10 มิถุนายน 2556 (การแข่งขันทำ APP ร้อน) DTAC มั่นใจ ผู้ชนะทำแอพชนิดพิเศษให้กับลูกค้าดีแทคบ้าง // TRUE สำหรับ 5 ทีมสุดท้ายจะรับทั้งเงินลงทุนเบื้องต้นวงเงินทีมละ 5 แสน-1 ล้านบาท
ประเด็นหลัก
*** ดีแทค ยึดคอนเซ็ปต์ไม่ร่วมลงทุน
"ดีแทค ไม่ต้องการเข้าไปล็อกระบบของใครเพียงแต่ถ้าเราต้องการคอนเทนต์(เนื้อหา) พิเศษก็ให้ผู้ชนะทำแอพชนิดพิเศษให้กับลูกค้าดีแทคบ้าง"
นายเรืองโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เป็นเพราะการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เรื่องของแอพพลิเคชันเป็นสิ่งสำคัญและประเทศไทยขาดในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น 3 ค่ายมือถือ คือ เอไอเอส-ดีแทค และ ทรู ต้องการผลักดันให้เป็นฮับเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
"ดีแทค เชื่อว่าแอพสามารถสร้างรายได้และมีชื่อเสียงเหมือนกับไลน์ และ วอทแอพ ถ้าดูมูลค่าตลาดบริการเสริมอยู่ที่ 1.5 หมื่น ล้านบาท ดีแทค มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% และภายในอีก 3 ปี มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นล้านบาท และ การมาของ 3 จีเราเชื่อว่าจะผลักดันบริการเสริมของ ดีแทค เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน "
** ทรู ผุด"ทรู อินคิวบ์"
สำหรับ 5 ทีมสุดท้ายที่ได้รับคัดเลือกเข้าโปรแกรม"ทรู อินคิวบ์" จะรับทั้งเงินลงทุนเบื้องต้นวงเงินทีมละ 5 แสน-1 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมว่าแต่ละรายทำธุรกิจประเภทใด และจะได้เข้าร่วม Boot Camp อบรมอย่างเข้มข้นตลอด 99 วัน โดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และการสนับสนุนจากกลุ่มทรู และสำหรับ 1 ใน 5 ทีมที่รับการคัดเลือกจะได้เข้าเรียนรู้การทำงานกับ 500 Startups โปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการชั้นนำของโลก ที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ สหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดมุมมองธุรกิจสตาร์ตอัพระดับโลกอีกด้วย
เพราะตอนนี้เรื่องของโซเชียลมีเดีย เป็นเรื่องที่กำลังเติบโต และ ยิ่ง 3 จีเปิดให้บริการแล้ว ถ้ากลุ่มทุนสื่อสารสนับสนุนนักพัฒนาไทยแบบนี้อีกไม่นานอาจจะมี "มาร์ก เมืองไทย" ก็เป็นได้!!!
______________________________________
'อินทัช-ดีแทค-ทรู' ปลุกกระแสเวนเจอร์แคป
หลายปีก่อนหน้านี้กระแสของ Venture Capital (ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) ได้รับกระแสการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มทุนสื่อสารอย่าง บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช และ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ใช้เม็ดเงินก้อนโตกับโครงการเหล่านี้เช่นเดียวกัน
หากแต่ปี 2540 กระแสดอตคอมล่มสลายโครงการ Venture Capital ก็สลายไปกับเช่นเดียวกันเมื่อเข้าสู่ยุคโซเชียลมีเดีย และ การแจ้งเกิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีอย่างเต็มรูปแบบกระแส Venture Capital กลับมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่าครั้งนี้ไม่เหมือนกับยุคดอตคอมล่มสลายเพราะโลกได้เปลี่ยนไป ธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง และ ฟังเพลง รวมอยู่ในมือถือเพียงเครื่องเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มทุนสื่อสาร ไล่เลียงตั้งแต่ บมจ.ชิน คอร์ป , บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทุ่มเงินกว่า 100 ล้านบาท ปลุกกระแส Venture Capital อีกครั้งหนึ่ง
***ยุคลงทุนกับคนรุ่นใหม่
นายภาวุธ พงษ์วิทยภาณุ(ป้อม) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับกรณีที่บรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 3 ราย คือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดโครงการ Venture Capital (ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) ว่า ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นธุรกิจแบบใหม่ด้วยการลงทุนกับคนรุ่นใหม่ ข้อดี คือ บรรดาผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามาสนับสนุนส่งผลให้องค์กรเติบโตได้ง่ายขึ้น ความเสี่ยงน้อยลง เท่ากับว่าเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้น เช่น กรณีที่ อินทัช ร่วมลงทุนกับบริษัท อุ๊คบี จำกัด ขณะที่ บมจ.ทรู และ บมจ.ดีแทค เริ่มทำโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีมือใหม่ เนื่องจากว่าบรรดาผู้ประกอบการทั้ง 3 รายเชื่อว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตต่อไปจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับสามารถทำรายได้ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย
นอกจากนี้แล้วธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (การซื้อ-ขาย ผ่านอิเล็กทรอนิกส์) ปรากฏว่าคนไทย 47.5% เริ่มใช้จ่ายบนออนไลน์เป็นครั้งแรกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในสัดส่วน 64.5% ของบรรดานักช็อปออนไลน์พร้อมแนะนำสินค้าที่ตัวเองซื้อผ่านเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อคือสินค้า แฟชั่น,สินค้าเพื่อสุขภาพความงาม และ นาฬิกา
