Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 กรกฎาคม 2556 กสทช.พีระพงษ์ ระบุ การวัดแบบเรตติ้ง ตัวทำร้ายรายการคุณภาพ ชี้ภาครัฐต้องเข้าไปส่งเสริมให้รายการที่ดีคุณภาพอยู่ได้


ประเด็นหลัก


“บ้านเราให้คนไปหารายได้เองจากการโฆษณา จึงทำให้เกิดระบบการตลาด โดยดูที่เรตติ้ง บางครั้งรายการที่ดีมีคุณภาพ แต่โฆษณาไม่อยากจ่าย ดังนั้นผู้ประกอบการก็ไม่อยากผลิต หมายความว่า หากมีเงินมาจากภายนอกเข้ามาสนับสนุน นักวิชาชีพก็สามารถผลิตรายการที่ดีมีคุณภาพได้ เพียงแต่ว่าวันนี้ให้เขามาหารายได้เอง จึงกลายเป็นมาร์เก็ตติ้ง นี่คือ สมมติฐานที่คิด” พล.ท.พีระพงษ์ กล่าว

ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวต่อว่า เวลาที่ผู้ชมรายการจะตัดสินใจว่ารายการไหนดีหรือไม่ดี ต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยว่า กสทช. หรือภาครัฐ ได้เข้าไปกำกับ และส่งเสริมผู้ประกอบการให้อยู่ได้ด้วยหรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเปรียบเสมือนว่าด้านหนึ่งให้ผู้ประกอบการหารายได้ทางการตลาด แต่อีกด้านหนึ่ง คือ บังคับให้ทำรายการที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการคงอยู่ลำบาก





______________________________________





“กสทช.” ชี้ เรตติ้ง ตัวทำรายการคุณภาพหดหาย


กสทช. เชื่อการตลาดบีบเนื้อหารายการทีวี ดึงโฆษณา กระชากเรตติ้งโกยรายได้ เห็นใจรายการมีคุณภาพแต่โฆษณาไม่เข้า หากรัฐไม่สนับสนุนคงอยู่ยาก...

พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับเนื้อหารายการและผังรายการ กล่าวว่า ขณะนี้ ตั้งสมมติฐานว่า ผู้ผลิตรายการในประเทศไทยต้องอาศัยรายได้จากการโฆษณา ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องเป็นฝ่ายหาเอง ดังนั้นจึงทำให้รายการที่ออกอากาศส่วนใหญ่เกิดระบบการตลาดด้วยเรตติ้ง เพราะบางครั้งรายการที่ดีมีคุณภาพ แต่โฆษณาไม่ยอมจ่าย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่อยากผลิตรายการ

พร้อมยกตัวอย่างการผลิตรายการของประเทศเยอรมนีว่า ช่องรายการของแต่ละสถานีไม่ได้ไปหารายได้ผ่านการโฆษณา แต่ใช้วิธีการโดยรัฐเก็บเงินจากเจ้าของโทรทัศน์แต่ละครัวเรือน แล้วนำเงินไปรวมไว้ตรงกลาง ก่อนนำมาจ่ายให้ทีวีแต่ละช่องเพื่อนำมาผลิตรายการที่มีเนื้อหาสาระแต่ไม่มีคนอยากจ่ายค่าโฆษณา เช่น รายการทางประวัติศาสตร์ รายการปรัชญา รายการเด็ก เป็นต้น

“บ้านเราให้คนไปหารายได้เองจากการโฆษณา จึงทำให้เกิดระบบการตลาด โดยดูที่เรตติ้ง บางครั้งรายการที่ดีมีคุณภาพ แต่โฆษณาไม่อยากจ่าย ดังนั้นผู้ประกอบการก็ไม่อยากผลิต หมายความว่า หากมีเงินมาจากภายนอกเข้ามาสนับสนุน นักวิชาชีพก็สามารถผลิตรายการที่ดีมีคุณภาพได้ เพียงแต่ว่าวันนี้ให้เขามาหารายได้เอง จึงกลายเป็นมาร์เก็ตติ้ง นี่คือ สมมติฐานที่คิด” พล.ท.พีระพงษ์ กล่าว

ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวต่อว่า เวลาที่ผู้ชมรายการจะตัดสินใจว่ารายการไหนดีหรือไม่ดี ต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยว่า กสทช. หรือภาครัฐ ได้เข้าไปกำกับ และส่งเสริมผู้ประกอบการให้อยู่ได้ด้วยหรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเปรียบเสมือนว่าด้านหนึ่งให้ผู้ประกอบการหารายได้ทางการตลาด แต่อีกด้านหนึ่ง คือ บังคับให้ทำรายการที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการคงอยู่ลำบาก

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/358699

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.