Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มิถุนายน 2556 ทุนไทยและทุนสิงคโปร์ (คว้าใบอนุญาติ มือถือ พม่าไม่สำเร็จ) เทเลนอร์ (พ่อDTAC) และโอเรดูจากกาตาร์ได้งานแทน!! อายุใบอนุญาติ 15 ปี



ประเด็นหลัก


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.รัฐบาลพม่า ได้ประกาศผลการประมูลใบอนุญาตสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมรอบสุดท้ายแล้ว เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่า บริษัท เทเลนอร์ โมบาย คอมมิวนิเคชัน จากประเทศนอร์เวย์  และบริษัท โอเรดู จากประเทศกาตาร์ เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก  จากทั้งหมด 11 บริษัทที่เข้ารอบสุดท้าย  ขณะที่ บริษัทที่มีรายชื่อติดสำรอง 2 ราย คือ บริษัท เทเลคอม-ออเรนจ์  ของประเทศฝรั่งเศส และมารูเบนหนิ ของประเทศญี่ปุ่น

ในข้อกำหนดการประมูล  กำหนดให้  2 บริษัทโทรคมนาคมที่ชนะการคัดเลือกใบอนุญาตประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม 15 ปี จะต้องเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในระยะเวลา 9 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่ที่มีการส่งมอบใบอนุญาตให้ และจะต้องลงทุนติดตั้งวางโครงข่ายการสื่อสารให้ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 4 ของประเทศภายในระยะเวลา 1 ปี  และ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี

ขณะที่  2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ชนะการประมูลดังกล่าว ยังไม่ได้เปิดเผยถึงจำนวนเงินที่ยื่นประมูล  เพียงแต่ย้ำว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลง และเงื่อนไข ตามที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทานเท่านั้น



______________________________________






"นอร์เวย์-กาตาร์"คว้าสัมปทานฮัลโหลพม่า


"เทเลนอร์" บิ๊กโทรคมนาคมนอร์เวย์ และ "โอเรดู" จากกาตาร์ ชนะประมูลสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมพม่า 15 ปี   กูรู ชี้โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างมาก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.รัฐบาลพม่า ได้ประกาศผลการประมูลใบอนุญาตสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมรอบสุดท้ายแล้ว เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่า บริษัท เทเลนอร์ โมบาย คอมมิวนิเคชัน จากประเทศนอร์เวย์  และบริษัท โอเรดู จากประเทศกาตาร์ เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก  จากทั้งหมด 11 บริษัทที่เข้ารอบสุดท้าย  ขณะที่ บริษัทที่มีรายชื่อติดสำรอง 2 ราย คือ บริษัท เทเลคอม-ออเรนจ์  ของประเทศฝรั่งเศส และมารูเบนหนิ ของประเทศญี่ปุ่น

ในข้อกำหนดการประมูล  กำหนดให้  2 บริษัทโทรคมนาคมที่ชนะการคัดเลือกใบอนุญาตประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม 15 ปี จะต้องเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในระยะเวลา 9 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่ที่มีการส่งมอบใบอนุญาตให้ และจะต้องลงทุนติดตั้งวางโครงข่ายการสื่อสารให้ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 4 ของประเทศภายในระยะเวลา 1 ปี  และ 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี

ขณะที่  2 บริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ชนะการประมูลดังกล่าว ยังไม่ได้เปิดเผยถึงจำนวนเงินที่ยื่นประมูล  เพียงแต่ย้ำว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลง และเงื่อนไข ตามที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทานเท่านั้น  

การประกาศผลการประมูลสัมปทานดังกล่าว มีขึ้นท่ามกลางภาวะความสับสันที่เกิดขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ 1 วัน ทางสภาผู้แทนราษฏรพม่าได้ออกมากล่าวว่า ต้องการจะให้เลื่อนการประกาศผลการประมูลออกไปก่อน เพราะต้องการให้มีการผ่านร่างกฏหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ขึ้นใช้บังคับเสียก่อน

ด้าน นักวิเคราะห์ ระบุว่า กิจการโทรคมคมในพม่ากำลังเป็นที่จับตามองจากทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากโอกาสทางธุรกิจ และตลาดด้านการสื่อสารในพม่ายังเปิดกว้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 10% จากจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 60 ล้านคน


http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/230913/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.