Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 กสทช. (แสดงวิน-วินออกในการบริการจัดการ 1800) อ้างได้รับประโยชน์ทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชน !! หากลูกค้ายังตกค้าง โดยให้ผู้ให้บริการใหม่ทันที



ประเด็นหลัก














______________________________________




กรุงเทพธรกิจ 22 มิถุนายน 2556

_________________________________________




ลุ้นประมูล "4จี คลื่น1800" จับตาทางออก "กสทช."

โดย : ปานฉัตร สินสุข

นับถอยหลัง 3 เดือนลุ้นประมูล "4จี คลื่น1800" จับตาทางออก "กสทช."

การนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำลังหมดสัมปทานในอีก 3 เดือนของ "ทรูมูฟ-ดีพีซี" มาจัดสรรใหม่ (รี-ฟาร์มมิ่ง) ถือเป็นการนับหนึ่งเริ่มต้นของการให้บริการ "4จี" หากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำได้จริงตามโรดแมพคลื่นความถี่แห่งชาติที่กำหนดระยะเวลาประมูลปลายปี 2557

สอดรับร่างประกาศ กสทช.เกี่ยวกับการวางแผนมาตรการเยียวยาลูกค้า 2จี ซึ่งเตรียมถกในเวทีประชาพิจารณ์สัปดาห์หน้า ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของ 2 กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศ์ศา และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เพราะเกรงว่าจะไปเอื้อให้เอกชนคู่สัมปทานที่เหลือ ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆ ในร่างฯเยียวยา คือ จะให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือเจ้าของสัมปทานคลื่นได้สิทธิดูแลลูกค้าต่อไป 1 ปีจนกว่าจะมีโอนย้ายไปยังระบบใหม่ และให้เสร็จทันการประมูล 4จี ที่จะเกิดขึ้นปี 2557

แม้กรอบเวลาการประมูลจะกำหนดแน่ชัด แต่ความคลุมเครือการถือครองคลื่นและสิทธิการจัดสรรคลื่น 4จี ต้องดูว่าจะไปตกอยู่ที่ใคร เพราะ กสท ก็อ้างสิทธิตามกฎหมายที่มี "ข้อยกเว้น" ไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับการใช้คลื่นได้ต่อด้วยสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของมาแต่ดั้งเดิม โดยมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) หนุนหลังอยู่ หาก กสทช.ยกอำนาจและสิทธิที่ได้รับในข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ นั่นหมายถึงหนทางไปสู่การประมูล 4จี จึง "ไม่ง่าย" เพราะคือการนำคลื่นเดิมที่เจ้าของยังไม่ยอมคืนมาเร่ขายใหม่ แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับคลื่น 3จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เป็นคลื่นเปล่ายังไม่เคยได้รับการจัดสรร

ประมูล4จีชี้ชะตาใครได้-ใครเสีย

แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคม กล่าวว่า หากแผนเปิดประมูล 4จี ไม่เป็นไปตามกรอบเวลาของ กสทช. โดย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานการประมูล 4จี ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะถือว่าเป็นอีกบทพิสูจน์เกี่ยวกับการทำงานของกสทช.ที่มีอำนาจเป็นเพียง "เสือกระดาษ" อำนาจการบังคับใช้ตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายและสิทธิที่รัฐธรรมนูญมีให้มาถือเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะการเรียกคืนคลื่นที่หมดสัมปทานมาจัดสรรใหม่ คือ การนำทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์ ได้ผลตอบแทนเข้ารัฐในรูปแบบเงินประมูล แต่หากถูกค้านอำนาจโดยรัฐวิสาหกิจอย่าง กสท ที่เป็นเจ้าของคลื่นเดิมไม่ยินยอมแล้ว เท่ากับการทำหน้าที่ กสทช.ไม่ประสบผลสำเร็จ

อย่างไรก็ดี แนวทางดำเนินงานของ กสทช.ดูเหมือนจะสวนทางกับไอซีที และเจ้าของสัมปทานคลื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะขณะนี้ กสท สรุปแนวทางดูแลลูกค้าช่วงเปลี่ยนผ่าน และวางแผนรองรับหลังสัมปทานสิ้นสุดเดือนก.ย.2556 แล้ว โดย กสท เสนอไอซีทีขอใช้คลื่นความถี่ในย่านดังกล่าวต่อไป และให้ไอซีทีไปเจรจากับ กสทช.เพื่อขอใช้คลื่นต่อ

ดังนั้นการประมูลคลื่น 4จีที่จะเกิดปี 2557 ไม่มีทางเป็นไปได้ ความเป็นไปได้ที่จะล้มกระดาน 4จี จึงสูง หากฝ่ายการเมืองและบริษัทที่เจ้าของคลื่นไม่เอาด้วย

ทั้งนี้ คลื่นความถี่ย่านดังกล่าว มีจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็นทรูมูฟ และดีพีซีอย่างละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง กสท ต้องการจะเก็บคลื่นความถี่ในช่วงของทรูมูฟเอาไว้ ด้วยเหตุผลว่ามีฐานลูกค้าจำนวนมากราว 18 ล้านราย หากเปลี่ยนผ่านและไม่เยียวยาที่เหมาะสมเพียงพอจะเกิดผลกระทบหนัก จึงต้องการขอคลื่นดังกล่าวเก็บไว้ก่อน และจะให้ไอซีทีทำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อใช้คลื่นดังกล่าวต่อในอนาคต และการให้บริการเทคโนโลยี 4จี จะใช้สำหรับสร้างโครงข่ายหลักตามนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ส่วนคลื่นความถี่ในย่าน 1800

เข้า ครม.กลั่นกรองยกสิทธิ์ขาด

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ประเด็นสิทธิผู้ถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน กระทรวงไอซีทีนำเสนอเรื่องสิทธิ์ถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ต่อ ตามที่ กสท ร้องขอมาเข้า ครม. เมื่อ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว ครม.มีมติให้คณะกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณา

ทั้งนี้ เหตุความจำเป็นที่ กสท ทำเรื่องขอถือครองคลื่นความถี่ต่อ เนื่องจากหาก กสทช.นำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ประมูล 4จี จะทำให้คลื่นความถี่ไปตกอยู่กับเอกชนแทนที่จะเป็นภาครัฐ ส่งผลให้เสาสัญญาณคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ กสท มีอยู่ หรือเตรียมได้รับโอนตามสัญญาบีทีโอ นำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร และรัฐวิสาหกิจก็จะดำเนินธุรกิจต่อยอดจากทรัพย์สินทางโทรคมนาคมที่ได้รับมาจากเอกชนไม่ได้

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน ดีพีซี มีเสาโทรคมนาคม 2,000 แห่ง โอนให้ กสท 180 แห่ง, ดีแทค มีเสาโทรคมนาคม 12,000 แห่ง แต่โอนให้ กสท 1,100 แห่ง ส่วนกลุ่มทรูมีเสาโทรคมนาคม 11,000 แห่ง แต่ยังไม่ได้โอนให้ กสท เพราะติดปัญหาข้อพิพาทในที่กรรมสิทธิ์

ขณะที่แผนตั้งบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำทรัพย์สินโทรคมนาคมมาเปิดให้เอกชนเช่าใช้ ก็ยังดำเนินการไม่ได้ ทั้ง บริษัท ไฟเบอร์ คัมพะนี จำกัด บริษัท ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด และเป็นไปได้สูงที่ทั้ง 2 บริษัทอาจตั้งขึ้นล่าช้า เนื่องจากคู่สัญญาเอกชนของ กสท คือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และทรูมูฟ ยังไม่ได้โอนเสาสัญญาณให้ กสท ตามสัญญาบีทีโอ ประกอบกับที่ผ่านมาทาง กสท ยื่นเรื่องต่อหน่วยงานยุติธรรมตีความอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งสถานีฐานที่พ่วงมากับเสาสัญญาณ อาทิ ที่ดินตั้งเสาสัญญาณ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อใช้งานกับเสาสัญญาณว่าต้องส่งคืนตามสัญญาบีทีโอด้วยหรือไม่ กระบวนการยังค้างอยู่ในชั้นอนุญาโตตุลาการ

ดังนั้น หากเลื่อนเปิดประมูล 4จี ออกไปจากแผนงานขอ งกสทช.และเสาสถานีฐาน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเปรียบได้กับเสา 4จี จะนำไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ และจนถึงทุกวันนี้ กสทช.ยังไม่ได้วางแนวทางการให้ใช้อุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าวชัดเจนเท่าที่ควร ก็จะทำให้การประมูล 4จีจะไม่เกิดผลสำเร็จ เพราะหาก ครม.อนุมัติให้สิทธิ์ กสท ถือครองคลื่นต่อไป แม้เปิดประมูล 4จี ได้ผู้ชนะมาแล้ว ท้ายที่สุดคลื่นก็ต้องกลับมา กสท อยู่ดี

กสทช.ยัน4จีทุกฝ่าย"วิน-วิน"

พ.อ.เศรษฐพงค์ รองประธาน กสทช. กล่าวว่า แผนประมูล 4จี จะใช้คลื่นย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตช์ จะเปิดประมูลเบื้องต้น 20 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 4 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมก ขณะนี้ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวางแผนประมูลและกำหนดแนวทางเปลี่ยนผ่านไปสรุปกรอบจัดประมูล และเรียกคลื่นความถี่คืนมาจัดสรรใหม่จาก กสท ที่ถือกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าวอยู่ และยืนยันว่าการเปิดประมูล 4จี นั้นจะได้ประโยชน์ทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน

อย่างไรก็ดี หากกรอบประมูล 4จี ไม่เป็นไปตามที่วางไว้ ก็จะส่งผลกระทบทันทีกับลูกค้าที่คงค้างอยู่ในระบบ 2จี ย่านความถี่เดิมที่ทรูมูฟ และดีพีซีให้บริการอยู่ เพราะตามร่างประกาศ กสทช.ในมาตรการเยียวยาลูกค้ากำหนดไว้ชัดเจนว่า จะให้สิทธิ์ กสท ดูแลลูกค้าต่ออีก 1 ปี ซึ่งจะบรรจบพอดีกับการประมูล 4จี ที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2557 หรือราวเดือน ต.ค.

ดังนั้น เงื่อนไขการประมูล 4จีจะบรรจุไปว่า ผู้ที่ชนะการประมูลนี้ต้องรับผิดชอบลูกค้าที่คงค้างอยู่ในระบบเดิมด้วย ดังนั้นหากไม่มีประมูล 4จี ตามเวลาดังกล่าว เมื่อสิ้นสุดกรอบเยียวยาลูกค้าใน 1 ปี ลูกค้าที่คงค้างจะเกิดปัญหา "ซิมดับ" หรือ "ถูกลอยแพ"

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งคณะทำงาน 2 คณะสนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ได้แก่ คณะทำงานเยียวยาผลกระทบอันเกิดจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมือถือของทรูมูฟ และดีพีซี โดยมี นายสงขลา วิชัยขัทคะ เป็นประธาน ศึกษาความชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลลูกค้าที่ใช้คลื่น 1800 ช่วงเปลี่ยนผ่านจากสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี คณะทำงานต้องศึกษาให้เสร็จใน มิ.ย. 2556 หรือก่อนสัมปทานสิ้นสุด 3 เดือน รวมถึงศึกษาประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบและถูกต้อง ปัจจุบันทรูมูฟและดีพีซี มีผู้ใช้บริการจำนวน 17 ล้านเลขหมาย

ส่วนคณะทำงานอีกคณะ คือ คณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่น 1800 ซึ่งมี นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธาน โดยคณะทำงานคณะนี้มีหน้าที่สร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภคที่ใช้บริการ 17 ล้านเลขหมาย ช่วยหาช่องทางอำนวยความสะดวกโอนย้ายเลขหมาย กำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการทั้งรายเดือน และพรีเพด

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130624/513037/%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B
8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-4%E0%B8%88%E0%B8%B
5-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%991800-
%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%
B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A..html



















ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.