*** ดีแทค ยึดคอนเซ็ปต์ไม่ร่วมลงทุน
ต้องบอกว่า อินทัช เป็นรายแรกที่เปิดโครงการชื่อ "อินเว้นท์" โมเดลธุรกิจ คือ เข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีศักยภาพโดยก่อนหน้านี้เข้าไปร่วมลงทุนกับ บริษัท อุ๊คบี จำกัด ผู้พัฒนาอี-แม็กกาซีน ในสัดส่วน 25%
ขณะที่นายเรืองโรจน์ พูนผล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ของ ดีแทค กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการ dtac Accelerate ในการสร้าง Application ecosystem ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมานั้นขณะนี้อยู่ขั้นตอนคัดเลือก 20 คนสุดท้าย และจะคัดเลือกให้เหลือ 10 ทีมสุดท้ายภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2556 จะเลือกผู้ชนะอันดับที่ 1-2 และ 3 สิทธิ์เข้าร่วม Blackbox Connect Participation ที่ Silicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมค่าใช้จ่าย, สถานที่พัก และค่าเดินทาง dtac Platinum Exclusive Partner มูลค่ามากกว่า 500,000 บาท และ เงินรางวัล 100,000 บาท
สำหรับผู้ชนะในครั้งนี้ ดีแทค ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรด้านการตลาดแต่จะไม่เข้าไปร่วมลงทุนเพราะการร่วมลงทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากนโยบายของ ดีแทค ไม่ต้องการล็อกระบบยึดคอนเซ็ปต์ระบบเปิดเหมือน กูเกิล ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทำให้เข้าถึงฐานลูกค้าได้มากที่สุด
"ดีแทค ไม่ต้องการเข้าไปล็อกระบบของใครเพียงแต่ถ้าเราต้องการคอนเทนต์(เนื้อหา) พิเศษก็ให้ผู้ชนะทำแอพชนิดพิเศษให้กับลูกค้าดีแทคบ้าง"
นายเรืองโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เป็นเพราะการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เรื่องของแอพพลิเคชันเป็นสิ่งสำคัญและประเทศไทยขาดในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น 3 ค่ายมือถือ คือ เอไอเอส-ดีแทค และ ทรู ต้องการผลักดันให้เป็นฮับเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้
"ดีแทค เชื่อว่าแอพสามารถสร้างรายได้และมีชื่อเสียงเหมือนกับไลน์ และ วอทแอพ ถ้าดูมูลค่าตลาดบริการเสริมอยู่ที่ 1.5 หมื่น ล้านบาท ดีแทค มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 50% และภายในอีก 3 ปี มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นล้านบาท และ การมาของ 3 จีเราเชื่อว่าจะผลักดันบริการเสริมของ ดีแทค เติบโตขึ้นอย่างแน่นอน "
** ทรู ผุด"ทรู อินคิวบ์"
บมจ. ทรู เป็นกลุ่มทุนสื่อสารรายสุดท้ายเปิดตัว "ทรู อินคิวบ์" โปรแกรมสร้างผู้ประกอบการไทย ด้วยแนวคิด "รู้จริง ทำจริง ช่วยจริง" นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ป กล่าวว่า เนื่องจาก ทรูเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม แต่ยังขาดโอกาสทางด้านธุรกิจ กลุ่มทรูจึงต้องการสนับสนุนผู้ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ให้สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง และได้เตรียมเงินทุนสำหรับโครงการนี้รวมกว่า 250 ล้านบาท
นายศุภชัย เชื่อว่าการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย มีความคิดในเรื่องเดียวกันเป็นการสร้างสตาร์ตอัพให้เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เน้นการแข่ง ส่วนเงินลงทุนนั้นจะเน้นตามความเหมาะสมไม่ได้เจาะจงว่าจะลงทุนในด้านใดมากหรือน้อยกว่ากัน และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้วงเงิน โดยคาดหวังว่ามีประมาณ 200 บริษัทที่จะเข้ามาแข่งขัน และจะคัดเหลือเพียง 5-10 บริษัทที่จะสามารถเกิดธุรกิจขึ้นจริงเท่านั้น แต่ทั้งนี้หากมีบริษัทที่มีแนวโน้มที่ดีทรูก็พร้อมที่จะผลักดันเพิ่มขึ้นในอนาคต
สำหรับ 5 ทีมสุดท้ายที่ได้รับคัดเลือกเข้าโปรแกรม"ทรู อินคิวบ์" จะรับทั้งเงินลงทุนเบื้องต้นวงเงินทีมละ 5 แสน-1 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมว่าแต่ละรายทำธุรกิจประเภทใด และจะได้เข้าร่วม Boot Camp อบรมอย่างเข้มข้นตลอด 99 วัน โดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และการสนับสนุนจากกลุ่มทรู และสำหรับ 1 ใน 5 ทีมที่รับการคัดเลือกจะได้เข้าเรียนรู้การทำงานกับ 500 Startups โปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการชั้นนำของโลก ที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ สหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดมุมมองธุรกิจสตาร์ตอัพระดับโลกอีกด้วย
เพราะตอนนี้เรื่องของโซเชียลมีเดีย เป็นเรื่องที่กำลังเติบโต และ ยิ่ง 3 จีเปิดให้บริการแล้ว ถ้ากลุ่มทุนสื่อสารสนับสนุนนักพัฒนาไทยแบบนี้อีกไม่นานอาจจะมี "มาร์ก เมืองไทย" ก็เป็นได้!!!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=186156:2013-06-07-06-48-27&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: