11 สิงหาคม 2556 Huawei ต้องการส่วนแบ่งเพียง5%(ทุ่มงบ75ลบ.เรียกกระแสความมั่นใจกลับคืนมา!!) ชัดเจน!!ความสำคัญต่อดีลเลอร์ในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ
ประเด็นหลัก
“หัวเว่ยยอมรับว่าปีที่ผ่านมายังไม่ค่อยเข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยดีพอ ทำให้การใช้เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ดีเข้ามาทำตลาด โดยไม่มีการให้ความรู้หรือสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ส่งผลให้คนไทยยังไม่ค่อยเกิดความเชื่อมั่นเท่าที่ควร และท้ายที่สุดก็ค่อยๆ หายไปจากตลาด”
อย่างไรก็ตาม โทมัส หลิวยังมองโลกในแง่ดีว่า เมื่อปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยของหัวเว่ย ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป และหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดประเทศไทยในระยะยาวมากขึ้น เพราะภายในบริษัทเองหลังจากเปิดตัว P1 ไปแล้วก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆ ตามออกมาในท้องตลาด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังที่เห็นได้จากช่วงต้นปีที่ผ่านมาในตลาดโลกหัวเว่ยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสและใช้งานได้จริง ภายใต้การผสมผสานระหว่างระบบโครงข่ายของหัวเว่ยกับตัวดีไวส์ไปภายใต้แบรนด์เดียวกัน
“สิ่งที่หัวเว่ยมีอยู่ในมือคือเพื่อนเก่าแก่ในตลาดอินฟราสตรักเจอร์อย่างโอเปอเรเตอร์รายต่างๆ ซึ่งหัวเว่ยได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของตัวสินค้ามายาวนานกว่า 15 ปีแล้ว ต่อไปก็คือการพิสูจน์ให้ผู้ให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด”
“จากข้อมูลของจีเอฟเคระบุว่า ตลาดโทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 70% จะมาจากช่องทางการขายปกติ ส่วนอีก 30% มาจากโอเปอเรเตอร์ ดังนั้นหัวเว่ยจึงให้ความสำคัญต่อดีลเลอร์ในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศค่อนข้างมาก”
ส่วนในด้านของศูนย์บริการนั้น หัวเว่ยไม่ค่อยกังวลกับบริการหลังการขายเท่าใดนัก เนื่องจากที่ผ่านมาหัวเว่ยได้มีการทำตลาดผลิตภัณฑ์อย่างแอร์การ์ดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันมีศูนย์บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 54 จุด ซึ่งจะสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ทันที
ขณะที่ในประเด็นของการตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้านั้น อาจมองว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์เพื่อนร่วมชาติอย่างเลอโนโวที่หันเข้ามารุกในตลาดสมาร์ทโฟนและตั้งเป้าส่วนแบ่งไว้ที่ 10% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีสินค้าที่ขายดีถล่มทลายอย่าง A390 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนราคาถูกที่วางจำหน่ายมาไม่นานแต่กวาดตลาดไปเกือบครึ่งแสนเครื่องแล้ว
โทมัส หลิวกล่าวว่า การวางเป้าของหัวเว่ยจะมองถึงความเป็นไปได้เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าตั้งเป้ามาลอยๆ แล้วไม่สามารถทำได้ ซึ่งการที่หัวเว่ยตั้งเป้าอย่างน้อย 5% ภายใน 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 5% ซึ่งถ้าผ่านจุดนี้ไปได้เมื่อไรก็จะมีการขยับเป้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในมุมของการวางแผนทำตลาดในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังนี้ หัวเว่ยจะเริ่มจากการวางจำหน่ายรุ่นที่เป็นเรือธงอย่าง Ascend P6 ก่อนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าที่มีความคุ้มค่าในระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ ก่อนที่จะทยอยนำเครื่องรุ่นอื่นๆ ในระดับราคาที่ต่ำลงมาเข้ามาจำหน่าย
สำหรับการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทยนั้น ในช่วงครึ่งปีแรกมีผลสำรวจจากหลายบริษัทที่ปรึกษาระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่มีการสับเปลี่ยนโครงข่ายจาก 2G มาเป็น 3G ขณะที่ทางจีเอฟเคก็มีการคาดการณ์ว่าปริมาณสมาร์ทโฟนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากเดิมในปี 2012 อยู่ที่ 6 ล้านเครื่อง ในปี 2013 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10-12 ล้านเครื่อง และในปี 2014 เมื่อ 3G ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะเติบโตถึง 15 ล้านเครื่อง
“ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็เชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้นอย่างแน่นอน และหัวเว่ยก็มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้”
โดยก่อนหน้านี้หัวเว่ยเคยออกมาให้ข้อมูลถึงงบการตลาดที่จะใช้ทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไว้ที่ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 75 ล้านบาท สำหรับโปรโมตสินค้าผ่านทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการเปิดร้านค้าในจุดสำคัญใจกลางเมืองเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ให้แก่ผู้บริโภค และช่วยให้ลูกค้าได้มาสัมผัสเครื่องจริงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะหัวเว่ยเองก็มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ไฮไลต์อย่าง Ascend P6 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลก และใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียม ให้ความรู้สึกในการจับเครื่องแตกต่างจากแบรนด์จีนรายอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน
______________________________________
“หัวเว่ย” ขอแก้มือตลาดไทย
พญามังกร “หัวเว่ย” ขอแก้มือตลาดไทย พร้อมเข็นไฮไลต์โปรดักต์Ascend P6 สมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลกบุกตลาด ก่อนเสริมไลน์ด้วยผลิตภัณฑ์ดีราคาคุ้มค่า มั่นใจช่องทางจำหน่ายที่มี และศูนย์บริการหลังการขายที่วางไว้สามารถรองรับลูกค้าได้ ย้ำชัดความสัมพันธ์โอเปอเรเตอร์เป็นตัวแปรสำคัญช่วยกระจายสินค้า
โทมัส หลิว กรรมการผู้อำนวยการ หัวเว่ย ดีไวส์ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากที่หัวเว่ยเริ่มเข้ามาให้ความสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนมากขึ้น ด้วยการนำผลิตภัณฑ์อย่าง Ascend P1 เข้ามาจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงได้มีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้สามารถขึ้นมาเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนในใจคนไทยให้ได้
“หัวเว่ยยอมรับว่าปีที่ผ่านมายังไม่ค่อยเข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยดีพอ ทำให้การใช้เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ดีเข้ามาทำตลาด โดยไม่มีการให้ความรู้หรือสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ส่งผลให้คนไทยยังไม่ค่อยเกิดความเชื่อมั่นเท่าที่ควร และท้ายที่สุดก็ค่อยๆ หายไปจากตลาด”
อย่างไรก็ตาม โทมัส หลิวยังมองโลกในแง่ดีว่า เมื่อปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยของหัวเว่ย ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป และหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดประเทศไทยในระยะยาวมากขึ้น เพราะภายในบริษัทเองหลังจากเปิดตัว P1 ไปแล้วก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆ ตามออกมาในท้องตลาด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังที่เห็นได้จากช่วงต้นปีที่ผ่านมาในตลาดโลกหัวเว่ยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสและใช้งานได้จริง ภายใต้การผสมผสานระหว่างระบบโครงข่ายของหัวเว่ยกับตัวดีไวส์ไปภายใต้แบรนด์เดียวกัน
“สิ่งที่หัวเว่ยมีอยู่ในมือคือเพื่อนเก่าแก่ในตลาดอินฟราสตรักเจอร์อย่างโอเปอเรเตอร์รายต่างๆ ซึ่งหัวเว่ยได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของตัวสินค้ามายาวนานกว่า 15 ปีแล้ว ต่อไปก็คือการพิสูจน์ให้ผู้ให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้หัวเว่ยยังได้มีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านเจมาร์ทเข้ามาเสริมในการกระจายสินค้าไปยังทั่วประเทศ จากเดิมที่มีเฉพาะทีจีโฟนรายเดียว ส่วนในมุมของผู้ให้บริการเครือข่ายก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางจำหน่ายสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้งานสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน 3G ซึ่งในปัจจุบันหัวเว่ยก็รับจ้างผลิตสมาร์ทโฟนราคาถูกให้แก่โอเปอเรเตอร์ในประเทศไทยเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้งาน 3G ด้วยสมาร์ทโฟนราคาถูก ซึ่งหัวเว่ยมองว่ายังเป็นอีกช่องทางที่ต้องเดินหน้าต่อไปเพราะถือว่าเป็นการทำงานใกล้ชิดกับโอเปอเรเตอร์มากกว่าการขายแค่เรื่องเน็ตเวิร์ก รวมทั้งเพื่อความอยู่รอดของบริษัทด้วย
“จากข้อมูลของจีเอฟเคระบุว่า ตลาดโทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 70% จะมาจากช่องทางการขายปกติ ส่วนอีก 30% มาจากโอเปอเรเตอร์ ดังนั้นหัวเว่ยจึงให้ความสำคัญต่อดีลเลอร์ในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศค่อนข้างมาก”
ส่วนในด้านของศูนย์บริการนั้น หัวเว่ยไม่ค่อยกังวลกับบริการหลังการขายเท่าใดนัก เนื่องจากที่ผ่านมาหัวเว่ยได้มีการทำตลาดผลิตภัณฑ์อย่างแอร์การ์ดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันมีศูนย์บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 54 จุด ซึ่งจะสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ทันที
ขณะที่ในประเด็นของการตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้านั้น อาจมองว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์เพื่อนร่วมชาติอย่างเลอโนโวที่หันเข้ามารุกในตลาดสมาร์ทโฟนและตั้งเป้าส่วนแบ่งไว้ที่ 10% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีสินค้าที่ขายดีถล่มทลายอย่าง A390 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนราคาถูกที่วางจำหน่ายมาไม่นานแต่กวาดตลาดไปเกือบครึ่งแสนเครื่องแล้ว
โทมัส หลิวกล่าวว่า การวางเป้าของหัวเว่ยจะมองถึงความเป็นไปได้เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าตั้งเป้ามาลอยๆ แล้วไม่สามารถทำได้ ซึ่งการที่หัวเว่ยตั้งเป้าอย่างน้อย 5% ภายใน 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 5% ซึ่งถ้าผ่านจุดนี้ไปได้เมื่อไรก็จะมีการขยับเป้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในมุมของการวางแผนทำตลาดในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังนี้ หัวเว่ยจะเริ่มจากการวางจำหน่ายรุ่นที่เป็นเรือธงอย่าง Ascend P6 ก่อนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าที่มีความคุ้มค่าในระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ ก่อนที่จะทยอยนำเครื่องรุ่นอื่นๆ ในระดับราคาที่ต่ำลงมาเข้ามาจำหน่าย
“ภายในบริษัทเองก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจ แต่เชื่อว่าด้วยการที่ให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคงไว้ต่อไป เพียงแต่สิ่งที่สำคัญกว่าในเวลานี้คือการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ของหัวเว่ย ให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าใจว่าไม่ได้เป็นเหมือนกับสินค้าระดับล่างจากจีนรายอื่นๆ”
ขณะที่ในตลาดสมาร์ทโฟนช่วงครึ่งปีหลัง ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการเตรียมเปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ๆ ในท้องตลาดจากเจ้าตลาดอย่างซัมซุงที่กำลังจะมีการเปิดตัว Galaxy Note 3 หรือแอลจีที่กำลังจะเปิดตัว G2 ไม่นับรวมกับแอปเปิลที่จะเปิดตัวไอโฟนรุ่นใหม่ ทำให้อาจจะเกิดการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดไฮเอนด์เป็นหลัก แต่หัวเว่ยกลับมองในมุมที่ต่างออกไปว่า การที่หัวเว่ยเปิดตัวรุ่นไฮเอนด์ก่อนใคร ทำให้มีเวลาที่จะเก็บเกี่ยวตลาด ก่อนที่หลายๆ แบรนด์จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้นหัวเว่ยก็จะมีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่พร้อมจะเข้ามาทำตลาดเช่นเดียวกัน
สำหรับการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทยนั้น ในช่วงครึ่งปีแรกมีผลสำรวจจากหลายบริษัทที่ปรึกษาระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่มีการสับเปลี่ยนโครงข่ายจาก 2G มาเป็น 3G ขณะที่ทางจีเอฟเคก็มีการคาดการณ์ว่าปริมาณสมาร์ทโฟนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากเดิมในปี 2012 อยู่ที่ 6 ล้านเครื่อง ในปี 2013 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10-12 ล้านเครื่อง และในปี 2014 เมื่อ 3G ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะเติบโตถึง 15 ล้านเครื่อง
“ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็เชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้นอย่างแน่นอน และหัวเว่ยก็มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้”
โดยก่อนหน้านี้หัวเว่ยเคยออกมาให้ข้อมูลถึงงบการตลาดที่จะใช้ทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไว้ที่ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 75 ล้านบาท สำหรับโปรโมตสินค้าผ่านทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการเปิดร้านค้าในจุดสำคัญใจกลางเมืองเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ให้แก่ผู้บริโภค และช่วยให้ลูกค้าได้มาสัมผัสเครื่องจริงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะหัวเว่ยเองก็มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ไฮไลต์อย่าง Ascend P6 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลก และใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียม ให้ความรู้สึกในการจับเครื่องแตกต่างจากแบรนด์จีนรายอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน
ในฐานะที่รับผิดชอบประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า โทมัส หลิวให้ข้อมูลว่า ในด้านการลงทุนในพม่า เบื้องต้นหัวเว่ยจะเน้นไปที่การทำตลาดโครงข่ายมากกว่า เพราะปัจจุบันเพิ่งมีการให้ใบอนุญาต 3G ในประเทศพม่า ส่งผลให้ความต้องการหลักไปอยู่ที่การลงอินฟราสตรักเจอร์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ หลังจากนั้นเมื่อมีเครือข่ายให้บริการที่พร้อมแล้ว หัวเว่ยก็พร้อมที่จะนำสมาร์ทโฟนเข้าไปทำตลาดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ภายในสิ้นปีนี้หัวเว่ยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน อินเดีย พม่า ศรีลังกา เวียดนาม เนปาล มัลดีฟส์ และไทย ได้ราว 10 ล้านเครื่อง จากปีที่ผ่านมาสามารถจำหน่ายโทรศัพท์ได้ 10 ล้านเครื่อง แต่แบ่งเป็นฟีเจอร์โฟน 8 ล้านเครื่อง และสมาร์ทโฟนเพียง 2 ล้านเครื่องเท่านั้น
***แรกสัมผัส Ascend P6 นี่หรือ ไอโฟน 6
จุดหนึ่งที่น่าสนใจในงานแถลงข่าวเปิดตัว Ascend P6 ของหัวเว่ยคือ หยาง ฉู่ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวออกมาว่า Ascend P6 มันคือไอโฟน 6 ที่ยังไม่ออกวางจำหน่าย โดยสิ่งที่ทำให้มั่นใจอย่างนั้นคงหนีไม่พ้นการนำสเปกเครื่องระดับสูงมาผสมผสานกับการดีไซน์ตัวเครื่องที่ทำได้บางเพียง 6.8 มม.เท่านั้น บนวัสดุเดียวกับที่ใช้ในไอโฟน
ที่น่าสนใจคือราคาเปิดตัวของ Ascend P6 อยู่ที่ 13,490 บาท ซึ่งถ้าลองเทียบกับแอนดรอยด์โฟนในสเปกใกล้เคียงกันจะขายที่ราวๆ เกือบ 2 หมื่นบาท ทำให้มองย้อนไปได้ว่าการทำสงครามราคาก็เป็นอีกหนึ่งเกมที่ทำให้หัวเว่ยเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์โครงข่ายในทุกวันนี้เช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าถ้าผลิตภัณฑ์ไม่ดีถึงแม้ราคาจะถูกผู้บริโภคก็ยังไม่สนใจ ในจุดนี้ด้วยความที่เป็นสมาร์ทโฟนเรือธงเข้ามาตีตลาดรอบนี้ของหัวเว่ยจึงมั่นใจว่า Ascend P6 จะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกชนิดจากการที่ใส่หน่วยประมวลผลควอดคอร์ 1.5 GHz RAM 2 GB บนหน้าจอขนาด 4.7 นิ้ว ความละเอียด 1,280x720 พิกเซล ไม่นับรวมกับกล้องหลักความละเอียด 8 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล
เรียกได้ว่าจัดให้มาค่อนข้างครบในทุกแง่มุม ซึ่งจากเท่าที่สัมผัสก็ต้องยอมรับว่าหัวเว่ยทำการบ้านกับ Ascend P6 มาค่อนข้างดี เมื่อได้ลองเล่นแล้วก็จะเข้าใจถึงสิ่งที่หัวเว่ยต้องการสร้างบรรทัดฐานในตลาดสมาร์ทโฟนว่าของดีไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป
เพียงแต่นอกจากในแง่ของดีไซน์ตัวเครื่องและประสิทธิภาพโดยรวมแล้ว หัวเว่ยยังขาดคีย์ฟีเจอร์ที่จะมาสร้างความแตกต่างให้แก่แบรนด์ของตนเอง ซึ่งในจุดนี้ทำให้การใช้งานเครื่องโดยรวมแทบไม่แตกต่างจากแอนดรอยด์โฟนรุ่นที่สเปกใกล้เคียงกันในท้องตลาดแต่อย่างใด
ก้าวต่อไปของหัวเว่ยในตลาดประเทศไทย คงหนีไม่พ้นทำอย่างไรให้ผู้บริโภคได้ลองจับและสัมผัสตัวเครื่องจริง เพื่อลบภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยสวยของแบรนด์จีนออกไปจากสมองคนไทยให้ได้
http://manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000098393
“หัวเว่ยยอมรับว่าปีที่ผ่านมายังไม่ค่อยเข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยดีพอ ทำให้การใช้เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ดีเข้ามาทำตลาด โดยไม่มีการให้ความรู้หรือสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ส่งผลให้คนไทยยังไม่ค่อยเกิดความเชื่อมั่นเท่าที่ควร และท้ายที่สุดก็ค่อยๆ หายไปจากตลาด”
อย่างไรก็ตาม โทมัส หลิวยังมองโลกในแง่ดีว่า เมื่อปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยของหัวเว่ย ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป และหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดประเทศไทยในระยะยาวมากขึ้น เพราะภายในบริษัทเองหลังจากเปิดตัว P1 ไปแล้วก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆ ตามออกมาในท้องตลาด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังที่เห็นได้จากช่วงต้นปีที่ผ่านมาในตลาดโลกหัวเว่ยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสและใช้งานได้จริง ภายใต้การผสมผสานระหว่างระบบโครงข่ายของหัวเว่ยกับตัวดีไวส์ไปภายใต้แบรนด์เดียวกัน
“สิ่งที่หัวเว่ยมีอยู่ในมือคือเพื่อนเก่าแก่ในตลาดอินฟราสตรักเจอร์อย่างโอเปอเรเตอร์รายต่างๆ ซึ่งหัวเว่ยได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของตัวสินค้ามายาวนานกว่า 15 ปีแล้ว ต่อไปก็คือการพิสูจน์ให้ผู้ให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด”
“จากข้อมูลของจีเอฟเคระบุว่า ตลาดโทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 70% จะมาจากช่องทางการขายปกติ ส่วนอีก 30% มาจากโอเปอเรเตอร์ ดังนั้นหัวเว่ยจึงให้ความสำคัญต่อดีลเลอร์ในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศค่อนข้างมาก”
ส่วนในด้านของศูนย์บริการนั้น หัวเว่ยไม่ค่อยกังวลกับบริการหลังการขายเท่าใดนัก เนื่องจากที่ผ่านมาหัวเว่ยได้มีการทำตลาดผลิตภัณฑ์อย่างแอร์การ์ดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันมีศูนย์บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 54 จุด ซึ่งจะสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ทันที
ขณะที่ในประเด็นของการตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้านั้น อาจมองว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์เพื่อนร่วมชาติอย่างเลอโนโวที่หันเข้ามารุกในตลาดสมาร์ทโฟนและตั้งเป้าส่วนแบ่งไว้ที่ 10% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีสินค้าที่ขายดีถล่มทลายอย่าง A390 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนราคาถูกที่วางจำหน่ายมาไม่นานแต่กวาดตลาดไปเกือบครึ่งแสนเครื่องแล้ว
โทมัส หลิวกล่าวว่า การวางเป้าของหัวเว่ยจะมองถึงความเป็นไปได้เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าตั้งเป้ามาลอยๆ แล้วไม่สามารถทำได้ ซึ่งการที่หัวเว่ยตั้งเป้าอย่างน้อย 5% ภายใน 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 5% ซึ่งถ้าผ่านจุดนี้ไปได้เมื่อไรก็จะมีการขยับเป้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในมุมของการวางแผนทำตลาดในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังนี้ หัวเว่ยจะเริ่มจากการวางจำหน่ายรุ่นที่เป็นเรือธงอย่าง Ascend P6 ก่อนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าที่มีความคุ้มค่าในระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ ก่อนที่จะทยอยนำเครื่องรุ่นอื่นๆ ในระดับราคาที่ต่ำลงมาเข้ามาจำหน่าย
สำหรับการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทยนั้น ในช่วงครึ่งปีแรกมีผลสำรวจจากหลายบริษัทที่ปรึกษาระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่มีการสับเปลี่ยนโครงข่ายจาก 2G มาเป็น 3G ขณะที่ทางจีเอฟเคก็มีการคาดการณ์ว่าปริมาณสมาร์ทโฟนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากเดิมในปี 2012 อยู่ที่ 6 ล้านเครื่อง ในปี 2013 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10-12 ล้านเครื่อง และในปี 2014 เมื่อ 3G ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะเติบโตถึง 15 ล้านเครื่อง
“ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็เชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้นอย่างแน่นอน และหัวเว่ยก็มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้”
โดยก่อนหน้านี้หัวเว่ยเคยออกมาให้ข้อมูลถึงงบการตลาดที่จะใช้ทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไว้ที่ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 75 ล้านบาท สำหรับโปรโมตสินค้าผ่านทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการเปิดร้านค้าในจุดสำคัญใจกลางเมืองเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ให้แก่ผู้บริโภค และช่วยให้ลูกค้าได้มาสัมผัสเครื่องจริงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะหัวเว่ยเองก็มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ไฮไลต์อย่าง Ascend P6 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลก และใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียม ให้ความรู้สึกในการจับเครื่องแตกต่างจากแบรนด์จีนรายอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน
______________________________________
“หัวเว่ย” ขอแก้มือตลาดไทย
พญามังกร “หัวเว่ย” ขอแก้มือตลาดไทย พร้อมเข็นไฮไลต์โปรดักต์Ascend P6 สมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลกบุกตลาด ก่อนเสริมไลน์ด้วยผลิตภัณฑ์ดีราคาคุ้มค่า มั่นใจช่องทางจำหน่ายที่มี และศูนย์บริการหลังการขายที่วางไว้สามารถรองรับลูกค้าได้ ย้ำชัดความสัมพันธ์โอเปอเรเตอร์เป็นตัวแปรสำคัญช่วยกระจายสินค้า
โทมัส หลิว กรรมการผู้อำนวยการ หัวเว่ย ดีไวส์ ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากที่หัวเว่ยเริ่มเข้ามาให้ความสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนมากขึ้น ด้วยการนำผลิตภัณฑ์อย่าง Ascend P1 เข้ามาจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงได้มีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้สามารถขึ้นมาเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนในใจคนไทยให้ได้
“หัวเว่ยยอมรับว่าปีที่ผ่านมายังไม่ค่อยเข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยดีพอ ทำให้การใช้เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ดีเข้ามาทำตลาด โดยไม่มีการให้ความรู้หรือสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ส่งผลให้คนไทยยังไม่ค่อยเกิดความเชื่อมั่นเท่าที่ควร และท้ายที่สุดก็ค่อยๆ หายไปจากตลาด”
อย่างไรก็ตาม โทมัส หลิวยังมองโลกในแง่ดีว่า เมื่อปีที่ผ่านมาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยของหัวเว่ย ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป และหันมาให้ความสำคัญต่อตลาดประเทศไทยในระยะยาวมากขึ้น เพราะภายในบริษัทเองหลังจากเปิดตัว P1 ไปแล้วก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดๆ ตามออกมาในท้องตลาด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังที่เห็นได้จากช่วงต้นปีที่ผ่านมาในตลาดโลกหัวเว่ยมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสและใช้งานได้จริง ภายใต้การผสมผสานระหว่างระบบโครงข่ายของหัวเว่ยกับตัวดีไวส์ไปภายใต้แบรนด์เดียวกัน
“สิ่งที่หัวเว่ยมีอยู่ในมือคือเพื่อนเก่าแก่ในตลาดอินฟราสตรักเจอร์อย่างโอเปอเรเตอร์รายต่างๆ ซึ่งหัวเว่ยได้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของตัวสินค้ามายาวนานกว่า 15 ปีแล้ว ต่อไปก็คือการพิสูจน์ให้ผู้ให้บริการเหล่านั้นเข้าถึงสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยว่ามีประสิทธิภาพมากเพียงใด”
ขณะเดียวกัน ในปีนี้หัวเว่ยยังได้มีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านเจมาร์ทเข้ามาเสริมในการกระจายสินค้าไปยังทั่วประเทศ จากเดิมที่มีเฉพาะทีจีโฟนรายเดียว ส่วนในมุมของผู้ให้บริการเครือข่ายก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางจำหน่ายสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้งานสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งาน 3G ซึ่งในปัจจุบันหัวเว่ยก็รับจ้างผลิตสมาร์ทโฟนราคาถูกให้แก่โอเปอเรเตอร์ในประเทศไทยเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้งาน 3G ด้วยสมาร์ทโฟนราคาถูก ซึ่งหัวเว่ยมองว่ายังเป็นอีกช่องทางที่ต้องเดินหน้าต่อไปเพราะถือว่าเป็นการทำงานใกล้ชิดกับโอเปอเรเตอร์มากกว่าการขายแค่เรื่องเน็ตเวิร์ก รวมทั้งเพื่อความอยู่รอดของบริษัทด้วย
“จากข้อมูลของจีเอฟเคระบุว่า ตลาดโทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 70% จะมาจากช่องทางการขายปกติ ส่วนอีก 30% มาจากโอเปอเรเตอร์ ดังนั้นหัวเว่ยจึงให้ความสำคัญต่อดีลเลอร์ในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศค่อนข้างมาก”
ส่วนในด้านของศูนย์บริการนั้น หัวเว่ยไม่ค่อยกังวลกับบริการหลังการขายเท่าใดนัก เนื่องจากที่ผ่านมาหัวเว่ยได้มีการทำตลาดผลิตภัณฑ์อย่างแอร์การ์ดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันมีศูนย์บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 54 จุด ซึ่งจะสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานได้ทันที
ขณะที่ในประเด็นของการตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน 5% ภายใน 3 ปีข้างหน้านั้น อาจมองว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแบรนด์เพื่อนร่วมชาติอย่างเลอโนโวที่หันเข้ามารุกในตลาดสมาร์ทโฟนและตั้งเป้าส่วนแบ่งไว้ที่ 10% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีสินค้าที่ขายดีถล่มทลายอย่าง A390 ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนราคาถูกที่วางจำหน่ายมาไม่นานแต่กวาดตลาดไปเกือบครึ่งแสนเครื่องแล้ว
โทมัส หลิวกล่าวว่า การวางเป้าของหัวเว่ยจะมองถึงความเป็นไปได้เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าตั้งเป้ามาลอยๆ แล้วไม่สามารถทำได้ ซึ่งการที่หัวเว่ยตั้งเป้าอย่างน้อย 5% ภายใน 3 ปี ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 5% ซึ่งถ้าผ่านจุดนี้ไปได้เมื่อไรก็จะมีการขยับเป้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในมุมของการวางแผนทำตลาดในประเทศไทยช่วงครึ่งปีหลังนี้ หัวเว่ยจะเริ่มจากการวางจำหน่ายรุ่นที่เป็นเรือธงอย่าง Ascend P6 ก่อนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าที่มีความคุ้มค่าในระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ ก่อนที่จะทยอยนำเครื่องรุ่นอื่นๆ ในระดับราคาที่ต่ำลงมาเข้ามาจำหน่าย
“ภายในบริษัทเองก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจ แต่เชื่อว่าด้วยการที่ให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคงไว้ต่อไป เพียงแต่สิ่งที่สำคัญกว่าในเวลานี้คือการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ของหัวเว่ย ให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าใจว่าไม่ได้เป็นเหมือนกับสินค้าระดับล่างจากจีนรายอื่นๆ”
ขณะที่ในตลาดสมาร์ทโฟนช่วงครึ่งปีหลัง ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการเตรียมเปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ๆ ในท้องตลาดจากเจ้าตลาดอย่างซัมซุงที่กำลังจะมีการเปิดตัว Galaxy Note 3 หรือแอลจีที่กำลังจะเปิดตัว G2 ไม่นับรวมกับแอปเปิลที่จะเปิดตัวไอโฟนรุ่นใหม่ ทำให้อาจจะเกิดการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดไฮเอนด์เป็นหลัก แต่หัวเว่ยกลับมองในมุมที่ต่างออกไปว่า การที่หัวเว่ยเปิดตัวรุ่นไฮเอนด์ก่อนใคร ทำให้มีเวลาที่จะเก็บเกี่ยวตลาด ก่อนที่หลายๆ แบรนด์จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้นหัวเว่ยก็จะมีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่พร้อมจะเข้ามาทำตลาดเช่นเดียวกัน
สำหรับการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทยนั้น ในช่วงครึ่งปีแรกมีผลสำรวจจากหลายบริษัทที่ปรึกษาระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่มีการสับเปลี่ยนโครงข่ายจาก 2G มาเป็น 3G ขณะที่ทางจีเอฟเคก็มีการคาดการณ์ว่าปริมาณสมาร์ทโฟนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากเดิมในปี 2012 อยู่ที่ 6 ล้านเครื่อง ในปี 2013 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10-12 ล้านเครื่อง และในปี 2014 เมื่อ 3G ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะเติบโตถึง 15 ล้านเครื่อง
“ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก็เชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีการแข่งขันกันสูงขึ้นอย่างแน่นอน และหัวเว่ยก็มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะคว้าโอกาสนี้ไว้”
โดยก่อนหน้านี้หัวเว่ยเคยออกมาให้ข้อมูลถึงงบการตลาดที่จะใช้ทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไว้ที่ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 75 ล้านบาท สำหรับโปรโมตสินค้าผ่านทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงการเปิดร้านค้าในจุดสำคัญใจกลางเมืองเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ให้แก่ผู้บริโภค และช่วยให้ลูกค้าได้มาสัมผัสเครื่องจริงก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะหัวเว่ยเองก็มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ไฮไลต์อย่าง Ascend P6 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นสมาร์ทโฟนที่บางที่สุดในโลก และใช้วัสดุที่เป็นอะลูมิเนียม ให้ความรู้สึกในการจับเครื่องแตกต่างจากแบรนด์จีนรายอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน
ในฐานะที่รับผิดชอบประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า โทมัส หลิวให้ข้อมูลว่า ในด้านการลงทุนในพม่า เบื้องต้นหัวเว่ยจะเน้นไปที่การทำตลาดโครงข่ายมากกว่า เพราะปัจจุบันเพิ่งมีการให้ใบอนุญาต 3G ในประเทศพม่า ส่งผลให้ความต้องการหลักไปอยู่ที่การลงอินฟราสตรักเจอร์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ หลังจากนั้นเมื่อมีเครือข่ายให้บริการที่พร้อมแล้ว หัวเว่ยก็พร้อมที่จะนำสมาร์ทโฟนเข้าไปทำตลาดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ภายในสิ้นปีนี้หัวเว่ยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน อินเดีย พม่า ศรีลังกา เวียดนาม เนปาล มัลดีฟส์ และไทย ได้ราว 10 ล้านเครื่อง จากปีที่ผ่านมาสามารถจำหน่ายโทรศัพท์ได้ 10 ล้านเครื่อง แต่แบ่งเป็นฟีเจอร์โฟน 8 ล้านเครื่อง และสมาร์ทโฟนเพียง 2 ล้านเครื่องเท่านั้น
***แรกสัมผัส Ascend P6 นี่หรือ ไอโฟน 6
จุดหนึ่งที่น่าสนใจในงานแถลงข่าวเปิดตัว Ascend P6 ของหัวเว่ยคือ หยาง ฉู่ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวออกมาว่า Ascend P6 มันคือไอโฟน 6 ที่ยังไม่ออกวางจำหน่าย โดยสิ่งที่ทำให้มั่นใจอย่างนั้นคงหนีไม่พ้นการนำสเปกเครื่องระดับสูงมาผสมผสานกับการดีไซน์ตัวเครื่องที่ทำได้บางเพียง 6.8 มม.เท่านั้น บนวัสดุเดียวกับที่ใช้ในไอโฟน
ที่น่าสนใจคือราคาเปิดตัวของ Ascend P6 อยู่ที่ 13,490 บาท ซึ่งถ้าลองเทียบกับแอนดรอยด์โฟนในสเปกใกล้เคียงกันจะขายที่ราวๆ เกือบ 2 หมื่นบาท ทำให้มองย้อนไปได้ว่าการทำสงครามราคาก็เป็นอีกหนึ่งเกมที่ทำให้หัวเว่ยเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์โครงข่ายในทุกวันนี้เช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าถ้าผลิตภัณฑ์ไม่ดีถึงแม้ราคาจะถูกผู้บริโภคก็ยังไม่สนใจ ในจุดนี้ด้วยความที่เป็นสมาร์ทโฟนเรือธงเข้ามาตีตลาดรอบนี้ของหัวเว่ยจึงมั่นใจว่า Ascend P6 จะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกชนิดจากการที่ใส่หน่วยประมวลผลควอดคอร์ 1.5 GHz RAM 2 GB บนหน้าจอขนาด 4.7 นิ้ว ความละเอียด 1,280x720 พิกเซล ไม่นับรวมกับกล้องหลักความละเอียด 8 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล
เรียกได้ว่าจัดให้มาค่อนข้างครบในทุกแง่มุม ซึ่งจากเท่าที่สัมผัสก็ต้องยอมรับว่าหัวเว่ยทำการบ้านกับ Ascend P6 มาค่อนข้างดี เมื่อได้ลองเล่นแล้วก็จะเข้าใจถึงสิ่งที่หัวเว่ยต้องการสร้างบรรทัดฐานในตลาดสมาร์ทโฟนว่าของดีไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป
เพียงแต่นอกจากในแง่ของดีไซน์ตัวเครื่องและประสิทธิภาพโดยรวมแล้ว หัวเว่ยยังขาดคีย์ฟีเจอร์ที่จะมาสร้างความแตกต่างให้แก่แบรนด์ของตนเอง ซึ่งในจุดนี้ทำให้การใช้งานเครื่องโดยรวมแทบไม่แตกต่างจากแอนดรอยด์โฟนรุ่นที่สเปกใกล้เคียงกันในท้องตลาดแต่อย่างใด
ก้าวต่อไปของหัวเว่ยในตลาดประเทศไทย คงหนีไม่พ้นทำอย่างไรให้ผู้บริโภคได้ลองจับและสัมผัสตัวเครื่องจริง เพื่อลบภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยสวยของแบรนด์จีนออกไปจากสมองคนไทยให้ได้
http://manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000098393
ไม่มีความคิดเห็น: