25 มิถุนายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ทบทวนราคาเริ่มต้นช่องเด็กเริ่ม140ลบ.เพิ่มขึ้นครั้งละ1ลบ. // ช่องข่าวเริ่ม220ลบ.เพิ่มขึ้นครั้งละ2ลบ. // ช่องทัวไปเริ่ม380ลบ.เพิ่มขึ้นครั้งละ5ลบ. // ช่องHDเริ่ม1510ลบ.เพิ่มขึ้นครั้งละ10ลบ.
ประเด็นหลัก
ผู้ประกอบการจะได้ใบอนุญาตจะได้หลังประมูลจบภายใน 60 วัน มีอายุถือครอง 15 ปี
ราคาเริ่มต้น และประเภทช่องรายการ
1. ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ช่อง
ราคาช่องละ 140 ล้านบาท การเคาะ เพิ่มขึ้นครั้งละ 1 ล้านบาท
2. ช่องข่าว จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 220 ล้านบาท การเคาะ เพิ่มขึ้นช่องละ 2 ล้านบาท
3. ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน (Standard Definition: SD) จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 5 ล้านบาท
4. ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐานสูง (High Definition: HD) จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 1,510 ล้านบาท การเคาะเพิ่มขึ้นละ 10 ล้านบาท
ลำดับเลขช่องรายการ
13-15 ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว
16-22 ช่องข่าว
23-29 ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน (SD)
30-36 ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐานสูง (HD)
______________________________________
รวมสารพัดคืบหน้าประมูลทีวีดิจิตอล ก่อนชิงดำ ก.ย.นี้
ประวัติศาสตร์จารึก! ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง 3 ใบอนุญาต โครงสร้างพื้นฐาน โครงข่าย และช่องรายการ หลังแจกแล้ว 4 ใบอนุญาตโครงข่าย ให้ ช่อง 5 11 อสมท และไทยพีบีเอส พร้อมจับตา กสทช. เปิดประมูลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ก.ย.นี้...
นับถอยหลังอีกเพียง 2-3 เดือน การประมูลทีวีดิจิตอล ตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ระบุว่าจะเริ่มในเดือน ก.ย. นี้ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนผ่านระบบการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรก และครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจากระบบอะนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล
สำหรับ แผนการเปลี่ยนผ่านนั้น พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) ชี้แจงว่า กสทช. ต้องออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เป็นระยะเวลา 15 ปี และตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กสทช. จะต้องออกให้ 3 ใบอนุญาต ประกอบด้วย 1. ใบอนุญาตการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือ โครงสร้างพื้นฐาน (Infra provider) หมายถึง เสาส่ง อาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่งได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการไปแล้วเมื่อปลายปี 2555
2. ใบอนุญาตโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอล (Network Provider) หมายถึง เครื่องรับส่งสัญญาณ สถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ได้ออกให้ไปแล้ว 4 รายแรก ได้ ช่อง 5 ช่อง 11 อสมท และไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2556 และ 3. ใบอนุญาตให้บริการช่องรายการโทรทัศน์ (Service Provider) ได้กำหนดจำนวนช่องรายการใหม่ เป็น 48 ช่อง ซึ่งมีผลทำให้ช่องรายการในปัจจุบัน ได้แก่ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย
ทั้งนี้ จากช่องรายการจำนวน 48 ช่อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทชุมชน จำนวน 12 ช่อง เน้นการให้บริการชุมชน จะออกใบอนุญาตได้ช่วง ธ.ค. 2556
2. ประเภทสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง เบื้องต้นออกใบอนุญาตให้กับไทยพีบีเอสแล้ว เพราะเป็นทีวีสาธารณะตามกฎหมาย ส่วนช่อง 5 และช่อง 11 ปัจจุบันได้สิทธิ์ตามกฎหมายถูกจัดให้อยู่ในประเภทสาธารณะ จะต้องปรับผังรายการให้สอดคล้องกับคำนิยามทีวีสาธารณะด้วย ขณะที่ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กก.กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้สงวนความเห็นไม่เห็นชอบการพิจารณาความจำเป็นให้ ช่อง 5 และ ช่อง 11 ได้รับสิทธิ์การประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทบริการสาธารณะในระหว่างการออกอากาศคู่ขนานอัตโนมัติ โดยที่ยังไม่มีการสร้างเงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ที่ชัดเจนจาก กสทช. ในการที่จะสามารถเห็นแผนการปรับตัว ปรับผังรายการ หรือแผนการหารายได้เพื่อเป็นทีวีบริการสาธารณะในอนาคต
ส่วนช่องที่เหลืออีก 9 ช่อง กสทช.จะเปิดให้เอกชนที่สนใจ ยื่นคุณสมบัติเพื่อเป็นเจ้าของช่องกิจการสาธารณะได้ ในลักษณะเปิดยื่นข้อเสนอโครงการที่ดีและเหมาะสมหรือเป็นการประมูลแบบเสนอคุณสมบัติบิวตี้คอนเทสต์
และ 3. ประเภทธุรกิจ จำนวน 24 ช่อง ที่เป็นช่องที่สำคัญและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ประกอบการที่แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล ประกอบด้วย อาร์เอส แกรมมี่ เวิร์คพอยท์ฯ กลุ่มทรู อินทัช กลุ่มอมรินทร์ พริ้นติ้ง กลุ่มสามารถคอร์ป เดลินิวส์ เนชั่น วอยซ์ทีวี สปริงนิวส์ และไทยรัฐ ทั้งนี้ มีกำหนดเปิดประมูลในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2556 ซึ่ง บอร์ด กสท ได้เตรียมการประมูล มีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อเรียกการประมูลครั้งนี้
ชื่อการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลในการบริการธุรกิจระดับชาติ หรือแบบ ฟอร์เวิร์ดออฟชั่น เปรียบเสมือนการประมูลแข่งกันเพื่อซื้อของ
รูปแบบการประมูลทีวีดิจิตอล และสิ่งที่ผู้ประการต้องเตรียมตัว
งบประมาณ (เงิน) แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. เงินซื้อซองจำนวน 1 ล้านบาท ต่อ 1 ช่องรายการ 2. เงินค้ำประกันกันซอง 10% ของราคาเริ่มต้นประมูล (เป็นเงินสด หรือเช็คก็ได้) ซึ่งผู้ประกอบการจะคืนให้ภายใน 30 วัน ถ้าไม่ชนะการประมูล แต่ถ้าชนะจะหัก หรือจ่ายคืน แล้วแต่ตกลงกัน และ 3. เงินก้อนที่ต้องแบ่งชำระมี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นราคาเริ่มต้นการประมูล (มูลค่าขั้นต่ำ) แบ่งชำระ 4 งวด (4 ปี) แบ่งเป็น 50% 30% 10% 10% และส่วนที่สอง เป็นเงินที่ได้จากการแข่งขัน (ส่วนที่เพื่มเติมมาจากการแข่งขัน) แบ่งชำระ 6 งวด (6 ปี) โดย 2 ปี แรกชำระปีละ 10% และปีที่ 3-6 ชำระปีละ 20%
ผู้เข้าประมูล
บริษัทละไม่เกิน 3 คน
กติกาการประมูล
การประมูลแต่ละครั้งจะเสร็จสิ้นภายใน 1 ชม. (60 นาที) โดยผู้ประกอบการจะเคาะกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด (ใน 1 นาทีอาจเคาะ 10 ครั้งก็ได้) แต่ต้องเพิ่มขึ้นตามประเภทช่องรายการที่กำหนด โดยทุกครั้งผู้เข้าประมูลจะเห็นว่าตัวเองอยู่ในลำดับที่ชนะหรือไม่ นอกจากผู้ชนะจะมีมากกว่าจำนวนช่องรายการ ก็จะขยายครั้งละ 5 นาที จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
ช่วงเวลาประมูล
ส.ค.-ก.ย. 2556 แต่ยังไม่เคาะวันเวลา และสถานที่ที่ชัดเจน
มาตราการป้องกันการฮั้วประมูล
ใช้กฎของสำนักงานหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่ กสทช. ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลว่า ต้องมีทุนจดทะเบียนมากน้อยเพียงใด แต่ต้องเป็นนิติบุคคล เป็นบริษัท จำกัด หรือ มหาชน
สิทธิ์ที่ผู้ชนะจะได้รับ
1. เป็นเจ้าของช่องตามมาตรฐาน กสทช. กำหนด 2. เลือกช่องก่อนตามลำดับ และ 3. จะเอาผู้ชนะมาเรียงลำดับ จากนั้นจะได้รับสิทธิ์เลือกโครงข่าย (ใช้ลำดับที่ตัดสินการเลือกโครงข่าย)
การรับใบอนุญาต
ผู้ประกอบการจะได้ใบอนุญาตจะได้หลังประมูลจบภายใน 60 วัน มีอายุถือครอง 15 ปี
ราคาเริ่มต้น และประเภทช่องรายการ
1. ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ช่อง
ราคาช่องละ 140 ล้านบาท การเคาะ เพิ่มขึ้นครั้งละ 1 ล้านบาท
2. ช่องข่าว จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 220 ล้านบาท การเคาะ เพิ่มขึ้นช่องละ 2 ล้านบาท
3. ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน (Standard Definition: SD) จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มขึ้นครั้งละ 5 ล้านบาท
4. ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐานสูง (High Definition: HD) จำนวน 7 ช่อง
ราคาช่องละ 1,510 ล้านบาท การเคาะเพิ่มขึ้นละ 10 ล้านบาท
ลำดับเลขช่องรายการ
13-15 ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว
16-22 ช่องข่าว
23-29 ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน (SD)
30-36 ช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐานสูง (HD)
แม้ว่าความชัดเจนในฝั่งของผู้ประกอบการจะดูเหมือนเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ก็ยังหวั่นใจอยู่ไม่น้อย เพราะเวทีการประชุมผู้ประกอบการครั้งที่ผ่านมา พ.อ.นที ทิ้งท้ายว่า การประมูลทีวีดิจิตอลจะยังยึดกรอบเวลาเดิม คือ ก.ย.2556 หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับฝั่งของผู้บริโภคในการก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่นี้ จึงถือเป็นการบ้านชิ้นใหญ่ที่ กสทช. ต้องรีบเร่งทำให้กระจ่าง เพราะ กสทช. คงไม่อยากโดยตราหน้าว่า สอบตกแผนพีอาร์ ทั้งที่มีข่าวทุกวันแต่ประชาชนไร้การรับรู้ จากประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน รอบสองแน่นอน.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/352965
ไม่มีความคิดเห็น: