อีก 2 ล้านครัวเรือน ชูจุดแข็งดูฟรี 100% ทุกช่อง เน้นผลิตรายการเอง มั่นใจสิ้นปีมีรายได้จากการขายกล่องไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ลั่นพร้อมลงชิงช่องทีวีดิจิตอล และหวังทำตลาดกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีเป็นลำดับต่อไป พร้อมก้าวสู่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปีหน้า



   สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทเตรียมใช้งบเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการรุกธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตคอนเทนต์ใหม่ จากปัจจุบันมีช่องรายการกว่า 120 ช่อง และช่องเอชดี 10 ช่อง ภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 200 ช่อง และเอชดีเป็น 20 ช่อง และในปีหน้าตั้งเป้าไว้ที่ 300 ช่อง และช่องเอชดีเป็น 40 ช่อง รวมแล้วในปีหน้าจานไอพีเอ็มจะมีช่องรายการทั้งสิ้น 340 ช่อง ส่วนงบการตลาดปีนี้อยู่ที่ 250 ล้านบาท มั่นใจว่าถึงสิ้นปีภาพรวมรายได้จะเติบโตอีกเป็นเท่าตัว ขณะที่รายได้จากการขายจานปีนี้น่าจะไม่ต่ำกว่า 3,000-3,500 ล้านบาท จากปัจจุบันจานไอพีเอ็มวางจำหน่ายพร้อมกล่องรับสัญญาณ 3 รุ่น คือ 1. IPM Lite ราคา 1,000 กว่าบาท 2. IPM Clear ราคา 1,500 บาท และ 3. IPM HD Pro 2,500 กว่าบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นราคาที่ยังไม่รวมค่าติดตั้ง
     
       นายมานพ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของบริษัทยังมีบริษัทในเครืออีกมากมายที่พร้อมดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโทรทัศน์ในไทย ดังนั้น ภายในปีหน้าบริษัทจึงมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยขณะนี้จะต้องมีการปรับโครงสร้างบริษัท เตรียมความพร้อมสู่การเข้าตลาดต่อไป นอกจากนี้ จากความพร้อมทุกด้านเกี่ยวกับธุรกิจโทรทัศน์ บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลด้วย 2 ช่อง คือ ช่องรายการสำหรับเด็ก และช่องรายการบันเทิงท้องถิ่น แต่ต้องรอดูความชัดเจนต่างๆ จาก กสทช.ก่อนจึงจะสามารถกำหนดเม็ดเงินลงทุนได้
     
       นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในการลงทุนทำตลาดกล่องสัญญาณรับสัญญาณแบบดิจิตอลทีวีตามมาตรฐานที่ทาง กสทช.กำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้เหลือเพียงแค่รอใบอนุญาตจาก กสทช.ก็สามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งกล่องรุ่นนี้จะเป็นกล่องรับสัญญาณแบบไฮบริดที่เปลี่ยนจูนเนอร์เพียงตัวเดียวก็สามารถรับชมได้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบ DVB-T29 ตามมาตรฐานของ กสทช.เพื่อรับชมช่องทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ 2. ระบบ DVB-S28 กับช่องรายการของทางไอพีเอ็มจำนวน 300+40 ช่องเอชดี เบื้องต้นวางราคาไว้ที่ 2,500 บาทเท่ากล่องเอชดีที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน








_____________________________





ไอพีเอ็มลงศึกเคเบิลทีวี ชูดูฟรี 100% หวังฐานใหม่ 2 ล้านจาน


นายมานพ โตการค้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด


       “จานส้ม” ลั่นกลองรบ ลุยศึกเคเบิลทีวีแบบจานรับสัญญาณดาวเทียมเต็มกำลัง อัดงบเพิ่มอีก 1,000 ล้านหวังขยายฐานผู้ชมใหม่อีก 2 ล้านครัวเรือน ชูจุดแข็งดูฟรี 100% ทุกช่อง เน้นผลิตรายการเอง มั่นใจสิ้นปีมีรายได้จากการขายกล่องไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ลั่นพร้อมลงชิงช่องทีวีดิจิตอล และหวังทำตลาดกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีเป็นลำดับต่อไป พร้อมก้าวสู่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปีหน้า
     
       นายมานพ โตการค้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายจานดาวเทียมระบบเคยูแบนด์ ภายใต้แบรนด์ IPM หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีว่าจานส้ม เปิดเผยว่า ไอพีเอ็มเข้ามาทำตลาดจานรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมกล่องเป็นรายแรกๆ ของไทย ในรูปแบบของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีบนระบบการรับชมผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม และถือเป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านโทรทัศน์แบบครบวงจรรายหนึ่ง ซึ่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบ โครงข่าย และผลิตคอนเทนต์เองมาโดยตลอด ด้วยงบลงทุนไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท จนปัจจุบันมีฐานผู้ชมที่รับชมช่องรายการต่างๆ ผ่านจานไอพีเอ็ม หรือจานส้มกว่า 3 ล้านครัวเรือนแล้ว
     
       ล่าสุดปีนี้จากที่ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตสำหรับช่องรายการทีวีดาวเทียม ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทพร้อมลงทุนในการดำเนินธุรกิจจานรับสัญญาณดาวเทียมอย่างเต็มรูปแบบ เบื้องต้นได้ขอใบอนุญาตผลิตช่องรายการทีวีดาวเทียมแล้วกว่า 56 ใบ และในเฟส 2 เตรียมขอเพิ่มอีก 60 ใบ ทั้งนี้เพื่อทำให้จานไอพีเอ็มเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีช่องรายการที่มีการบริหารจัดการที่ดี ช่วยให้เพิ่มฐานผู้ชมได้เร็วยิ่งขึ้น มั่นใจว่าปีนี้จะมีฐานผู้ชมเพิ่มอีก 2 ล้านจาน รวมแล้วถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ชมจากจานส้มกว่า 5 ล้านจานได้
     
       สำหรับจานไอพีเอ็ม ถือเป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมที่บริษัทมีการบริหารจัดการเองแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคอนเทนต์ที่เน้นผลิตเองกว่า 50% ที่เหลือมาจากพันธมิตรผู้ผลิตคอนเทนต์ในประเทศ 25% และพันธมิตรคอนเทนต์จากต่างประเทศ 25% จากปัจจุบันผู้ชมสามารถรับชมได้กว่า 120 ช่อง และผู้ชมสามารถรับชมได้แบบฟรี 100% ทุกช่องแบบไม่มีรายเดือน ถือเป็นจุดแข็งของจานไอพีเอ็มที่ต้องการมุ่งขยายฐานผู้ชมให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การหารายได้จากโฆษณาในอนาคตต่อไป จากปัจจุบันช่องรายการทั้งหมดมีเพียง 20 รายการเท่านั้นที่มีโฆษณาเพียงเล็กน้อย



       “กลยุทธ์หลักที่จะนำมาใช้คือ มุ่งขยายฐานผู้ชมด้วยการนำเสนอคอนเทนต์แบบเอ็กซ์คลูซีฟที่ทางไอพีเอ็มเป็นผู้ผลิตเอง และส่วนใหญ่จะเป็นช่องรายการท้องถิ่น พร้อมลดโฆษณาลงอีกเท่าตัว หวังเป็นจุดแข็งที่จะทำให้เพิ่มฐานผู้ชมได้อย่างรวดเร็วขึ้น และหลังจากนั้นจึงจะเริ่มหารายได้จากโฆษณาอย่างจริงจัง เพราะในธุรกิจการขายจานรับสัญญาณดาวเทียมนั้นรายได้หลักจะมาจากโฆษณาเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมารายได้จากโฆษณามีเพียงเล็กน้อย อนาคตคาดว่าสัดส่วนจากโฆษณาจะอยู่ที่ 70% และขายจาน 30%”
     
       สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทเตรียมใช้งบเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการรุกธุรกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตคอนเทนต์ใหม่ จากปัจจุบันมีช่องรายการกว่า 120 ช่อง และช่องเอชดี 10 ช่อง ภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 200 ช่อง และเอชดีเป็น 20 ช่อง และในปีหน้าตั้งเป้าไว้ที่ 300 ช่อง และช่องเอชดีเป็น 40 ช่อง รวมแล้วในปีหน้าจานไอพีเอ็มจะมีช่องรายการทั้งสิ้น 340 ช่อง ส่วนงบการตลาดปีนี้อยู่ที่ 250 ล้านบาท มั่นใจว่าถึงสิ้นปีภาพรวมรายได้จะเติบโตอีกเป็นเท่าตัว ขณะที่รายได้จากการขายจานปีนี้น่าจะไม่ต่ำกว่า 3,000-3,500 ล้านบาท จากปัจจุบันจานไอพีเอ็มวางจำหน่ายพร้อมกล่องรับสัญญาณ 3 รุ่น คือ 1. IPM Lite ราคา 1,000 กว่าบาท 2. IPM Clear ราคา 1,500 บาท และ 3. IPM HD Pro 2,500 กว่าบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นราคาที่ยังไม่รวมค่าติดตั้ง
     
       นายมานพ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของบริษัทยังมีบริษัทในเครืออีกมากมายที่พร้อมดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโทรทัศน์ในไทย ดังนั้น ภายในปีหน้าบริษัทจึงมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยขณะนี้จะต้องมีการปรับโครงสร้างบริษัท เตรียมความพร้อมสู่การเข้าตลาดต่อไป นอกจากนี้ จากความพร้อมทุกด้านเกี่ยวกับธุรกิจโทรทัศน์ บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลด้วย 2 ช่อง คือ ช่องรายการสำหรับเด็ก และช่องรายการบันเทิงท้องถิ่น แต่ต้องรอดูความชัดเจนต่างๆ จาก กสทช.ก่อนจึงจะสามารถกำหนดเม็ดเงินลงทุนได้
     
       นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในการลงทุนทำตลาดกล่องสัญญาณรับสัญญาณแบบดิจิตอลทีวีตามมาตรฐานที่ทาง กสทช.กำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้เหลือเพียงแค่รอใบอนุญาตจาก กสทช.ก็สามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งกล่องรุ่นนี้จะเป็นกล่องรับสัญญาณแบบไฮบริดที่เปลี่ยนจูนเนอร์เพียงตัวเดียวก็สามารถรับชมได้ 2 ระบบ คือ 1. ระบบ DVB-T29 ตามมาตรฐานของ กสทช.เพื่อรับชมช่องทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ 2. ระบบ DVB-S28 กับช่องรายการของทางไอพีเอ็มจำนวน 300+40 ช่องเอชดี เบื้องต้นวางราคาไว้ที่ 2,500 บาทเท่ากล่องเอชดีที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน

http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016213&Keyword=%b4%d2%c7%e0%b7%d5%c2%c1

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.