Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 ไปรษณีย์ไทย เตรียมจับมือ แอร์เอเชีย ทำบริการดส่งด่วนข้ามจังหวัดทั่วประเทศภายใน 24 ชม. จากเดิมที่การส่งข้ามจังหวัดข้ามภูมิภาคจะต้องใช้เวลา 1-2วัน



ประเด็นหลัก


 น.ส.อานุสรา กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรสายการบิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ในการให้บริการ ซูเปอร์ อีเอ็มเอส (Super EMS) ซึ่งเป็นการจัดส่งด่วนข้ามจังหวัดทั่วประเทศภายใน 24 ชม. ภายในเดือน ก.ค. นี้ จากเดิมที่การส่งข้ามจังหวัดข้ามภูมิภาคจะต้องใช้เวลา 1-2วัน โดยในระยะแรกจะเป็นการขนส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์เอเชียทุกเที่ยวบิน
   
       นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการต่อยอดถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปี ข้างหน้าด้วย ซึ่งจะทำให้ไปรษณีย์ไทยสามารถให้บริการขนส่งสินค้า อาหาร จากประเทศอาเซียนที่เส้นทางแอร์เอเชียเปิดให้บริการได้ด้วย
   
       “การร่วมมือครั้งนี้กับแอร์เอเชียยังเป็นการเปิดตลาดในระดับอาเซียนได้เร็วขึ้น จากที่ปัจจุบันทำเพียงแค่บริการไปรษณีย์กับ ธนาณัติระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา และลาวเท่านั้น”
   
       สำหรับค่าบริการของซูเปอร์อีเอ็มเอสจะสูงกว่าค่าบริการอีเอ็มเอสปกติประมาณ 3 เท่า เช่น ค่าบริการอีเอ็มเอสปกติ 36 บาท บริการซุเปอร์อีเอ็มเอสจะอยู่ที่ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สูงจนเกินไป และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดได้



______________________________________






ไปรษณีย์ไทยจับมือแอร์เอเชีย เปิดบริการซูเปอร์อีเอ็มเอส



       ไปรษณีย์ไทยจับมือแอร์เอเชียเปิดบริการซูเปอร์อีเอ็มเอส พร้อมยื่นแผน กนร.ตั้งบริษัทลูกรอบที่สาม ชื่อบริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น หวังเป็นศูนย์กระจายสินค้าช่วยโอทอป เอสเอ็มอี คาดปีนี้ฟันรายได้ 2 หมื่นล้านบาท
     
       น.ส.อานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยเตรียมนำแผนจัดตั้งบริษัทลูกในนาม บริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น จำกัด เข้าคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(กนร.)เพื่อให้พิจารณาอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 18 ก.ค.2556 นี้ จากเดิมที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอไปแล้ว 2 ครั้ง คือบริษัท สินเชื่อ ไปรษณีย์ไทย ซึ่งถูกยกเลิกไปสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต่อมาเสนอตั้งบริษัท ไปรษณีย์ โลจิสโพสต์ แต่ก็ถูกที่ประชุมกนร. ตีกลับให้ไปทบทวนภาระหน้าที่ให้สอดคล้องกับภารกิจของไปรษณีย์ไทย ซึ่งปัจจุบันไปรษณีย์ไทยก็ทำหน้าที่ในการขนส่งสินค้าอยู่แล้ว ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนมาป็น ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้า ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า
     
       ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทไปรษณีย์ ดิสทริบิวชั่นมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยกระจายสินค้าให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) และผู้ผลิตสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (โอทอป) ได้กระจายสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกลงอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับไปรษณีย์ไทย ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยจะใช้ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น500 ล้านบาท และยังเป็นการรองรับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการกระจายสินค้า เพื่อให้สินค้าไทยส่งออกได้อย่างสะดวกสบายมากที่สุด
     
       “ทุนจดทะเบียน500 ล้านบาทนั้นใช้เฉพาะการลงทุนในระยะแรกเท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมไปถึงหากไปรษณีย์ไทยต้องมีการเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าจากที่มีอยู่แล้ว10ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนเพิ่มเติมหากมีลูกค้าจำนวนมาก และมีความต้องการสูง แต่คงต้องรอดูทิศทางภายหลังการเปิดบริษัทใหม่ก่อน”
     
       ขณะที่ภายหลังไปรษณีย์ไทยเสนอแผนจัดตั้งบริษัทลูกให้กับกนร.เป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปก็จะนำเสนอเข้ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติต่อไป
     
       น.ส.อานุสรา กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรสายการบิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ในการให้บริการ ซูเปอร์ อีเอ็มเอส (Super EMS) ซึ่งเป็นการจัดส่งด่วนข้ามจังหวัดทั่วประเทศภายใน 24 ชม. ภายในเดือน ก.ค. นี้ จากเดิมที่การส่งข้ามจังหวัดข้ามภูมิภาคจะต้องใช้เวลา 1-2วัน โดยในระยะแรกจะเป็นการขนส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์เอเชียทุกเที่ยวบิน
     
       นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการต่อยอดถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปี ข้างหน้าด้วย ซึ่งจะทำให้ไปรษณีย์ไทยสามารถให้บริการขนส่งสินค้า อาหาร จากประเทศอาเซียนที่เส้นทางแอร์เอเชียเปิดให้บริการได้ด้วย
     
       “การร่วมมือครั้งนี้กับแอร์เอเชียยังเป็นการเปิดตลาดในระดับอาเซียนได้เร็วขึ้น จากที่ปัจจุบันทำเพียงแค่บริการไปรษณีย์กับ ธนาณัติระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา และลาวเท่านั้น”
     
       สำหรับค่าบริการของซูเปอร์อีเอ็มเอสจะสูงกว่าค่าบริการอีเอ็มเอสปกติประมาณ 3 เท่า เช่น ค่าบริการอีเอ็มเอสปกติ 36 บาท บริการซุเปอร์อีเอ็มเอสจะอยู่ที่ 100 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ไม่สูงจนเกินไป และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดได้
     
       ทั้งนี้ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้ารายได้ในปี2556 อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท มีกำไร 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้1.8 หมื่นล้านบาท โดยมีปัจจัยมาจากการให้บริการขนส่ง (โลจิสโพสต์) ให้กับหน่วยงานรัฐ และลูกค้าองค์กรรวมถึงการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000076152

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.