05 มิถุนายน 2556 (เกาะติดการประมูล1800) TRUE ตีหน้า DTAC ถ้าประมูลอาจโดนข้อหากีดกันทางการค้าแน่++ เหตุ DTAC มีคลื่น 1800 อยู่แล้วจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์
ประเด็นหลัก
ทรู-เอไอเอสพร้อมชิงเค้ก4จี
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ลูกค้าทรูที่ค้างอยู่ในระบบราว 16 ล้านราย ควรอยู่ในความดูแลของทรู ไม่ใช่ กสท เนื่องจากกฎหมายบอกว่าลูกค้ามีสิทธิ์เลือกผู้ให้บริการ และลูกค้ากลุ่มนี้ก็เลือกทรูเป็นผู้ให้บริการ และบริษัทพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ หาก กสทช. นำมาเปิดประมูลใหม่
ทั้งมั่นใจว่าจะชนะประมูล และเชื่อว่าเมื่อเปิดประมูลใหม่ การแข่งขันจะไม่ดุเดือดเหมือนครั้งประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพราะจำนวนผู้เข้าประมูลมีน้อยรายกว่า
“ผมเชื่อว่าอย่างน้อยทางดีแทค จะไม่เข้าประมูล เพราะปัจจุบัน ดีแทคถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์อยู่แล้วจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ อีกทั้งสัญญาสัมปทานก็จะสิ้นสุดปี 2561 หากดีแทคเข้าประมูลอาจโดนข้อหากีดกันทางการค้าได้”
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า หาก กสทช. เรียกคืนคลื่นความถี่ 1800 มาจัดสรรใหม่ได้ และมีกรอบการเปิดประมูลใบอนุญาตที่ชัดเจน เอไอเอสพร้อมเข้าประมูล ซึ่ง กสทช.ไม่ได้ห้ามให้เฉพาะผู้ให้บริการรายเก่ามีสิทธิดูแลลูกค้าที่คงค้างในระบบ เอไอเอสจึงต้องการนำคลื่นมาใช้ และพร้อมสู้ราคาแข่ง
"1800 เป็นคลื่นที่มีค่า เราต้องการเป็นผู้นำในเรื่องบริการโทรคม ทั้งวอยซ์ และดาต้า ดังนั้น เอไอเอสเข้าประมูล 1800 แน่นอน"
นอกจากนี้ การประมูลจะสำเร็จหรือไม่ เอไอเอสก็พร้อมร่วมกับทีโอทีใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) ซึ่งทั้งคู่ให้บริการร่วมกันทั้งเสียง (วอยซ์) และข้อมูล (ดาต้า) อาจนำไปสู่การต่อยอดเพื่อให้บริการ 4จี บนคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทีโอทีถือครองคลื่นดังกล่าวอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ แต่ขั้นตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากันว่าจะต่อยอดเป็นบริการลักษณะใดได้บ้าง
______________________________________
เกาะติดสังเวียน"4จี" เกมชิงความถี่แสนล้าน
เกาะติดสังเวียน"4จี" เกมชิงความถี่แสนล้าน คาด แบ่งสล็อต 4 ใบ ประมูล 20 เมก
อีก 3 เดือนสัญญาสัมปทานของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะสิ้นสุดลง หรือการให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 2จีจะต้องยุติลงวันที่ 15 ก.ย.นี้ เพื่อเป็นการป้องกันความตื่นตระหนกของลูกค้าที่อยู่ในฐานของ 2 บริษัทที่มีราว 18 ล้านราย จำเป็นต้องวางมาตรการเยียวยาลูกค้าเพื่อไม่ให้เกิดกรณี "ซิมดับ" ตามที่มีหลายฝ่ายกังวล
แนวทางป้องกันของ "กสทช." คือ ลงมติออกร่างประกาศ เรื่อง มาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และให้สิทธิเจ้าของสัมปทานรายเดิมดูแลลูกค้าต่อไปอีก 1 ปี
แผนการรองรับลูกค้า 2จีที่จะสิ้นสุดสัมปทานลง จะสอดคล้องกับการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาต่อยอดให้บริการลูกค้ารายเดิมต่อ และเพื่อให้บริการใบอนุญาต (ไลเซ่น) 4จีในอนาคต และแม้ว่าการประมูล 4จีที่จะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ปีหน้ายังไม่สรุปรายละเอียดราคาค่าไลเซ่น และราคาเริ่มต้นการประมูล แต่เอกชนหลายรายต่างจับจ้องคลื่นเมกะเฮิรตซ์นี้ตาเป็นมัน
เนื่องด้วยช่วงความถี่ที่ได้เปรียบในการส่งสัญญาณมีรัศมีที่ดีเหมือนคลื่นความถี่ต่ำอย่าง 800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ และมีแบนด์วิธที่กว้างในการใช้รับส่งข้อมูลเหมือน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้คลื่น 1800 มีค่านับแสนล้านบาท เพียงพอที่จะทำให้หลายรายทุ่มประมูลหมดหน้าตัก
แบ่งสล็อต4ใบประมูล20เมก
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ปี 2556 แผนงานของคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. จะเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 4จี (แอลทีอี) ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่จะหมดสัมปทานของทรูมูฟและดีพีซีรายละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 25 เมกะเฮิรตซ์
แต่ด้านเทคนิคส่วน 2.5 เมกะเฮิรตซ์นำมารวมกันเป็น 5 เมกะเฮิรตซ์แล้วนำมาประมูลไม่ได้ ดังนั้น จึงจะเปิดประมูลเบื้องต้น 20 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 4 ใบอนุญาตๆ ละ 5 เมก ซึ่งมอบหมายให้คณะอนุกรรมการวางแผนการประมูล และกำหนดแนวทางการเปลี่ยนผ่านไปสรุปกรอบการจัดประมูล และการเรียกคลื่นความถี่คืนมาจัดสรรใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) จากบมจ.กสท โทรคมนาคม ที่ถือกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าวอยู่
"เราเคยวางกรอบคร่าวๆ ว่า การประมูล 4จีจะต้องเกิดขึ้นภายในปี 2557 ซึ่งการดำเนินการจะต้องรอให้แผนจัดจัดสรรคลื่นเสร็จก่อน เพราะปัจจุบันผู้ถือครองคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คลื่นนี้มีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมาก ดังนั้น ราคาเริ่มต้นการประมูลต้องดูความเหมาะสมว่าจะอยู่ที่เท่าไร ต้องให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) วิเคราะห์ราคาค่าไลเซ่น"
เขา กล่าวว่า เป็นไปได้ที่จะนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ที่บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ให้บริการอยู่ และจะสิ้นสุดสัญญาเดือนต.ค.2558 มาเปิดประมูลพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อจะได้เตรียมการรองรับไว้ล่วงหน้า แต่ต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนทั้งในมุมของกฎหมายและการบริหารจัดการว่าดำเนินการได้หรือไม่
ทรู-เอไอเอสพร้อมชิงเค้ก4จี
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ลูกค้าทรูที่ค้างอยู่ในระบบราว 16 ล้านราย ควรอยู่ในความดูแลของทรู ไม่ใช่ กสท เนื่องจากกฎหมายบอกว่าลูกค้ามีสิทธิ์เลือกผู้ให้บริการ และลูกค้ากลุ่มนี้ก็เลือกทรูเป็นผู้ให้บริการ และบริษัทพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ หาก กสทช. นำมาเปิดประมูลใหม่
ทั้งมั่นใจว่าจะชนะประมูล และเชื่อว่าเมื่อเปิดประมูลใหม่ การแข่งขันจะไม่ดุเดือดเหมือนครั้งประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพราะจำนวนผู้เข้าประมูลมีน้อยรายกว่า
“ผมเชื่อว่าอย่างน้อยทางดีแทค จะไม่เข้าประมูล เพราะปัจจุบัน ดีแทคถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์อยู่แล้วจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ อีกทั้งสัญญาสัมปทานก็จะสิ้นสุดปี 2561 หากดีแทคเข้าประมูลอาจโดนข้อหากีดกันทางการค้าได้”
ขณะที่นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า หาก กสทช. เรียกคืนคลื่นความถี่ 1800 มาจัดสรรใหม่ได้ และมีกรอบการเปิดประมูลใบอนุญาตที่ชัดเจน เอไอเอสพร้อมเข้าประมูล ซึ่ง กสทช.ไม่ได้ห้ามให้เฉพาะผู้ให้บริการรายเก่ามีสิทธิดูแลลูกค้าที่คงค้างในระบบ เอไอเอสจึงต้องการนำคลื่นมาใช้ และพร้อมสู้ราคาแข่ง
"1800 เป็นคลื่นที่มีค่า เราต้องการเป็นผู้นำในเรื่องบริการโทรคม ทั้งวอยซ์ และดาต้า ดังนั้น เอไอเอสเข้าประมูล 1800 แน่นอน"
นอกจากนี้ การประมูลจะสำเร็จหรือไม่ เอไอเอสก็พร้อมร่วมกับทีโอทีใช้โครงข่ายร่วม (โรมมิ่ง) ซึ่งทั้งคู่ให้บริการร่วมกันทั้งเสียง (วอยซ์) และข้อมูล (ดาต้า) อาจนำไปสู่การต่อยอดเพื่อให้บริการ 4จี บนคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทีโอทีถือครองคลื่นดังกล่าวอยู่ 64 เมกะเฮิรตซ์ แต่ขั้นตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากันว่าจะต่อยอดเป็นบริการลักษณะใดได้บ้าง
สร้างความเข้าใจช่วงเปลี่ยนผ่าน
นายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวยืนยันว่า คลื่นความถี่ 1800 นี้หากสิ้นสุดสัมปทานแล้วจำเป็นต้องส่งมอบอำนาจการถือครอง และสิทธิในคลื่นมายังกสทช.ทันที กสท และผู้รับใบอนุญาตรายเดิมไม่มีสิทธิอ้างการปรับปรุงคลื่นได้
มติที่ประชุมออกมา 3 แนวทาง คือ 1. ยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจ หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงต้องไม่ใช่การขยายสัมปทาน เอกชนรายเดิมต้องไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ผู้ใช้บริการต้องไม่มีซิมดับ และระหว่างนั้น ผู้ประกอบการเอกชน รวมทั้งกสทช.ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอนย้ายไปยังระบบอื่น
2. ระหว่างช่วงการให้บริการเฉพาะกิจ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายที่ลงนามทำเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องเพิ่มความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) หากลูกค้ายังเหลือจนถึงวันที่เกิดการประมูลคลื่น 1800 สำหรับการให้บริการ 4จีจะส่งต่อไปยังผู้ที่ชนะ
และ 3.สร้างประกาศรองรับให้ กสทช.มีฐานะทางกฎหมาย มีสิทธิออกมาตรการชั่วคราวต่อการใช้งานและสิทธิการบริหารจัดการคลื่น
"ระบบโทรคมนาคมเสรี ยังทำงานไม่เต็มที่เพราะมีคลื่นที่ถูกสัมปทานจำจองอยู่ หัวใจของระบบเสรีคือการจัดสรรใหม่ ไม่ต้องการเห็นรัฐมาทำตัวเป็นผู้ประกอบการต่อไป หากจะทำก็ต้องมาขอรับไลเซ่นเหมือนกับเอกชน เพราะมันคือตลาดเสรี หากไม่ทำอะไรจะเกิดเหตุการณ์ซิมดับ ผู้บริโภค 18 ล้านคนได้รับผลกระทบ กสทช. ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น เราจึงวางมาตรการแนวทางอื่นๆ"
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130605/509451/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0
%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%
A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%994%E0%B8%88%E0%B8%B5-
%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%
B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5
%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
ไม่มีความคิดเห็น: