Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2556 it city เชื่อตลาดค้าปลีกไอทีปีนี้ เป็นปีที่ไม่คาดหวังความหวือหวา ผู้บริโภครอเทคโนโลยีใหม่!! เหตุผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายเงินมากในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีทั่วโลก


ประเด็นหลัก


ฝากความหวังไตรมาส 4

นายชัยวัฒน์ เอมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซี.พี. พลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าไอที มอลล์ ฟอร์จูน กล่าวว่า ช่วงไตรมาส 3 ฟอร์จูนมองว่าเป็นจังหวะ "ฮาร์ดเซล" ที่ผู้ค้าจะเริ่มเคลียร์สินค้ารุ่นเก่าหรือเปิดตัวมาตั้งแต่ต้นปี หรือถ้าเป็นสินค้าใหม่ก็จะราคาไม่สูงมาก เพื่อรอจังหวะคึกคักช่วงปลายปี

แต่ไตรมาส 4 น่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีในกลุ่มสินค้าไอที จากสินค้าใหม่ที่จะมาจากเวนเดอร์เจ้าของแบรนด์ เช่น ไมโครซอฟท์ และผู้ผลิตโน้ตบุ๊ค ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีออพชั่นการใช้งานมากกว่า 1 อย่าง หรือเป็นสินค้าใหม่ที่แตกต่างจากแค่โน้ตบุ๊ค หรือแทบเล็ตธรรมดา

ห้างฟอร์จูนได้หารือกับผู้ประกอบการและผู้ค้าไอทีทั้งรายใหญ่และย่อย ยังเห็นไปในทางเดียวกันว่า ธุรกิจค้าปลีกไอทียังอยู่ได้ และมีช่องทางที่เติบโตแต่ต้องปรับตัว เช่น ผู้ที่เคยขายฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียวก็จะต้องเริ่มมองการทำบริการเสริม หรือขายสินค้าที่มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าเดิม เพราะผู้ซื้อยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างมาก

"ตั้งแต่ไตรมาส 2 มา เราเริ่มเห็นสินค้าที่ไฮบริดจ์ มีหลายฟังก์ชั่น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่ชัดเจนของสินค้าไอที ขณะที่สินค้ากลุ่มดิจิทัลแนวโน้มก็ยังเติบโตได้ดี แต่แทบเล็ตแม้จะเติบโตแต่ก็มี 2 กระแสคือ แทบเล็ตบูม ขายดีมาก และจะเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันกันต่อไปอีกนาน แต่อีกกระแสมองว่าเป็นแค่แฟชั่นช่วงหนึ่งเท่านั้น เพราะซื้อขายเยอะก็จริง แต่รุ่นที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ยังราคาหมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งถือว่าราคาสูง" นายชัยวัฒน์กล่าว



หวังเทคโนฯใหม่อีกระลอก

นายเอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไอที ซิตี้ กล่าวว่า ตลาดค้าปลีกไอทีปีนี้ เป็นปีที่ไม่คาดหวังความหวือหวา แต่ต้องรักษาการเติบโตให้ได้มากที่สุุด เพราะสภาพตลาดแตกต่างจากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาชัดเจน โดยเฉพาะความตื่นเต้นของผู้บริโภคกับเทคโนโลยีใหม่และอัตราการเปลี่ยนเครื่องใหม่ที่เริ่มช้าลง

นอกจากกลุ่มโฮมยูส ซึ่งเป็นผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ที่สุดในไอทีซิตี้ ก็เริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายเงินมากในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีทั่วโลกทำให้การคาดหวังการเติบโตเป็นไปได้ยาก

"เราก็เป็นเหมือนกับที่ไอดีซีคาดการณ์ คือ ตลาดรวมยังเติบโตได้ดี แต่ก็ไม่ได้ดีทุกตัว คือ กลุ่มสมาร์ทโฟนโตดีมาก แทบเล็ตโตดี แต่คอมพิวเตอร์โตติดลบ ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทั้งโลก และข้อมูลจากกลุ่มซัพพลายเออร์ และผู้ผลิตต่างๆ ก็ทำให้มองได้ว่าครึ่งปีหลังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม ทั้งกำลังซื้อและเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะออกอีกระลอกจะตอบสนองความต้องการของตลาดได้หรือไม่ เพราะแม้จะบอกว่ามีโซเชียล เน็ตเวิร์ค มีเทรนด์ใหม่ๆ เข้ามา แต่ของเดิมยังใช้ได้อยู่ทำให้ต้องคาดหวังว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะสามารถดึงความน่าสนใจให้ผู้ซื้อได้หรือไม่" นายเอกชัยกล่าว

พร้อมกับระบุว่า ไอทีซิตี้ยังคงใช้วิธีจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นยอดขายให้กับหน้าร้าน เพราะก็ยังมีสินค้ากลุ่มที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา เช่น สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต























______________________________________





จับตา 6เดือนสุดท้ายปี56 อุตฯไอทีจะ "รุ่ง" หรือ "ร่วง"

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สำรวจความเห็นผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่และรายย่อยถึงการมองโอกาสอยู่รอดและแผนการปรับตัวสำหรับก้าวต่อไปของธุรกิจ


"ตลาดไอที" ในช่วงเวลาที่ผู้ซื้อมีสติกับการใช้เงินในกระเป๋า ประกอบกับบรรยากาศการซื้อขายที่ดูซบเซาไม่ค่อยคึกคัก แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ทั้ง 3จี, 4จี แอลทีอี, ทีวี ดิจิทัล และสินค้าไฮเทคนานาชนิดมากองให้เลือกซื้อ แต่ถ้าเงินในกระเป๋าไม่เล่นด้วย โอกาสที่ตลาดจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมก็ยังคงห่างไกลความเป็นจริง

"กรุงเทพไอที" สำรวจความเห็นจากฝั่งผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่และรายย่อยถึงการมองโอกาสอยู่รอดและแผนการปรับตัวสำหรับก้าวต่อไปของธุรกิจที่ไม่มีคำหยุดนิ่ง

ฝากความหวังไตรมาส 4

นายชัยวัฒน์ เอมวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซี.พี. พลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าไอที มอลล์ ฟอร์จูน กล่าวว่า ช่วงไตรมาส 3 ฟอร์จูนมองว่าเป็นจังหวะ "ฮาร์ดเซล" ที่ผู้ค้าจะเริ่มเคลียร์สินค้ารุ่นเก่าหรือเปิดตัวมาตั้งแต่ต้นปี หรือถ้าเป็นสินค้าใหม่ก็จะราคาไม่สูงมาก เพื่อรอจังหวะคึกคักช่วงปลายปี

แต่ไตรมาส 4 น่าจะเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีในกลุ่มสินค้าไอที จากสินค้าใหม่ที่จะมาจากเวนเดอร์เจ้าของแบรนด์ เช่น ไมโครซอฟท์ และผู้ผลิตโน้ตบุ๊ค ซึ่งแนวโน้มจะเริ่มพัฒนาสินค้าใหม่ที่มีออพชั่นการใช้งานมากกว่า 1 อย่าง หรือเป็นสินค้าใหม่ที่แตกต่างจากแค่โน้ตบุ๊ค หรือแทบเล็ตธรรมดา

ห้างฟอร์จูนได้หารือกับผู้ประกอบการและผู้ค้าไอทีทั้งรายใหญ่และย่อย ยังเห็นไปในทางเดียวกันว่า ธุรกิจค้าปลีกไอทียังอยู่ได้ และมีช่องทางที่เติบโตแต่ต้องปรับตัว เช่น ผู้ที่เคยขายฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียวก็จะต้องเริ่มมองการทำบริการเสริม หรือขายสินค้าที่มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าเดิม เพราะผู้ซื้อยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยค่อนข้างมาก

"ตั้งแต่ไตรมาส 2 มา เราเริ่มเห็นสินค้าที่ไฮบริดจ์ มีหลายฟังก์ชั่น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่ชัดเจนของสินค้าไอที ขณะที่สินค้ากลุ่มดิจิทัลแนวโน้มก็ยังเติบโตได้ดี แต่แทบเล็ตแม้จะเติบโตแต่ก็มี 2 กระแสคือ แทบเล็ตบูม ขายดีมาก และจะเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันกันต่อไปอีกนาน แต่อีกกระแสมองว่าเป็นแค่แฟชั่นช่วงหนึ่งเท่านั้น เพราะซื้อขายเยอะก็จริง แต่รุ่นที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ยังราคาหมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งถือว่าราคาสูง" นายชัยวัฒน์กล่าว

ปรับไลน์ขายสินค้าเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังเริ่มเห็นแนวโน้มการปรับไลน์การขายสินค้าภายในศูนย์จากที่ขายสินค้าไอทีชนิดเดียวเริ่มมีสินค้าอื่นๆ เพิ่ม โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมที่ยังโตเร็ว และต่อเนื่อง หรืออีกกลุ่ม คือ เปลี่ยนสินค้าที่ขายภายในร้าน เช่น จากที่เคยขายคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คก็หันมาขายมือถือ แทบเล็ตแทน ซึ่งแต่ละร้านก็จะต้องมาหารือกับศูนย์ก่อน

สำหรับฟอร์จูนหลังปรับโฉมครั้งใหญ่ตั้งแต่ปลายปี 2555 พบว่า ยอดคนเดินยังอยู่ในเกณฑ์ดี หรือ 40,000 คนต่อวัน และบริษัทก็ยังมีแผนกระตุ้นการซื้อขายภายในศูนย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอีก 2 เดือนนี้จะมีงานแถลงข่าวใหญ่อีกครั้ง

หวังเทคโนฯใหม่อีกระลอก

นายเอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไอที ซิตี้ กล่าวว่า ตลาดค้าปลีกไอทีปีนี้ เป็นปีที่ไม่คาดหวังความหวือหวา แต่ต้องรักษาการเติบโตให้ได้มากที่สุุด เพราะสภาพตลาดแตกต่างจากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาชัดเจน โดยเฉพาะความตื่นเต้นของผู้บริโภคกับเทคโนโลยีใหม่และอัตราการเปลี่ยนเครื่องใหม่ที่เริ่มช้าลง

นอกจากกลุ่มโฮมยูส ซึ่งเป็นผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ที่สุดในไอทีซิตี้ ก็เริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายเงินมากในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีทั่วโลกทำให้การคาดหวังการเติบโตเป็นไปได้ยาก

"เราก็เป็นเหมือนกับที่ไอดีซีคาดการณ์ คือ ตลาดรวมยังเติบโตได้ดี แต่ก็ไม่ได้ดีทุกตัว คือ กลุ่มสมาร์ทโฟนโตดีมาก แทบเล็ตโตดี แต่คอมพิวเตอร์โตติดลบ ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทั้งโลก และข้อมูลจากกลุ่มซัพพลายเออร์ และผู้ผลิตต่างๆ ก็ทำให้มองได้ว่าครึ่งปีหลังเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม ทั้งกำลังซื้อและเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะออกอีกระลอกจะตอบสนองความต้องการของตลาดได้หรือไม่ เพราะแม้จะบอกว่ามีโซเชียล เน็ตเวิร์ค มีเทรนด์ใหม่ๆ เข้ามา แต่ของเดิมยังใช้ได้อยู่ทำให้ต้องคาดหวังว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะสามารถดึงความน่าสนใจให้ผู้ซื้อได้หรือไม่" นายเอกชัยกล่าว

พร้อมกับระบุว่า ไอทีซิตี้ยังคงใช้วิธีจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นยอดขายให้กับหน้าร้าน เพราะก็ยังมีสินค้ากลุ่มที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา เช่น สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต

สตาร์สไมโครชี้ "เอเชีย"ดันดีมานด์อุต "อิเล็กทรอนิกส์" โต

นายพลศักดิ์ เลิศพุฒิภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอ็มที เผยว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในยุโรปและอเมริกาไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท กลับกันการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียได้เพิ่มโอกาสธุรกิจให้มากขึ้นตามลำดับ

“ความต้องการในเอเชียมีโอกาสเติบโตได้อีกมหาศาล แง่การลงทุนนักลงทุนจากญี่ปุ่นเริ่มเมินจีน ที่มีปัญหาการเมืองและข้อจำกัดทางธุรกิจ ทำให้เออีซีกลายเป็นจุดโฟกัสและไทยกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญที่มีโอกาสมากที่สุด”

อย่างไรก็ดี ภาพรวมปีนี้ลูกค้าระมัดระวังการใช้จ่ายอย่างมาก ทั้งมีบางรายไม่สั่งออเดอร์เพิ่มและพยายามใช้ในสต็อกเก่าให้หมด แต่คาดว่าสถานการณ์จะเริ่มกลับมาเป็นบวกในปี 2557 โดยจะได้เห็นสัญญาณตั้งแต่ต้นปี สำหรับสตาร์สไมโคร นอกจากเตรียมแผนธุรกิจรองรับเหตุไม่คาดหวัง เปิดกว้างรับลูกค้าใหม่และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาว

เขากล่าวต่อว่า ภายใน 5 ปีจากนี้เตรียมใช้งบการลงทุนอีกไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท เพิ่มเครื่องจักรสำหรับผลิตอาร์เอฟไอดีแท็กหรือฉลากอัจฉริยะภายใต้การดูแลของบริษัทในเครือชื่อเอสเอส อาร์เอฟไอดี ซึ่งร่วมทุนกับ บริษัท ซินโฟเนีย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) จากประเทศญี่ปุ่น ให้ได้มากกว่า 5 สายการผลิต ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ 500 ล้านชิ้นต่อปี

ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 1 สายการผลิต สามารถผลิตได้ 100 ล้านชิ้นต่อปี ใช้งบการลงทุนต่อเครื่อง 50 ล้านบาท เบื้องต้นปี 2557 เตรียมเพิ่มอีก 3 สายการผลิต งบลงทุนขยายกำลังการผลิตใช้เงินทุนหมุนเวียนภายในธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือธุรกิจโภคภัณฑ์และไอดีการ์ดต่างๆ แบ่งการทำตลาดเป็น 2 กลุ่มคืออเมริกา ยุโรป และประเทศภายในภูมิภาคอาเซียน ช่วงแรกวางประเทศกลุ่มตลาดตะวันตกเป็นตลาดหลัก แต่คาดว่าแถบเอเชียซึ่งรวมจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตได้สูงมากขึ้น

“ผมเชื่อว่าเรามีจุดแข็งด้านฐานการผลิตและเทคโนโลยีที่บริษัทเครื่องจักรจากญี่ปุ่นเอ็กซ์ครูซีฟให้ระยะเวลา 5 ปี สำคัญสามารถทำราคาได้ถูกกว่าท้องตลาด 50%”

บริษัทตั้งเป้าว่าบริษัทย่อยดังกล่าวจะเริ่มรับรู้รายได้ได้ตั้งแต่ต้นปี 2557 และเมื่อถึงสิ้นปีคาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 10% สัดส่วนมาจากกลุ่มประเทศอเมริกาและยุโรป 80% ภายในภูมิภาคอาเซียน 20% แต่ละปีหวังเติบโตไม่น้อยกว่า 30% ขณะเดียวกันสามารถนำบริษัทดังกล่าวเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใน 3 ปีจากนี้

พร้อมระบุว่า ตลาดอาร์เอฟไอดีแท็กมีแนวโน้มเติบโตสูงมากทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก ขนส่ง และโรงพยาบาล ข้อมูลระบุว่าแต่ละปีการใช้งานมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% จากปัจจุบันที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของโลก อนาคตอันใกล้มีโอกาสเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอาร์เอฟไอดีได้เช่นกัน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130729/519904/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8
%95%E0%B8%B2-
6%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0
%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B556-
%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AF%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%
B8%88%E0%B8%B0-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87-
%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.