Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มิถุนายน 2556 TOT3G เล่น2แผน(ทั้งขยายโครงข่าย 15000 แห่งและตั้งทาวเวอร์โค) หากพลาดขยายโครงข่ายต้องเดินหน้า++ (คาดสัญญา i mobile เสร็จ 24 กรกฏาคมนี้ หลังจากนั้น 365 ต่อ)



ประเด็นหลัก



นายอุดม พัวสกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  หรือTOT กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ได้มีการรับรายงานจากฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการขยายโครงข่ายติดตั้งสถานีฐาน 3 G TOT ย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ในเฟส 1 จำนวน 5,320 แห่ง ว่า จะสามารถติดตั้งครบสถานีฐานทั้งหมดในวันที่ 31 สิงหาคม2556นี้

โดยขั้นตอนต่อไป ทีโอที  จะดำเนินการในขั้นตอนการแต่งตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำตลาด โดยรายแรกจะให้บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน)ดำเนินการ  ล่าสุดได้ส่งร่างสัญญาการทำตลาดแบบเสมือนจริง หรือ เอ็มวีเอ็นโอ (Mobile Virtual Network Operator-MVNO)ให้ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ตรวจสอบแล้ว คาดว่าในวันที่ 24 กรกฏาคม 2556 จะมีการเซ็นรองรับสัญญาการทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอ ก่อนลงนามกับสามารถ ไอโมบาย ต่อไป

“อย่างเร็วที่สุดการเซ็นสัญญากับไอ-โมบายน่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดียวกับการติดตั้งโครงข่าย 3Gในเดือนสิงหาคม ที่จะแล้วเสร็จครบ 5,320 แห่ง”

นายอุดม กล่าวว่า ในเบื้องต้นไอโมบายได้ขอทำการตลาดจำนวน 40% ของปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดที่มีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย ไอ-โมบายจะได้ทำตลาดจำนวน 2.28 ล้านเลขหมาย ส่วนที่เหลือจะเป็นการทำตลาดของบริษัทรายอื่น

สำหรับร่างสัญญาดังกล่าวในการแบ่งปันรายได้ อยู่ที่ร้อยละ 46ต่อ 54 โดย ทีโอที ได้ร้อยละ 46 ส่วน ไอ-โมบาย ได้รับรายได้ 54% สาเหตุที่เอกชนได้ส่วนแบ่งมากกว่าเพราะเอกชนต้องรับผิดชอบค่าการทำตลาดด้วย ขณะที่ ทีโอที ไม่มีภาระต้นทุนส่วนนี้

     ทั้งนี้ สามารถไอ-โมบายได้ขอทำการตลาดจำนวน 40% ของปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดที่มีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย หรือ 2.88 ล้านเลขหมาย และมีส่วนแบ่งรายได้ 54% ในขณะที่ทีโอทีจะมีรายได้ 46% แต่ไอ-โมบายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการตลาดทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเอกชนรายที่ 2 ขอทำตลาดจำนวน 20% ของความจุ 7.2 ล้านเลขหมายด้วย คือ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นหนึ่งใน MVNO 3G ทีโอทีตั้งแต่ต้น โดยเน้นการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดียและทางอินเทอร์เน็ต

 "เราจะเน้นการตลาดจริงลงไปถึงลูกค้า ทางฝ่ายบริหาร ทีโอที ยืนยันกับบอร์ดว่า ในวันที่ 31สิงหาคมนี้ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแน่นอน และยังมีบริษัท 365 คอนเซ้าท์ติ้ง ที่สนใจทำตลาดจำนวน 20%ด้วย"

นายอุดม กล่าวถึงแผนโครงการลงทุน 3G ในเฟสถัดไปหรือในเฟส 2 ว่า ทีโอที ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ในการดำเนินงานแล้ว คาดว่าในปีนี้ทีโอทีจะต้องคลอดแผน 3Gเฟส 2 ให้แล้วเสร็จ มีวงเงินการดำเนินการ 30,000 ล้านบาท จำนวนสถานีฐานที่ให้บริการ 15,000 แห่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีโอที ได้เปิดให้บริการTOT 3G ในเฟส1 เมื่อปลายปี2554 ที่ผ่านมา ปัจจุบันตัวเลขยอดขายซิมการ์ดอยู่ที่289,129 เลขหมาย


       “สาเหตุที่ 3G เฟส 2 ล่าช้ากว่าเป้าที่วางไว้เนื่องจากทีโอทีเตรียมจะเสนอแผนไปพร้อมกับแผนการตั้งทาวเวอร์โคควบคู่กันเลย แต่หากทาวเวอร์โคยังไม่ชัดเจนหรือต้องใช้เวลาอีกนานเราอาจจะเสนอเฉพาะแผน 3G เฟส 2 เท่านั้นก่อน”
   
















______________________________________






ช้าเป็นอาชีพ “ทีโอที” คาดเซ็น MVNO สามารถฯ เดือน ส.ค.




       ประธานบอร์ดทีโอทีระบุ MVNO สามารถฯ จบแน่ ส.ค.นี้ หลังเจรจาเสร็จ 100% โดยทีโอทีได้ส่วนแบ่งรายได้ 46% สามารถ ไอ-โมบายได้ 54% พร้อมรับผิดชอบค่าการตลาดทั้งหมด เตรียมเสนอบอร์ดอีกครั้ง 24 ก.ค.นี้ (บอร์ดประชุมเดือนละครั้งเท่านั้น อย่าคาดหวังว่าจะทำงานได้เร็วกว่านี้) ส่วนการติดตั้งโครงข่าย 3G เฟส 1 จำนวน 5,320 ไซต์ ติดตั้งครบ 31 ส.ค.นี้ พร้อมเตรียมของบทำไว-ไฟเพิ่มอีก 2,800 ล้านบาท
     
       นายอุดม พัวสกุล ประธานบอร์ด บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.มีการรายงานความคืบหน้าเรื่อง MVNO โดยสรุปว่าทีโอทีได้เจรจากับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย เสร็จเรียบร้อยทุกๆ เรื่องแล้ว และในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าในวันที่ 24 ก.ค.จะมีการพิจารณาเพื่ออนุมัติเซ็นสัญญา MVNO กับสามารถ ไอ-โมบาย โดยในระหว่างนี้ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจสอบ
     
       ทั้งนี้ สามารถไอ-โมบายได้ขอทำการตลาดจำนวน 40% ของปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดที่มีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย หรือ 2.88 ล้านเลขหมาย และมีส่วนแบ่งรายได้ 54% ในขณะที่ทีโอทีจะมีรายได้ 46% แต่ไอ-โมบายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการตลาดทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเอกชนรายที่ 2 ขอทำตลาดจำนวน 20% ของความจุ 7.2 ล้านเลขหมายด้วย คือ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นหนึ่งใน MVNO 3G ทีโอทีตั้งแต่ต้น โดยเน้นการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดียและทางอินเทอร์เน็ต
     
       ส่วนเรื่องการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส 1 ได้รับรายงานว่าจะติดตั้งครบ 5,320 แห่งภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้แน่นอน เพราะตอนนี้เหลือการติดตั้งอยู่เพียง 400 แห่งเท่านั้น และปัจจุบันตัวเลขยอดขายซิมการ์ด 3G เฟส 1 ที่ทีโอทีทำตลาดเองนั้นมีจำนวน 289,129 เลขหมาย
     
       ขณะเดียวกัน แผนงานโครงการ 3G เฟส 2 นั้นคาดว่าภายในปีนี้ทีโอทีจะต้องคลอดแผน 3G เฟส 2 ให้แล้วเสร็จ ภายหลังได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการภายใต้งบประมาณ 30,000 ล้านบาท และจำนวนสถานีฐานที่ให้บริการ 15,000 แห่ง
     
       “สาเหตุที่ 3G เฟส 2 ล่าช้ากว่าเป้าที่วางไว้เนื่องจากทีโอทีเตรียมจะเสนอแผนไปพร้อมกับแผนการตั้งทาวเวอร์โคควบคู่กันเลย แต่หากทาวเวอร์โคยังไม่ชัดเจนหรือต้องใช้เวลาอีกนานเราอาจจะเสนอเฉพาะแผน 3G เฟส 2 เท่านั้นก่อน”
     
       นายอุดมกล่าวว่า ทีโอทียังเตรียมขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) จากเดิมที่ กสทช.อนุมัติมาแล้วก่อนหน้านี้จำนวน 950 ล้านบาทเพื่อติดตั้งไว-ไฟเพื่อให้บริการสาธารณะให้ได้ 150,000 จุด แต่ล่าสุดทีโอทีคาดว่างบประมาณที่ได้มาไม่เพียงพอในการดำเนินการเพราะงบส่วนใหญ่จะเป็นค่าอุปกรณ์เท่านั้น ยังไม่รวมกับค่าบริหารจัดการต่างๆ ด้วย
     
       ดังนั้น ทีโอทีจึงจำเป็นที่จะต้องขอเงินสนับสนุนเพิ่มในโครงการดังกล่าวอีกจำนวน 2,800 ล้านบาท โดยเบื้องต้นคาดว่ามีแนวทางในการขอเงินสนับสนุนจาก 3 หน่วยงาน คือ 1. ขอเงินเพิ่มเติมจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 2. ขอรัฐบาล และ 3. ขอจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติมนั้นทีโอทีจะนำมาบริหารจัดการโครงการ USO เป็นเวลา 3 ปี
     
       นอกจากนี้ บอร์ดทีโอทียังมีการอนุมัติวงเงิน 2,600 ล้านบาทเพื่อเปลี่ยนสายทองแดงในระบบโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์) ไปสู่สายไฟเบอร์ออปติกเพื่อเป็นการรักษาฐานลูกค้าเก่า และสร้างโอกาสทางธุรกิจ รวมไปถึงเพื่อรองรับการแข่งขันในตลาด โดยวงเงินดังกล่าวจะครอบคลุมการปรับเปลี่ยนจำนวน 840,000 พอร์ต จากจำนวนเลขหมายฟิกซ์ไลน์ของทีโอทีรวม 3.3 ล้านเลขหมาย โดยโครงการปรับเปลี่ยนนี้จะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี 6 เดือน
     


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000071030


________________________________

 เปิดบริการ“TOT 3G”เฟสใหม่สค.นี้

เปิดบริการ“TOT 3G”เฟสใหม่สค.นี้

“ทีโอที” ดึง “สามารถไอ-โมบาย”

เป็นผู้ทำตลาด2.2ล้านเลขหมาย

นายอุดม พัวสกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  หรือTOT กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ได้มีการรับรายงานจากฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการขยายโครงข่ายติดตั้งสถานีฐาน 3 G TOT ย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ในเฟส 1 จำนวน 5,320 แห่ง ว่า จะสามารถติดตั้งครบสถานีฐานทั้งหมดในวันที่ 31 สิงหาคม2556นี้

โดยขั้นตอนต่อไป ทีโอที  จะดำเนินการในขั้นตอนการแต่งตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำตลาด โดยรายแรกจะให้บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน)ดำเนินการ  ล่าสุดได้ส่งร่างสัญญาการทำตลาดแบบเสมือนจริง หรือ เอ็มวีเอ็นโอ (Mobile Virtual Network Operator-MVNO)ให้ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ตรวจสอบแล้ว คาดว่าในวันที่ 24 กรกฏาคม 2556 จะมีการเซ็นรองรับสัญญาการทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอ ก่อนลงนามกับสามารถ ไอโมบาย ต่อไป

“อย่างเร็วที่สุดการเซ็นสัญญากับไอ-โมบายน่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดียวกับการติดตั้งโครงข่าย 3Gในเดือนสิงหาคม ที่จะแล้วเสร็จครบ 5,320 แห่ง”

นายอุดม กล่าวว่า ในเบื้องต้นไอโมบายได้ขอทำการตลาดจำนวน 40% ของปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดที่มีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย ไอ-โมบายจะได้ทำตลาดจำนวน 2.28 ล้านเลขหมาย ส่วนที่เหลือจะเป็นการทำตลาดของบริษัทรายอื่น

สำหรับร่างสัญญาดังกล่าวในการแบ่งปันรายได้ อยู่ที่ร้อยละ 46ต่อ 54 โดย ทีโอที ได้ร้อยละ 46 ส่วน ไอ-โมบาย ได้รับรายได้ 54% สาเหตุที่เอกชนได้ส่วนแบ่งมากกว่าเพราะเอกชนต้องรับผิดชอบค่าการทำตลาดด้วย ขณะที่ ทีโอที ไม่มีภาระต้นทุนส่วนนี้

 "เราจะเน้นการตลาดจริงลงไปถึงลูกค้า ทางฝ่ายบริหาร ทีโอที ยืนยันกับบอร์ดว่า ในวันที่ 31สิงหาคมนี้ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแน่นอน และยังมีบริษัท 365 คอนเซ้าท์ติ้ง ที่สนใจทำตลาดจำนวน 20%ด้วย"

นายอุดม กล่าวถึงแผนโครงการลงทุน 3G ในเฟสถัดไปหรือในเฟส 2 ว่า ทีโอที ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ในการดำเนินงานแล้ว คาดว่าในปีนี้ทีโอทีจะต้องคลอดแผน 3Gเฟส 2 ให้แล้วเสร็จ มีวงเงินการดำเนินการ 30,000 ล้านบาท จำนวนสถานีฐานที่ให้บริการ 15,000 แห่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีโอที ได้เปิดให้บริการTOT 3G ในเฟส1 เมื่อปลายปี2554 ที่ผ่านมา ปัจจุบันตัวเลขยอดขายซิมการ์ดอยู่ที่289,129 เลขหมาย

นายอุดม กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีการอนุมัติวงเงิน 2,600 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนสายทองแดงในระบบโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ หรือโทรศัพท์บ้าน  โดยเปลี่ยนไปใช้สายไฟเบอร์รองรับการให้บริการบรอดแบนด์ ทีวีดิจิตอล  และบริการด้านดาต้า(ข้อมูลบนอินเตอร์เนต)มากขึ้น โดยวงเงินดังกล่าวจะครอบคลุมการปรับเปลี่ยนจำนวน 840,000 พอร์ต จากจำนวนเลขหมายของทีโอทีรวม 3.3 ล้านเลขหมาย โดยจะเปลี่ยนให้เสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือน

http://www.naewna.com/business/55481

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.