Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 มีนาคม 2556 หลุดแล้วMYเติมเงิน!! CAT ตัดสินใจส่งเรื่องถึงครม.ยึดคลื่น1800นาน15ปี 37.5 MHz//ยอมคืนส่วนGSM1800เร็วปี59


ประเด็นหลัก


น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท ได้หารือถึงกรณีคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ซึ่งเป็นคลื่นที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้าช่วยแก้ปัญหา เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และหากปล่อยให้คลื่นความถี่อยู่ในการครอบครองของภาคเอกชนทั้งหมด อาจกระทบต่อความมั่นคงระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติด้วย



  โดยบอร์ดกสทพิจารณาแล้วมีมติให้เตรียมแผนงานเสนอไปยัง กสทช. เพื่อขออนุญาตบริหารจัดการความถี่ 1800 MHz ต่อไปโดยอ้างอิงจากบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82, 83 และ 84 ที่ว่าด้วยการรองรับการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานค้างอยู่ในระบบ 1800 MHz ราว 17 ล้านเลขหมาย ที่ใช้งานของทรูมูฟ และดีพีซี ซึ่งการขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไป ในครั้งนี้จะแบ่งเป็นความถี่จำนวน 12.5 MHz ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 MHz ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 MHz ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือ ดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 เช่นเดียวกัน


'กสทได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาล ผ่านทางกระทรวงไอซีที เพื่อให้รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เจรจากับกสทช. แทน เนื่องจากการเจรจาระหว่าง กสท และกสทช. อาจมีแนวโน้มไม่บรรลุผล อีกทั้งประเด็นดังกล่าวกลายเป็นเรื่องระดับประเทศเพราะความถี่ถือเป็นสมบัติของประชาชนทุกคน'



ขณะที่มาตรการระยะสั้นรองรับกรณีใช้คลื่นดังกล่าวไม่ได้ กสท จะพยายามโอนย้ายลูกค้า2จีที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในระบบ 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบัน 17 ล้านเลขหมาย ให้เข้าสู่โครงข่าย 3จีเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ แบรนด์มาย ส่วนมาตรการระยะยาวต้องเตรียมการประมูล 4 จี



“กสท ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนไปจำนวนมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโทรคมนาคม เมื่อลงทุนแล้วจะปล่อยให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ไร้ประโยชน์ได้อย่างไร เพราะเงินที่นำมาลงทุนก็เป็นเงินของประชาชน ฉะนั้น ต้องนำทรัพย์สินที่ลงทุนไปแล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับ กสท”




แหล่งข่าว กสทช. กล่าวว่า การที่ กสท ไม่ยินยอมส่งมอบอำนาจการใช้คลื่น และต้องการบริหารงานคลื่น 1800 ต่อไป โดยอ้างสิทธิเป็นผู้ให้สัญญาสัมปทาน และขอต่อใบอนุญาตไปอีก 15 ปีตามใบอนุญาตประเภทที่ 3 เป็นการเอาลูกค้ามาเป็นตัวประกัน




( อันนี้ ผมหาข้อมูลเพิ่มเติม แหล่งข่าว คาด ราคาจะนาทีจะอยู่ระหว่าง 0.5-0.75 บาทต่ิอนาที)







____________________________






กสท ยืมมือ 'ยิ่งลักษณ์' เคลียร์ปมความถี่ 1800 MHz

       กสท หมดปัญญา คุยกับกสทช.ไม่รู้เรื่อง กรณีขอบริหารความถี่ 1800 MHz ต่อเนื่องหลังหมดสัมปทาน 16 ก.ย.56 อ้างลูกค้าค้างในระบบกว่า 17 ล้านราย ยืมมือ 'นายกฯปู' เคลียร์ปัญหาด่วน
     
       นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคมกล่าวว่า การประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงเรื่องแนวทางการบริหารจัดการคลื่นความถี่ 1800 MHz ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของบริษัท ทรู มูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ในวันที่ 15 ก.ย.56เนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) อ้างสิทธิ์ตามมาตรา 47 และมาตรา 305 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ว่าด้วยสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจะต้องส่งความถี่กลับมาให้กสทช.เพื่อนำมาจัดสรรใหม่
     
       โดยบอร์ดกสทพิจารณาแล้วมีมติให้เตรียมแผนงานเสนอไปยัง กสทช. เพื่อขออนุญาตบริหารจัดการความถี่ 1800 MHz ต่อไปโดยอ้างอิงจากบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82, 83 และ 84 ที่ว่าด้วยการรองรับการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานค้างอยู่ในระบบ 1800 MHz ราว 17 ล้านเลขหมาย ที่ใช้งานของทรูมูฟ และดีพีซี ซึ่งการขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไป ในครั้งนี้จะแบ่งเป็นความถี่จำนวน 12.5 MHz ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 MHz ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 MHz ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือ ดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 เช่นเดียวกัน
     
       'ไม่ใช่ว่าเราไม่อยากคืนความถี่ให้กสทช. เนื่องจากเจตนาจริงๆก็ยังต้องการคืนความถี่ให้ แต่กสทเองจำเป็นต้องขอเวลาเพื่อบริหารจัดการต่ออีกระยะเพราะยังคงมีลูกค้าค้างอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก จึงเห็นว่า กสทช.ควรขยายเวลาให้ กสท ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้'
     
       น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริหารบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าบอร์ด กสท ได้หารือถึงกรณีความถี่ย่าน 1800 MHzโดยที่ประชุมมีมติให้ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของกสทต่อคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
     
       'กสทได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาล ผ่านทางกระทรวงไอซีที เพื่อให้รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เจรจากับกสทช. แทน เนื่องจากการเจรจาระหว่าง กสท และกสทช. อาจมีแนวโน้มไม่บรรลุผล อีกทั้งประเด็นดังกล่าวกลายเป็นเรื่องระดับประเทศเพราะความถี่ถือเป็นสมบัติของประชาชนทุกคน'
     
       นอกจากนี้ยังถือเป็นเรื่องความมั่นคงของระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติด้วยเพราะไม่ควรนำความถี่ที่มีอยู่ทั้งหมดไปจัดสรรให้แต่ภาคเอกชน แต่ควรเหลือความถี่จำนวนหนึ่งไว้ให้รัฐบาลภายใต้การบริหารของ กสท หรือ ทีโอที ที่รัฐถือหุ้น 100% เป็นผู้บริหารจัดการด้วยเช่นกัน
     
       'ถึงตอนนี้เรื่องการจัดการความถี่ควรให้เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาล กับ กสทช.ได้แล้ว เพราะในวันนี้ กสทช.เองมองแค่ด้านเดียวไม่คิดถึงผลกระทบของผู้ใช้งานกว่า 17 ล้านคนในระบบ เราจึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแล'
     
       น.ท.สมพงษ์ กล่าวว่า ท้ายที่สุดหากการเจรจากับ กสทช. เพื่อขอบริหารจัดการความถี่ต่อเนื่อง ไม่ประสบผลสำเร็จจริง ทาง กสทได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้วเช่นเดียวกัน โดยระยะสั้น กสท จะพยายามหาวิธีโอนย้ายลูกค้าที่ค้างในระบบทั้งหมดไปยังความถี่ 850 MHz หรือบริการ 3G My ของ กสท เท่าที่ระบบจะสามารถรองรับได้ และในระยะยาว กสท จะเข้าประมูลคลื่น 1800 MHzต่อ เพื่อให้ลูกค้าที่ค้างอยู่ในระบบได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง
     

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000025403

________________________________________________



กสทดึงนายกฯเคลียร์คลื่น1800ขอยาว15ปี


มติบอร์ด กสท ไม่คืนคลื่น 1800 ทรูมูฟ - ดีพีซี ต้องการต่อยาว 15 ปี ดูแลลูกค้าต่อ อ้างยกสิทธิให้เอกชนบริหารต่อไม่ได้


เพราะคลื่นความถี่เป็นสมบัติชาติ อาจกระทบมั่นคง พร้อมทำหนังสือเสนอ "ยิ่งลักษณ์-ไอซีที" เคลียร์กสทช. แทน ชี้เป็นเรื่องระดับชาติ แหล่งข่าวชี้ยื้อคลื่นหวังสิทธิบริหารต่อ ดึงรายได้ ขณะที่ กสทช. ย้ำสิทธิหมดทันทีที่สัมปทานจบ

น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ (บอร์ด) บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท วันที่ 27 ก.พ. หารือคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ใช้งานอยู่ และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย. 2556

ที่ประชุมลงความเห็นให้ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้าช่วยแก้ปัญหา

ทั้งนี้ อ้างถึงคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน หากปล่อยให้อยู่ในการครอบครองของภาคเอกชนทั้งหมด อาจกระทบต่อความมั่นคงระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติ

ส่วนแนวทางการขอปรับปรุงสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่มีดังนี้ คลื่นทรูมูฟ ขอยืดไปสิ้นสุดปี 2568 ดีพีซีสิ้นสุดปี 2559 ส่วนคลื่นบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์สิ้นสุดปี 2561 ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์สิ้นสุดปี 2568 ตามใบอนุญาตของ กสท เพื่อดูแลลูกค้าผู้ใช้บริการ

ขณะที่มาตรการระยะสั้นรองรับกรณีใช้คลื่นดังกล่าวไม่ได้ กสท จะพยายามโอนย้ายลูกค้า2จีที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในระบบ 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบัน 17 ล้านเลขหมาย ให้เข้าสู่โครงข่าย 3จีเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ แบรนด์มาย ส่วนมาตรการระยะยาวต้องเตรียมการประมูล 4 จี

แหล่งข่าว กสทช. กล่าวว่า การที่ กสท ไม่ยินยอมส่งมอบอำนาจการใช้คลื่น และต้องการบริหารงานคลื่น 1800 ต่อไป โดยอ้างสิทธิเป็นผู้ให้สัญญาสัมปทาน และขอต่อใบอนุญาตไปอีก 15 ปีตามใบอนุญาตประเภทที่ 3 เป็นการเอาลูกค้ามาเป็นตัวประกัน

"การสิ้นสุดสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซีเดือนก.ย.นี้ กสท จะไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ทันทีราว 8,000 ล้านบาท แต่หากยังได้สิทธิใช้คลื่นต่อ หรือมีมาตรการเยียวยาให้ลูกค้าอยู่ในระบบ กสท ก็ยังมีรายได้มาทดแทนสัมปทานที่หายได้"

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การเจรจาของไอซีทีและ กสทช. ยังมีอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งหนังสือของ กสท ตามมติบอร์ดที่ออกมานั้น ทำได้ แต่เขายังไม่เห็นหนังสือดังกล่าว

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า เหตุแห่งความจำเป็นของ กสท นำมากล่าวอ้างไม่ได้ เพราะอำนาจและสิทธิได้สิ้นสุดลงวันที่ 15 ก.ย.2556 ทันทีหลังสัมปทานหมด หาก กสทช. มีมติให้ กสท กระทำการใดๆ กับคลื่นดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130301/492673/%A1%CA%B7%B4%D6%A7%B9%D2%C2%A1%CF
%E0%A4%C5%D5%C2%C3%EC%A4%C5%D7%E8%B91800%A2%CD%C2%D2%C715%BB%D5.html


______________________________




"กสท" โยนรัฐสางปมคลื่น

น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท ได้หารือถึงกรณีคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งเป็นคลื่นที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ใช้งาน และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

ขณะที่ กสท และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นไม่ตรงกัน โดย  กสท  ยืนยันขอสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่ต่อไปหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ซึ่งได้เสนอแนวทางไปยัง กสทช.แล้ว แต่ กสทช.ยืนยันว่าต้องคืนคลื่นตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าว

สำหรับแนวทางการขอปรับปรุงสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ ดังนี้ ทรูมูฟขอยืดการใช้ไปสิ้นสุดปี 2568 ดีพีซีสิ้นสุดปี 2559 ส่วนคลื่นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือย่าน 850 MHz สิ้นสุดปี 2561 ย่าน 1800 MHz สิ้นสุดปี 2568 ตามใบอนุญาตของ กสท เพื่อดูแลลูกค้าผู้ใช้บริการและความมั่นคงด้านโทรคมนาคมของประเทศ ขณะที่มาตรการระยะสั้นรองรับกรณีไม่สามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้ กสท ก็จะพยายามโอนย้ายลูกค้า 2 จี ที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในระบบ 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบัน 17 ล้านเลขหมาย ให้เข้าสู่โครงข่าย 3 จีเทคโนโลยี HSPA ที่ กสท ได้ลงทุนไปแล้ว ส่วนมาตรการระยะยาว กสท ต้องเตรียมเข้าร่วมประมูล 4 จี.


http://www.thairath.co.th/content/eco/329611


___________________________________


'บอร์ด กสท'จี้ไอซีที ส่งปมคลื่นความถี่ให้ครม.เป็นเจ้าภาพเคาะ

“บอร์ด กสท” จี้ไอซีที ส่งปมคลื่นความถี่ให้ ครม.เป็นเจ้าภาพเคาะ หลังความเห็นไม่ลงรอยกับ "กสทช." ยัน กสท ต้องดูแลลูกค้าผู้ใช้บริการแม้สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุด...

น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท ได้หารือถึงกรณีคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ซึ่งเป็นคลื่นที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้าช่วยแก้ปัญหา เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และหากปล่อยให้คลื่นความถี่อยู่ในการครอบครองของภาคเอกชนทั้งหมด อาจกระทบต่อความมั่นคงระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติด้วย

อีกทั้ง กสท และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นไม่ตรงกัน โดย กสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งได้เสนอแนวทางไปยัง กสทช.แล้ว แต่ กสทช. ยืนยันว่า กสท ต้องคืนคลื่นมายัง กสทช.ตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าว เพราะ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ส่วน กสทช. ก็เป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาด้วยเช่นกัน

“กสท ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนไปจำนวนมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโทรคมนาคม เมื่อลงทุนแล้วจะปล่อยให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ไร้ประโยชน์ได้อย่างไร เพราะเงินที่นำมาลงทุนก็เป็นเงินของประชาชน ฉะนั้น ต้องนำทรัพย์สินที่ลงทุนไปแล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับ กสท”

น.ท.สมพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการขอปรับปรุงสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ดังนี้ ทรูมูฟ ขอยืดการใช้ไปสิ้นสุดปี 2568 ดีพีซีสิ้นสุดปี 2559 ส่วนคลื่นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือย่าน 850 MHz สิ้นสุดปี 2561 ย่าน 1800 MHz สิ้นสุดปี 2568 ตามใบอนุญาตของ กสท เพื่อดูแลลูกค้าผู้ใช้บริการและความมั่นคงด้านโทรคมนาคมของประเทศ ขณะที่มาตรการระยะสั้นรองรับกรณี ไม่สามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้ กสท ก็จะพยายามโอนย้ายลูกค้า 2จี ที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในระบบ 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบัน 17 ล้านเลขหมาย ให้เข้าสู่โครงข่าย 3จี เทคโนโลยี HSPA ที่ กสท ได้ลงทุนไปแล้ว ส่วนมาตรการระยะยาวต้องเตรียมการประมูล 4 จี

ด้านนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง กสทช. ถึงความจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากยังมีลูกค้าที่มีความประสงค์ใช้บริการมือถือระบบเดิมอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านเลขหมาย หาก กสท คืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช.ทันที ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน ทั้งนี้ การขอใช้คลื่นดังกล่าวเป็นไปตามบทเฉพาะกาล มาตรา 82, 83 และ 84 ตาม.พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) และยังเป็นช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผ่าน จากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต ฉะนั้น จำเป็นต้องบริหารจัดการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้บริการ.


http://www.thairath.co.th/content/tech/329644


_____________________________



‘กสท’ลุ้นครม.ตัดสิน ข้อพิพาทคืนคลื่น1800


น.อ.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมาว่า ได้หารือถึงกรณีคลื่นความถี่ย่าน1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ซึ่งเป็นคลื่นที่ กสท ให้สัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556

โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ทำหนังสือถึง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากก่อนหน้านี้ กสทและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นไม่ตรงกัน โดย กสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด แต่กสทช.ยืนยันว่า กสท ต้องคืนคลื่นมายังกสทช.ตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป

“กสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งได้เสนอแนวทางไปยังกสทช.แล้วฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้ ครม.เข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าวเพราะ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ส่วนกสทช. ก็เป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาด้วยเช่นกัน” น.อ.สมพงษ์ กล่าว

http://www.naewna.com/business/43260


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.