11 มิถุนายน 2556 ก่อกิจ รองเลขาธิการกสทช. ชี้ โดนร้องเรียนมากที่สุดคือ การจำกัดความเร็วเน็ต เหตุความคาดหวังในการได้รับบริการที่เป็นธรรม (รองลงมาเป็นเรื่องสัญญาณ)
ประเด็นหลัก
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3 จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ระบุว่า วันนี้ (11 มิ.ย.) สำนักงาน กสทช. จะสรุปภาพรวมการตรวจสอบเอกชนว่าปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. หรือไม่ หลังเปิดให้บริการครบ 1 เดือน โดยเน้นการตรวจสอบเรื่องโปรโมชั่นที่มีอยู่ในตลาดว่าลดราคาลง 15% ตามที่ กสทช. ลงพื้นที่สุ่มสำรวจไหม
ทั้งนี้ การปลี่ยนผ่านโครงสร้างไปสู่เครือข่าย 3 จีใหม่ ช่วงแรกจะเกี่ยวกับการดูแลให้เป็นไปตามกลไกลตลาด และการดูแลเรื่องราคา แต่สิ่งที่ กสทช.จะต้องดูแลหลังจากนี้ คือการพิจารณาในมิติครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดอย่างเป็นธรรม ขณะเดียวกันผู้บริโภคจะต้องได้รับการคุ้มครองคู่ขนานด้วย
"ช่วงแรกที่เปิดให้บริการตอนนี้ ข้อร้องเรียนส่วนใหญ่ เกี่ยวกับความไม่เข้าใจระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค และความคาดหวังในการได้รับบริการที่เป็นธรรม โดยเฉพาะการจำกัดความเร็วดาต้า เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนมามากที่สุด ตามด้วยปัญหาพื้นที่ไม่ครอบคลุมสัญญาณ, สัญญาณหาย ซึ่งกระบวนของ กสทช. หลังได้รับเรื่องร้องเรียน ก็เรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง เพื่อสรุปข้อเท็จจริง และนำไปเข้ากระบวนการแก้ปัญหา"
______________________________________
1 เดือนเปิดบริการ '3จี' ต้องเร่งแก้ปัญหาผู้บริโภค
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ชมรมนักข่าวไอทีจัดเสวนา 1 เดือน หลังเปิด 3จี เสียงส่วนใหญ่สะท้อนปัญหาใหญ่ผู้บริโภค
ผ่านการเปิดให้บริการ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์อย่างเป็นทางการมากว่า 1 เดือน ของ 2 โอเปอเรเตอร์หลัก "เอไอเอส-ทรู" ส่วนดีแทคต้องรอปลายเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากเปิดตัวมือถือโออีเอ็ม 3 รุ่นไป ประสบการณ์การใช้งานมือถือบน 3จีของผู้บริโภคมีทั้งดีบ้าง แย่บ้างแตกต่างกันไปตามพิกัดการใช้งานมีโครงข่ายครอบคลุมเท่าไร
ด้านการดูแลของ กสทช. ตามโครงสร้างการกำกับยังคลุมเครือหลายประเด็น ทั้งการปรับลดราคาค่าบริการ 15% ทั้งจากแพ็คเกจเก่า - ใหม่ และการให้บริการที่ความเร็วต้องสูงขึ้นกว่าเดิม
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3 จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ระบุว่า วันนี้ (11 มิ.ย.) สำนักงาน กสทช. จะสรุปภาพรวมการตรวจสอบเอกชนว่าปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. หรือไม่ หลังเปิดให้บริการครบ 1 เดือน โดยเน้นการตรวจสอบเรื่องโปรโมชั่นที่มีอยู่ในตลาดว่าลดราคาลง 15% ตามที่ กสทช. ลงพื้นที่สุ่มสำรวจไหม
ทั้งนี้ การปลี่ยนผ่านโครงสร้างไปสู่เครือข่าย 3 จีใหม่ ช่วงแรกจะเกี่ยวกับการดูแลให้เป็นไปตามกลไกลตลาด และการดูแลเรื่องราคา แต่สิ่งที่ กสทช.จะต้องดูแลหลังจากนี้ คือการพิจารณาในมิติครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดอย่างเป็นธรรม ขณะเดียวกันผู้บริโภคจะต้องได้รับการคุ้มครองคู่ขนานด้วย
"ช่วงแรกที่เปิดให้บริการตอนนี้ ข้อร้องเรียนส่วนใหญ่ เกี่ยวกับความไม่เข้าใจระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค และความคาดหวังในการได้รับบริการที่เป็นธรรม โดยเฉพาะการจำกัดความเร็วดาต้า เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนมามากที่สุด ตามด้วยปัญหาพื้นที่ไม่ครอบคลุมสัญญาณ, สัญญาณหาย ซึ่งกระบวนของ กสทช. หลังได้รับเรื่องร้องเรียน ก็เรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง เพื่อสรุปข้อเท็จจริง และนำไปเข้ากระบวนการแก้ปัญหา"
เสวนาภาพรวมหลังเปิด3จีครบเดือน
วานนี้ (10 มิ.ย.) ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอทีพีซี) จัดงานเสวนาจิบน้ำชา “เปิดเรือน 1 เดือน 3 จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์" เพื่อประมวลปัญหา และการให้บริการ 3 จี คลื่น 2.1 หลังจากทั้ง 3 ค่ายเปิดให้บริการ
นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขยาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ระบุว่า การเปิดให้บริการ 1 เดือนมีลูกค้าโอนย้ายมาเครือข่าย 3จีใหม่จำนวน 2 ล้านคน
ส่วนปัญหาที่ลูกค้าพบการใช้ความเร็วดาต้าช้าลงเมื่อใช้บริการถึงจำนวนที่จำกัดไว้ในโปรโมชั่น เป็นเรื่องการให้บริการภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่มีลูกค้าใช้บริการจำนวนมาก หากไม่ลดความเร็วจะทำให้เกิดจราจรหนาแน่น และลูกค้าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น แต่จะทำให้การลดความเร็วอยู่ในเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด
นอกจากนี้ ลูกค้ายังสอบถามเกี่ยวกับปัญหาใช้ 3 จีใหม่ไม่ได้บางพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาการให้บริการที่ยังไม่คลอบคลุมทุกพื้นที่ รวมทั้ง ปัญหาแบตเตอรี่หมดไว เนื่องจากการโหลดข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ให้บริการ หรือจังหวะที่สลับกันระหว่าง 3 จีใหม่ กับ 2 จีเดิมจะใช้พลังงานมากกว่าปกติ
ทรูเผยมีลูกค้าโอนย้ายกว่าล้านราย
นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการ ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ระบุว่า ขณะนี้การให้บริการ 3 จี ของทรู หากไม่นับรวมคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งที่ผ่านมาให้บริการย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ถือว่าครอบคลุม 77 จังหวัดแล้วหลังจากเปิดให้บริการมาเกือบ 2 ปี มีสถานีฐานให้บริการ 13,000 แห่ง
ขณะนี้มีลูกค้าโอนย้ายมาใช้บริการแล้วประมาณ 1 ล้านคน หรือขอโอนย้ายเฉลี่ย 8,000 คนต่อวัน เป็นลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากค่ายอื่นราว 30% ลูกค้า 1 คน ใช้เวลาโอนย้ายเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ลูกค้าเดิมไม่ต้องเปลี่ยนซิม ยกเว้นผู้ที่ต้องการใช้แอลทีอี 4จี ต้องเปลี่ยนซิมใหม่
ส่วนการปรับลดอัตราค่าบริการลง 15% ลูกค้าอาจไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรม แต่โปรโมชั่นที่เห็นชัดเจน เช่น 899 บาท จะปรับลดเหลือ 745 บาท หรือแพ็คเกจใหม่ต้องออกมาให้สอดคล้องกับนโนบาย กสทช.
เขา กังวลว่า การคืนคลื่น 1800 ที่ทรูมีลูกค้า 18 ล้านเลขหมาย ต้องดูแนวทางการกำกับ และนโยบายการจัดสรรของ กสทช. ซึ่งคณะทำงานของ กสทช. ได้หารือกับเอกชนอยู่แล้ว และจะประกาศแผนชัดเจนเร็วๆ นี้ เบื้องต้น กสทช. กำหนดช่วงระยะเวลาการโอนย้ายลูกค้าแล้ว
ดีแทคเลื่อนเปิด3จีเป็นต้นก.ค.นี้
นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ระบุว่า ดีแทคจะเปิดตัว 3จีแบบไม่เป็นทางการวันที่ 21 มิ.ย.นี้ และเปิดให้บริการเป็นทางการเดือนก.ค. เป็นลำดับขั้นหลังจากเปิดแบรนด์ไตรเน็ต และมือถือดีแทค ไตรเน็ต โฟน เมื่อ 6 มิ.ย. แต่ขณะนี้พบว่ามีลูกค้าลงทะเบียนเพื่อแสดงความจำนงโอนย้ายเครือข่ายแล้ว 1.7 ล้านแสนเลขหมาย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นลูกค้าเดิม
ดีแทคทำในแบรนด์ไตรเน็ต เป็นการใช้คลื่นร่วมกันระหว่าง 850 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เริ่มต้น 4,000 สถานีฐาน และจะครบ 5,000 สถานีฐานในปลายปี ใช้งบลงทุน 3.4 - 4 หมื่นล้านบาทครอบคลุม 3 ปี เชื่อมั่นว่าจะดูแลได้ทั้งลูกค้าใหม่ และลูกค้า 2 จีเดิม
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130611/510542/1-
%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0
%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-
3%E0%B8%88%E0%B8%B5-
%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%
B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E
0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84.html
ไม่มีความคิดเห็น: