19 กรกฎาคม 2556 กสทช.มีมติตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วม (สร้างความเข้าใจ 1800 MHzที่กำหลังจะหมดสัปทาน)มาเสนอในการประชุมบอร์ด กทค.ครั้งต่อไปวันที่ 24 ก.ค.นี้
ประเด็นหลัก
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมวานนี้ (18 ก.ค.) มีมติตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคม โดยให้สำนักงาน กสทช.ไปทำการยกร่างกรอบอำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการเพื่อนำมาเสนอในการประชุมบอร์ด กทค.ครั้งต่อไปวันที่ 24 ก.ค.นี้
พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ในกรณีการดำเนินการเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 MHz โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะด้วย
โดยการตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคมครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz บนสัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีคู่สัญญาคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ที่กำลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้
“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาผู้ใช้บริการทั่วไปยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในกรณีคลื่น 1800 MHz ที่กำลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยเฉพาะเรื่องเหตุใดต้องย้ายออกจากการใช้บริการบนคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นต้น”
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้สั่งการให้คณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับแนวทาง และมาตรการรองรับกรณีสิ้นสุดอายุสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมดังกล่าวตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภค ประกอบด้วย สมาพันธ์เครือข่ายผู้บริโภคมุสลิม สมาพันธ์เครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคแห่งประเทศไทย สมาคมบรอดแบนด์เพื่อคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสประเทศไทย สมาคมดาวเทียมสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ส.ค.พ.ท.) สมาคมโทรคมนาคมเพื่อวิชาชีพและสังคม สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ และเครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดระยอง ได้รวมตัวกันยื่นคำแถลงการณ์แสดงจุดยืนในเรื่องการดำเนินการของ กสทช.กรณีแก้ปัญหาซิมดับ ในขณะที่ กสทช.อยู่ระหว่างการเตรียมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.ค.นี้
“ต้องเข้าใจว่ามาตรการเยียวยาดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประชาชนกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคส่วนหนึ่งเข้าใจกระบวนการทำงานของ กทค.คลาดเคลื่อน ทำให้ กทค.ต้องรีบดำเนินการจัดประมูลจัดสรรคลื่น 1800 MHz เพื่อไม่ให้มีเสียงครหาว่าเป็นการดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้ใครคนใดคนหนึ่ง”
______________________________________
กทค.เร่งตั้งคณะอนุฯ สร้างความเข้าใจ 1800 MHz
กทค.เดินหน้าตั้งคณะอนุฯ การมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคมกรณีสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 MHz หวังสร้างความเข้าใจผู้ใช้บริการ โดยให้สำนักงานกลับไปยกร่างกรอบอำนาจหน้าที่ก่อนเข้าบอร์ด 24 ก.ค.นี้ พร้อมอนุมัติเลขหมายทำตลาด 3G เพิ่มแก่ทรู 6 ล้านเลขหมาย กสท 10 ล้านเลขหมาย และทีโอที 5 ล้านเลขหมาย
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมวานนี้ (18 ก.ค.) มีมติตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคม โดยให้สำนักงาน กสทช.ไปทำการยกร่างกรอบอำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการเพื่อนำมาเสนอในการประชุมบอร์ด กทค.ครั้งต่อไปวันที่ 24 ก.ค.นี้
พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ในกรณีการดำเนินการเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 MHz โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะด้วย
โดยการตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วมในกิจการโทรคมนาคมครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักในการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz บนสัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีคู่สัญญาคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ที่กำลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้
“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาผู้ใช้บริการทั่วไปยังคงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในกรณีคลื่น 1800 MHz ที่กำลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยเฉพาะเรื่องเหตุใดต้องย้ายออกจากการใช้บริการบนคลื่นความถี่ 1800 MHz เป็นต้น”
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้สั่งการให้คณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับแนวทาง และมาตรการรองรับกรณีสิ้นสุดอายุสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมดังกล่าวตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภค ประกอบด้วย สมาพันธ์เครือข่ายผู้บริโภคมุสลิม สมาพันธ์เครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคแห่งประเทศไทย สมาคมบรอดแบนด์เพื่อคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสประเทศไทย สมาคมดาวเทียมสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ส.ค.พ.ท.) สมาคมโทรคมนาคมเพื่อวิชาชีพและสังคม สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ และเครือข่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดระยอง ได้รวมตัวกันยื่นคำแถลงการณ์แสดงจุดยืนในเรื่องการดำเนินการของ กสทช.กรณีแก้ปัญหาซิมดับ ในขณะที่ กสทช.อยู่ระหว่างการเตรียมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.ค.นี้
“ต้องเข้าใจว่ามาตรการเยียวยาดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประชาชนกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคส่วนหนึ่งเข้าใจกระบวนการทำงานของ กทค.คลาดเคลื่อน ทำให้ กทค.ต้องรีบดำเนินการจัดประมูลจัดสรรคลื่น 1800 MHz เพื่อไม่ให้มีเสียงครหาว่าเป็นการดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้ใครคนใดคนหนึ่ง”
พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้อนุมัติการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมตามที่คณะอนุกรรมการเลขหมายได้เสนอเข้ามา โดยอนุมัติให้บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อทำตลาดให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ทรูมูฟ เอชในย่านความถี่ 2100 MHz จำนวน 6 ล้านเลขหมาย
อีกทั้งบริษัท กสท โทรคมนาคม ได้ยื่นขอเลขหมายทำตลาด 3G บนโครงการให้บริการโทรศัพท์มือถือ HSPA ร่วมกับทรูมูฟ เอชในย่านความถี่ 850 MHz อีก 10 ล้านเลขหมาย จากที่ยื่นขอมา 12 ล้านเลขหมาย และบริษัท ทีโอที จำกัด ได้ยื่นขอเลขหมายเพิ่มอีก 5 ล้านเลขหมายในการทำตลาด 3G บนคลื่น 1900 MHz โดยเลขหมายที่ผู้ให้บริการขอไปจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรักษาเลขหมายละ 2 บาทต่อเดือน
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088567&Keyword=%a1%ca%b7
ไม่มีความคิดเห็น: