14 มิถุนายน 2556 อนุดิษฐ์ รู้ดี เหตุ CAT TOT ถูกขัดแข่งขัดขาเรื่องการคืนเสา++ เหตุเอกชนก็ไม่ต้องการลงทุนสร้างโครงข่ายซ้ำซ้อน เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ
ประเด็นหลัก
“แม้คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) จะเห็นชอบในหลักการแผนฟื้นฟูกิจการของทีโอที และ กสท แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องทำแผนธุรกิจเสนอ ครม. เพื่ออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป ผมยอมรับว่าการสะสางปัญหาของทีโอทีและ กสท ต้องล่าช้า เพราะความเหลื่อมล้ำของสัญญาที่เกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีใครยอมใคร เพราะกลัวเสียเปรียบอีกฝ่าย เช่น คู่สัญญาบางรายโอนทรัพย์สิน แต่บางรายไม่โอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน จึงทำให้ปัญหาคาราคาซังมาทุกวันนี้ ดังนั้น ต้องรอการเจรจาสิ้นสุดและทำสัญญาร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ขณะที่เอกชนก็ไม่ต้องการลงทุนสร้างโครงข่ายซ้ำซ้อน เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ”
______________________________________
สางปมสัญญาสัมปทานมือถือวนในอ่าง "อนุดิษฐ์"ยืดอกรับไม่ง่าย
น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีข้อสรุปและไม่มีความคืบหน้า โดยทั้งสองบริษัทยังมีปัญหาคาราคาซังกับคู่สัญญาสัมปทานเกี่ยวกับโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานและข้อพิพาทระหว่างกันซึ่งยังไม่มีข้อยุติแต่อย่างใด ฉะนั้นการจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารทรัพย์สิน โดยเฉพาะเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคม จึงไม่สามารถจัดตั้งได้ จนกว่าการเจรจาข้อพิพาทจะยุติ
“แม้คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) จะเห็นชอบในหลักการแผนฟื้นฟูกิจการของทีโอที และ กสท แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องทำแผนธุรกิจเสนอ ครม. เพื่ออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป ผมยอมรับว่าการสะสางปัญหาของทีโอทีและ กสท ต้องล่าช้า เพราะความเหลื่อมล้ำของสัญญาที่เกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีใครยอมใคร เพราะกลัวเสียเปรียบอีกฝ่าย เช่น คู่สัญญาบางรายโอนทรัพย์สิน แต่บางรายไม่โอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน จึงทำให้ปัญหาคาราคาซังมาทุกวันนี้ ดังนั้น ต้องรอการเจรจาสิ้นสุดและทำสัญญาร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ขณะที่เอกชนก็ไม่ต้องการลงทุนสร้างโครงข่ายซ้ำซ้อน เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ”
ส่วนประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ ที่ต้องสิ้นสุดตามสัญญาสัมปทานนั้น กระทรวงไอซีที ได้นำเรื่องเสนอ ครม.แล้ว แต่อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกลั่นกรองชุดที่ 3 ซึ่งต้องนำความเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาอย่างรอบคอบ คาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง และต้องหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อีกครั้งว่าเพื่อความชัดเจน แม้จะออกร่างประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ แต่ยังมีบางประเด็นที่ไม่ชัดเจนว่า ใครจะเป็นผู้ดูแลการเยียวยาผู้ใช้บริการดังกล่าว.
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/351113
ไม่มีความคิดเห็น: