Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2556 (กลุ่มที่2) ถอดถอน กสทช.ทั้งคณะ!! สหภาพ CAT TOT MCOT และอีก 41 แห่ง เตรียมยื่นสว.6 ส.ค. 2556 เหตุเอื้อประโยชน์เอกชน กระทบรายได้ ตรากฏหมายขัดรัฐธรรมนูญ


ประเด็นหลัก



       นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวันที่ 6 ส.ค. 2556 นี้ ทางสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ส.พรท.) โดยมี สหภาพฯ กสท โทรคมนาคม สหภาพฯทีโอที และ สหภาพฯอสมท. และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอีก 41 แห่ง เตรียมเข้ายื่นหนังสือต่อวุฒิสภาเพื่อขอให้พิจารณาการดำรงสถานภาพของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และขอให้มีการถอดถอน กสทช.ทั้งคณะ
   
       เนื่องจาก สหภาพฯกสท เล็งเห็นว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในมาตรา 84 วรรค 3 ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ ระบุว่า เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่ กฏหมายบังคับใช้ รัฐวิสาหกิจต้องนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับในการให้สัมปทานแก่ผู้ได้สัมปทาน ที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฏหมาย ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ซึ่งเป็นการออกกฏหมาย ให้ กสท ต้องส่งรายได้ที่เกิดจากสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ก่อนวันที่กฏหมายใช้บังคับ ให้ กสทช.ส่งผลให้ กสท เสียสิทธิที่เกิดจากสัญญาสัมทปาน มีผลกระทบกระเทือนต่อสัญญาสัมปทาน ซึ่งขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 305 ที่ระบุว่า การใช้กฏหมาย มาตรา 47 ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาสัมปทาน
   
       รวมทั้งการที่กสทช. ออกประกาศเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (อินฟราสตรักเจอร์แชร์ริ่ง) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 2556 และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ... ซึ่งล่าสุด กสทช. เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ไปเมื่อวันที่ 25 ก.ค.2556 โดยประกาศ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวถือเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชน และยังส่งผลให้ทำรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจด้านโทรคมนาคม ได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรง
   
       อีกทั้งการที่ กสทช.ออกใบอนุญาตการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้กับผู้ประกอบการรายเดิมที่อยู่ในตลาดนั้น ก็เป็นการประมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายเดิมอยู่แล้ว แต่กลับอ้างมาโดยตลอดว่าการประมูลดังกล่าวมีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูล เป็นบริษัท ในเครือ ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในประเทศ เพียง 3 รายเท่านั้น และยังเป็นบริษัทที่มีทุนต่างชาติ ซึ่งได้เปรียบในการแข่งขัน และท้ายสุดรัฐวิสาหกิจก็จะได้รับความเสียหาย ต้องประสบภาวะการขาดทุน และประเทศชาติก็จะได้รับความเสียหายไปด้วย

   
       ขณะเดียวกัน นายสุวิทย์ มิ่งมล รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท กล่าวว่า การดำเนินงานของ กสทช. ตั้งแต่แรกก็มุ่งเน้นไปสู่การจัดประมูลทีวีดิจิตอลเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นเรื่องของตัวเงินมากกว่า กลับกันการสนับสนุนด้านคอนเทนท์ที่ดีมีสาระยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก ถึงแม้ล่าสุดจะมีประกาศส่วนลดค่าธรรมเนียมแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการชำระเงิน เช่นเดียวกับการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาของช่องรายการข่าวจาก 75% เป็น 50% ก็สะท้อนถึงการไม่สนับสนุนคอนเทนท์ที่มีประโยชน์ ดังนั้นเจตนารมณ์ทั้งหมดของกสทช.อาจจะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่าต้องการให้เกิดการส่งเสริมการเข้าถึงเนื้อหาที่ดีของคนในสังคม
















ข่าวที่เกี่ยวข้อง
09 ตุลาคม 2555 คณะลูกศิษย์ลูกตามหาบัว ( เตรียมถอดถอน กสทช. ) เหตุ จัดสรรคลื่นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ ( ต้องมองถึงการใช้ประโยชน์มากกว่า )
http://somagawn.blogspot.com/2012/10/09-2555_10.html


05 พฤศจิกายน 2555 (ไม่สนศิษย์ตาบัวคว่ำบาตร) กสทช.ลุย500 วิทยุชุมชนลดกำลังส่ง-เสาสูง(ต้องเคารพกติกาสังคมที่ใช้ร่วมกับคนหมู่มาก)
http://somagawn.blogspot.com/2012/11/05-2555-500.html


12 ธันวาคม 2555 ฟ้อง กสทช. แล้ว++ ผ่านศาลปกครองอุดรฯ ยกเลิกประกาศ กสทช.บีบกำลังส่งไม่เป็นธรรม กีดกันการเผยแพร่ธรรมะ
http://somagawn.blogspot.com/2012/12/12-2555_2161.html


31 มกราคม 2556 ศิษย์หลวงตามหาบัว กลุ่มผู้นำแรงงาน TOT CAT ยื่นแก้ “พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่” เหตุ กสทช.ฉวยโอกาสปิดคลื่น-จับกุม-ใช้งบฟุ่มเฟือย
http://somagawn.blogspot.com/2013/01/31-2556-tot-cat.html


28 มีนาคม 2556 ยื่นแล้ว 18415รายชื่อ!!! ลูกศิษย์หลวงตาม ล่ารายชื่อ แก้ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
http://somagawn.blogspot.com/2013/03/28-2556-18415.html





______________________________________





สหภาพฯกสทผนึกพลัง 41 สหภาพฯ ยื่นวุฒิสภาถอดถอนกสทช.ทั้งคณะ 6 ส.ค.นี้


       สหภาพฯกสท ทีโอที อสมท ผนึกพลังสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เตรียมยื่นหนังสือวุฒิสภา 6 ส.ค. นี้หวังถอดถอนกสทช.ทั้งคณะ หลังพบพฤติกรรมเอื้อประโยชน์ทุนโทรคมนาคมต่างชาติ บ่อนทำลายรัฐวิสาหกิจส่งผลกระทบด้านการเงินอย่างรุนแรงและกระเทือนความมั่นคงของประเทศ
     
       นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวันที่ 6 ส.ค. 2556 นี้ ทางสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับ สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ส.พรท.) โดยมี สหภาพฯ กสท โทรคมนาคม สหภาพฯทีโอที และ สหภาพฯอสมท. และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอีก 41 แห่ง เตรียมเข้ายื่นหนังสือต่อวุฒิสภาเพื่อขอให้พิจารณาการดำรงสถานภาพของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และขอให้มีการถอดถอน กสทช.ทั้งคณะ
     
       เนื่องจาก สหภาพฯกสท เล็งเห็นว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในมาตรา 84 วรรค 3 ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ ระบุว่า เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่ กฏหมายบังคับใช้ รัฐวิสาหกิจต้องนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับในการให้สัมปทานแก่ผู้ได้สัมปทาน ที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฏหมาย ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ซึ่งเป็นการออกกฏหมาย ให้ กสท ต้องส่งรายได้ที่เกิดจากสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ก่อนวันที่กฏหมายใช้บังคับ ให้ กสทช.ส่งผลให้ กสท เสียสิทธิที่เกิดจากสัญญาสัมทปาน มีผลกระทบกระเทือนต่อสัญญาสัมปทาน ซึ่งขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 305 ที่ระบุว่า การใช้กฏหมาย มาตรา 47 ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาสัมปทาน
     
       รวมทั้งการที่กสทช. ออกประกาศเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (อินฟราสตรักเจอร์แชร์ริ่ง) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 2556 และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ... ซึ่งล่าสุด กสทช. เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ไปเมื่อวันที่ 25 ก.ค.2556 โดยประกาศ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวถือเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชน และยังส่งผลให้ทำรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจด้านโทรคมนาคม ได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรง
     
       อีกทั้งการที่ กสทช.ออกใบอนุญาตการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้กับผู้ประกอบการรายเดิมที่อยู่ในตลาดนั้น ก็เป็นการประมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายเดิมอยู่แล้ว แต่กลับอ้างมาโดยตลอดว่าการประมูลดังกล่าวมีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูล เป็นบริษัท ในเครือ ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในประเทศ เพียง 3 รายเท่านั้น และยังเป็นบริษัทที่มีทุนต่างชาติ ซึ่งได้เปรียบในการแข่งขัน และท้ายสุดรัฐวิสาหกิจก็จะได้รับความเสียหาย ต้องประสบภาวะการขาดทุน และประเทศชาติก็จะได้รับความเสียหายไปด้วย
     
       "สุดท้ายเอกชนซึ่งเป็นของทุนต่างชาติก็เข้าครอบงำกิจการโทรคมนาคม ของชาติ ก่อให้เกิดความสั่นคลอนในความมั่นคงของประเทศเพราะระบบการรักษาความปลอดภัย ความลับ ทางด้านสารสนเทศที่ รับ-ส่ง บนเครือข่ายโทรคมนาคมไม่ปลอดภัยและไม่มีความน่าเชื่อถือต่อไป"
     
       ขณะเดียวกัน นายสุวิทย์ มิ่งมล รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท กล่าวว่า การดำเนินงานของ กสทช. ตั้งแต่แรกก็มุ่งเน้นไปสู่การจัดประมูลทีวีดิจิตอลเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นเรื่องของตัวเงินมากกว่า กลับกันการสนับสนุนด้านคอนเทนท์ที่ดีมีสาระยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก ถึงแม้ล่าสุดจะมีประกาศส่วนลดค่าธรรมเนียมแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการชำระเงิน เช่นเดียวกับการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาของช่องรายการข่าวจาก 75% เป็น 50% ก็สะท้อนถึงการไม่สนับสนุนคอนเทนท์ที่มีประโยชน์ ดังนั้นเจตนารมณ์ทั้งหมดของกสทช.อาจจะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่าต้องการให้เกิดการส่งเสริมการเข้าถึงเนื้อหาที่ดีของคนในสังคม
     
       นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายของกสทช.ในการกำกับดูแลช่องทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีก็ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากยังคงพบการโฆษณาเกินจริง และเนื้อหาลามกอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร โดยถ้ายังปล่อยให้เป็นแบบนี้ สู้ให้มีการกำกับภายใต้หน่วยงานเดิมยังดีเสียกว่า


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092829

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.