1 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) intuch รับรอง ไม่หวั่นซ้ำรอย ITV ถ้าอนาคต กสทช. มีการประมูลทีวีดิจิตอลเปิดช่องถึง 200 ช่อง
ประเด็นหลัก
***ทุ่ม2พันล้านประมูลทีวีดิจิตอลกั๊กประมูลช่องไฮเดฟ
ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอลใช้งบประมาน1-2 พันล้านในการประมูลและจัดตั้งบริษัทใหม่ ดังนั้นบริษัทใหม่ที่เข้ามารับผิดชอบและทำการกู้เงินเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม อินทัช จะเข้าร่วมประมูลช่องไฮเดฟหรือไม่นั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ต้องรอเงื่อนไขสุดท้ายจาก กสทช. และ ต้องมีพันธมิตรเข้ามาพัฒนาคอนเทนต์เช่นเดียวกัน
***ไม่หวั่นซ้ำรอยไอทีวี
การเข้าประมูล ทีวีดิจิตอลครั้งนี้ สมประสงค์ บอกว่า ประวัติศาสตร์ไม่น่าจะซ้ำรอยเหมือนสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี เนื่องจากมีผู้เล่นมากกว่าเดิม ต่างจากที่ผ่านมามีช่องรายการ คือ 3,5,7,9 และ 11 โดยช่อง 3 และ 7 จุดแข็ง คือ เรื่องของละคร ขณะที่ ไอทีวี เน้นเรื่องของข่าวสาร แต่สิ่งเหล่านั้นคือเรื่องของอดีต หากแต่ในอนาคต กสทช. มีการประมูลทีวีดิจิตอลเปิดช่องถึง 200 ช่องต่างจากในอดีตที่เพิ่มสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี เพียงช่องเดียวเท่านั้นทำให้บริบทเปลี่ยนไป
และทั้งหมด คือ 30 ปี "อินทัช" ผ่านร้อนผ่านหนาวสามารถก้าวสู่เป็นเบอร์หนึ่ง ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและมีมาร์เก็ตแคปในตลาดถึง 1 ล้านล้านบาท....
______________________________________
30 ปี'อินทัช' 'สมประสงค์'ยอมรับ
ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งมาแล้ว 30 ปี จากบริษัทขนาดเล็กที่ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก้าวสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมขนาดใหญ่ทั้งธุรกิจไร้สาย ดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
ใครก็รู้ บมจ.ชิน คอร์ป ถูกก่อตั้งโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ หลังเจอพิษเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
ต้องยอมรับว่าหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ โดดเข้าสู่สนามการเมืองชื่อของ บมจ.ชิน คอร์ป ถูกเชื่อมโยงกับการเมืองอยู่ร่ำไป ทั้ง ๆ ที่ผู้บริหารระดับสูงปฏิเสธนับครั้งไม่ถ้วนว่า บมจ. ชิน คอร์ป บริหารงานแบบมืออาชีพ
ในเมื่อถูกเชื่อมโยงเกี่ยวกับการเมืองทางเดียวที่ทำได้ คือ การปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ด้วยการเปลี่ยนชื่อย่อจาก "ชิน" เป็น "อินทัช" เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 เพื่อไม่ให้ภาพลักษณ์องค์กรถูกเชื่อมโยงกับการเมือง และครั้งหนึ่ง "สมประสงค์ บุญยะชัย" ประธานกรรมการบริหาร ของ บมจ. ชิน คอร์ป เคยออกมาให้สัมภาษณ์ "เราเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีความเป็นกลาง หรือ NO Color"
***สมประสงค์ ยอมรับ "อินทัช" ยังไม่หลุดการเมือง
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 เป็นวันครบรอบ 30 ปี มีการจัดงานแถลงข่าว " 30 ปี อินทัช ...วิสัยทัศน์การขับเคลื่อนในอนาคต" สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ป ในฐานะผู้บริหารสูงสุด ถูกสื่อตั้งคำถามว่าเปลี่ยนชื่อเป็น "อินทัช" ภาพองค์กรที่ผูกติดการเมืองหมดไปหรือยังซึ่ง "สมประสงค์" ตอบแบบตรงไปตรงมาว่า "ยังไม่หมดแต่ความเข้าใจของสังคมถูกพัฒนาไปอีกลำดับหนึ่ง การเปลี่ยนชื่อไม่ใช่สลัดภาพลักษณ์ แต่เปลี่ยนไปเพื่อยุคสมัยทั้งโลโกและองค์กรที่มีความทันสมัยมากขึ้น".....นั้นคือเรื่องของภาพลักษณ์องค์กร
แม้"อินทัช" ถูกเชื่อมโยงกับการเมืองแต่ในเรื่องของธุรกิจต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้า สมประสงค์ บอกว่า ประสบการณ์ในการดำเนินงานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันกลุ่ม อินทัช มีมูลค่าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ดังนั้นการเพิ่มทิศทางธุรกิจในครั้งนี้จะช่วยให้กลุ่มบริษัท อินทัชฯ สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ครอบคลุมมากขึ้น
***"Today and tomorrow"
สมประสงค์ บอกว่า "อินทัช" จัดเป็นองค์กร " Today and Tomorrow" เป็นเพราะตลอด 30 ปีที่ผ่านมาผลประกอบการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมขยายความคำว่า "Tomorrow" หมายถึง การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ(Breakthrough) ที่ได้วางยุทธศาสตร์ 5 ประการ คือ การเปิดให้บริการ 3 จีบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ),การได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมประเภทที่ 3 จาก กสทช., การจัดตั้งโครงการ "อินเวนท์" ในลักษณะเวนเจอร์แคปิตอล เข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยด้านธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม ,การให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลดิจิตอลในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง(cloud computing),การเข้าประมูลทีวีดิจิตอล 2 ช่อง อันได้แก่ ช่องเด็กและช่องรายการวาไรตี
***ปักธงอีก3 ธุรกิจในปีนี้
นอกเหนือจาก 5 ธุรกิจที่กำลังสยายปีกเพื่อเป็นการวางรากฐานให้กับ "อินทัช" ในอีก 15-20 ปีข้างหน้า หากแต่ในปีนี้ "สมประสงค์" บอกต่ออีกว่า "อินทัช" เตรียมขยายธุรกิจเพิ่มเติมอีก 3 ด้าน คือ การก้าวสู่บริการ 4 จี,ธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์ และ การให้บริการเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงแบบมีสาย(Wired Broadband) การให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์นั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผ่านทางสาย และ อีกช่องทางหนึ่งผ่านสายไฟเบอร์ออพติก เรื่องบรอดแบนด์ทางหนึ่งไปทางสาย และ อีกทางหนึ่ง สามารถพัฒนาและยกระดับบรรจบกันทั้งไวร์ไลน์และไวร์เลส รวมกันเป็นคอนเวอร์เจนต์
***ลงทุนกว่า 7 หมื่นล.
สำหรับในด้านการลงทุนนั้น สมประสงค์ ยังบอกอีกว่า คณะกรรมการบอร์ดได้มีการอนุมัติให้ บมจ. เอไอเอส ลงทุนติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. เป็นจำนวนเงิน 7 หมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 36 เดือน หรือ ประมาณ 3 ปี ขณะที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้อนุมัติงบประมาณไปแล้วจำนวน 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างดาวเทียมไทยคม 6 ส่วน ดาวเทียมไทยคม 7 ใช้รูปแบบความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ระยะเวลา 15 ปี เป็นวงเงิน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทยคม 8 น่าจะมีความชัดเจนในช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม และ ไทยคม 9 ตำแหน่งวงโคจร 50.5 องศา เป็นตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่รัฐบาลไทยให้รักษาวงโคจรเอาไว้ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ
***ทุ่ม2พันล้านประมูลทีวีดิจิตอลกั๊กประมูลช่องไฮเดฟ
ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอลใช้งบประมาน1-2 พันล้านในการประมูลและจัดตั้งบริษัทใหม่ ดังนั้นบริษัทใหม่ที่เข้ามารับผิดชอบและทำการกู้เงินเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม อินทัช จะเข้าร่วมประมูลช่องไฮเดฟหรือไม่นั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้ต้องรอเงื่อนไขสุดท้ายจาก กสทช. และ ต้องมีพันธมิตรเข้ามาพัฒนาคอนเทนต์เช่นเดียวกัน
***ไม่หวั่นซ้ำรอยไอทีวี
การเข้าประมูล ทีวีดิจิตอลครั้งนี้ สมประสงค์ บอกว่า ประวัติศาสตร์ไม่น่าจะซ้ำรอยเหมือนสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี เนื่องจากมีผู้เล่นมากกว่าเดิม ต่างจากที่ผ่านมามีช่องรายการ คือ 3,5,7,9 และ 11 โดยช่อง 3 และ 7 จุดแข็ง คือ เรื่องของละคร ขณะที่ ไอทีวี เน้นเรื่องของข่าวสาร แต่สิ่งเหล่านั้นคือเรื่องของอดีต หากแต่ในอนาคต กสทช. มีการประมูลทีวีดิจิตอลเปิดช่องถึง 200 ช่องต่างจากในอดีตที่เพิ่มสถานีโทรทัศน์ ไอทีวี เพียงช่องเดียวเท่านั้นทำให้บริบทเปลี่ยนไป
และทั้งหมด คือ 30 ปี "อินทัช" ผ่านร้อนผ่านหนาวสามารถก้าวสู่เป็นเบอร์หนึ่ง ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและมีมาร์เก็ตแคปในตลาดถึง 1 ล้านล้านบาท....
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=188994:30--&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: