06 สิงหาคม 2556 (กสทช. อย. บก.ปคบ. รวมพลังจัดการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง) กสทช.นำแรงมาตรการขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) การสั่งปรับ การระงับใบอนุญาต
ประเด็นหลัก
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น "สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภค โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ" เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง โดยมีหน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมด้วย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการ กสทช.พร้อมจะให้ความร่วมมือทันทีที่ได้รับการประสานจาก อย. ซึ่งพิจารณาว่าโฆษณาใดมีเนื้อหาผิดกฎหมายหรือไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง กสทช.สามารถใช้อำนาจทางปกครอง สั่งลงโทษผู้ประกอบการทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม หรือวิทยุชุมชนทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตกับ กสทช.ไว้ อาทิ มาตรการขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) การสั่งปรับ การระงับใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาตให้ในปีถัดไป เป็นต้น โดยล่าสุดได้มอบใบอนุญาตไปแล้ว 98%
“ปัจจุบัน กสทช.มอนิเตอร์การโฆษณาและออกอากาศในทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคย่างเต็มที่ และเชื่อว่า กสทช.สามารถดูแลได้นะดับหนึ่ง โดยเฉพาะระบบทีวีดาวเทียม แต่ในส่วนของเคเบิลทีวีท้องถิ่น และวิทยุชุมชน ที่มีอยู่ถึง 9 พัน สถานีทั่วประเทศนั้น การตรวจสอบติดตามให้ทั่วถึงเป็นเรื่องยาก จึงต้องผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายภาคประชาชนช่วยสอดส่องดูแลการโฆษณาที่ผิดปกติด้วย" กรรมการ กสทช. กล่าว
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า อย.ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา ได้แก่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ อาทิ เพิ่มโทษปรับผู้ประกอบการที่โฆษณาเกินจริงและได้รับอนุญาตจาก อย.จาก 5 พันบาท เป็นไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนได้เข้าสู่กระบวนการทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
นอกจากนี้ ยังกำหนดแนวทางจัดการปัญหาโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างซ้ำซาก เชื่อมโยงในการพักใบอนุญาตผลิต การเพิกถอนทะเบียนตำรับและเลขสารบบ ส่วนสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุคลื่นใด ที่ปล่อยให้มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายตามที่ อย.ตรวจพบ ก็อาจมีผลกระทบต่อการขอต่อใบอนุญาตกับ กสทช. ด้วย
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า อย.อยู่ระหว่างจัดทำฐานข้อมูลโฆษณาที่ขออนุญาต ครอบคลุมทั้ง ยา อาหาร เครื่องสำอาง เพื่อแลกเป็นข้อมูลผู้ประกอบการและการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งตัวอย่างโฆษณาที่ผิดกฎหมาย การโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และบริษัทผู้กระทำผิด และสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาให้กับสังคม สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์โฆษณาที่ดีต่อไป
พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รองผู้บังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กล่าวว่า บก.ปคบ. กำหนดมาตรการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณา 2 ด้าน คือ 1. มาตรการป้องกัน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคตระหนักถึงพิษภัยของอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตราย และลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสื่อให้เป็นหูเป็นตาร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย และ 2. มาตรการปราบปราม มีศูนย์ปฏิบัติการ บก.ปคบ. มอนิเตอร์รายการหรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งเคเบิลทีวี ฟรีทีวี อินเทอร์เน็ต และวิทยุ รวมทั้งการออกหาข่าวในพื้นที่ และจับกุมผู้กระทำความผิดในทุกรูปแบบ พร้อมเปิดช่องทางให้ผู้บริโภคร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1135 และตู้ ปณ 459 รวมถึงประสานข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
______________________________________
อย.ชงแก้ร่าง พ.ร.บ.ยา 2510 เพิ่มโทษปรับโอ้อวดเกินจริงสูงสุด 5 แสนบาท
อย.ชงแก้ร่าง พ.ร.บ.ยา 2510 ใหม่ เพิ่มโทษปรับผู้ประกอบการโฆษณาอาหารและยาเกินจริง และได้รับใบอนุญาต จาก 5 พัน เป็น 5 แสนบาท ขณะที่ อยู่ระหว่างขั้นตอนทางคณะกรรมการกฤษฎีกา...
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น "สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภค โฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ" เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ควบคุม โฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง โดยมีหน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมด้วย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการ กสทช.พร้อมจะให้ความร่วมมือทันทีที่ได้รับการประสานจาก อย. ซึ่งพิจารณาว่าโฆษณาใดมีเนื้อหาผิดกฎหมายหรือไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง กสทช.สามารถใช้อำนาจทางปกครอง สั่งลงโทษผู้ประกอบการทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม หรือวิทยุชุมชนทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตกับ กสทช.ไว้ อาทิ มาตรการขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) การสั่งปรับ การระงับใบอนุญาต หรือไม่ต่อใบอนุญาตให้ในปีถัดไป เป็นต้น โดยล่าสุดได้มอบใบอนุญาตไปแล้ว 98%
“ปัจจุบัน กสทช.มอนิเตอร์การโฆษณาและออกอากาศในทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคย่างเต็มที่ และเชื่อว่า กสทช.สามารถดูแลได้นะดับหนึ่ง โดยเฉพาะระบบทีวีดาวเทียม แต่ในส่วนของเคเบิลทีวีท้องถิ่น และวิทยุชุมชน ที่มีอยู่ถึง 9 พัน สถานีทั่วประเทศนั้น การตรวจสอบติดตามให้ทั่วถึงเป็นเรื่องยาก จึงต้องผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายภาคประชาชนช่วยสอดส่องดูแลการโฆษณาที่ผิดปกติด้วย" กรรมการ กสทช. กล่าว
น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา กสทช.ได้ทำหนังสือแจ้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการทั้งสื่อทีวีและวิทยุซึ่งยื่นขอรับใบอนุญาตจาก กสทช.กว่า 8 พันราย ให้ปฏิบัติตามกฎหมายของ อย.อย่างเคร่งครัด พบว่าส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังพบการกระทำผิด
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า อย.ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา ได้แก่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ อาทิ เพิ่มโทษปรับผู้ประกอบการที่โฆษณาเกินจริงและได้รับอนุญาตจาก อย.จาก 5 พันบาท เป็นไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนได้เข้าสู่กระบวนการทางคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
นอกจากนี้ ยังกำหนดแนวทางจัดการปัญหาโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างซ้ำซาก เชื่อมโยงในการพักใบอนุญาตผลิต การเพิกถอนทะเบียนตำรับและเลขสารบบ ส่วนสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุคลื่นใด ที่ปล่อยให้มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายตามที่ อย.ตรวจพบ ก็อาจมีผลกระทบต่อการขอต่อใบอนุญาตกับ กสทช. ด้วย
ภญ.ศรีนวล กล่าวอีกว่า อย.อยู่ระหว่างจัดทำฐานข้อมูลโฆษณาที่ขออนุญาต ครอบคลุมทั้ง ยา อาหาร เครื่องสำอาง เพื่อแลกเป็นข้อมูลผู้ประกอบการและการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งตัวอย่างโฆษณาที่ผิดกฎหมาย การโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และบริษัทผู้กระทำผิด และสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาให้กับสังคม สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์โฆษณาที่ดีต่อไป
พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รองผู้บังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กล่าวว่า บก.ปคบ. กำหนดมาตรการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณา 2 ด้าน คือ 1. มาตรการป้องกัน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคตระหนักถึงพิษภัยของอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตราย และลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสื่อให้เป็นหูเป็นตาร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย และ 2. มาตรการปราบปราม มีศูนย์ปฏิบัติการ บก.ปคบ. มอนิเตอร์รายการหรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งเคเบิลทีวี ฟรีทีวี อินเทอร์เน็ต และวิทยุ รวมทั้งการออกหาข่าวในพื้นที่ และจับกุมผู้กระทำความผิดในทุกรูปแบบ พร้อมเปิดช่องทางให้ผู้บริโภคร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1135 และตู้ ปณ 459 รวมถึงประสานข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/361833
ไม่มีความคิดเห็น: