Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มิถุนายน 2556 จีเอสเอ็มเอ ยื่นหนังสือเลขาฯ กสทช. ให้พิจารณาให้คลื่น 700 MHz ทำบรอดแบรนด์ (ขุ่ ถ้านำไปบริการ TV จะสูญเสีย GDP ราว 102,000 ล้านบาท สร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง)


ประเด็นหลัก


นางสาวคริส เปเรรา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและการกำกับดูแลคลื่นความถี่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวว่า หากกสทช.เลือกเอาคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์  มาให้บริการบรอดแบนด์จะเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2558 มากกว่า 555,200 ล้านบาท และเกิดสร้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 58,000 ตำแหน่ง  ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย ซึ่ง ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้นราว 102,000 ล้านบาท และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง



ทั้งนี้ สมาคมจีเอสเอ็มเอเสนอว่า ไทยควรใช้เทคโนโลยีรับส่งคลื่นความถี่เป็นย่านเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งในย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ คือตั้งแต่ 510-806 เมกะเฮิรตซ์ สามารถทำให้ทั้งระบบโมบาย บรอดแบนด์ และดิจิทัลทีวี โดยในย่านความถี่คลื่น 510-698 ควรใช้สำหรับการประมูลช่วงดิจิทัลทีวี โดยจะได้ช่องระบบส่งสัญญาณความชัดมาตรฐาน (เอสดี) 48 ช่อง และความชัดสูง (เอชดี) 16 ช่อง ส่วนอีกช่วงคล่ื่นที่เหลือ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ จะสามารถเหลือความถี่ 45 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับให้บริการโมบาย บรอดแบนด์.




______________________________________



ชงคลื่น 700 เข้าบอร์ด กสทช.เชื่อไม่กระทบประมูลทีวีดิจิตอล




"จีเอสเอ็มเอ" ยื่นหนังสือเลขาฯ กสทช. ทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่ ในช่วง 700 เมกะเฮิรตซ์ ประกาศทำตามแผนแม่บท เชื่อไม่กระทบประมูลทีวีดิจิตอล ก.ย.56…

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 56 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยและสมาคมจีเอสเอ็ม เรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วง 700 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เพื่อการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยขอให้ กสทช.ทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกับแผนย่านความถี่ของเอเชียแปซิฟิก ซึ่งหากประเทศไทยใช้คลื่น 700 MHz อาจส่งผลกระทบคลื่นรบกวนกับประเทศอื่นๆ




เลขาธิการฯ กสทช. กล่าวต่อว่า จีเอสเอ็มเอ ได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับให้แก่สำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. พร้อมทั้งจะยื่นหนังสือให้แก่วุฒิสภา โดยสำนักงาน กสทช.ยืนยันว่า จะดำเนินการตามแผนแม่บททั้ง 3 แผน คือ แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.2555-2559) และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว และเดินหน้าแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งจะไม่กระทบต่อการประมูลทีวีดิจิตอลช่วงเดือน ก.ย. 2556 แน่นอน โดยจะเร่งนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม กสทช.วันที่ 19 มิ.ย.นี้.





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/351788

____________________________________________________


กสทช.ไม่หวั่นจีเอสเอ็มเอนำคลื่น700 เมกะเฮิร์ตซทำโทรคมนาคม


กสทช. ไม่หวั่น รับหนังสือ จีเอสเอ็มเอ ประกาศทำตามแผนแม่บท ไม่กระทบการประมูลทีวีดิจิทัลเดือนก.ย.นี้
วันที่(17มิ.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่า สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยและสมาคมจีเอสเอ็ม ได้มายื่นหนังสือเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วง 700 เมกะเฮิร์ตซเพื่อการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยขอให้กสทช.ทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกับแผนย่านความถี่ของเอเชียแปซิฟิก  ซึ่งหากประเทศไทยใช้คลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ อาจส่งผลกระทบคลื่นรบกวนกับประเทศอื่นๆ


นอกจากนี้จีเอสเอ็มเอ ได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับให้แก่สำนักงานกสทช.และประธานกสทช. และจะยื่นหนังสือให้แก่วุฒิสภา โดยสำนักงานกสทช.ยืนยันว่าจะดำเนินการตามแผนแม่บททั้ง 3 แผน คือ แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่  แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ. 2555-2559)   และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)    ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว และเดินหน้าแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ซึ่งจะไม่กระทบต่อการประมูลทีวีดิจิทัลช่วงเดือนก.ย.56แน่นอน


“จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ และไม่กระทบต่อการประมูลทีวีดิจิทัล เนื่องจากกสทช.เดินหน้าตามแผนแม่บทที่เป็นเหมือนกฎหมายที่บังคับกสทช. ซึ่งแผนแม่บทมีอายุ 5 ปี และสามารถปรับปรุงได้ทุกๆ 2 ปี  โดยจะนำวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมกสทช.ให้ทันวันที่ 19 มิ.ย.56”นายฐากร กล่าว

http://www.dailynews.co.th/technology/212562

__________________________________________






สมาคมจีเอสเอ็มวอน กสทช.นำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ บริการบรอดแบรนด์


สมาคมจีเอสเอ็ม แนะ กสทช.นำคลื่นย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ มาให้บริการบรอดแบรนด์ เพื่อเพิ่มจีดีพีของประเทศ หากเอาไปทำทีวีดิจิทัลอาจจะมีผลกระทบกวนสัญญาณประเทศเพื่อนบ้าน
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท สมาคมจีเอสเอ็ม (GSM) ได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ระหว่างเตรียมการจัดสรรคลื่นเพื่อให้บริการทีวีดิจิทัล และกำหนดคลื่นความถี่ ดิจิทัล ดีวิเดนท์ (Digital Dividend) สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ (บรอดแบรนด์)

นางสาวคริส เปเรรา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและการกำกับดูแลคลื่นความถี่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวว่า หากกสทช.เลือกเอาคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์  มาให้บริการบรอดแบนด์จะเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2558 มากกว่า 555,200 ล้านบาท และเกิดสร้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 58,000 ตำแหน่ง  ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย ซึ่ง ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้นราว 102,000 ล้านบาท และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง

"หาก กสทช.จะกำหนดให้ช่วงคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับทำดิจิทัลทีวี เพื่อเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกสู่ดิจิทัล ที่จะมีการเปิดประมูล 48 ช่องในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จะส่งผลกระทบทันทีต่อประเทศเพื่อนบ้านเพราะคลื่นความถี่จะกวนสัญญาณอย่างหนัก อีกทั้ง ในการรวมตัวเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งไทยอยากเป็นเมืองหลวงของเออีซี ดังนั้นไทยควรไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคอาเซียน " นางสาวเปเรรา กล่าว

นายศรันย์ ผโลประการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนกลางแผนเครือข่าย และบริการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า สมาคมจีเอสเอ็มเอไม่ได้มีเจตนาจะทำให้การประมูลคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์  สำหรับดิจิทัลทีวีในประเทศไทยล่าช้า แต่สิ่งที่จะเสนอแนะคือ ต้องการรู้แผนการดำเนินงาน (โรดแมฟ) ของกสทช.ว่า  การเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อคไปสู่ดิจิทัล (ดิจิทัล สวิตซ์ โอเวอร์) จะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ สมาคมจีเอสเอ็มเอเสนอว่า ไทยควรใช้เทคโนโลยีรับส่งคลื่นความถี่เป็นย่านเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งในย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ คือตั้งแต่ 510-806 เมกะเฮิรตซ์ สามารถทำให้ทั้งระบบโมบาย บรอดแบนด์ และดิจิทัลทีวี โดยในย่านความถี่คลื่น 510-698 ควรใช้สำหรับการประมูลช่วงดิจิทัลทีวี โดยจะได้ช่องระบบส่งสัญญาณความชัดมาตรฐาน (เอสดี) 48 ช่อง และความชัดสูง (เอชดี) 16 ช่อง ส่วนอีกช่วงคล่ื่นที่เหลือ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ จะสามารถเหลือความถี่ 45 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับให้บริการโมบาย บรอดแบนด์.

http://www.dailynews.co.th/technology/212627

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.