11 มีนาคม 2556 กสทช. (ทำได้เพียงแค่ร้องขอ CAT คืนคลื่น 1800) อ้างนักวิชาการเยอรมนี ต้องทำเพื่อนชาติ
ประเด็นหลัก
"ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่า ควรเร่งสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องคืนคลื่น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องเกิดผลกระทบบ้าง การเยียวยาผู้บริโภคโดยให้ผู้ประกอบการรายเดิมให้บริการต่อไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้ว เพื่อมิให้บริการสาธารณะหยุดชะงัก เป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบอำนาจของกรรมการผู้กำกับดูแลที่สามารถกระทำได้ ซึ่งต้องไม่ใช่ประเด็นเรื่องต่อ หรือขยายใบอนุญาตการใช้คลื่น" นายสุทธิพล กล่าว.
“จากที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้รู้ของเยอรมันหลายคนเห็นว่า กสทช. เดินมาถูกทางแล้ว แต่ควรจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องคืนคลื่น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องเกิดผลกระทบบ้าง การเยียวยาผู้บริโภคโดยให้ผู้ประกอบการรายเดิมให้บริการต่อไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้วเพื่อมิให้บริการสาธารณะหยุดชะงักเป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบอำนาจของกรรมการผู้กำกับดูแลที่สามารถกระทำได้ ซึ่งเยอรมันเองก็มีการดำเนินการในลักษณะนี้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องต่อหรือขยายใบอนุญาตการใช้คลื่น โดยผมเห็นว่าทุกฝ่ายต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เคารพในบทบัญญัติของกฎหมายและมีความจริงใจในการมองที่ผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถก้าวไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมได้” นายสุทธิพลกล่าว
นายสุทธิพล กล่าวว่า ทางเยอรมนียังได้ให้ข้อสังเกตที่ตรงกันว่า เป้าหมายของการประมูลคลื่นความถี่ไม่ได้มุ่งในการทำรายได้ให้สูงเพื่อหาเงินเข้ารัฐ แต่ให้ความสำคัญต่อการจัดสรรคลื่นให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส โดยไม่ได้มองเฉพาะช่วงที่ทำการประมูลเท่านั้น แต่ต้องกำกับดูแลในช่วงเวลาหลังการประมูลด้วย ในขณะเดียวกันเยอรมนีมองว่าหากการจัดสรรคลื่นความถี่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และโปร่งใส ก็จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมมากขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นในระยะยาว และรัฐก็จะได้เงินรายได้จากภาษี ทั้งนี้การตั้งราคาเริ่มต้นของการประมูลนั้น จะตั้งที่ราคาต่ำที่สุดของการบริหารจัดการ (Administrative Cost) เท่านั้น ซึ่งการตั้งราคาที่ต่ำจะช่วยส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ และลดการผูกขาด ทั้งนี้ผลของการประมูลจะเป็นไปตามกลไกของตลาด แม้บ่อยครั้งผู้ที่ชนะการประมูลก็คือผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาด แต่ก็มิใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด สิ่งที่สำคัญคือกฎระเบียบการประมูลต้องไม่ปิดกั้นและราคาตั้งต้นการประมูลต้องไม่สูงเกินไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
7 มีนาคม 2556 (เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) CAT ส่งแผนเอาคลื่น 1800 ทำ4G ให้บริการ MVNO
http://somagawn.blogspot.com/2013/03/7-2556-18-cat-1800-4g-mvno.html
5 มีนาคม 2556 (เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) CAT ขอความเห็นใจ++ เราคืนแน่นอนปี68!! รัฐเป็นผู้บริหาร ประโยชน์ต่าง ๆ ก็ต้องตกอยู่ที่ประชาชนอยู่แล้ว ทั้ง 2Gและ4G
http://somagawn.blogspot.com/2013/03/5-2556-18-cat-68-2g4g.html
28 กุมภาพันธ์ 2556 CAT อ้างความมั่นคงของชาติ(ตัดสินใจยื่นICTยึดคลื่น1800ถึงปี68)เดินหน้าประมูล4Gพร้อมโอนย้านลูกค้า17ล้านคนที่หมดสป.ไปสู่MY(คลื่น3G850)
http://somagawn.blogspot.com/2013/02/28-2556-cat-ict1800684g17my3g850.html
26 กุมภาพันธ์ 2556 (ส่งผลให้CATใช้คลื่นอย่างอนุโลม) กสทช(มีมติ)กทค.(บอร์ดมือถือ)ให้ CATคืนคลื่น1800 MHzขู่จำคุก5ปีปรับ10ล้านบาท แต่สะดุขาตัวเอง!!ยังไม่ได้แผนการปรับปรุงการใช้งานคลื่น800-1800
http://somagawn.blogspot.com/2013/02/26-2556-cat-cat1800-mhz510-800-1800.html
25 กุมภาพันธ์ 2556 CAT กอด 1800 ไว้ด้วยอีกมุก!!! ( สัมปทานระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ) พร้อมใช้มาตรา++พรบ.กสทช.82,83,84
http://somagawn.blogspot.com/2013/02/25-2556-cat-1800-2-828384.html
__________________________
สุทธิพลจี้เสียสละคืนคลื่น1800
ไทยโพสต์ * "สุทธิพล" หารือผู้เชี่ยวชาญเยอรมนี เล็งแก้ปมยื้อคลื่น 1800 กร้าว ทุกฝ่ายต้องเคารพกติกาและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 ตนพร้อมคณะทำงาน เดินทางไปเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เพื่อเข้าประชุมหารือกับสถาบันวิชาการที่เป็นผู้ออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมดของประเทศเยอรมนี ผลการหารือได้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และการประมูลคลื่นความถี่ของไทยในหลายเรื่อง โดยให้ข้อสังเกตตรงกันว่า ในเยอรมนีไม่มีปัญหาที่เกิดจากการยื้อไม่ยอมคืนคลื่น ถึงแม้ภาครัฐจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่สุดท้ายก็จะเกิดประโยชน์ในภาพรวม โดยแนะนำประเทศไทยต้องกล้าและต้องหนักแน่นที่จะเดินหน้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นไปสู่ระบบใบอนุญาต ที่สำคัญคือทุกฝ่ายต้องเคารพในกฎกติกา ซึ่งเห็นว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพคือ การกำหนดมาตรการชั่วคราว เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ครอบครองคลื่น สามารถให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จนกว่าการจัดสรรคลื่นครั้งใหม่ให้กับผู้ประกอบการรายใหม่จะแล้วเสร็จ โดยทั่วไปจะไม่เกิน 1-2 ปี
"ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่า ควรเร่งสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องคืนคลื่น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องเกิดผลกระทบบ้าง การเยียวยาผู้บริโภคโดยให้ผู้ประกอบการรายเดิมให้บริการต่อไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้ว เพื่อมิให้บริการสาธารณะหยุดชะงัก เป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบอำนาจของกรรมการผู้กำกับดูแลที่สามารถกระทำได้ ซึ่งต้องไม่ใช่ประเด็นเรื่องต่อ หรือขยายใบอนุญาตการใช้คลื่น" นายสุทธิพล กล่าว.
http://www.thaipost.net/news/110313/70708
_________________________
“เยอรมัน”แนะ”กสทช.”ต้องกล้าแก้ปมยื้อคลื่น1800
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้บริหารของ Bundesnetzagentur หรือ Federal Network Agency ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศเยอรมนี และ Science Institute for Communication Services ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการที่เป็นผู้ออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมดของประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ให้ข้อสังเกตตรงกันว่า ในเยอรมันไม่มีปัญหาที่เกิดจากการยื้อไม่ยอมคืนคลื่นความถี่ เพราะแม้การเปลี่ยนผ่านจะทำให้รัฐที่เคยได้ประโยชน์จากสัญญาสัมปทานได้รับผลกระทบบ้าง แต่สุดท้ายจะเกิดประโยชน์ในภาพรวม และภาครัฐจะได้รับประโยชน์ที่มากขึ้นในรูปแบบอื่นๆ จึงแนะนำให้ไทยต้องกล้าและต้องหนักแน่นที่จะเดินหน้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นโอกาสช่วยทำให้กิจการโทรคมนาคมของไทยพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล แต่ที่สำคัญคือทุกฝ่ายต้องเคารพในกฎกติกา โดยการดำเนินการในการเปลี่ยนผ่านจะต้องไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ ซึ่งเห็นว่าวิธีที่มีประสิทธิภาพคือการกำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อให้ผู้ประกอบการที่ครอบครองคลื่นความถี่ สามารถให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง จนกว่าการจัดสรรคลื่นครั้งใหม่ให้กับผู้ประกอบการรายใหม่จะแล้วเสร็จ ซึ่งการดำเนินการโดยวิธีนี้เป็นเรื่องปกติเพื่อรักษาประโยชน์ให้กับผู้บริโภค และทำให้เกิดการใช้คลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สำคัญระยะเวลาที่ใช้จะต้องไม่นานเกินไป ซึ่งโดยทั่วไปไม่น่าจะเกิน 1-2 ปี
“จากที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้รู้ของเยอรมันหลายคนเห็นว่า กสทช. เดินมาถูกทางแล้ว แต่ควรจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องคืนคลื่น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องเกิดผลกระทบบ้าง การเยียวยาผู้บริโภคโดยให้ผู้ประกอบการรายเดิมให้บริการต่อไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้วเพื่อมิให้บริการสาธารณะหยุดชะงักเป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบอำนาจของกรรมการผู้กำกับดูแลที่สามารถกระทำได้ ซึ่งเยอรมันเองก็มีการดำเนินการในลักษณะนี้ แต่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องต่อหรือขยายใบอนุญาตการใช้คลื่น โดยผมเห็นว่าทุกฝ่ายต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เคารพในบทบัญญัติของกฎหมายและมีความจริงใจในการมองที่ผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถก้าวไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมได้” นายสุทธิพลกล่าว
นายสุทธิพล กล่าวว่า ทางเยอรมนียังได้ให้ข้อสังเกตที่ตรงกันว่า เป้าหมายของการประมูลคลื่นความถี่ไม่ได้มุ่งในการทำรายได้ให้สูงเพื่อหาเงินเข้ารัฐ แต่ให้ความสำคัญต่อการจัดสรรคลื่นให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส โดยไม่ได้มองเฉพาะช่วงที่ทำการประมูลเท่านั้น แต่ต้องกำกับดูแลในช่วงเวลาหลังการประมูลด้วย ในขณะเดียวกันเยอรมนีมองว่าหากการจัดสรรคลื่นความถี่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และโปร่งใส ก็จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมมากขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นในระยะยาว และรัฐก็จะได้เงินรายได้จากภาษี ทั้งนี้การตั้งราคาเริ่มต้นของการประมูลนั้น จะตั้งที่ราคาต่ำที่สุดของการบริหารจัดการ (Administrative Cost) เท่านั้น ซึ่งการตั้งราคาที่ต่ำจะช่วยส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ และลดการผูกขาด ทั้งนี้ผลของการประมูลจะเป็นไปตามกลไกของตลาด แม้บ่อยครั้งผู้ที่ชนะการประมูลก็คือผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาด แต่ก็มิใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด สิ่งที่สำคัญคือกฎระเบียบการประมูลต้องไม่ปิดกั้นและราคาตั้งต้นการประมูลต้องไม่สูงเกินไป
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362916996&grpid=03&catid=03
ไม่มีความคิดเห็น: