Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2556 CAT คิดการใหญ่!! ลงทุนเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทยเส้นทางใหม่ "สงขลา-ศรีราชา" กับพันธมิตร ปตท. 1200ลบ.และเตรียมขออีก1200ลบ. เคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิกเกตเวย์


ประเด็นหลัก



นายสุรพล สงวนศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) เปิดเผยหลังลงนามในสัญญาให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทยกับ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ว่า ได้ลงทุนราว 1,200 ล้านบาท วางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทยเส้นทางใหม่ "สงขลา-ศรีราชา" พร้อมวางระบบสื่อสารเชื่อมโยงแบบครบวงจร สนับสนุนระบบการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ปัจจุบันมีลูกค้ากลุ่มพลังงานเข้ามาใช้บริการ 2 ราย ได้แก่ ปตท.สผ. และบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เริ่มเปิดให้บริการวันที่ 1 มี.ค.และ 1 เม.ย. ตามลำดับ

"เราออกแบบระบบการสื่อสารให้เชื่อมโยงกับศูนย์กลางระบบการจัดการปิโตรเลียมที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ กับฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียมที่สงขลาและแท่นขุดเจาะในอ่าวไทยผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเชื่อมไปยังแท่นลอยขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วอ่าวไทยด้วยสัญญาณไมโครเวฟ เพื่อให้สื่อสารกันทั้งด้านเสียงและรับส่งข้อมูลได้เรียลไทม์ รองรับความเร็ว 40 Gbps. เป็นเส้นทางเสริมศักยภาพโครงข่ายในภาคใต้ ตะวันออก และส่วนกลางได้ด้วย ทำหน้าที่เป็นโครงข่ายสำรองให้โครงข่ายภาคพื้นดิน เนื่องจากในการลากสายเคเบิลใต้น้ำครั้งนี้มี 4 เส้น 2 เส้นแรกกันไว้ให้ธุรกิจพลังงานเหลือใช้ได้อีก 2 เส้น"

บริษัทเซ็นสัญญาทั้ง 2 บริษัท เป็นเวลา 15 ปี มีรายได้เฉพาะจากธุรกิจพลังงานราว 400 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 5 ปี หรือเร็วกว่ากำหนด หากมีรายได้เพิ่มจากความจุโครงข่ายเคเบิลที่เหลือ และในปีนี้เพิ่งได้รับอนุญาตเงินลงทุนวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิกเกตเวย์ "APG" อีก 1,200 ล้านบาท เพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านการสื่อสารข้อมูลของประเทศ เป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ระยะทางกว่า 8,000 กิโลเมตร ความจุรวมกว่า 54.8 Terabits ต่อวินาที พร้อมเปิดในปีหน้า ทั้งในแต่ละปีได้ตั้งงบฯอีก 200-300 ล้านบาทสำหรับอัพเกรดโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ

ในปีงบประมาณ 2557 ได้ขอเงิน 2,000-3,000 ล้านบาท วางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วความเร็วสูง FTTX ครอบคลุมทั่วประเทศ อีก 1-2 แสนพอร์ต ความเร็วเริ่มต้น 20 Mbps



_____________________________________



"กสท"ควัก1.2พันล.ย้ำจุดแข็ง ขยายโครงข่าย"เคเบิลใต้น้ำ"


"กสทฯ" ควัก 1,200 ล้านบาท วางระบบสื่อสารผ่านเคเบิลใต้น้ำ หนุนธุรกิจพลังงาน รับรายได้ "เชฟรอน-ปตท.สผ." ปีละ 400 ล้านบาท หวัง 5 ปีคืนทุน เดินหน้าเสริมความมั่นคงทางการสื่อสารของประเทศด้วยการเชื่อมเกตเวย์ระหว่างประเทศ และวางโครงข่าย FTTX พร้อมบุกตลาดอาเซียนรับเปิดเสรี

นายสุรพล สงวนศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) เปิดเผยหลังลงนามในสัญญาให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทยกับ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ว่า ได้ลงทุนราว 1,200 ล้านบาท วางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำอ่าวไทยเส้นทางใหม่ "สงขลา-ศรีราชา" พร้อมวางระบบสื่อสารเชื่อมโยงแบบครบวงจร สนับสนุนระบบการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ปัจจุบันมีลูกค้ากลุ่มพลังงานเข้ามาใช้บริการ 2 ราย ได้แก่ ปตท.สผ. และบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เริ่มเปิดให้บริการวันที่ 1 มี.ค.และ 1 เม.ย. ตามลำดับ

"เราออกแบบระบบการสื่อสารให้เชื่อมโยงกับศูนย์กลางระบบการจัดการปิโตรเลียมที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ กับฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียมที่สงขลาและแท่นขุดเจาะในอ่าวไทยผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเชื่อมไปยังแท่นลอยขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วอ่าวไทยด้วยสัญญาณไมโครเวฟ เพื่อให้สื่อสารกันทั้งด้านเสียงและรับส่งข้อมูลได้เรียลไทม์ รองรับความเร็ว 40 Gbps. เป็นเส้นทางเสริมศักยภาพโครงข่ายในภาคใต้ ตะวันออก และส่วนกลางได้ด้วย ทำหน้าที่เป็นโครงข่ายสำรองให้โครงข่ายภาคพื้นดิน เนื่องจากในการลากสายเคเบิลใต้น้ำครั้งนี้มี 4 เส้น 2 เส้นแรกกันไว้ให้ธุรกิจพลังงานเหลือใช้ได้อีก 2 เส้น"

บริษัทเซ็นสัญญาทั้ง 2 บริษัท เป็นเวลา 15 ปี มีรายได้เฉพาะจากธุรกิจพลังงานราว 400 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 5 ปี หรือเร็วกว่ากำหนด หากมีรายได้เพิ่มจากความจุโครงข่ายเคเบิลที่เหลือ และในปีนี้เพิ่งได้รับอนุญาตเงินลงทุนวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย-แปซิฟิกเกตเวย์ "APG" อีก 1,200 ล้านบาท เพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านการสื่อสารข้อมูลของประเทศ เป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ระยะทางกว่า 8,000 กิโลเมตร ความจุรวมกว่า 54.8 Terabits ต่อวินาที พร้อมเปิดในปีหน้า ทั้งในแต่ละปีได้ตั้งงบฯอีก 200-300 ล้านบาทสำหรับอัพเกรดโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ

ในปีงบประมาณ 2557 ได้ขอเงิน 2,000-3,000 ล้านบาท วางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วความเร็วสูง FTTX ครอบคลุมทั่วประเทศ อีก 1-2 แสนพอร์ต ความเร็วเริ่มต้น 20 Mbps

เนื่องจากปัจจุบันความต้องการบรอดแบนด์ความเร็วสูงมากขึ้น ขณะที่การลงทุนขยายโครงข่ายยังไม่ตอบสนองได้ทันกับความต้องการ

"ปีนี้เราจะเปิด FTTX ราว 50,000 พอร์ต เจาะพื้นที่ 10 จังหวัดใหญ่ อาทิ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ชลบุรี โคราช ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา และในนิคมอุตสาหกรรม บางส่วนเป็นพื้นที่เดิมของ FTTX ที่เคยทำสัญญาเช่าใช้โครงข่ายจากเอกชนมาให้บริการ แต่มีปัญหา บริษัทคู่สัญญาจะถอนอุปกรณ์ออก เราจึงต้องเข้าไปเจรจากับนิคมเข้ามาให้บริการแทน"

ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าจะให้ลูกค้าเดิมราว 30,000 ราย ได้อัพเกรดเข้ามาใช้โครงข่าย FTTX ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าโครงข่ายทองแดง คาดว่าปีนี้จะมียอดการใช้งานเต็มทั้ง 50,000 พอร์ต เน้นเจาะกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจ และเพิ่มการทำตลาดในกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ระดับพรีเมี่ยม และขยายตลาดในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1365581652&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.