31 กรกฎาคม 2556 4องค์กรสื่อ (เปิดเวที) ชำแหละร่างประกาศ กสทช. คุมสื่อละเมิดเสรีภาพประชาชน (สุรพล ชี้อาจจะไม่สามารถยกทิ้งได้ จะออกประกาศทับที่หลัง) เทพชัยชี้เสมือนให้อำนาจ กสทช.มากจนเกินไป
ประเด็นหลัก
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า สำหรับร่างประกาศฯดังกล่าวยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ กสทช. และอยู่ระหว่างกระบวนการประชาพิจารณ์คาดว่าในขณะนี้กำลังดูท่าที เนื่องจากวิชาชีพสื่อต่อต้านร่างประกาศฯดังกล่าว ซึ่งต้องแสดงความชัดเจนว่าจะให้สื่อกำกับดูแลกันเองเพื่อเป็นการส่งเสริมการร่วมกลุ่มการแข่งขันวิชาชีพสื่อ ในขณะเดียวกันเนื้อหาร่างประกาศฯยังมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ ห้ามมีการเชิญชวน สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการให้ผู้รับชมร่วมชิงโชค เพื่อรับของรางวัล หรือการลงคะแนนโหวตให้กับเวทีประกวดต่างๆ ที่ห้ามไม่ให้มีการแสวงหารผลกำไรใดๆ จากการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส)
นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย กล่าวในงานเสวนาว่า ร่างประกาศนี้ เสมือนให้อำนาจ กสทช.มากจนเกินไป จนมองเห็นถึงอำนาจมืดที่อยู่เบื้องหลังของการออกร่างประกาศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองรายใดที่สามารถควบคุมสื่อได้จะเป็นนักการเมืองที่มีอนาคต จึงเข้ามาแทรกแซงกลไก การกำกับดูแล กสทช. ประกอบกับในอนาคตกระแสหลักอย่างหนังสือพิพม์จะถูกลดบทบาทลงและเข้ามาสู่ทีวีดิจิทัลที่ กสท.กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการประมูลในปี2556
พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง ในฐานะคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง กสทช. กล่าวว่า ในขณะนี้ร่างประกาศฯ อาจจะไม่สามารถยกทิ้งได้ แต่สิ่งที่ดำเนินการต่อไป คือ การทบทวนว่าว่าจะออกหรือไม่ออก เนื่องจากประกาศนี้เป็นการถอยหลัง ไม่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ทั้งในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี และ 4จี นอกจากนี้ร่างประกาศยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร
______________________________________
"4องค์กรสื่อ"ถกร่างประกาศกำกับเนื้อหารายการชี้ให้อำนาจกสทช.มากเกินไป
4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ผนึกกำลัง ชำแหละ ร่างประกาศ กสทช. หลักเกณฑ์กำกับดูแลเนื้อหารายการ ลั่นประกาศฯ ทำถอยหลัง ไม่มีการพัฒนาตามเทคโนโลยี ละเมิดสิทธิ เสรีสื่อ ไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญ
วันนี้(31ก.ค.)ที่สมาคมนักข่าวนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย , สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ,สมาคมนักนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมเสวนาเรื่อง “ชำแหละร่างประกาศ กสทช. คุมสื่อละเมิดเสรีภาพประชาชน” ต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ..... ซึ่งกสทช.ได้อนุมัติให้นำไปเปิดเวีทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า สำหรับร่างประกาศฯดังกล่าวยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ กสทช. และอยู่ระหว่างกระบวนการประชาพิจารณ์คาดว่าในขณะนี้กำลังดูท่าที เนื่องจากวิชาชีพสื่อต่อต้านร่างประกาศฯดังกล่าว ซึ่งต้องแสดงความชัดเจนว่าจะให้สื่อกำกับดูแลกันเองเพื่อเป็นการส่งเสริมการร่วมกลุ่มการแข่งขันวิชาชีพสื่อ ในขณะเดียวกันเนื้อหาร่างประกาศฯยังมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ ห้ามมีการเชิญชวน สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการให้ผู้รับชมร่วมชิงโชค เพื่อรับของรางวัล หรือการลงคะแนนโหวตให้กับเวทีประกวดต่างๆ ที่ห้ามไม่ให้มีการแสวงหารผลกำไรใดๆ จากการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส)
พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง กสทช. กล่าวว่า ในขณะนี้ร่างประกาศนี้ อาจจะไม่สามารถยกทิ้งได้ แต่สิ่งที่ดำเนินการต่อไปคือ การทบทวนว่าว่าจะออกหรือไม่ออก เนื่องจากประกาศนี้เป็นการถอยหลัง ไม่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ทั้งในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี 3 จี และ 4 จี นอกจากนี้ร่างประกาศยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิ เสรีภาพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร
นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย กล่าวในงานเสวนาว่า ร่างประกาศนี้ เสมือนให้อำนาจ กสทช.มากจนเกินไป จนมองเห็นถึงอำนาจมืดที่อยู่เบื้องหลังของการออกร่างประกาศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองรายใดที่สามารถควบคุมสื่อได้จะเป็นนักการเมืองที่มีอนาคต จึงเข้ามาแทรกแซงกลไก การกำกับดูแล กสทช. ประกอบกับในอนาคตกระแสหลักอย่างหนังสือพิพม์จะถูกลดบทบาทลงและเข้ามาสู่ทีวีดิจิทัลที่ กสท.กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการประมูลในปี2556
http://www.dailynews.co.th/technology/223075
___________________________________________
ชำแหละร่างฯ กสทช.คุมสื่อ ชี้ละเมิดสิทธิ์-ไม่สอดคล้อง รธน.
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ชำแหละร่างประกาศฯ กสทช.หลักเกณฑ์กำกับดูแลเนื้อหารายการ ด้าน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง ชี้ละเมิดสิทธิ์ ไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญ ขณะที่ ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย ระบุให้อำนาจ กสทช.มากเกินไป...
เมื่อวันที่ 31 ก.ค. สมาคมนักข่าวนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดย 4 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมเสวนาเรื่อง “ชำแหละร่างประกาศ กสทช. คุมสื่อละเมิดเสรีภาพประชาชน” ต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ..... ซึ่ง กสทช.ได้อนุมัติให้นำไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวว่า ร่างประกาศฯ ดังกล่าวอยู่ระหว่างกระบวนการประชาพิจารณ์ ยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ กสทช. เนื่องจากวิชาชีพสื่อต่อต้านร่างประกาศฯ ดังกล่าว โดยต้องแสดงความชัดเจนว่าจะให้สื่อกำกับดูแลกันเองเพื่อส่งเสริมการร่วมกลุ่มการแข่งขันวิชาชีพสื่อ ขณะเดียวกัน เนื้อหาร่างประกาศฯ ยังมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ ห้ามเชิญชวน สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการให้ผู้รับชมร่วมชิงโชค เพื่อรับของรางวัล หรือการลงคะแนนโหวตให้กับเวทีประกวดต่างๆ ที่ห้ามไม่ให้มีการแสวงหารผลกำไรใดๆ จากการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส)
พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง ในฐานะคณะอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง กสทช. กล่าวว่า ในขณะนี้ร่างประกาศฯ อาจจะไม่สามารถยกทิ้งได้ แต่สิ่งที่ดำเนินการต่อไป คือ การทบทวนว่าว่าจะออกหรือไม่ออก เนื่องจากประกาศนี้เป็นการถอยหลัง ไม่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ทั้งในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี และ 4จี นอกจากนี้ร่างประกาศยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร
นายเทพชัย หย่อง ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ร่างประกาศนี้ เสมือนให้อำนาจ กสทช. มากเกินไป จนมองเห็นถึงอำนาจมืดที่อยู่เบื้องหลังของการออกร่างประกาศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองที่สามารถควบคุมสื่อได้จะเป็นนักการเมืองที่มีอนาคต จึงเข้ามาแทรกแซงกลไก การกำกับดูแล กสทช. และอนาคตหนังสือพิพม์ที่เป็นสื่อกระแสหลักจะถูกลดบทบาทลง และเข้ามาสู่ทีวีดิจิตอล ที่ กสท. เตรียมการประมูลในปี 2556.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/360625
ไม่มีความคิดเห็น: