Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มิถุนายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.ทิ้งคนต่างจังหวัด++ ทำไมไม่เริ่มการออกอากาศจากพื้นที่กันดารก่อน ++ TOSHIBA จี้กำหนดคนรายได้น้อยดีๆ เพราะบางคนรวยแน่นอน



ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ทาง กสทช.ออกมาประกาศว่าจะต้องเริ่มส่งสัญญาณระบบทีวีดิจิตอลภายใน 4 ปี และภายใน 5 ปี จำนวนครัวเรือนของไทยในเมืองใหญ่ต้องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศกว่า 20 ล้านครัวเรือน

แนวทางดังกล่าวส่งผลให้มีคำถามจากหลายภาคส่วน ดังนั้น คณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงจัดสัมมนาในหัวข้อ “ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภคจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิตอล”

ฉลาด วรฉัตร ประธานกรรมการ บริษัท ซีเอทีวี (ประเทศไทย) กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้มันสายเกินไปแล้ว เพราะทุกอย่างล้วนต้องอยู่ในกรอบ หากรัฐบาลต้องการที่จะช่วยเหลือประชาชนจริงๆ ควรไล่มาจากท้องถิ่นที่ไม่เจริญ เพราะคนในเมืองมีทางเลือกเยอะกว่า สามารถดูทีวีได้ทั้งทางอินเทอร์เน็ตและทีวีออนดีมานด์ ขณะที่คนที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีทางเลือก มีเพียงทีวีที่ดูรายการในช่องฟรีทีวีได้เท่านั้น

“คนที่อยู่บนเขาบนดอยมีทางเลือกน้อย รัฐบาลควรช่วยเหลือคนพวกนี้ เพราะคนที่อยู่ในเมืองส่วนใหญ่มีฐานะและมีเงินเสียค่าสมาชิกรายเดือนทีวีดาวเทียมกันอยู่แล้วเดือนละ 2,000-3,000 บาท แต่คนที่อยู่ท้องถิ่นห่างไกลไม่มีทีวี สิ่งเหล่านี้รัฐต้องเข้าไปสำรวจอย่างจริงจังเพื่อให้ความช่วยเหลือ” ฉลาด กล่าว

ณัฐพงษ์ อารีกุล รองประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า จากแนวทางที่ กสทช.กำหนดผู้ที่มีรายได้น้อยต้องได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้แน่ เพราะคูปองที่แจกไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแจกสูงถึง 2,000 บาท คนหัวใสบางคนนำนโยบายนี้ไปทำธุรกิจจนร่ำรวยกันมาแล้ว ดังนั้น ภาครัฐควรมีความชัดเจนว่าจะแจกคูปองเมื่อไหร่และที่ไหนบ้าง

นอกจากนี้ คำถามว่ากรอบเวลาที่ กสทช. ออกมาระบุว่า การออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายจะอยู่ที่ช่วงเวลาประมาณไตรมาส 2 นี้ หลังจากนั้นภายในไตรมาส 3 จะมีการออกใบอนุญาตให้บริการประเภทกิจการบริการสาธารณะ และในไตรมาส 4 จะออกใบอนุญาตให้บริการประเภทกิจการทางธุรกิจ ยังอยู่ในกรอบเวลานี้หรือไม่ เพราะขณะนี้ดูเหมือนทุกอย่างยังไม่มีอะไรนิ่ง
















______________________________________







ซัด"กสทช."ทิ้งคนตจว./แจกคูปองไม่ชัด

โดย...จะเรียม สำรวจ

ย้อนกลับไปเมื่อ 58 ปีที่ผ่านมา หรือประมาณปี 2498 ประเทศไทยมีการออกอากาศโทรทัศน์ครั้งแรกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ขาว-ดำ ในระบบ FCC 525 เส้น ต่อมาอีก 12 ปี หรือประมาณปี 2510 มีการเปลี่ยนระบบการออกอากาศ ด้วยการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์สีระบบ CCIR PAL 625 เส้น

จากวันนั้นถึงวันนี้ ปี 2556 ประเทศไทยใช้ระยะเวลาถึง 46 ปี กับการเปลี่ยนผ่านระบบการออกอากาศจากอะนาล็อกสู่การเป็นทีวีดิจิตอล ด้วยระบบ DVB–T2 หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาประกาศโต้งว่าประเทศไทยต้องเปลี่ยนระบบการออกอากาศทีวีจากอะนาล็อกเป็นดิจิตอลให้สำเร็จภายในกรอบเวลาไตรมาส 4 ปี 2556

การที่ กสทช. หยิบเรื่องนี้มาเป็นส่วนสำคัญของวงการโทรทัศน์ไทย เนื่องจากวิวัฒนาการของโลกเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นสากลของโลก จึงต้องเปลี่ยนระบบออกอากาศเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้คลื่นความถี่สากล

ทั้งนี้ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ทาง กสทช.ออกมาประกาศว่าจะต้องเริ่มส่งสัญญาณระบบทีวีดิจิตอลภายใน 4 ปี และภายใน 5 ปี จำนวนครัวเรือนของไทยในเมืองใหญ่ต้องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ไม่น้อยกว่า 80% ของจำนวนครัวเรือนทั้งประเทศกว่า 20 ล้านครัวเรือน

แนวทางดังกล่าวส่งผลให้มีคำถามจากหลายภาคส่วน ดังนั้น คณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงจัดสัมมนาในหัวข้อ “ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภคจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิตอล”

ฉลาด วรฉัตร ประธานกรรมการ บริษัท ซีเอทีวี (ประเทศไทย) กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้มันสายเกินไปแล้ว เพราะทุกอย่างล้วนต้องอยู่ในกรอบ หากรัฐบาลต้องการที่จะช่วยเหลือประชาชนจริงๆ ควรไล่มาจากท้องถิ่นที่ไม่เจริญ เพราะคนในเมืองมีทางเลือกเยอะกว่า สามารถดูทีวีได้ทั้งทางอินเทอร์เน็ตและทีวีออนดีมานด์ ขณะที่คนที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีทางเลือก มีเพียงทีวีที่ดูรายการในช่องฟรีทีวีได้เท่านั้น

“คนที่อยู่บนเขาบนดอยมีทางเลือกน้อย รัฐบาลควรช่วยเหลือคนพวกนี้ เพราะคนที่อยู่ในเมืองส่วนใหญ่มีฐานะและมีเงินเสียค่าสมาชิกรายเดือนทีวีดาวเทียมกันอยู่แล้วเดือนละ 2,000-3,000 บาท แต่คนที่อยู่ท้องถิ่นห่างไกลไม่มีทีวี สิ่งเหล่านี้รัฐต้องเข้าไปสำรวจอย่างจริงจังเพื่อให้ความช่วยเหลือ” ฉลาด กล่าว

ณัฐพงษ์ อารีกุล รองประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า จากแนวทางที่ กสทช.กำหนดผู้ที่มีรายได้น้อยต้องได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้แน่ เพราะคูปองที่แจกไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแจกสูงถึง 2,000 บาท คนหัวใสบางคนนำนโยบายนี้ไปทำธุรกิจจนร่ำรวยกันมาแล้ว ดังนั้น ภาครัฐควรมีความชัดเจนว่าจะแจกคูปองเมื่อไหร่และที่ไหนบ้าง

นอกจากนี้ คำถามว่ากรอบเวลาที่ กสทช. ออกมาระบุว่า การออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายจะอยู่ที่ช่วงเวลาประมาณไตรมาส 2 นี้ หลังจากนั้นภายในไตรมาส 3 จะมีการออกใบอนุญาตให้บริการประเภทกิจการบริการสาธารณะ และในไตรมาส 4 จะออกใบอนุญาตให้บริการประเภทกิจการทางธุรกิจ ยังอยู่ในกรอบเวลานี้หรือไม่ เพราะขณะนี้ดูเหมือนทุกอย่างยังไม่มีอะไรนิ่ง

จากคำถามมากมายดังกล่าว ตัวแทน กสทช.ชี้แจงว่า ทุกอย่างน่าจะดำเนินการเสร็จภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ และภายในปี 2558 จะยุติการออกอากาศในระบบอะนาล็อก หลังจากยุติการออกอากาศระบบอะนาล็อกแล้ว เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวใช้ในกิจการอื่นๆ

ขณะที่การแจกคูปอง ตัวแทนจาก กสทช.ชี้แจงว่า จะมีการแจกให้ทุกครัวเรือนของไทยครัวเรือนละ 1 คูปอง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 22 ล้านครัวเรือน แผนการดำเนินงานดังกล่าวถือว่าปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่จะแจกเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย จากเม็ดเงินที่จะได้มาจากการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทกิจการทางธุรกิจที่จะมีมูลค่าสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท จึงทำให้ กสทช.สามารถนำเงินดังกล่าวมาแจกคูปองได้ทุกครัวเรือน


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%
B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/227997/%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0
%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%88%E0%
B8%A7-
%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0
%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.