01 สิงหาคม 2556 กสทช.เศรษฐพงค์ ชี้ คนที่ออกออกมาแสดงความเห็น ร่างเยียวยา 1800 ว่าขัดกฏหมาย (ถือว่าเป็นพวกรู้ไม่จริงและไม่มองรอบด้าน) กทค.มีอำนาจเพียงพอ
ประเด็นหลัก
'ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นว่าร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ขัดต่อกฏหมายนั้น มองว่าอาจจะไม่รู้จริง หรือไม่รู้ข้อมูลครบทุกด้านมากกว่า พร้อมทั้งมั่นใจว่ากทค.มีอำนาจเพียงพอในการออกประกาศฉบับนี้แน่นอน”
'การเปิดประมูลความถี่ 1800 MHz ในครั้งนี้มีความซับซ้อน และยุ่งยากกว่าการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1 GHz ที่จัดขึ้นในเดือนต.ค.2555 เนื่องจากความถี่ 1800 MHz มีผู้ครอบครองอยู่โดยเอกชนผู้ให้บริการได้สิทธิตามสัญญาสัมปทานการใช้ความถี่จากรัฐวิสาหกิจ และมีผู้ใช้บริการในระบบมากกว่า 17 ล้านคน ต่างจากคลื่น 3G ที่เป็นคลื่นความถี่ว่างไม่มีผู้ครอบครอง'
อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ยังมีประเด็นการต่อสู้ทางกฎหมายอันเกิดจากผู้ที่ครอบครองคลื่นความถี่เดิม ไม่ยอมคืนคลื่นความถี่มาให้จัดสรรใหม่ตามกฎหมาย จนสุดท้ายต้องมีการตีความในทางกฎหมาย และต้องระมัดระวังไม่ให้มีผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดถือครองคลื่นมากเกินไป รวมทั้งสภาพอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับเปิดให้บริการ 4Gในช่วงปีนี้หากมีการประมูลในเดือนก.ย.ทันทีที่สัมปทานหมด เพราะอุปกรณ์เครื่องลูกข่ายที่รองรับการใช้งานยังมีจำกัด และมีราคาแพง อีกทั้งประเทศเพิ่งเข้าสู่การให้บริการ 3Gในย่าน 2.1 GHz ซึ่งเป็นย่านมาตรฐานสากลไปเมื่อปีที่แล้ว
______________________________________
กทค. ตอกพวกค้านร่างเยียวยา 1800 MHz ไม่รู้จริง
บอร์ดกทค.มีมติออกร่างกรอบเวลาการประมูลความถี่ 1800 MHz คาดประมูลได้ราวกลางเดือนก.ย.2557 และรู้ราคาเริ่มต้นประมูลปีหน้า ด้าน 'พ.อ.เศรษฐพงค์' ตอกพวกที่ค้านการออกร่างเยียวยา 1800 MHz ไม่รู้จริง หรือ ไม่มีข้อมูลรอบด้าน ยันกทค.มีอำนาจเต็มที่ในการออกร่างประกาศฉบับนี้
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 31 ก.ค.มีมติอนุมัติกรอบระยะเวลาของกระบวนการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz สำหรับการประมูลใบอนุญาต 4G โดยกำหนดให้เริ่มประมูลในช่วงกลางเดือน ก.ย.2557 และประกาศผลผู้ชนะการประมูลในช่วงเดือน ต.ค.จากนั้นจะเริ่มให้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนได้รับใบอนุญาต และจะเริ่มมอบใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการเอกชนอย่างเป็นทางการภายในเดือนพ.ย.2557
'ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นว่าร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ขัดต่อกฏหมายนั้น มองว่าอาจจะไม่รู้จริง หรือไม่รู้ข้อมูลครบทุกด้านมากกว่า พร้อมทั้งมั่นใจว่ากทค.มีอำนาจเพียงพอในการออกประกาศฉบับนี้แน่นอน”
สำหรับรายละเอียดกรอบเวลาการประมูล การจัดทำร่างหลักเกณฑ์การอนุญาต และร่างสรุปข้อสนเทศ (ไอเอ็ม) เสร็จเรียบร้อยแล้วในเดือนก.ค.ที่ผ่านมาและในเดือนส.ค.นี้จะเริ่มกระบวนการทำความตกลงกับที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการ และจัดประชุมโฟกัส กรุ๊ป ผลการศึกษาของที่ปรึกษา จากนั้นในช่วงตั้งแต่เดือนธ.ค.2556 - มิ.ย.2557 จะเป็นการจัดทำร่างรายละเอียดประกาศการอนุญาตให้ประมูล และการจัดทำการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นสาธารณะทั่วประเทศ และการนำส่งประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตลงในราชกิจจานุเบกษา
ในเบื้องต้นยังไม่ได้สรุปอย่างเป็นทางการว่ากทค.จะนำคลื่นที่หมดสัมปทานของ บริษัท ทรูมูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่หมดสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.นี้ รวม 25 MHzนำมาประมูลหมดทั้งล็อตหรือแบ่งอย่างไร และราคาเริ่มต้นการประมูลมีมูลค่าเท่าใด หรือจะรวมเอาคลื่นความถี่ 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ที่จะหมดสัมปทานในปี 2558 ร่วมประมูลหรือไม่ โดยทั้งหมดคาดว่จะได้ข้อสรุปในเดือนม.ค.2557 หลังจากที่รับทราบข้อเสนอแนะจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) แล้ว
'การเปิดประมูลความถี่ 1800 MHz ในครั้งนี้มีความซับซ้อน และยุ่งยากกว่าการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1 GHz ที่จัดขึ้นในเดือนต.ค.2555 เนื่องจากความถี่ 1800 MHz มีผู้ครอบครองอยู่โดยเอกชนผู้ให้บริการได้สิทธิตามสัญญาสัมปทานการใช้ความถี่จากรัฐวิสาหกิจ และมีผู้ใช้บริการในระบบมากกว่า 17 ล้านคน ต่างจากคลื่น 3G ที่เป็นคลื่นความถี่ว่างไม่มีผู้ครอบครอง'
พ.อ.เศรษฐ พงค์ กล่าวว่า ปัจจุบันความถี่ 1800 MHz มีจำนวนทั้งหมด 75 MHz แบ่งเป็น ทรูมูฟ จำนวน 12.5 MHz ดีแทคจำนวน 25 MHz ซึ่งให้บริการลูกค้า 2G จำนวน 27 ล้านรายหมดสัมปทานในปี 2561 ต่อมาดีพีซีจำนวน 12.5 MHz และย่านที่อยู่ปลายสุดเป็นดีแทค อีก 25 MHz ซึ่งไม่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า และไม่ได้มีการสร้างโครงข่ายมากว่า 20 ปี
'การดำเนินการความถี่ 1800 MHz ที่ผ่านมาทำตามกรอบเวลาโดยตลอดซึ่งไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด และไม่ได้ละเลยคำเสนอแนะของคณะอนุกรรมการเตรียมการเปลี่ยนผ่านแต่อย่างใด'
สำหรับการออกร่างประกาศเยียวยา1800 MHz ต้องใช้เวลามากกว่า 12-14 เดือนดังนั้น หากไม่มีการออกมาตรการเยียวยาจากร่างประกาศดังกล่าวเพื่อให้บริการต่อไปอีก 1 ปีก็จะเกิดปัญหาซิมดับไปโดยปริยายอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามสาเหตุที่การประมูลไม่ได้รวดเร็วอย่างที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไม่ได้อยู่ในช่วงสภาวะขาดแคลนคลื่นความถี่ เพราะกสทช.เพิ่งได้มีการจัดสรร 3Gในย่านความถี่ 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ซึ่งรวมกับที่บริษัท ทีโอทีให้บริการ 3Gอีก 15 MHz ดังนั้น จึงรวมเป็น 60 MHz ซึ่งเพียงพอกับการให้บริการแก่ลูกค้าที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือจำนวน 60 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ยังมีประเด็นการต่อสู้ทางกฎหมายอันเกิดจากผู้ที่ครอบครองคลื่นความถี่เดิม ไม่ยอมคืนคลื่นความถี่มาให้จัดสรรใหม่ตามกฎหมาย จนสุดท้ายต้องมีการตีความในทางกฎหมาย และต้องระมัดระวังไม่ให้มีผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดถือครองคลื่นมากเกินไป รวมทั้งสภาพอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับเปิดให้บริการ 4Gในช่วงปีนี้หากมีการประมูลในเดือนก.ย.ทันทีที่สัมปทานหมด เพราะอุปกรณ์เครื่องลูกข่ายที่รองรับการใช้งานยังมีจำกัด และมีราคาแพง อีกทั้งประเทศเพิ่งเข้าสู่การให้บริการ 3Gในย่าน 2.1 GHz ซึ่งเป็นย่านมาตรฐานสากลไปเมื่อปีที่แล้ว
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094385
_________________________________________________________
กทค.อนุมัติประมูลมือถือ 4G ดึงเอกชนลงแข่งขันกย. แจกไลเซ่นส์ตค.ปีหน้า
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ได้อนุมัติแผนการประมูลกระบวนการให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) สำหรับการประมูลใบอนุญาต 4G อย่างเป็นทางการ คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ในเดือนกันยายน 2557 และประกาศผลผู้ชนะการประมูลในช่วงเดือนเดียวกัน หลังจากนั้นประมาณเดือนตุลาคมจะเริ่มให้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนได้รับใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) และกลางเดือนตุลาคมจะเริ่มให้ใบอนุญาตแก่เอกชนอย่างเป็นทางการ
สำหรับรายละเอียดกรอบเวลา การให้การประมูลนั้น การจัดทำร่างหลักเกณฑ์การอนุญาต และร่างสรุปข้อสนเทศ (ไอเอ็ม) ได้เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคมนี้จะเริ่มกระบวนการทำความตกลงกับที่ปรึกษาในการดำเนินโครงการ และจัดประชุมโฟกัส กรุ๊ป ผลการศึกษาของที่ปรึกษา จากนั้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556-มิถุนายน 2557 จะเป็นการร่างรายละเอียดประกาศการอนุญาตให้ประมูล การจัดทำการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นสาธารณะทั่วประเทศ และการนำส่งประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตฯลงในราชกิจจานุเบกษา
“ยังไม่ได้สรุปอย่างเป็นทางการว่าจะนำคลื่นที่หมดสัมปทานของ บริษัท ทรูมูฟจำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่หมดสัมปทาน 15 กันยายนนี้ จำนวน รวมเป็น 25 เมกะเฮิรตซ์ มาประมูลหมดทั้งลอต หรือแบ่งอย่างไร และราคาเริ่มต้นการประมูล หรือจะรวมเอาคลื่น 900 ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสที่จะหมดในปี 2558 รวมประมูลได้หรือไม่นั้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนมกราคม 2557 นี้ หลังจากที่รับทราบข้อเสนอแนะจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ไอทียู) แล้ว” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
สำหรับการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่กำลังเตรียมการประมูลมีความซับซ้อนและยุ่งยากกว่าการให้อนุญาตการจัดการประมูลใบอนุญาต 3G ในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เคยจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาเนื่องจากคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีผู้ครอบครองอยู่โดยเอกชนผู้ให้บริการได้สิทธิตามสัญญาสัมปทานการใช้คลื่นจากรัฐวิสาหกิจ และมีผู้ใช้ในระบบมากกว่า 17 ล้านคน ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาการเรียกคืนคลื่น ต่างจากคลื่น 3G ที่เป็นคลื่นว่างไม่มีผู้ครอบครอง
“ความซับซ้อนของการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะยังมีประเด็นการต่อสู้ทางกฎหมายอันเกิดจากผู้ที่ครอบครองคลื่นเดิม ไม่ยอมคลื่นมาให้จัดสรรใหม่ตามกฎหมาย จนสุดท้ายต้องมีการตีความในทางกฎหมาย” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
http://www.naewna.com/business/62350
ไม่มีความคิดเห็น: