Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 มิถุนายน 2556 วงชำแหละร่างปรับปรุงพรบ.คอมพิวเตอร์++ ชี้เกาไม่ถูกที่คันไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยต้องแก้ขอบเขตกฏหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง



ประเด็นหลัก



ด้านนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายอาญาที่ยอมความไม่ได้  มีเพียงมาตรา 16 เพียงมาตราเดียว ที่สามารถให้ยอมความได้  ซึ่งการแก้หรือปรับปรุงกฎหมาย ถือได่ว่าเกาไม่ถูกที่คัน  ไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น   ทั้งนี้การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวถือว่ามีเจตนารมณ์ที่ดี  แต่อาจขัดในทางปฎิบัติจริง

ส่วนนายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฏหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่าสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ  ในฐานะผู้ทำวิจัย  และนำร่างเสนอกับกระทรวงไอซีที จะเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาปรับปรุงร่างและเสนอกับกระทรวงไอซีที ในเดือนกรกฎาคม  โดย ประเด็นหลักๆ ของข้อเสนอแนะที่ผ่านมา อาทิ ขอบเขตกฏหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง ควรจะครอบคลุมมากกว่านี้ และในส่วนของผู้ใช้บริการจะเข้าใจมากน้อยในระดับไหน ในขณะที่ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควรมีอำนาจในระดับใด อีกทั้งบางหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิ แต่บางหน่วยงานก็เห็นด้วย เป็นต้น.


______________________________________






วงการอินเตอร์เน็ต-ผู้บังคับใช้กฎหมาย ชำแหละร่างปรับปรุงพรบ.คอมพิวเตอร์




นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย กล่าวในงานเสวนา  “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?” ที่จัดโดยชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ที่จัดขึ้น เพื่อประเมินสภาพปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  ว่า  ร่างพ.ร.บ.ยังอีกยาวไกล แท้จริงแล้วทุกคนที่ถูกบังคับใช้กฏหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการปิดกั้นข่าวสารหรือไม่ และที่ผ่านมามีความลำบากไหม ถ้าต้องปฏิบัติตามคำสั่ง จึงอยากให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นรับได้หรือไม่เปล่า แต่แท้จริงก็ต้องยอมรับ จะเห็นได้จากปัญหาการบล็อกเว็บไซต์ที่หน่วยงานหนึ่งบอกให้บล็อก และอีกหน่วยงานบอกไม่ให้บล็อกเพราะจะจับผู้ทำผิด ดังนั้นกฎหมายจึงไม่ตรงเสมอไป ควรยืดหยุ่นกันได้ การทำงานต้องร่วมกันต้องอยู่กันได้ และหากกฎหมายฉบับใหม่ออกก็ตอบไม่ได้แต่ก็คงต้องชัดเจนขึ้นและก็ต้องอยู่ร่วมกันได้

ทั้งนี้สิ่งที่ไอเอสพี อยากเห็นคือ ซิงเกิล ออฟ คอนแทค  ซี่งเท่าที่ทราบภาครัฐก็พยายามทำอยู่  ซึ่งตามพรบ.ดังกล่าวเจ้าพนักงานคือกระทรวงไอซีที  แต่ตำรวจก็มีเรื่องเร่งด่วน  ซึ่งหากจบได้ที่กระทรวงไอซีที ในฐานะพนักงานบังคับใช้กฎหมาย หากหน่วยงานอื่นมาติดต่อบล็อกเว็บ หรือขอข้อมูล  ผู้ให้บริการสามารถแจ้งได้ให้ติดต่อไอซีทีก่อน  แต่หากเป็นหน่วยงานความมั่นคง  ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง อาจมีข้อยกเว้นในการดำเนินการให้ทันที

ขณะที่ พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกล่าวว่าขณะนี้เกิดปัญหาการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมากถึงมากที่สุด  โดยเราอยู่ในภาวะแวดล้อมใหม่ซึ่งเป็นภาวะแวดล้อมเทคโนโลยี  มีทั้งการปลอมชื่อผู้ใช้เฟชบุ๊ก เพื่อเข้าไปด่าผู้อื่น  มีการฉ้อโกง หลอกลวง ล่อลวง ผ่านอินเตอร์เน็ต  มีการพนันออนไลน์ เรียกได้ว่าปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ค่อนข้างวิกฤติ  อันเนื่องมาจากความเร็วของคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต  ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายต้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ เมื่อเกิดการละเมิด และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ     ทั้งยังต้องมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิด

พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  มีมาตั้งแต่ปี 2550  ซึ่งก็มีปัญหาค่อนข้างมาก  ทั้งการรับรู้และความเข้าใจของทุกฝ่าย  ในเรื่องข้อเท็จจริงดิจิตอล  ที่แต่ละคนรู้ไม่เท่ากัน ตีความไม่เหมือนกัน  และบริบททางดิจิตอล

ส่วนนายสุรชัย นิลแสง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญพิเศษ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พูดถึงคอมพิวเตอร์แต่ปัญหามาจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กลายเป็นทั้งโลกเข้าสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิบนอินเทอร์เน็ต พอกฏหมายฉบับแรกปี 2550 ออก ได้ยกร่างมาจากต่างประเทศ พบผู้เสียหายเดือดร้อนทั้งเรื่องโดนว่า ขู่ นำภาพไปโพส โดยผู้เกี่ยวข้องมี 3 ส่วน คือ ผู้เสียหาย ผู้ละเมิด และพยานหลักฐาน โดยผู้ให้บริการถือเป็นตัวกลางที่จะหาพยานหลักฐานเพราะเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อ หลายๆ เวที ผู้เสียหายไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเพราะอาย จึงไม่ทราบมุมมองผู้เสียหาย

ด้านนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายอาญาที่ยอมความไม่ได้  มีเพียงมาตรา 16 เพียงมาตราเดียว ที่สามารถให้ยอมความได้  ซึ่งการแก้หรือปรับปรุงกฎหมาย ถือได่ว่าเกาไม่ถูกที่คัน  ไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น   ทั้งนี้การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวถือว่ามีเจตนารมณ์ที่ดี  แต่อาจขัดในทางปฎิบัติจริง

ส่วนนายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฏหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่าสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ  ในฐานะผู้ทำวิจัย  และนำร่างเสนอกับกระทรวงไอซีที จะเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาปรับปรุงร่างและเสนอกับกระทรวงไอซีที ในเดือนกรกฎาคม  โดย ประเด็นหลักๆ ของข้อเสนอแนะที่ผ่านมา อาทิ ขอบเขตกฏหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง ควรจะครอบคลุมมากกว่านี้ และในส่วนของผู้ใช้บริการจะเข้าใจมากน้อยในระดับไหน ในขณะที่ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควรมีอำนาจในระดับใด อีกทั้งบางหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิ แต่บางหน่วยงานก็เห็นด้วย เป็นต้น.

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=189100:2013-06-28-14-28-01&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

_______________________________________



หลายภาคส่วนล้อมวงถกสิทธิเสรีภาพแก้ พ.ร.บ.คอมพ์ใหม่
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update

ITPC ร่วมกับ SONP จัดเสวนา "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?" หาทางออกปรับกฎหมายใหม่ เน้นผลกระทบประเด็นสิทธิเสรีภาพ และความมั่นคงในการใช้สื่อออนไลน์...

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) จัดงานเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?” โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อประเมินสภาพปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับต่อการนำไปใช้ตามหลักสากลโดยไม่เกิดผลกระทบในด้านสิทธิเสรีภาพ และความมั่นคง ในการเข้าใช้สื่อออนไลน์ รวมถึงการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ต่อการพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย อันมีส่วนเกี่ยวข้องต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทย ณ บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด หอประชุมพุทธคยา ชั้น 22  อาคารอมรินทร์พลาซ่า



ซึ่งงานดังกล่าวได้รับเกียรติจาก อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ , คุณณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฎหมาย , พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี , คุณสุรชัย นิลแสง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญพิเศษ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) , คุณภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง , คุณอภิศิลป์   ตรุงกานนท์ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ ตัวแทนจากสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และคุณศรีสุดา วินิจสุวรรณ์ รักษาการผู้จัดการ ส่วน social and digital marketing สำนักธุรกิจสื่อใหม่ อสมท เป็นผู้ดำเนินรายการ.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/354110

_________________________________________



“ไอทีพีซี-ผู้ผลิตข่าวออนไลน์” เล็งดันข้อคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.คอมฯ เสนอไอซีที
วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 เวลา 19:08 น.

ชมรมนักข่าวไอทีพีซี-สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?” แนะรัฐให้ข้อมูลที่ถูกต้องหวั่นผู้ใช้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เล็งดันข้อเสนอแนะให้กระทรวงไอซีทีคล้อยตาม


วันนี้ (28 มิ.ย.) ที่ อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน"  นายนิรันดร์ เยาวภาว์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การยกร่าง พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.....ฉบับใหม่นี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์ไปแล้ว 2 รอบแต่อาจตกในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลังจากเสร็จสิ้นงานสัมนาครั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)


นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า กฏหมายฉบับนี้เป็นกฏหมายอาญาถือเป็นสิ่งสำคัญ และการแก้ไขร่างกฏหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ พ.ร.บ.ฉบับเก่าในการกระทำความผิดสามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้เชี่ยวชาญมองไม่เหมือนกัน เช่น กฏหมายบางมาตราที่ยอมความไม่ได้ แต่ มาตรา 16 มาตราเดียวที่ยอมความได้


นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ยังอีกยาวไกล แท้จริงแล้วทุกคนที่ถูกบังคับใช้กฏหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการปิดกั้นข่าวสารหรือไม่ และที่ผ่านมามีความลำบากไหม ถ้าต้องปฏิบัติตามคำสั่ง จึงอยากให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นรับได้หรือไม่เปล่า แต่แท้จริงก็ต้องยอมรับ จะเห็นได้จากปัญหาการบล็อกเว็บไซต์ที่หน่วยงานหนึ่งบอกให้บล็อก และอีกหน่วยงานบอกไม่ให้บล็อกเพราะจะจับผู้ทำผิด ดังนั้นกฎหมายจึงไม่ตรงเสมอไป ควรยืดหยุ่นกันได้ การทำงานต้องร่วมกันต้องอยู่กันได้ และหากกฏหมายฉบับใหม่ออกก็ตอบไม่ได้แต่ก็คงต้องชัดเจนขึ้นและก็ต้องอยู่ร่วมกันได้


พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันมีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก เช่น การปลอมเฟสบุ๊คหมิ่นประมาท หลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น ปัญหาคือการรับรู้และการเข้าใจ ที่มี 2 ประเด็น คือข้อเท็จจริงทางคอมพิวเตอร์ ที่รู้และเข้าใจไม่เหมือนกัน ซึ่งบางคนไม่ทราบว่าการใส่ร้ายกันบนเฟสบุ๊กนั้นมีความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


นายสุรชัย นิลแสง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญพิเศษ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พูดถึงคอมพิวเตอร์แต่ปัญหามาจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กลายเป็นทั้งโลกเข้าสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิบนอินเทอร์เน็ต พอกฏหมายฉบับแรกปี 2550 ออก ได้ยกร่างมาจากต่างประเทศ พบผู้เสียหายเดือดร้อนทั้งเรื่องโดนว่า ขู่ นำภาพไปโพส โดยผู้เกี่ยวข้องมี 3 ส่วน คือ ผู้เสียหาย ผู้ละเมิด และพยานหลักฐาน โดยผู้ให้บริการถือเป็นตัวกลางที่จะหาพยานหลักฐานเพราะเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อ หลายๆ เวที ผู้เสียหายไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเพราะอาย จึงไม่ทราบมุมมองผู้เสียหาย


ขณะที่ นายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฏหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ประเด็นหลักๆ ของข้อเสนอแนะที่ผ่านมา อาทิ ขอบเขตกฏหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง ควรจะครอบคลุมมากกว่านี้ และในส่วนของผู้ใช้บริการจะเข้าใจมากน้อยในระดับไหน ในขณะที่ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควรมีอำนาจในระดับใด อีกทั้งบางหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิ แต่บางหน่วยงานก็เห็นด้วย เป็นต้น.

http://www.dailynews.co.th/technology/215370

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.