8 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) บอร์ดกสทช.(เตรียมปรับผังใหม่ ให้ช่องข่าวเสนอเนื้อหาข่าวและสาระ 75% ลดลงเหลือ 50% ให้แตกต่างจากช่องสาธารณะ)และปรับราคาช่องเด็กเคาะเพิ่มครั้ง 1 ล้าน
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ได้นำข้อมูลความคิดเห็นจากเวทีสาธารณะและที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอจากสำนักงาน กสทช. มาพิจารณาเบื้องต้นในประเด็นสำคัญ การปรับสัดส่วนผังรายการ "ช่องข่าว" ซึ่งร่างฯประกาศ กำหนดให้นำเสนอเนื้อหาข่าวและสาระ 75% ลดลงเหลือ 50% เนื่องจากเป็นช่องข่าว ประเภทธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่างด้านการนำเสนอเนื้อหา จากช่องบริการสาธารณะ ที่กำหนดสัดส่วนเนื้อหาข่าวและสาระประโยชน์ 75%
กสทช.กำหนดการประมูลช่องข่าว 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้านบาท กำหนดให้เคาะเพิ่มประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีข้อเสนอให้ปรับราคาการเคาะประมูล “ช่องเด็ก” ใหม่ จากเดิมให้เคาะประมูลเพิ่มครั้ง 1 ล้านบาท ให้เคาะเพิ่มเป็นครั้งละ 2 ล้านบาท โดยกำหนดราคาตั้งเริ่มต้นประมูลเท่าเดิม คือช่องละ 140 ล้านบาท เปิดประมูล 3 ช่อง เนื่องจากมูลค่าการเคาะเพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาทถือว่าน้อยไป อาจส่งผลให้เกิดการเคาะแข่งขันเพิ่มราคาด้วยความถี่สูง ซึ่งไม่ใช้วัตถุประสงค์หลักของการประมูลช่องทีวีดิจิทัล ของ กสทช.
______________________________________
กสท.ชงลดช่องข่าวทีวีดิจิทัลเหลือ50%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
บอร์ดกระจายเสียง เตรียมนำข้อเสนอร่างฯหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิทัล ลดสัดส่วนช่องข่าวจาก 75% เหลือ 50% ชงบอร์ด กสทช.พิจารณาพุธ 17 ก.ค.นี้
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าการประชุมบอร์ดกระจายเสียง ในวันนี้ (8 ก.ค.) เห็นชอบให้เตรียมนำร่างฯ ประกาศ กสทช. หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ที่เปิดรับข้อมูลและความคิดเห็นสาธารณะ เสนอให้บอร์ดใหญ่ กสทช. พิจารณาในวันพุธ 17 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ ได้นำข้อมูลความคิดเห็นจากเวทีสาธารณะและที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอจากสำนักงาน กสทช. มาพิจารณาเบื้องต้นในประเด็นสำคัญ การปรับสัดส่วนผังรายการ "ช่องข่าว" ซึ่งร่างฯประกาศ กำหนดให้นำเสนอเนื้อหาข่าวและสาระ 75% ลดลงเหลือ 50% เนื่องจากเป็นช่องข่าว ประเภทธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่างด้านการนำเสนอเนื้อหา จากช่องบริการสาธารณะ ที่กำหนดสัดส่วนเนื้อหาข่าวและสาระประโยชน์ 75%
กสทช.กำหนดการประมูลช่องข่าว 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้านบาท กำหนดให้เคาะเพิ่มประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีข้อเสนอให้ปรับราคาการเคาะประมูล “ช่องเด็ก” ใหม่ จากเดิมให้เคาะประมูลเพิ่มครั้ง 1 ล้านบาท ให้เคาะเพิ่มเป็นครั้งละ 2 ล้านบาท โดยกำหนดราคาตั้งเริ่มต้นประมูลเท่าเดิม คือช่องละ 140 ล้านบาท เปิดประมูล 3 ช่อง เนื่องจากมูลค่าการเคาะเพิ่มครั้งละ 1 ล้านบาทถือว่าน้อยไป อาจส่งผลให้เกิดการเคาะแข่งขันเพิ่มราคาด้วยความถี่สูง ซึ่งไม่ใช้วัตถุประสงค์หลักของการประมูลช่องทีวีดิจิทัล ของ กสทช.
อย่างไรก็ตามสำนักงาน กสทช. จะรวบรวมความคิดเห็นต่อร่างฯ ประกาศหลักเกณฑ์การประมูล เพื่อเสนอให้บอร์ด กสท. พิจารณาปรับปรุงร่างฯ ในวันจันทร์ที่ 15 ก.ค.นี้ รวมทั้งประเด็นเรื่องลดสัดส่วนรายการข่าวและสาระในช่องข่าว และการเคาะเพิ่มราคาช่องเด็ก หลังจากนั้นจะนำร่างฯ ประกาศเสนอบอร์ด กสทช. พิจารณาในวันที่ 17 ก.ค.นี้ เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และนำไปสู่กระบวนการประมูลที่กำหนดไว้ในราวเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130708/515984/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0
%B8%97.%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%
B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8
%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9
7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
50.html
________________________________________
บอร์ด กสท.จ่อปรับเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลช่องข่าวและเด็ก
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update
บอร์ด กสท.โยน "กสทช." เคลียร์ปมสัมปทานช่อง 3 และ 7 ก่อนนำคลื่นมาใช้ในกิจการโทรคมนาคม จ่อปรับเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลข่าวและเด็ก...
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เห็นชอบให้เสนอแนวทางการศึกษาวิเคราะห์คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิตรซ์ ต่อบอร์ด กสทช.เพื่อนำไปเป็นกรอบศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดยข้อเสนอประกอบด้วย 1. ก่อนนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในกิจการโทรคมนาคม จะต้องมีแผนเรียกคื่นคลื่นความถี่ย่าน 470-510 เมกะเฮิรตซ์ มาให้เพื่อใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ก่อน เพื่อให้เป็นไปตามกฎกติกาสากล 2. จะต้องเจรจาการยุติสัญญาสัมปทานก่อนสิ้นสุดสัญญากับสถานีโทรทัศนช่อง 3 และช่อง 7 ซึ่งมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ไปจนกว่าสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในอีก 8-10 ปีข้างหน้า และ 3. การแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านนั้นสามารถแก้ไขทางเทคนิคได้
"ก่อนจะนำคลี่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ก็ควรจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหารองรับสำหรับคนที่ใช้คลื่นดังกล่าวในปัจจุบันด้วย และนำคลื่นความถี่ที่โทรคมนาคมใช้อยู่มาให้กิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามหลักกติกาสากล อีกทั้งต้องคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้ใช้คลื่นด้วยว่ามีกฎหมายคุ้มครองรัฐธรรมนูญ และแผนแม่บทคลื่นความถี่ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า หากมีการใช้คลื่นความถี่อยู่เดิมและแจ้งเหตุผลแห่งความจำเป็นการใช้คลื่นแล้ว ทาง กสทช.ก็ต้องอนุญาตให้คลื่นความถี่ต่อไปไม่น้อยกว่า 15 ปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้ในเร็วๆ นี้" ประธาน กสท. กล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด กสท.ยังเห็นชอบให้นำเสนอร่างประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ที่ผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้บอร์ด กสทช.ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป โดยมีการเสนอความเห็นที่เป็นสาระสำคัญและอาจนำไปสู่การแก้ไขประกาศ อาทิ การปรับอัตราเคาะราคาประมูลช่องรายการเด็ก จากครั้งละ 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นประมูล 140 ล้านบาท และการปรับสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสารในช่องข่าว จากเดิม 75% ลดเหลือ 50% เนื่องจากหลายฝ่ายเห็นว่าทีวีสาธารณะก็ได้กำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระ 75% อยู่แล้ว ดังนั้นในช่องรายการข่าวประเภททีวีธุรกิจก็ควรจะปรับลดลง เป็นต้น ส่วนความคืบหน้าการนำเข้ากล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอล (Set Top Box) นั้น คาดว่าเดือน ส.ค.นี้จะมีความชัดเจน โดย กสทช.จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงสัญลักษณ์กล่องที่เป็นไปตามมาตรฐานของ กสทช.เท่านั้น
พ.อ.นที กล่าวต่อว่า นอกจากนี้บอร์ด กสท.ยังเห็นชอบให้ตัดสิทธิ์การทดลองออกอากาศของสถานีวิทยุ 926 ราย เนื่องจากไม่ดำเนินการตามประกาศ กสทช. แต่ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน ขณะเดียวกันได้อนุมัติให้การทดลองออกอากาศของสถานีวิทยุอีก 118 ราย ปัจจุบัน กสทช.ได้ออกใบอนุญาตทดลองออกอากาศรวม 2,359 ราย อีกทั้งได้ออกใบอนุญาตช่องรายการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม) เพิ่มอีก 173 ราย จากเดิม 506 ราย ฉะนั้นจะเหลือช่องอีก 40 รายเท่านั้น ที่ยังไม่เข้าสู่ระบบใบอนุญาตและไม่มีสิทธิ์ออกอากาศใดๆ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. และออกใบอนุญาตให้โครงข่ายเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมระดับท้องถิ่นอีก 10 ราย และบอร์ดยังได้เห็นชอบสั่งปรับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) วงเงิน 500,000 บาท จากกรณีรายการ "ปากโป้ง" ที่ดำเนินรายการขัดต่อมาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 และให้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถานีและผู้รับใบอนุญาตตักเตือนพิธีกรรายการด้วย เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/355950
___________________________________________
กสท. เพิ่มราคาเคาะประมูลทีวีดิจิทัลช่องเด็กครั้งละ 2 ลบ.
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:48 น.
กสท. เตรียมปรับวิธีเคาะราคาประมูลช่องเด็ก เพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท จากเดิมกำหนด 1 ล้านบาท พร้อมปรับแก้เนื้อหา ข่าว สาร ช่องธุรกิจลดลงเหลือ 50 %
วันนี้(8ก.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่า กสท.ได้เห็นชอบประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง (หลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิทัล) ที่ได้ผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา
โดยคาดว่าจะมีการปรับ แก้ไขประกาศหลักเกณฑ์ อาทิ การปรับราคาเคาะประมูลทีวีดิจิทัลบริการธุรกิจ ช่องรายการเด็ก ที่มีราคาเริ่มต้นการประมูล 140 ล้านบาท ให้มีการเคาะครั้งละ 2 ล้านบาท จากเดิมที่กำหนด 1 ล้านบาท และการปรับสัดส่วนเนื้อหา สาระ รายการข่าว(เอสดี) ในช่องข่าวเหลือเพียง 50 % จากที่กำหนดไว้ 75 % เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า ทีวีดิจิทัลบริการสาธารณะได้กำหนดสัดส่วนเนื้อหาสาระ 75 % แล้วดังนั้นช่องธุรกิจก็ควรลดลง
พ.อ.ดร. นที กล่าวต่อว่า นอกจากนี้กสท.เห็นชอบแนวทางให้คณะอนุกรรมการศึกษาการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ให้มีการศึกษาคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้แก่ 1. ต้องมีการแผนการเรียกคืนคลื่นความถี่ 470 – 510 เมกะเฮิรตซ์ ที่หน่วยงานราชการใช้ในปัจจุบัน มาใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามมาตราฐานสากล 2. ดำเนินการเจรจายุติสัญญาสัมปทานกับช่อง 3 และ ช่อง 7 ที่มีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอายุสัมปทานนานถึง 8-10 ปี และ 3. การแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านทางเทคนิค เป็นต้น
http://www.dailynews.co.th/technology/217647
ไม่มีความคิดเห็น: