Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 กรกฎาคม 2556 ICT เล่นบทนำเรื่อง 1800 เข้า ครม.และเจราจา กสทช. สัปดาห์ // กสทช.รับทราบ4 หน่วยงาน ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าขยายระยะเวลาสัมปทานไม่ได้


ประเด็นหลัก


แนวทางที่เป็นไปได้มากสุด คือให้ กสท เป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ส่วน กสท จะให้รายใดดำเนินการต่อไปจนกว่าการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าคืนให้ กสทช. หรือ กสท มีสิทธิ์ใช้ต่อไปจนสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2568

“ขณะนี้ ความคิดเห็น และการตีความแตกต่างกันในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ใช้บริการที่มีอยู่ตามสัญญาสัมปทานทรูมูฟ 17 ล้านราย และดีพีซี 70,000 ราย แม้ กสทช. จะออกร่างประกาศเยียวยาลูกค้าก็ตาม ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเร่งหาทางออกในเรื่องดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีทางออกอย่างแน่นอน ซึ่งความเป็นไปได้อาจต้อง กสท เป็นผู้ดำเนินการไปก่อนตามแผนเยียวยาของ กสทช. แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยว่าสุดท้ายแล้วสิทธิในการถือครองคลื่นใครจะเป็นผู้ตัดสิน”

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ทั้งกระทรวงไอซีที และ กสทช.จะหารือกันอย่างเป็นทางการ โดยไอซีทีจะแต่งตั้งทีมเพื่อเข้าเจรจากับ กสทช. อีกครั้งภายในเดือน ก.ค.นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 15 ก.ย.2556 ซึ่งขณะนี้แผนบริหารการจัดการคลื่นความถี่หลังสิ้นสุดสัมปทาน และแผนปรับปรุงคลื่นความถี่ที่ให้ กสท ถือครองคลื่นต่อไปถึงปี 2568 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว


นายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการกสทช.กล่าวว่า กสทช.รับทราบแนวทางปฎิบัติของไอซีทีมาตลอด สืบเนื่องจากไอซีที ได้ยื่นเรื่องการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน อาทิ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมครม. และล่าสุด คณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการกลั่นกรองรับทราบ แผนและแนวทางการดำเนินเรื่อง 1800 โดยได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีที ไปเจรจากับกสทช.

“กสทช.ได้ไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเมื่อสัปดาห์ก่อนแล้ว และครม.กลั่นกรอง ซึ่ง กสทช.ได้ชี้แจงและได้ข้อยุติ ความเห็นจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา,คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ,กสทช. ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าขยายระยะเวลาสัมปทานไม่ได้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองได้พิจารณาเป็นแค่เรื่องรับทราบ และนำเข้าครม.เพื่อรับทราบต่อไป”



















______________________________________





'อนุดิษฐ์' เคลียร์กสทช.หาบทสรุปคลื่น 1800

"ไอซีที-กสทช." ยันไร้ซิมดับหลังสิ้นสัมปทาน กสท - ทรู - ดีพีซี พร้อมตั้งทีมกฎหมายหาข้อสรุป ยันตัองชี้ขาดสิทธิถือครองคลื่น


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังการหารือกับพล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า การหารือครั้งนี้ เพื่อแสดงจุดยืนร่วมกันว่าหลังสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างบมจ.กสท โทรคนาคม กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย.2556 ซึ่งตั้งแต่ 16 ก.ย. เป็นต้นไป จะไม่เกิดปัญหาซิมดับ หรือสัญญาณโทรศัพท์ขัดข้องอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ใช้บริการโทรศัพท์ของทั้ง 2 รายไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับบริการ

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การหารือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับ กสทช.จะต้องชัดเจนก่อนสัญญาสิ้นสุด โดยเฉพาะใครจะเป็นผู้รับผิดชอบการให้บริการหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดตามร่างประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ว่าจะให้บริการได้ไม่เกิน 1 ปี ระหว่าง กสท กับคู่สัญญาสัมปทานทรูมูฟ และดีพีซี

แนวทางที่เป็นไปได้มากสุด คือให้ กสท เป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ส่วน กสท จะให้รายใดดำเนินการต่อไปจนกว่าการเจรจาเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าคืนให้ กสทช. หรือ กสท มีสิทธิ์ใช้ต่อไปจนสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2568

“ขณะนี้ ความคิดเห็น และการตีความแตกต่างกันในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ใช้บริการที่มีอยู่ตามสัญญาสัมปทานทรูมูฟ 17 ล้านราย และดีพีซี 70,000 ราย แม้ กสทช. จะออกร่างประกาศเยียวยาลูกค้าก็ตาม ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเร่งหาทางออกในเรื่องดังกล่าว และเชื่อว่าจะมีทางออกอย่างแน่นอน ซึ่งความเป็นไปได้อาจต้อง กสท เป็นผู้ดำเนินการไปก่อนตามแผนเยียวยาของ กสทช. แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาและมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วยว่าสุดท้ายแล้วสิทธิในการถือครองคลื่นใครจะเป็นผู้ตัดสิน”

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ทั้งกระทรวงไอซีที และ กสทช.จะหารือกันอย่างเป็นทางการ โดยไอซีทีจะแต่งตั้งทีมเพื่อเข้าเจรจากับ กสทช. อีกครั้งภายในเดือน ก.ค.นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 15 ก.ย.2556 ซึ่งขณะนี้แผนบริหารการจัดการคลื่นความถี่หลังสิ้นสุดสัมปทาน และแผนปรับปรุงคลื่นความถี่ที่ให้ กสท ถือครองคลื่นต่อไปถึงปี 2568 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว

พ.อ.ธเรศ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากการหารือเบื้องต้นและแสดงจุดยืนร่วมกันว่าต้องไม่เกิดปัญหาซิมดับ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน แต่ก็ยอมรับว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบครบทุกมิติ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขณะนี้ตีความกันแตกต่างกัน ซึ่งต้องทำให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันก่อน และหลังจากนี้เชื่อว่าปัญหาจะมีทางออกอย่างแน่นอน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการกสทช.กล่าวว่า กสทช.รับทราบแนวทางปฎิบัติของไอซีทีมาตลอด สืบเนื่องจากไอซีที ได้ยื่นเรื่องการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน อาทิ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมครม. และล่าสุด คณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการกลั่นกรองรับทราบ แผนและแนวทางการดำเนินเรื่อง 1800 โดยได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีที ไปเจรจากับกสทช.

“กสทช.ได้ไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเมื่อสัปดาห์ก่อนแล้ว และครม.กลั่นกรอง ซึ่ง กสทช.ได้ชี้แจงและได้ข้อยุติ ความเห็นจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา,คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ,กสทช. ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าขยายระยะเวลาสัมปทานไม่ได้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองได้พิจารณาเป็นแค่เรื่องรับทราบ และนำเข้าครม.เพื่อรับทราบต่อไป”

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130716/517706/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B
8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-
%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B
8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3
%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-1800.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.