Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มิถุนายน 2556 จับตากสทช.++ ร่างประกาศ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้กรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน (+คิดต่างชี้+) ไม่จำเป็นต้องออกร่างนี้ เหตุ มีกฏหมายรองรับแล้วอาจขัดรัฐธรรมนูญ



ประเด็นหลัก



รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พรุ่งนี้ (19 มิ.ย.) มีวาระน่าจับตา ได้แก่ เรื่องร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลง ในวันที่ 15 ก.ย. 2556 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ทั้งนี้ ได้เสนอวาระต่อ กสทช. พิจารณาเห็นชอบก่อนนำร่างฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เนื้อหาหลักของร่างฯ ฉบับดังกล่าว เป็นการให้อำนาจ กสทช. กำหนดให้มีผู้ให้บริการทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม. 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศ์ษา กรรมการ กสทช. และกรรมการ กทค. ได้มีความเห็นแย้งต่อมติ กทค. ดังกล่าว เพราะเห็นว่า กสทช.สามารถกำหนดมาตรการรองรับด้วยวิธีการอื่นที่ยังสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ โดยไม่ต้องออกร่างประกาศฉบับนี้ และ กสทช.เองไม่มีอำนาจออกร่างประกาศฯ ที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว เพราะไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ รวมทั้งยังเป็นการอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งขัดกับกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ประกอบกับการที่ กสทช. จะพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการ รวมถึงการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมตามมาตราดังกล่าวได้ จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายให้อำนาจ ซึ่ง ม. 45 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคม จะต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลเท่านั้น ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่ได้กำหนดให้ กสทช. สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลง กสทช. จึงไม่อาจพิจารณามอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบให้บริการเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้ดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ตาม ม.45 แม้จะอ้างว่าเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ตาม หากที่ประชุม กสทช.มีมติเห็นชอบตามร่างประกาศฉบับดังกล่าว จะทำให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามร่างประกาศจะใช้กับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในทุกย่านความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดลง โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จะสิ้นสุดในปี 2558 และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2561 ตามลำดับ











______________________________________






จับตา! บอร์ด กสทช.ถกมาตรการคืนคลื่น1800-ห้ามซิมดับ
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update

จับตาวาระบอร์ด กสทช. มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการคลื่นโทรศัพท์มือถือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและติดตามร่างฯ จริยธรรมของ กสทช. 19 มิ.ย.นี้...

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พรุ่งนี้ (19 มิ.ย.) มีวาระน่าจับตา ได้แก่ เรื่องร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลง ในวันที่ 15 ก.ย. 2556 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ ทั้งนี้ ได้เสนอวาระต่อ กสทช. พิจารณาเห็นชอบก่อนนำร่างฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เนื้อหาหลักของร่างฯ ฉบับดังกล่าว เป็นการให้อำนาจ กสทช. กำหนดให้มีผู้ให้บริการทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม. 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศ์ษา กรรมการ กสทช. และกรรมการ กทค. ได้มีความเห็นแย้งต่อมติ กทค. ดังกล่าว เพราะเห็นว่า กสทช.สามารถกำหนดมาตรการรองรับด้วยวิธีการอื่นที่ยังสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ โดยไม่ต้องออกร่างประกาศฉบับนี้ และ กสทช.เองไม่มีอำนาจออกร่างประกาศฯ ที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว เพราะไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ รวมทั้งยังเป็นการอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งขัดกับกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ประกอบกับการที่ กสทช. จะพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และการประกอบกิจการ รวมถึงการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมตามมาตราดังกล่าวได้ จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายให้อำนาจ ซึ่ง ม. 45 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคม จะต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลเท่านั้น ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่ได้กำหนดให้ กสทช. สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลง กสทช. จึงไม่อาจพิจารณามอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบให้บริการเป็นการชั่วคราว โดยไม่ได้ดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ตาม ม.45 แม้จะอ้างว่าเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ตาม หากที่ประชุม กสทช.มีมติเห็นชอบตามร่างประกาศฉบับดังกล่าว จะทำให้มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามร่างประกาศจะใช้กับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในทุกย่านความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดลง โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จะสิ้นสุดในปี 2558 และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2561 ตามลำดับ

นอกจากนี้ รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ที่ประชุม กสทช.มีวาระที่น่าสนใจ เพื่อพิจารณา เรื่อง (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง ประมวลจริยธรรมของกรรมการ กสทช. และร่างระเบียบ กสทช. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. พ.ศ. ... ซึ่งการประชุมเมื่อเดือน ต.ค. 2555 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ได้เคยเสนอวาระการประชุม เรื่อง หารือการกำหนดจรรยาบรรณของ กสทช. โดยอิงกับมาตรฐานสากล เพื่อเป็นแนวทางสำคัญและจำเป็นในการสร้างความน่าเชื่อถือกับ กสทช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวพันกับธุรกิจ ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล โดยได้นำแนวคิด เรื่อง “Public service is a public trust” จากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การสร้างความน่าเชื่อถือของหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อจัดระบบการปฏิบัติหน้าที่ให้โปร่งใสและได้มาตรฐานอย่างน้อย 3 ข้อ ได้แก่ ข้อกำหนดด้านจริยธรรม ความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ประจำ ความโปร่งใสในการติดต่อกับบุคคลภายนอก รวมถึงมาตรฐานสากลของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของประเทศสหรัฐฯ FCC และของสหราชอาณาจักร Ofcom ที่ระบุถึงกฎเกณฑ์ด้านจริยธรรมในรายละเอียดบางเรื่องที่สำคัญ เช่น การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์จากบุคคลภายนอก ค่าใช้จ่ายรับรอง ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าของขวัญ การบริจาค การเดินทางไปร่วมประชุม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การกำหนดนโยบายการใช้จ่ายขององค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนโครงการ หรือกิจกรรมที่ควรต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเหมาะสม รวมถึงนโยบายในการเปิดเผยข้อมูล ความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานกำกับดูแล หรือการนำเสนอความคิดเห็นต่างที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายขององค์กรผ่านการเขียนบทความ อยู่ในวิสัยที่พึงกระทำได้ ทั้งในสื่อสาธารณะ และการนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์กรอีกด้วย.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/352022

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.