Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) พรุ่งนี้ร้อนแน่!! กรณี.ลดสาระข่าวแค่ 50%เปิดช่องหารายได้เพิ่ม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา สุภิญญาไม่เห็นด้วย กสทช.คุ้มสืออาจขัดรัฐธรรมนูญ


ประเด็นหลัก


               ขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาในวันที่  17  กรกฎาคมนี้ จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้คาดว่าจะเปิดขายหนังสือเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูลได้ต้นเดือนสิงหาคมนี้ และประมูลในช่วงเดือนกันยายนนี้

                นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเสาและอุปกรณ์ส่งสัญญาณ  ให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นรายแรกมีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี  และกสทช.อยู่ระหว่างการพิจารณาการขออนุญาตของกรมประชาสัมพันธ์ และบริษัท อสมท  คาดว่าจะพิจารณาเร็วๆนี้นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายสำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี) อีก13 ราย  และออกใบอนุญาตช่องรายการสำหรับเคเบิ้ลทีวี 6 รายการ รวมถึงการออกใบอนุญาตทดลองการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง 53 ราย


ในวันพรุ่งนี้มีวาระพิจารณา (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดย ร่างฯฉบับดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสาธารณะและองค์กรวิชาชีพสื่อ ต่อเนื้อหาสาระที่อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพราะมีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ และอาจเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของ กสทช.เกินกว่าที่ มาตรา 37 พรบ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551 ซึ่งสุภิญญาฯ ได้มีความเห็นต่างจากที่ประชุมกสท.ในการประชุมครั้งที่25/2556 วันจันทร์ที่ 8 ก.ค.56 เนื่องจากการออกอากาศรายการตามหมวดที่สองของประกาศนั้น จำเป็นต้องแยกสาระ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของกลไกกำกับกันเองขององค์กรวิชาชีพออกมาจากหลักเกณฑ์การกำกับด้านเนื้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในฐานะองค์กรกำกับจึงจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมและควบคุมการประกอบอาชีพ  หรือวิชาชีพกันเองได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งการจัดทำหลักเกณฑ์กติกาขององค์กรกำกับที่อาจเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ        ในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสิทธิของบุคคล จึงต้องอยู่ในจุดที่เป็น      การสมดุลระหว่างอำนาจของ กสทช. กับแนวคิดการกำกับดูแลกันเองและความรับผิดชอบต่อการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างชัดเจน

______________________________________





ไฟเขียวรื้อเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล

ลดสาระข่าวเปิดช่องหารายได้เพิ่ม

บอร์ดกสท.ไฟเขียวปรับเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอล  ทั้งผู้ถือหุ้น  ขยับวงเงินเคาะราคา รวมถึงลดสาระข่าวจาก 75%เหลือแค่ 50% เพิ่มความคล่องตัวช่วยให้ธุรกิจอยู่ได้  กันซ้ำรอยไอทีวีที่เจอเงื่อนไขเข้มจนไม่มีรายได้เลี้ยงตัว

                พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.)  กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมร่างประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง เพื่อให้มีความคล่องตัวและให้ผู้ประกอบการที่ประมูลได้ บริหารธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยแก้ไขใน 3 ด้าน

               ประกอบด้วย 1. การปรับแก้ไขจากเดิมห้ามไม่ให้เอกชนผู้เข้าร่วมประมูลช่องข่าวและสาระกับช่องความคมชัดสูง (HD) เป็นคนกลุ่มเดียวกันไม่เกี่ยวข้องกัน  โดยจะตรวจสอบคุณสมบัติไปถึงการถือหุ้นไขว้เพื่อเป็นนอมินี การตรวจสอบเชิงการบริหาร และการใช้ทุนตั้งบริษัท มีความเกี่ยวพันกันหรือไม่ 2.การปรับให้การประมูลช่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว จากเดิมให้เคาะราคาได้ครั้งละ 1 ล้านบาท เพิ่มเป็น  2  ล้านบาท เพื่อความสะดวกในการประมูล

                3. การแก้ไขข้อกำหนดเนื้อหาสาระของช่องข่าว จากเดิมให้มีสัดส่วนการเสนอข่าวและสาระไม่ต่ำกว่า 75 %ให้ลดลงเหลือ 50% และยังกำหนดให้ช่วงเวลาไพร์มไทม์ ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมสนใจรับชมมากที่สุด ต้องมีเนื้อหาสาระข่าว 50 %ด้วยเช่นกัน  เพื่อให้การบริหารสถานีโทรทัศน์ดำเนินการไปได้ในระยะยาว หลังจากมีประสบการณ์จากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ประสบปัญหารายได้จนต้องปรับสัดส่วนเนื้อหาข่าวให้เหลือ 50% จึงมองว่าสัดส่วนดังกล่าวเหมาะสมแล้ว เพราะต่อไปจะเปิดประมูลช่องข่าวถึง 7 ช่อง

               ขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาในวันที่  17  กรกฎาคมนี้ จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้คาดว่าจะเปิดขายหนังสือเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูลได้ต้นเดือนสิงหาคมนี้ และประมูลในช่วงเดือนกันยายนนี้

                นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเสาและอุปกรณ์ส่งสัญญาณ  ให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นรายแรกมีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี  และกสทช.อยู่ระหว่างการพิจารณาการขออนุญาตของกรมประชาสัมพันธ์ และบริษัท อสมท  คาดว่าจะพิจารณาเร็วๆนี้นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการออกใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายสำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี) อีก13 ราย  และออกใบอนุญาตช่องรายการสำหรับเคเบิ้ลทีวี 6 รายการ รวมถึงการออกใบอนุญาตทดลองการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง 53 ราย


http://www.naewna.com/business/60045

______________________________________

จับตาวาระกสทช.พรุ่งนี้ : 17 ก.ค.56
บอร์ดใหญ่เตรียมผ่านร่างประมูลทีวีดิจิตอล – สุภิญญาค้าน!ลดสาระเพิ่มบันเทิง//ด้านกระจายเสียง เตรียมผ่านร่างฯทดลองมีผลบังคับใช้วิทยุทั้งประเทศ/วิชาชีพสื่อและสาธารณะเตรียมแสดงความความคิดเห็นร่างเนื้อหาตามมาตรา 37หลังมีมติและร่วมจับตาโครงการแบบไหนที่เข้าตากองทุนวิจัยกสทช.
พรุ่งนี้(พุธ 17 ก.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. ครั้งที่7/2556 มีวาระน่าสนใจจับตา ได้แก่  การพิจารณาสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ(ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... หรือ ร่างฯ การประมูลทีวีดิจิตอล ภายหลังที่ประชุมกสท.ได้สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางการดำเนินการต่อไป ซึ่งนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า ตนเป็นเสียงส่วนน้อยไม่เห็นด้วยกับการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสารสาระจาก 75% เหลือ 50% อยากเสนอให้เชิญทีมวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นมายืนยันในบอร์ดใหญ่พรุ่งนี้ เพื่อความรอบคอบ ชัดเจน โปร่งใสในการลงมติขั้นสุดท้ายว่าการปรับเงื่อนไขช่องข่าว ลดสาระเพิ่มบันเทิงนั้นมีผลต่อราคาคลื่นหรือไม่
ในวันพรุ่งนี้มีวาระพิจารณา (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดย ร่างฯฉบับดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสาธารณะและองค์กรวิชาชีพสื่อ ต่อเนื้อหาสาระที่อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพราะมีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ และอาจเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของ กสทช.เกินกว่าที่ มาตรา 37 พรบ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551 ซึ่งสุภิญญาฯ ได้มีความเห็นต่างจากที่ประชุมกสท.ในการประชุมครั้งที่25/2556 วันจันทร์ที่ 8 ก.ค.56 เนื่องจากการออกอากาศรายการตามหมวดที่สองของประกาศนั้น จำเป็นต้องแยกสาระ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของกลไกกำกับกันเองขององค์กรวิชาชีพออกมาจากหลักเกณฑ์การกำกับด้านเนื้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในฐานะองค์กรกำกับจึงจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมและควบคุมการประกอบอาชีพ  หรือวิชาชีพกันเองได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งการจัดทำหลักเกณฑ์กติกาขององค์กรกำกับที่อาจเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ        ในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสิทธิของบุคคล จึงต้องอยู่ในจุดที่เป็น      การสมดุลระหว่างอำนาจของ กสทช. กับแนวคิดการกำกับดูแลกันเองและความรับผิดชอบต่อการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้วาระอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และร่างประกาศกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พร้อมแบบรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขการทดลองประกอบกิจการฯ ที่มีบังคับใช้กับสถานีวิทยุทั้งหมดในประเทศ และวาระน่าจับตา เรื่อง การอนุมัติเห็นชอบโครงการที่ขอการส่งเสริมและสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประจำปี 2556(ประเภท1) จำนวนเงิน 152,725,299 บาท ผลการพิจารณาเป็นอย่างไรใครได้หรือไม่ได้อย่างไรชวนติดตาม…

จดหมายข่าวถึงผม NBTC Rights

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.