Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2556 กสทช.มติไม่เอกฉันท์8ต่อ3 ผ่านร่างวิธีประมูล-ถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อได้2ใน3กิจการ-ให้ช่อง5ออกอากาศระบบเดิมอีก5ปี // เสียงข้างน้อยชี้ยังไม่ทำแผนคลื่น700ทำ4G


ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ กสทช.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผ่านร่างประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการธุรกิจระดับชาติ ด้วยมติข้างมาก 8 เสียงต่อ 3 เสียง โดยหลังจากนี้จะมีการไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วน 3 เสียงที่คัดค้านนั้นเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดในเรื่อง การจัดทำแผนงานการใช้คลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในย่านความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีปัญหาทับซ้อนกับคลื่นที่ใช้ในด้านโทรคมนาคม รวมถึงกรณีที่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติปรับลดสัดส่วนเวลาออกอากาศช่องข่าวจากเดิมที่กำหนดออกอากาศประมาณ 75% ของเวลาออกอากาศเหลือเพียง 50% เพราะเกรงว่าอาจไปกระทบต่อการประเมินราคาตั้งต้นการประมูล รวมทั้งในประเด็นเรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อ

นายฐากรกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการถกเถียงเรื่องความทับซ้อนของคลื่นย่านความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ กันมากนั้น ที่ประชุมก็ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาเรื่องคลื่นทับซ้อนร่วมกันระกว่าง กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กสท. และสำนักงาน กสทช. ส่วนเรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อนั้น ทาง กสทช.อยู่ระหว่างการจัดทำร่างประกาศซึ่งมีนายธวัชชัย จิตรภาสนันท์ กรรมการ กสทช. และ กสท. ด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นประธานดำเนินการซึ่งร่างประกาศดังกล่าวจะอ้างอิงมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่ว่าด้วยเรื่องการครอบงำสื่อ ซึ่งร่างดังกล่าวจะมีระบุชัดเจนทั้งจำนวนรายการสูงสุดที่ถือครองได้ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้นในแต่ละสื่อของผู้ประกอบการ ส่วนการลดสัดส่วนช่องรายการข่าวนั้น ได้รับการชี้แจงจากคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ประเมินราคาคลื่นความถี่มาแล้วการว่าการปรับลดสัดส่วนช่วงเวลาไม่มีผลต่อราคาประมูลแต่อย่างใด และทาง กสทช.จะนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ชี้แจงทางเว็บไซต์ของ กสทช.ต่อไป ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอล ช่องธุรกิจจำนวน 24 ช่อง นั้นคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้


 นายฐากรกล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบความจำเป็นของการใช้คลื่นความถี่และระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่โทรทัศน์ และการคืนความถี่ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือช่อง 11 จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการทีวีจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภายใน 5 ปี จากเดิม 10 ปี ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะเสนอแผนปรับเปลี่ยนทีวีจากระบบแอนะล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลภายใน 3 ปี แต่ปัจจุบันคลื่นความถี่ของไทยพีบีเอสจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย. 2557 นี้ ดังนั้น ไทยพีบีเอสมีสิทธิ์ที่จะขอใช้คลื่นความถี่ไปจนกว่าการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิตอลจะเสร็จสมบูรณ์ แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี





______________________________________





กสทช.ผ่านร่างทีวีดิจิตอล มติไม่เอกฉันท์หวั่นคลื่นทับซ้อน ให้ช่อง 5 ออกอากาศระบบเดิมอีก 5 ปี


บอร์ด กสทช.ผ่านร่างประกาศประมูลทีวีดิจิตอลท่ามกลางการไม่เห็นด้วยจากกรรมการ เสียงข้างน้อย ที่ตั้งข้อสังเกตเรื่องคลื่นทับซ้อน-การถือครองสิทธิข้ามสื่อ และการลดสาระช่องข่าว พร้อมอนุมัติให้ช่อง 5 ช่อง 11 และไทยพีบีเอสออกอากาศแบบอนาล็อกต่ออีก 3-5 ปี

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ กสทช.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผ่านร่างประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการธุรกิจระดับชาติ ด้วยมติข้างมาก 8 เสียงต่อ 3 เสียง โดยหลังจากนี้จะมีการไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วน 3 เสียงที่คัดค้านนั้นเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดในเรื่อง การจัดทำแผนงานการใช้คลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในย่านความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีปัญหาทับซ้อนกับคลื่นที่ใช้ในด้านโทรคมนาคม รวมถึงกรณีที่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติปรับลดสัดส่วนเวลาออกอากาศช่องข่าวจากเดิมที่กำหนดออกอากาศประมาณ 75% ของเวลาออกอากาศเหลือเพียง 50% เพราะเกรงว่าอาจไปกระทบต่อการประเมินราคาตั้งต้นการประมูล รวมทั้งในประเด็นเรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อ

นายฐากรกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการถกเถียงเรื่องความทับซ้อนของคลื่นย่านความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ กันมากนั้น ที่ประชุมก็ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาเรื่องคลื่นทับซ้อนร่วมกันระกว่าง กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กสท. และสำนักงาน กสทช. ส่วนเรื่องการครองสิทธิข้ามสื่อนั้น ทาง กสทช.อยู่ระหว่างการจัดทำร่างประกาศซึ่งมีนายธวัชชัย จิตรภาสนันท์ กรรมการ กสทช. และ กสท. ด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นประธานดำเนินการซึ่งร่างประกาศดังกล่าวจะอ้างอิงมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่ว่าด้วยเรื่องการครอบงำสื่อ ซึ่งร่างดังกล่าวจะมีระบุชัดเจนทั้งจำนวนรายการสูงสุดที่ถือครองได้ รวมทั้งสัดส่วนการถือหุ้นในแต่ละสื่อของผู้ประกอบการ ส่วนการลดสัดส่วนช่องรายการข่าวนั้น ได้รับการชี้แจงจากคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ประเมินราคาคลื่นความถี่มาแล้วการว่าการปรับลดสัดส่วนช่วงเวลาไม่มีผลต่อราคาประมูลแต่อย่างใด และทาง กสทช.จะนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ชี้แจงทางเว็บไซต์ของ กสทช.ต่อไป ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอล ช่องธุรกิจจำนวน 24 ช่อง นั้นคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้

นายฐากรกล่าวว่า นอกจากนี้บอร์ดยังได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นร่างประกาศที่ว่าด้วยการห้ามแพร่ภาพออกอากาศเนื้อหารายการที่ต้องห้าม เช่น เนื้อหาลามกอนาจาร ล้มล้างการปกครอง และล้มล้างความมั่นคงของรัฐ เป็นต้น รวมถึงบอร์ดยังได้มีมติอนุมัติเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นเพื่อใช้แพร่ภาพในระบบทีวีอนาล็อก ตามที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (ไทยพีบีเอส) เนื่องจากทาง ช่อง 5 และช่อง 11 ได้เสนอการคืนคลื่นและยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อกใน 5 ปี และจะนำเสนอแผนการยุติการออกอากาศใน 1 ปี ส่วนไทยพีบีเอสจะพิจารณาเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นให้บริการในระบบอนาล็อกแบบปีต่อปี ในระยะไม่เกิน 3 ปี



ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374132686

________________________________________________________________


กสทช.ผ่านฉลุยร่างประกาศประมูลทีวีดิจิตอล


       กสทช.ผ่านร่างประกาศประมูลทีวีดิจิตอล โดยมี 3 กสทช.สงวนความเห็น ติงประเด็น “ครองสิทธิ์ข้ามสื่อ” ควรมีร่างประกาศฯ ระบุให้ชัดเจนเพราะมีผลต่อการกำหนดราคาประมูล
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 17 ก.ค. มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... แต่ในที่ประชุมได้มีการตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ, การจัดทำ platform และการใช้คลื่นความถี่เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเด็นคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz รวมไปถึงขั้นตอนการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) นำไปพิจารณาเพื่อปรับแก้หรือเพิ่มประเด็นต่างๆ เข้าไปในร่างประกาศดังกล่าวภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยมีกรรมการ กสทช.สงวนความเห็น 3 เสียง ประกอบด้วย นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์, นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
     
       ทั้งนี้ ในประเด็นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ตั้งข้อสังเกตนั้น เนื่องจากเป็นอำนาจตามมาตรา 31 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อป้องกันการผูกขาดและการครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน โดยในเบื้องต้นนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านเศรษฐศาสตร์ ได้เตรียมยกร่างประกาศการครองสิทธิ์ข้ามสื่อเพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำกับดูแลผู้ประกอบการก่อนเปิดประมูลทีวีดิจิตอลต่อไป
     
       “คาดว่าร่างประกาศครองสิทธิ์ข้ามสื่อจะสามารถนำเข้าบอร์ด กสท.ในต้นสัปดาห์หน้า ก่อนจะนำเข้าบอร์ด กสทช.ในวันที่ 14 ส.ค.เพื่อเห็นชอบร่างประกาศดังกล่าว จากนั้นจะนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อไป ก่อนจะมีการเปิดประมูลทีวีดิจิตอลในช่วงเดือน ต.ต.-พ.ย.นี้”
     
       นายฐากรกล่าวว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบความจำเป็นของการใช้คลื่นความถี่และระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่โทรทัศน์ และการคืนความถี่ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือช่อง 11 จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการทีวีจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภายใน 5 ปี จากเดิม 10 ปี ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะเสนอแผนปรับเปลี่ยนทีวีจากระบบแอนะล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลภายใน 3 ปี แต่ปัจจุบันคลื่นความถี่ของไทยพีบีเอสจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย. 2557 นี้ ดังนั้น ไทยพีบีเอสมีสิทธิ์ที่จะขอใช้คลื่นความถี่ไปจนกว่าการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิตอลจะเสร็จสมบูรณ์ แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบการปรับปรุงร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง แนบท้ายประกาศฯ ภายหลังนำไปประชาพิจารณ์ โดยหลังจากนี้จะนำร่างประกาศ กสทช.ดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป และยังเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... จากนั้นให้นำร่างประกาศดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
     
       อีกทั้งยังเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ...และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับสถานีฐานขนาดเล็ก พ.ศ. ... โดยหลังจากนี้จะนำร่างประกาศ กสทช.ดังกล่าวนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ส่วนร่างประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. ... จะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไปก่อนจะนำกลับมาเข้าบอร์ด กทค. และบอร์ด กสทช.เพื่อเห็นชอบ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
     
       ขณะที่นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์ และบอร์ด กสท. กล่าวว่า ร่างประกาศฯ เรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ซึ่งร่างประกาศฯ ดังกล่าวควรแล้วเสร็จก่อนที่จะเปิดประมูลทีวีดิจิตอล เพื่อจะสามารถกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลได้ถูกต้องเนื่องจากเป็นต้นทุน เบื้องต้นแนวความคิดในรายละเอียดจะแยกเป็น 2 ร่างประกาศ คือ เรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ และการถือหุ้นไขว้
     
       “อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ผู้ที่ต้องการประมูลทีวีดิจิตอลที่เป็นบริษัทรายใหญ่จะต้องเลือกการครองสิทธิ์ข้ามสื่อได้ 2 ใน 3 กิจการ คือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ 2. วิทยุ 3. โทรทัศน์ แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายเล็กสามารถครองสิทธิ์ได้ทั้ง 3 กิจการ”


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000087841&Keyword=%a1%ca%b7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.