3 พฤษภาคม 2556 2สมาคมสื่อ ออกแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชน ชี้ กสทช. ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ ต้องกระจายคลื่นด้วยความเป็นธรรม
ประเด็นหลัก
1. สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพการแสดงความเห็นและการแสดงออกของประชาชน ภายใต้ หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือ เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกของบุคคลและสื่อมวลชนต้องมีความปลอดภัย ปราศจากการถูกแทรกแซง คุกคาม ในขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพ ไปคุกคามการใช้เสรีภาพของบุคคลอื่น รับฟังและอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง ต้องไม่ปลุกเร้า เพราะอาจก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
2. ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชน พึงตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นั้นคือ ต้องรายงานข่าวสาร ด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลรอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเที่ยงตรง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์แห่งสาธารณะ ต้องตระหนักร่วมกันว่าหากนำเสนอข้อมูลที่ผิดจากข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง นั้น จะนำไปสู่การให้ทางเลือกที่ผิดกับประชาชน
3. ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมือง การรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ เสรีภาพในการแสวงหาข่าวสารและรายงานข่าวสารให้ประชาชนรับรู้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องไม่ถูกขัดขวาง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน รวมทั้งกลุ่มการเมืองและกลุ่มอิทธิพลใดๆ ที่สำคัญต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพผู้ที่เป็นสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของ ทั้งที่เป็นสื่อของรัฐและเอกชน
4. สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม แสดงบทบาทนำในการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผล เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก ได้อย่างสันติ
5. ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม และต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาให้ใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลสาธารณะ และโทรทัศน์ดิจิตอลเพี่อชุมชนให้ชัดเจน โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน
6. ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ชีวิตประจำวันของประชาชนถูกแวดล้อมด้วยสื่อ มีปริมาณข่าวสารจำนวนมาก การรู้ทันสื่อ จึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆสื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่า สื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้
______________________________________
2 ส.นักข่าวฯ แถลง ชูหลักเสรีภาพที่ไม่คุกคาม จี้ กสทช.ยุติบิดเบือนปฏิรูปสื่อ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ชูหลักเสรีภาพที่ไม่คุกคาม แนะเสนอข้อเท็จจริงรอบด้าน ยันต้องไม่ถูกรัฐ-นักการเมืองแทรกแซง หนุนห้ามนายทุนจุ้น พร้อมเปิดเวทีพ้นความขัดแย้ง เตือน กสทช.ทบทวนบิดเบือนเจตนารมณ์ปฏิรูปสื่อ กำหนดใบอนุญาตทีวีดิจิตอล
วันนี้ (3 พ.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ร่วมเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยระบุว่า องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” เพื่อย้ำถึงเจตนารมณ์และหลักการพื้นฐานของเสรีภาพการแสดงความเห็นนและการแสดงออก ซึ่งในปี 2556 ยูเนสโกได้จัดให้มีการรณรงค์ในเรื่องความปลอดภัยในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยเน้นการส่งเสริมให้สื่อมวลชนทุกแขนงสามารถเข้าถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยปราศจากการแทรกแซงและคุกคาม เสรีภาพของสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์กับเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกของบุคคล หากสื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพ ก็ยากที่บุคคลจะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและแสดงออก เนื่องจากบุคคลต้องใช้ในเสรีภาพดังกล่าวผ่านสื่อต่างๆ
สำหรับบรรยากาศการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในทุกประเภท ในยุคที่สังคมไทยได้เกิดสื่อขึ้นอย่างมากมาย แต่ละฝ่ายได้เปิดดำเนินการสื่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน สื่อออนไลน์ ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างใช้สื่อเพื่อรายงานข่าว ความคิดเห็นหรือจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง สังคมได้ตั้งคำถามถึงการใช้เสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ว่ามีส่วนที่ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้ง ความแตกแยก ไม่รับผิดชอบต่อสังคม ละเมิดกฎหมาย สิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่นเสียเอง นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวหาและข้อสงสัยอีกจำนวนมาก เช่น ความไม่เป็นกลาง, สื่อเลือกข้าง, สื่อไม่ได้สร้างหรือเปิดพื้นที่อย่างเป็นธรรมกับความเห็นที่แตกต่างหรือบุคคลที่ถูกพาดพิง, ข่าวที่สื่อนำมาเสนอแตกต่างกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ที่เกิดขึ้นจริง ฯลฯ ซึ่งคำถามและข้อสงสัย เหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือและความน่าไว้วางใจในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสังคมไทย
นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมาต่อเนื่องหลายปีก็ยังคงดำรงอยู่ ทั้งการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง โดยแต่ละฝ่ายได้ใช้เสรีภาพเพื่อการแสดงออกถึงจุดยืนและความเห็นทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พึงกระทำได้ในสังคมประชาธิปไตย แต่จากข้อเท็จจริง การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมืองของบุคคลหรือกลุ่มการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่าในบางครั้งมีเจตนาเพื่อปลุกเร้า หรือก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดทางกฎหมายหรือเป็นลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคมได้ ขาดความอดทนต่อความเห็นที่แตกต่าง ส่งผลให้การแสดงความคิดเห็นของบุคคลตกอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัย สังคมมีความหวาดกลัว และทำให้การใช้เหตุผลและปัญญาเพื่อหาทางออกร่วมกันในปัญหาสำคัญของประเทศลดน้อยลงไปด้วย
ในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงเรียกร้องฝ่ายต่างๆ ให้ร่วมกันตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพ “เสรีภาพที่ไม่คุกคาม” ดังนี้
1. สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพการแสดงความเห็นและการแสดงออกของประชาชน ภายใต้ หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือ เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกของบุคคลและสื่อมวลชนต้องมีความปลอดภัย ปราศจากการถูกแทรกแซง คุกคาม ในขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพ ไปคุกคามการใช้เสรีภาพของบุคคลอื่น รับฟังและอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง ต้องไม่ปลุกเร้า เพราะอาจก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
2. ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชน พึงตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นั้นคือ ต้องรายงานข่าวสาร ด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลรอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเที่ยงตรง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์แห่งสาธารณะ ต้องตระหนักร่วมกันว่าหากนำเสนอข้อมูลที่ผิดจากข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง นั้น จะนำไปสู่การให้ทางเลือกที่ผิดกับประชาชน
3. ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมือง การรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ เสรีภาพในการแสวงหาข่าวสารและรายงานข่าวสารให้ประชาชนรับรู้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องไม่ถูกขัดขวาง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน รวมทั้งกลุ่มการเมืองและกลุ่มอิทธิพลใดๆ ที่สำคัญต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพผู้ที่เป็นสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของ ทั้งที่เป็นสื่อของรัฐและเอกชน
4. สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม แสดงบทบาทนำในการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผล เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก ได้อย่างสันติ
5. ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม และต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาให้ใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลสาธารณะ และโทรทัศน์ดิจิตอลเพี่อชุมชนให้ชัดเจน โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน
6. ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ชีวิตประจำวันของประชาชนถูกแวดล้อมด้วยสื่อ มีปริมาณข่าวสารจำนวนมาก การรู้ทันสื่อ จึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆสื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่า สื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053226&Keyword=%a1%ca%b7
________________________________________________________
องค์กรสื่อแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อ
2สมาคมสื่อ ออกแถลงการณ์วันเสรีภาพสื่อมวลชน เรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงคุณค่าของ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม”
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงคุณค่าของ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม”
สำหรับข้อเรียกร้องแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ประกอบด้วย 1.สนับสนุนและส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนภายใต้หลักการ “เสรีภาพ ที่ไม่คุกคาม” คือการแสดงออกต้องมีความปลอดภัย ปราศจากการแทรกแซงคุกคาม ขณะเดียวกันต้องไม่ใช้เสรีภาพไปคุกคามเสรีภาพของบุคคลอื่น รับฟังและอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
2.เรียกร้องให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ต้องรายงานข่าวสาร ด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ต้องตระหนักว่าหากนำเสนอข้อมูลผิดจากข้อเท็จจริงหรือบิดเบือน จะนำไปสู่การให้ทางเลือกที่ผิดกับประชาชน
3.ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน ต้องร่วมกันสนับสนุนหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา46 ที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชนให้เป็นอิสระจากเจ้าของ ทั้งรัฐและเอกชน
4.สื่อมวลชนต้องร่วมกันเสริมสร้างบทบาทในการขับเคลื่อนหาทางออกในสังคม เปิดเวทีให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมร่วมกันสร้างบรรยากาศของการใช้เหตุผลหาทางออกให้กับสังคม เพื่อให้สังคมไทยออกจากความขัดแย้ง ความแตกแยก ได้อย่างสันติ
5.ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยุติและทบทวนการบิดเบือนเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ โดยต้องกระจายคลื่นความถี่ที่อยู่ในการครอบครองของรัฐไปสู่สาธารณะชนอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม และต้องกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาให้ใบอนุญาตโทรทัศน์ดิจิตอลสาธารณะ และโทรทัศน์ดิจิตอลเพี่อชุมชนให้ชัดเจน โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างรอบด้าน
6.ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ การรู้ทันสื่อจึงมีความสำคัญ ต้องแยกความคิดเห็นออกจากข้อเท็จจริง ต้องหาข้อมูลจากสื่อหลายๆ สื่อ เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งพึงตระหนักว่าสื่อออนไลน์เป็นพื้นที่สาธารณะ หากไม่ระมัดระวังอาจมีผลกกระทบกับตัวเองและบุคคลอื่นได้
วันเดียวกัน มีการจัดเสวนาเรื่อง “เสรีภาพ...ที่ไม่คุกคาม” โดยนายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เสรีภาพที่ไม่คุกคามไม่มี และจำเป็นต้องเข้าใจว่าเสรีภาพมีเขี้ยวเล็บ หากไม่ระวังก็จะไปบาดผู้อื่น
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า มีนักคิดอธิบายคำว่าเสรีภาพไว้อย่างน่าสนใจ เช่น เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เปรียบเทียบไว้ว่า เสรีภาพเหมือนเสือที่มีเขี้ยวเล็บและสวยงาม แต่ต้องไม่ลืมว่าเสือจะสวยที่สุดเมื่ออยู่ในกรง ขณะที่ฌอง-ฌาค รุสโซ บอกไว้ว่ามนุษย์เกิดมามีเสรี แต่ทุกหนแห่งอยู่ใต้พันธนาการ โจทย์คือจะทำให้เสรีภาพอยู่ได้ภายในพันธนาการอย่างไร หรือกระทั่ง อิริค ฟรอมม์ ได้เขียนหนังสือชื่อหนีจากเสรีภาพ คำถามคือทำไมต้องหนีถ้ามันไม่อันตราย
“สิ่งที่ตามมาเมื่อมีเสรีภาพคือความไม่แน่นอน เมื่อไม่แน่นอนจะตัดสินใจอะไรก็ยาก ความเสี่ยงมีสูง เมื่อมนุษย์ซึ่งต้องตัดสินใจหลายอย่าง ทุกอย่างจึงหนักอยู่บนบ่า เป็นเหตุให้มนุษย์จำนวนหนึ่งไม่อยากได้เสรีภาพ แต่ผมไม่ได้บอกว่าเราควรจะมีเสรีภาพมากหรือน้อย ไม่ใช่มองว่ามีเสรีภาพเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่กรณี เช่น ในเครื่องบิน ถามว่าปกครองกันด้วยระบอบใด ถ้าใช้ประชาธิปไตยก็คงไม่ได้ มันมีเงื่อนไขหลายอย่างจนต้องใช้อำนาจนิยม ประเด็นจึงอยู่ที่เราควรรู้ว่าเรามีอะไรอยู่ ต้องระวังให้ดี” นายชัยวัฒน์ กล่าว
นักรัฐศาสตร์รายนี้ กล่าวอีกว่า เวลามองสื่อต้องเข้าใจว่าสื่อไม่ได้เป็นก้อนๆ เดียว แต่ที่ฐานของสื่อมันมีมนุษย์ทำงานอยู่ มนุษย์ซึ่งมีความรู้สึก มีความหวาดกลัว ต้องกินต้องใช้ หากสังคมจะก้าวไปข้างหน้าได้เราต้องรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนที่ไม่ใช่พวกเรา อย่างกรณีชัย ราชวัตร อยากจะเห็นเอเชียอัพเดรทลุกขึ้นมาปกป้อง หรืออย่างเด็กในภาคใต้ถูกฆ่าก็อยากเห็นผู้นำอิสลามไปเยี่ยม
น.ส.วลักษณ์ จ่างกมล คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การคุกคามจะไม่เกิดขึ้น หากต่างฝ่ายต่างใช้จรรยาบรรณในวิชาชีพอย่างเพียงพอ คำถามที่ควรกลับมาคิดคือสื่อมวลชนจะทำหน้าที่อย่างไรไม่ให้เกิดการคุมคามกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ จะทำอย่างไรเพื่อหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยสันติ
สำหรับข้อเสนอ ได้แก่ 1.การใช้ภาษาและเปลี่ยนกรอบในการสื่อสารให้อยู่นอกเหนือมิติความมั่นคง 2.สื่อมวลชนควรเรียนรู้รากเหง้าปัญหาของภาคใต้ 3.ความขัดแย้งไม่ได้ถูกควบคุมโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเปล่าประโยชน์ที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายใดหยุดใช้ความรุนแรง ควรที่จะสร้างพื้นที่พูดคุย 4.กระบวนการล้มเหลวเพราะขาดความร่วมมือจากสาธารณะ เป็นบทบาทสื่อที่ต้องจัดทำ
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อกำลังถูกคุกคามจากเผด็จการซ่อนรูปในรูปของทุน และสิ่งที่เกิดขึ้นคือนักข่าวภาคสนามใช้เสรีภาพในการทำข่าว แต่เนื้อหากลับถูกกองบรรณาธิการปรุงแต่งจนไปละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นเพียงเพราะต้องการให้หนังสือขายได้
สำหรับกรณีของชัย ราชวัตร ต้องเข้าใจว่าปัจจุบันไม่สามารถแยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะได้ คนทำหน้าที่สื่อมวลชนจึงต้องระมัดระวังการแสดงความคิดเห็นระดับหนึ่ง เพราะสังคมจับตาว่าเป็นการส่งผ่านข้อความในนามองค์กร อย่างไรก็ดีการแสดงความคิดเห็นนั้นๆ สามารถกระทำได้เพราะถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออก
“การกระทำที่ทำต่อชัย ราชวัตร ในแง่ความเป็นจริงมันไม่ได้กระทำต่อชัย ราชวัตรเพียงคนเดียว แต่เป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ต่อคนที่มีแนวคิดและอยู่ในระดับของชัย ราชวัตร” นายจักร์กฤษกล่าว
http://www.posttoday.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%AA%E0%
B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%
E0%B8%9B/219989/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA
%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%
B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A
A%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0
%B8%AD
ไม่มีความคิดเห็น: