Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2556 TRUE เตรียมขาย8 บริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ทั้งหนังสือ เกม การเงิน Cloud คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ไปชำระหนี้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้หนี้สินลดลงเหลือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท


ประเด็นหลัก



***เตรียมขาย 8 บริษัท
    ว่ากันว่าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้ ด้วยการใช้วิธีการนำเสาส่งมาขายให้กับกองทุน มีการวิเคราะห์กันว่าราคาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละต้นมีมูลค่าต้นละ 1 ล้านบาท เมื่อนำมูลค่าของเสาส่งจะเพิ่มขึ้นทันทีหากมีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลเข้ามาเช่าใช้ มูลค่าเสาส่งสัญญาณจะอยู่ที่ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.9 หมื่นล้านบาท คิดจากมูลค่าเสาทั้งหมดที่มีอยู่ 13,000 ต้น ส่งผลให้ บมจ.ทรู มีกำไรต้นละ 2 ล้านบาท หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท หากตั้งกองทุนได้สำเร็จ
    ไม่เพียงเท่านี้การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว บมจ.ทรู มีแผนขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไปจำนวน 8 บริษัท อันได้แก่ บริษัททรู ลีสซิ่ง จำกัด,  บริษัทไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด, บริษัททรู มันนี่ จำกัด , บริษัททรู อินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ,  บริษัททรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล  จำกัด , บริษัททรู พรอพเพอร์ตี้ส์  จำกัด , บริษัททรู ดิจิตอล พลัส และ บริษัททรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด
    "การจำหน่ายหุ้นทั้ง 8 บริษัทออกไปคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้ส่วนใหญ่จะนำไปชำระหนี้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้หนี้สินลดลงเหลือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้สถานะการเงินของบริษัทมั่นคงขึ้น หลังจากนั้นขั้นตอนต่อไปจะเป็นการหาพันธมิตรทางธุรกิจ" นั้นคือคำบอกเล่าของนายนพปฏล
 *** จุดเปลี่ยนโครงสร้างการเงิน
     การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของ บมจ.ทรู คอร์ป ในครั้งนี้นักวิเคราะห์อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET  ออกมาวิเคราะห์ว่า ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเชิงโครงสร้างทางการเงิน ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินจากสถาบันการเงินต่อฐานทุน จะลดลงเหลือเพียง 2.0 เท่า จากปัจจุบันที่ราว 7.6 เท่า บวกกำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนราว 2.5 - 2.6 หมื่นล้านบาท
       แม้ผลประกอบการไตรมาส 2 ของปีนี้ จะคาดขาดทุนสุทธิราว 2.6 - 3 พันล้านบาท แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปีแล้ว และผลประกอบการหลังจากนี้น่าจะปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ
    การจัดตั้งกองทุนอินฟราฯฟันด์ ของ บมจ. ทรู คอร์ป ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการผ่าทางตัน หากประสบความสำเร็จในครั้งนี้ มูลค่าหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ 1 แสนล้านบาท ปรับลดลงเหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท นั้นหมายความว่าทำให้โครงสร้างทางการเงินเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งกับ เอไอเอส และ ดีแทค เพราะทั้ง 2 รายนั้นยังไม่มีแนวความคิดในการจัดตั้งกองทุน
    หากแต่เป้าหมายสำคัญสุดในการจัดตั้งกองทุนครั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประกาศไว้ว่าในปีนี้กลุ่มธุรกิจสื่อสารไร้สายของ บมจ.ทรู คอร์ป ต้องขึ้นเป็นเบอร์ 1 รวมไปถึงเป้าหมายที่จะปั้นแบรนด์มือถือ "True Beyond" เป็นแบรนด์อินเตอร์ในภูมิภาคนี้หลังจากเปิด AEC ในปี 2558











______________________________________





'ทรู'ผ่าทางตันตั้งอินฟราฯฟันด์ลดภาระหนี้



 เป็นเพราะจำนวนมูลหนี้ในกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.) (TRUE)  มีสูงถึง 1.68 แสนล้านบาท (ณ ไตรมาสที่ 1/2556) เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง   คือ  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่มีหนี้สินรวม 7.75 หมื่นล้านบาท ( ณ ไตรมาสที่ 1/2556)

alt ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค มีหนี้สินรวม 6.83 หมื่นล้านบาท (ณ ไตรมาสที่ 2/2556)
      บมจ.ทรู คอร์ป ถูกตั้งคำถาม จากนักลงทุนอย่างต่อเนื่องว่าเพราะอะไรและทำไมผลกำไร และราคาหุ้นถึงได้ต่ำกว่าคู่แข่ง  ? เมื่อพลิกดูราคาหุ้นของ เอไอเอส อยู่ที่ 301 บาท (ณ วันที่ 24/07/56)  ขณะที่ราคาหุ้นของ ดีแทค อยู่ที่ 125 บาท (ณ วันที่ 24/07/56) หากแต่ราคาหุ้นของ ทรู หลังจากบอร์ดอนุมัติจัดตั้งกองทุนอย่างเป็นทางการปรับตัวดีดขึ้นมาอยู่ที่ 9.40 บาท ( ณ วันที่ 24/07/56)
    แม้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ป บอกว่าจำนวนมูลหนี้ที่เกิดขึ้นเกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้กลุ่มทรู มีมูลหนี้ก้อนโตเพิ่มขึ้นนับหมื่นล้านบาท และ ทรู พยายามหาทางออกที่จะปรับลดหนี้เหล่านี้!
** ตั้งกองทุนอินฟราฯฟันด์ ลดหนี้แสนล้าน
    ในที่สุดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการบอร์ด ของ บมจ. ทรู คอร์ป เห็นชอบอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (กองทุน) ขั้นตอนก็เหลือแต่เพียงอนุมัติจัดตั้งกองทุนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมูลค่าสินทรัพย์ที่จะมีการจำหน่ายไปในธุรกรรมครั้งนี้รวมทั้งรายได้และให้เช่าสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท และมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะมีการได้มาในธุรกรรมการเช่ากลับและเช่าช่วงจะไม่เกิน 5.5 หมื่นล้านบาท (ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 15 ปี ดูตารางประกอบสำหรับธุรกรรมการขายทรัพย์สินและรายได้จากการให้เช่า)
    นายนพปฏล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บมจ. ทรู คอร์ป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงเหตุผลที่จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้เนื่องจากว่า บมจ. ทรู คอร์ป ต้องการลดภาระหนี้สินจากที่มีจำนวนทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท และ การจัดตั้งกองทุนรวมครั้งนี้ในการขายสินทรัพย์และให้เช่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ภาระหนี้สินลดลงเหลือ 3 หมื่นล้านบาท และได้มีการจัดตั้ง บริษัท เจวีเอส ที่ปรึกษาการเงิน จำกัด ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
    "การตั้งกองทุนครั้งนี้เป็นการลดหนี้และทำให้มูลค่าหุ้นของ ทรู นั้นมีมูลค่ามากที่สุดจากที่มีหนี้เป็นแสนล้านบาท การออกกองทุนทำให้หนี้ลดลงเหลือ 3 หมื่นล้านบาท เพราะตั้งเป้าหมายในการจำหน่ายทรัพย์สินและการใช้เช่าช่วงอย่างต่ำไม่เกิน 7 หมื่นล้านบาท"
    นายนพปฏล ยังบอกต่ออีกว่า การตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้วัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้ประกอบการ คือ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ดิจิตอลทีวี เข้ามาเช่าใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ ส่วนการถือหุ้นกองทุนรวมนั้นถือหุ้นได้เพียงสัดส่วน 1: 3 เท่านั้นเนื่องจากเป็นกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
alt    แม้ตอนนี้ข้อพิพาทระหว่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  หรือ กสท เรื่องการตีความการส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับ บมจ. กสท ตามสัญญาจ้าง โอน  ให้บริการ หลังสัญญาสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 แต่ดูเหมือนว่า "นพปฏล" มั่นอกมั่นใจว่าเรื่องนี้จะมีข้อสรุปไปในทิศทางที่ดี
*** ดึง"กสท"ร่วมกองทุน
    อย่างไรก็ตาม ล่าสุด บมจ.ทรู คอร์ป ส่งหนังสือด่วนถึง กสท  เปิดโต๊ะเจรจาเรื่องโอนเสาโทรคมนาคม และ อุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน หรือ สร้าง-โอน-บริการ ในลักษณะ BTO (Build-Transfer-Operate) หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายได้เจรจาร่วมกันแต่ยังไม่มีข้อยุติ
    หากแต่ล่าสุด บมจ. ทรู คอร์ป ได้ยื่นข้อเสนอเจรจาเรื่องทรัพย์สินตามสัญญาอีกครั้ง เนื่องจากต้องการนำทรัพย์สินตามสัมปทานทั้งหมด รวมทรัพย์สินของกลุ่มทรูด้วย จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปัจจุบันทรูมีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน จำนวน 6,500 แห่ง แต่ไม่มีการโอนให้กับกสท แต่อย่างใด ขณะที่กสท มีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมจำนวน 2,000 แห่ง
***เตรียมขาย 8 บริษัท
    ว่ากันว่าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้ ด้วยการใช้วิธีการนำเสาส่งมาขายให้กับกองทุน มีการวิเคราะห์กันว่าราคาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละต้นมีมูลค่าต้นละ 1 ล้านบาท เมื่อนำมูลค่าของเสาส่งจะเพิ่มขึ้นทันทีหากมีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลเข้ามาเช่าใช้ มูลค่าเสาส่งสัญญาณจะอยู่ที่ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.9 หมื่นล้านบาท คิดจากมูลค่าเสาทั้งหมดที่มีอยู่ 13,000 ต้น ส่งผลให้ บมจ.ทรู มีกำไรต้นละ 2 ล้านบาท หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท หากตั้งกองทุนได้สำเร็จ
    ไม่เพียงเท่านี้การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว บมจ.ทรู มีแผนขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไปจำนวน 8 บริษัท อันได้แก่ บริษัททรู ลีสซิ่ง จำกัด,  บริษัทไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด, บริษัททรู มันนี่ จำกัด , บริษัททรู อินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ,  บริษัททรู ไลฟ์สไตล์ รีเทล  จำกัด , บริษัททรู พรอพเพอร์ตี้ส์  จำกัด , บริษัททรู ดิจิตอล พลัส และ บริษัททรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด
    "การจำหน่ายหุ้นทั้ง 8 บริษัทออกไปคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้ส่วนใหญ่จะนำไปชำระหนี้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้หนี้สินลดลงเหลือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้สถานะการเงินของบริษัทมั่นคงขึ้น หลังจากนั้นขั้นตอนต่อไปจะเป็นการหาพันธมิตรทางธุรกิจ" นั้นคือคำบอกเล่าของนายนพปฏล
 *** จุดเปลี่ยนโครงสร้างการเงิน
     การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของ บมจ.ทรู คอร์ป ในครั้งนี้นักวิเคราะห์อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET  ออกมาวิเคราะห์ว่า ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเชิงโครงสร้างทางการเงิน ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินจากสถาบันการเงินต่อฐานทุน จะลดลงเหลือเพียง 2.0 เท่า จากปัจจุบันที่ราว 7.6 เท่า บวกกำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนราว 2.5 - 2.6 หมื่นล้านบาท
       แม้ผลประกอบการไตรมาส 2 ของปีนี้ จะคาดขาดทุนสุทธิราว 2.6 - 3 พันล้านบาท แต่เชื่อว่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปีแล้ว และผลประกอบการหลังจากนี้น่าจะปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ
    การจัดตั้งกองทุนอินฟราฯฟันด์ ของ บมจ. ทรู คอร์ป ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการผ่าทางตัน หากประสบความสำเร็จในครั้งนี้ มูลค่าหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ 1 แสนล้านบาท ปรับลดลงเหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท นั้นหมายความว่าทำให้โครงสร้างทางการเงินเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งกับ เอไอเอส และ ดีแทค เพราะทั้ง 2 รายนั้นยังไม่มีแนวความคิดในการจัดตั้งกองทุน
    หากแต่เป้าหมายสำคัญสุดในการจัดตั้งกองทุนครั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประกาศไว้ว่าในปีนี้กลุ่มธุรกิจสื่อสารไร้สายของ บมจ.ทรู คอร์ป ต้องขึ้นเป็นเบอร์ 1 รวมไปถึงเป้าหมายที่จะปั้นแบรนด์มือถือ "True Beyond" เป็นแบรนด์อินเตอร์ในภูมิภาคนี้หลังจากเปิด AEC ในปี 2558

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=192643:2013-07-28-01-30-33&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.